ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article

 คำพิพากษาฎีกาที่    3529  - 3530/57

    ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

 

                โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องว่า  โจทก์ที่  1  เป็นลูกจ้างจำเลยวันที่  1  กันยายน  2538  ทำงานตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้างานควบคุมเครื่องจักรกลหนัก  ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ  10,245  บาท  โจทก์ที่ 2  เป็นลูกจ้างจำเลยวันที่  21  มกราคม  2548  ทำงานตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ  ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ  8,545  บาท  จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งสองทุกวันที่  1  ของเดือน  เมื่อวันที่  25  มีนาคม  2551  จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าและโจทก์ทั้งสองไม่มีความผิด  จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ที่  1  จำนวน  12,635.50  บาท  โจทก์ที่  2  จำนวน  10,539  บาท  ค่าชดเชยให้โจทก์ที่  1  จำนวน  102,450  บาท  โจทก์ที่  2  จำนวน  51,270  บาท  ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของโจทก์ที่  1  จำนวน  7.5  วัน  เป็นจำนวน  2,561.25  บาท  ของโจทก์ที่  2  จำนวน  7.5  วัน  เป็นจำนวน  2,136  บาท  และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจึงต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้โจทก์ที่  1  จำนวน  143,430  บาท  โจทก์ที่  2  จำนวน  34,180  บาท  ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์ที่  1  จำนวน  2,561.25  บาท  โจทก์ที่  2  จำนวน  2,136  บาท  ค่าชดเชยให้โจทก์ที่  1  จำนวน  102,450  บาท  โจทก์ที่  2  จำนวน  51,270  บาท  สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ที่  1  จำนวน  12,635.50  บาท  โจทก์ที่  2  จำนวน  10,539  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ  จ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้โจทก์ที่  1  จำนวน  143,430  บาท  โจทก์ที่  2  จำนวน  34,180  บาท  แจ้งสำนักงานประกันสังคมว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้กระทำผิด  และให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำงานให้โจทก์ทั้งสอง

 

จำเลยทั้งสองสำนวนให้การและฟ้องแย้งว่า  จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด  ประกอบธุรกิจจัดหาพนักงานรับจ้างขับรถจักรกลหนัก  โดยจำเลยจะส่งพนักงานของจำเลยตำแหน่งผู้จัดการแผนกปฏิบัติการ  หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการหรือโฟร์แมน  และพนักงานขับรถจักรกลหนักไปให้บริการกับผู้รับบริการรถจักรกลหนัก  เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานเป็นของผู้รับบริการหรือผู้รับบริการจัดหามาด้วยตนเอง  ผู้จัดการแผนกปฏิบัติการหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ  และพนักงานขับรถจักรกลหนักของจำเลยมีหน้าที่ให้บริการขับรถจักรกลหนักแก่ผู้รับบริการ  และควบคุมดูแลรักษารถจักรกลหนัก  เครื่องมือกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานซึ่งเป็นของผู้รับบริการหรือที่ผู้รับบริการจัดหามาให้อยู่ในสภาพดีครบถ้วนและไม่สูญหาย  จำเลยให้โจทก์ทั้งสองไปทำงานให้บริการแก่บริษัทเลิศนภาบริการ  จำกัด  ผู้รับบริการ  ในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการหรือโฟร์แมน  มีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของนายดอกรัก  สะอาดวงศ์  พนักงานขับรถจักรกลหนัก  ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ทำงานให้บริการแก่บริษัทเลิศนภาบริการ  จำกัด  ตลอดจนตรวจดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้รับบริการด้วยตนเองให้อยู่ในสภาพดีครบถ้วนและไม่สูญหาย  เมื่อวันที่  24  มกราคม  2551  เวลา  24  นาฬิกา – 8  นาฬิกา  โจทก์ทั้งสองเข้าทำงานตามปกติ  และมีนายดอกรัก  สอาดวงศ์  พนักงานขับรถจักรกลหนัก  ลูกจ้างจำเลยได้ขับรถไถ  รหัส  BH  4  ยี่ห้อ  FORD  NEW  HOLLAND  รุ่น  6640  หมายเลขตัวถัง  8780093  หมายเลขเครื่องยนต์  E  -  140936  (FO – 02) ทำงานให้บริการแก่บริษัทเลิศนภาบริการ  จำกัด  เมื่อนายดอกรักทำงานแล้วเสร็จเวลาประมาณ  2  นาฬิกา  นายดอกรักไม่ได้เคลื่อนย้ายรถไถคันดังกล่าวไปยังบริเวณงานแห่งใหม่ตามที่จำเลยกำหนดไว้ให้ปฏิบัติงาน  และไม่ได้นำไปจอดไว้ในโรงงานตามระเบียบที่จำเลยกำหนด  แต่กลับนำไปจอดไว้นอกโรงงานและเสียบลูกกุญแจไว้ที่สวิตซ์เปิดปิดเครื่องยนต์แล้วกลับไปบ้านพัก  ปรากฏว่ารถไถคันดังกล่าวได้สูญหายไปเนื่องจากถูกโจรกรรม  จำเลยเรียกโจทก์ทั้งสองมาสอบสวนได้ความว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ตรวจสอบความเรียบร้อยว่ามีการนำรถไถไปเก็บไว้ในสถานที่ปลอดภัยหรือไม่  ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองต้องปฏิบัติทุกครั้ง การกระทำของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่และประมาทเลินเล่อทำให้รถไถซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้รับบริการของจำเลยสูญหาย  อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้รับบริการเนื่องจากไม่สามารถติดตามเอารถไถคันดังกล่าวส่งคืนผู้รับบริการได้  และจำเลยเสียหายต่อชื่อเสียงกับความน่าเชื่อถือในทางธุรกิจ  ซึ่งเป็นการกระทำฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวด  9  ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยข้อ  9.1.3.14  ซึ่งระบุว่าห้ามกระทำการใดๆ  โดยประมาทเลินเล่อขาดความระมัดระวังอันเป็นเหตุให้ทำลายหรือทำให้เสียหายซึ่งเครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งทรัพย์สินของจำเลย  จึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  การเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นธรรมแล้ว  โจทก์ทั้งสองได้ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีครบถ้วนแล้วทุกปีจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี  จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ทั้งสองการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  ถือว่าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาจ้างแรงงาน  ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายต้องชดใช้ค่าทรัพย์สินที่สูญหายให้แก่ผู้รับบริการ  เป็นจำนวน  200,000  บาท  โจทก์ทั้งสองจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวน  200,000  บาท  ให้จำเลย  ขอให้ยกฟ้องและขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายจำนวน  200,000  บาท  ให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  นับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย

