ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article

 คำพิพากษาฎีกาที่  6098/56

  จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า  โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง  มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่  แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง  และสุจริต  เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

                                                                             โจทก์ฟ้องว่า  เมื่อวันที่  19  มีนาคม  2529  จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานขายเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์  ต่อมาโจทก์ได้ทำงานตำแหน่งพนักงานประจำหน้าเคาน์เตอร์แผนกเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์  ครั้งสุดท้ายประจำอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล  สาขาปิ่นเกล้า  ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ  16,250  บาท  โจทก์ทำยอดขายสินค้าประเภทเครื่องสำอางให้แก่จำเลยจนทะลุยอดขาย  ทำให้จำเลยได้ผลกำไรจากการขายของโจทก์จำนวนหลายสิบเปอร์เซ็นต์ต่อปีจำเลยพอใจให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการทำงานจนประสบความสำเร็จโดยการให้โจทก์เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศและให้โจทก์เป็นพนักงานดีเด่น  ต่อมาวันที่  21  กรกฎาคม  2546  จำเลยกล่าวหาโจทก์ประพฤติผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเช่น  การที่ลูกค้าของจำเลยมอบหมายให้บุคคลอื่นมารับสินค้าที่เป็นของแถมแต่มิได้ทำหลักฐานการมอบหมายการมารับแทน  หรือมอบสินค้าของแถมให้แก่บุคคลอื่นที่มารับแทนแต่ไม่มีหลักฐานการมอบหมาย  หรือมอบสินค้าของแถมไว้แล้วก็มิได้ลงชื่อในเอกสาร  และนำถุงของบริษัทอื่นมาใส่สินค้าของแถมให้แก่ผู้รับสินค้าแทนลูกค้า  ซึ่งถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรงและถือว่าโจทก์จงใจกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  และจำเลยนำความผิดเก่าๆ  ที่ระงับโทษไปนานแล้วมาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยกล่าวหาว่าโจทก์ฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรงซึ่งไม่เป็นความจริง  ความจริงแล้วโจทก์มิได้กระทำความผิด  อันเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง  หรือกระทำการโดยจงใจประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  หรือกระทำการใดๆ  จนเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย  จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่  13  สิงหาคม  2546  การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยจำนวน  300  วัน  ของอัตราค่าจ้างเดือนสุดท้ายเป็นเงิน  162,500  บาท  สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน  16,250  บาท  ค่าจ้างของเดือนกรกฎาคม  2546  เป็นเงิน  16,250  บาท  ค่าจ้างเดือนสิงหาคม  2546  (12  วัน)  เป็นเงิน  6,499  บาท  ค่านายหน้าในการขายเครื่องสำอางให้แก่จำเลยที่ยังคงค้าง  เป็นเงิน  5,367  บาท  และเงินประกันความเสียหายที่จะต้องคืนโจทก์เมื่อเลิกจ้างเป็นเงิน  1,000  บาท  รวมเป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสิ้น  207,866  บาท  โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว  จำเลยคงชำระเพียงเงินเดือนๆกรกฎาคม  2546  จำนวน  16,250  บาท จึงยังคงเหลือเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์อีกจำนวน  191,616  บาท  ขอให้บังคับจำเลยจ่ายชดเชยและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่โจทก์เป็นเงินทั้งสิ้น  191,616  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  นับตั้งแต่หนี้จำนวนดังกล่าวครบกำหนดชำระตามหนังสือทวงถามคือตั้งแต่วันที่  26  สิงหาคม  2546  จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา  21  วัน  เป็นเงินจำนวน  1,653  บาท  เมื่อรวมกับต้นเงินจำนวน  191,616  บาท  จำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสิ้น193,269  บาท


จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า  โจทก์เคยเป็นลูกจ้างของจำเลยจริงและจำเลยได้ให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยเพราะโจทก์กระทำผิดกกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมายแรงงานต่อจำเลย  กล่าวคือขณะโจทก์เป็นหัวหน้าพนักงานขายเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์  ประจำห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล  สาขาลาดพร้าว  ได้นำสินค้าประเภทเครื่องสำอางจำนวนหนึ่งออกไปใช้นอกสถานที่โดยพลการซึ่งการกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรงมีโทษถึงให้พ้นจากการเป็นลูกจ้าง  โจทก์ยอมรับว่าได้กระทำการดังกล่าวด้วยการทำหนังสือรับสารภาพและขอโอกาสแก้ไขปรับปรุงตังเอง  ต่อมาจำเลยย้ายโจทก์ไปอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล  สาขาปิ่นเกล้า  โดยทำงานในหน้าที่และตำแหน่งเดิม  ประมาณกลางปี  2545  โจทก์กระทำการที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยการนำยอดซื้อสินค้าของลูกค้าจรมาบันทึกในใบสะสมแต้มหรือสะสมคะแนนให้แก่ลูกค้าที่โจทก์สนิทสนมเพื่อให้ยอดซื้อของลูกค้าอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับสินค้าของสมนา คุณ  หรือได้รับสินค้าของสมนาคุณที่มีราคาสูงขึ้น  และต่อมาในปี  2546  จนกระทั่งเมื่อวันที่  21  กรกฎาคม  2546  เวลา  20.15  น.  โจทก์ฝ่าฝืนกฎระเบียบของจำเลยด้วยการนำสินค้าของสมนาคุณมอบให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้าโดยไม่มีหลักฐานการมอบหมายให้มารับแทนเมื่อมอบสินค้าของสมนาคุณให้ไปแล้วโจทก์ก็ไม่ทำหลักฐานการส่งมอบ  หรือรับหลักฐานของบุคคลผู้มารับแทนไว้เป็นหลักฐานเพื่ออแสดงต่อจำเลย  และในการมอบสินค้าของสมนาคุณของโจทก์ดังกล่าวโจทก์ได้ฝ่าฝืนกฎระเบียบของจำเลยด้วยการนำถุงใส่สินค้าของบุคคลอื่นมาใส่สินค้าแทนถุงของจำเลยซึ่งถือว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติที่มีเจตนาหรือจงใจกระทำผิดต่อจำเลยอย่างร้ายแรง  และการกระทำของโจทก์ในครั้งนี้มีพิรุธโดยพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล  สาขาปิ่นเกล้า  เฝ้าสังเกตการกระทำของโจทก์จากจอโทรทัศน์วงจรปิดจนกระทั่งจับผิดได้  โจทก์ทำบันทึกคำให้การไว้เมื่อวันที่  25  กรกฎาคม  2546  จากกรณีดังกล่าว  ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์ทำหนังสือแจ้งผู้จัดการฝ่ายบริหารงานบุคคลว่าที่โจทก์ทำบันทึกคำให้การแก้ข้อกล่าวหานั้นไม่ถูกต้องและไม่มีธรรมเนียมที่จำเลยปฏิบัติ  หรือยินยอมให้ลูกจ้างปฏิบัติเพราะเป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดการทุจริตต่อหน้าที่  เมื่อจำเลยได้ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานของโจทก์และที่โจทก์ได้จัดทำไว้ในการปฏิบัติหน้าที่ผ่านมาประกอบกับสอบข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลที่ร่วมงานกับโจทก์แล้ว  จำเลยจึงได้ทราบว่าโจทก์กระทำหน้าที่ด้วยความบกพร่อง  ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่  ปกปิดข้อเท็จจริงต่อผู้บังคับบัญชา  กระทำการฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยเจตนาและจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย  จึงเป็นการกระทำที่ผิดระเบียบ  ข้อบังคับ  ข้อกำหนดของจำเลยอย่างร้ายแรง  และผิดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.  2541  จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายสินค้าแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  ค่าชดเชย  หรือค่าตอบแทนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานใดๆ  ทั้งสิ้น  ต่อมาวันที่  13  สิงหาคม  2546  จำเลยจึงได้ทำหนังสือบอกเลิกจ้างแก่โจทก์และให้โจทก์มารับทราบด้วยตนเอง  ซึ่งโจทก์ได้อ่านและเข้าใจข้อความในหนังสือเลิกจ้างแล้ว  แต่ไม่ยอมลงชื่อรับทราบ  จำเลยจึงได้อ่านหนังสือบอกเลิกจ้างให้โจทก์ฟังต่อหน้าโจทก์และพยานจำเลย  2  คน  และให้พยานลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน  การที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นไปโดยชอบธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย  จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์  ขอให้ยกฟ้อง

 
 

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว  พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน  191,616  บาท  แก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  จากต้นเงิน  175,366  บาท  และดอกเบี้ยร้อยละ  7.5  ต่อปี  คิดจากต้นเงิน  16,250  บาท  นับแต่วันที่  27  สิงหาคม  2546  เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น  แต่ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องต้องไม่เกิน  1,653  บาท

 
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว  มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่  20  กรกฎาคม  2549  ว่า  ในปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงโดยจำเลยอ้างว่าดจทก์นำสินค้าของสมนาคุณมอบให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้าโดยไม่มีหลักฐานการมอบหมายให้มารับแทน  และเมื่อโจทก์มอบสินค้าของสมนาคุณให้ไปแล้วก็ไม่ทำหลักฐานการส่งมอบและหรือรับหลักฐานของบุคคลมารับแทนไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงต่อจำเลย  จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์นั้น  ในการวินิจฉันข้