                             

โจทก์ทั้งสองสำนวนให้การแก้ฟ้องแย้งว่า  จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเนื่องจากจำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถไถตามฟ้องและโจทก์ทั้งสองไม่ได้ละทิ้งหน้าที่กับไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถไถ  รหัส  BH  4  ยี่ห้อ  FORD NEW HOLLAND  รุ่น  6640  หมายเลขตัวถัง  8780093  หมายเลขเครื่องยนต์  E  -  140936  (FO – 02)  สูญหาย  โจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของพนักงานขับรถ  ให้ทำงานขับรถให้ได้ปริมาณและคุณภาพงานแล้วเสร็จตามที่จำเลยกำหนด  การปฏิบัติงานในวันที่รถไถคันดังกล่าวสูญหาย  โจทก์ทั้งสองได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถและในวันเกิดเหตุนายดอกรักพนักงานขับรถมีหน้าที่ต้องเฝ้าดูแลรถไถที่ตนเองเป็นผู้ขับ  การที่รถไถคันดังกล่าวสูญหายไปก็เนื่องจากการละทิ้งหน้าที่ของนายดอกรัก  ไม่ได้เกิดจากการประมาทเลินเล่อของโจทก์ทั้งสอง  โจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดต่อจำเลย  รถไถคันดังกล่าวมีอายุการใช้งานหลายสิบปีแล้วและได้มีการดัดแปลงต่อเติมจนผิดประเภทไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  ค่าเสียหายจำนวน  200,000  บาท  จึงสูงกว่าความเป็นจริงขอให้ยกฟ้องแย้ง

 

                                                ศาลแรงงานภาค  2  พิจารณาแล้ว  พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่  1  จำนวน  102,450  บาท  โจทก์ที่  2  จำนวน  51,270  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  จากต้นเงินค่าชดเชยที่โจทก์ทั้งสองได้รับนับแต่วันฟ้อง  (วันที่  17  เมษายน  2551)  เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้น  ให้จำเลยมีหนังสือแจ้งให้สำนักงานประกันสังคมทราบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยโจทก์ทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดและให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำงานให้โจทก์ทั้งสอง  คำขออื่นให้ยก  กับยกฟ้องแย้งจำเลย

  

                                                จำเลยทั้งสองสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 

                                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว  ศาลแรงงานภาค  2  ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่  1  เป็นลูกจ้างจำเลยวันที่  1  กันยายน  2538  ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ  10,245  บาท  โจทก์ที่ 2  เป็นลูกจ้างจำเลยวันที่  21  มกราคม  2548  ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ  8,545  บาท  โจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ  (โฟร์แมน)  จำเลยจ่ายค่าจ้างให้ทุกวันที่  1  ของเดือน  จำเลยรับจ้างจัดหาพนักงานขับรถไพเพื่อมาทำงานให้บริษัทเลิศนภาบริการ  จำกัด  เมื่อวันที่  24  มกราคม  2551  เวลาประมาณ  2  นาฬิกา  นายดอกรัก  สอาดวงศ์พนักงานขับรถไถของจำเลยซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ทั้งสองได้ขับรถไถตามฟ้องแย้งซึ่งเป็นรถไถที่บริษัทเลิศนภาบริการ  จำกัด  ผู้ว่าจ้าง  นำมาให้จำเลยครอบครองเพื่อให้นายดอกรักขับทำงานให้บริษัทผู้ว่าจ้างวันเวลาดังกล่าวนายดอกรักได้ขับรถไถคันดังกล่าวไปจอดไว้ด้านนอกรั้วโรงงานจำเลยโดยเสียบลูกกุญแจไว้ที่สวิตซ์เปิดปิดเครื่องยนต์และไม่อยู่เฝ้ารถไถตามหน้าที่  ต่อมาวันที่  25  มกราคม  2551  จำเลยได้ชดใช้ค่ารถไถที่สูญหายแกบริษัทเลิศนภาบริการ  จำกัด  เป็นเงิน  200,000  บาท  ตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย  ล.11  กับใบเสร็จรับเงินเอกสารหมาย  ล.12  วันที่  25  มีนาคม  2551  จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง  ด้วยเหตุโจทก์ทั้งสองกระทำผิดโดยประมาทเลินเล่อและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย  ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย  ล.5  และ  ล.6  แล้ววินิจฉัยว่า  การที่จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโดยอาศัยเหตุเดียวดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้พิจารณาการทำงานของโจทก์ทั้งสองแล้วว่ามิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  พยานหลักฐานของจำเลยจึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่โดยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  กรณีร้ายแรง  การกระทำของนายดอกรัก  สะอาดวงศ์  มีพฤติกรรมกระทำโดยประมาทและละทิ้งหน้าที่  เมื่อจำเลยไม่ได้นำสืบให้ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ออกคำสั่งให้นายดอกรักกระทำเช่นนั้น  นำสืบได้แต่เพียงโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่ควบคุมการทำงานและมิได้ตรวจสอบการทำงานของนายดอกรัก  ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

 

                                                คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการแรกว่า  โจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างแร้งแรงหรือไม่  เห็นว่า  โจทก์ทั้งสองทำงานในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ  ในคืนเกิดเหตุรถไถหายไป  นายดอกรักพนักงานขับรถไถของจำเลยเข้างานช่วงเวลาเดียวกับโจทก์ทั้งสอง  นายดอกรักจึงอยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ทั้งสอง  ซึ่งจำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเอกสารหมาย  ล.8  ว่า  โจทก์ทั้งสองที่เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ  ต้องปฏิบัติตามคำบรรยายลักษณะงานที่กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ  ข้อ  36  ให้โจทก์ทั้งสองต้องตรวจสอบการทำงานของนายดอกรักซึ่งเป็นช่างขับให้ปฏิบัติตามกฎของจำเลย  โดยนายดอกรักจะต้องนำรถไถเข้าไปจอดภายในโรงงาน  และตามระเบียบปฏิบัติข้อ  14  ที่กำหนดให้โจทก์ทั้งสองติดตามการทำงานของช่างขับอย่างใกล้ชิด  และข้อ  15  ให้ติดตามผลเป้าหมายงานทุกๆ ชั่วโมง  แม้นายดอกรักจะละทิ้งหน้าที่ไปโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบหากโจทก์ทั้งสองยึดถือระเบียบการทำงานอย่างเคร่งครัด  โจทก์ทั้งสองก็จะทราบในทันทีก่อนรถไถหายไปว่านายดอกรักไม่นำรถไถเข้าไปเก็บไว้ในโรงงาน การกระทำของโจทก์ทั้งสองถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ  ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงแล้ว  จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.  2541  มาตรา  119 (3)  ที่ศาลแรงงานภาค  2  พิพากษามานั้น  ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา  อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น

 

                                                มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยประการต่อไปว่า  โจทก์ทั้งสองต้องจ่ายค่าเสียหายตามฟ้องแย้งหรือไม่  เพียงใด  เห็นว่า  ตามฟ้องแย้งจำเลยขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย  เป็นการขอให้ศาลแรงงานภาค  2  พิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน  เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง  จึงชอบที่จะกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดต่อจำเลย  แต่การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเรื่องดุลพินิจซึ่งเป็นข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่อาจจะกระทำได้  ในปัญหานี้ศาลแรงงานภาค  2  ยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงมาว่าโจทก์ทั้งสองก่อความเสียหายแก่จำเลยจำนวนคนละเท่าใด  จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค  2  ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเสียก่อนแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี  สำหรับอุทธรณ์ข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

 

                                                พิพากษาแก้เป็นว่า  จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง  จำเลยไม่ต้องมีหนังสือถึงสำนักงานประกันสังคมแจ้งว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยโจทก์ทั้งสองไม่ได้กระทำความผิด  และยกคำพิพากษาศาลแรงงานภาค  2  เฉพาะที่ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย  โดยให้ศาลแรงงานภาค  2  ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเฉพาะความเสียหายตามฟ้องแย้งดังกล่าวข้างต้น  แล้วดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.  2522  มาตรา  56  วรรคสองหรือวรรคสาม  แล้วแต่กรณี  นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค  2

                               

        เรียบเรียงโดย บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด




อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างขอค่าชดเชย นายจ้างไม่คุยด้วย แต่ยังไม่ได้บอกเลิกจ้างและยังไม่ปรากฎว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างและไม่ให้เข้าทำงานต่อ ยังไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ( อย่าเข้าใจไปเอง ) ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com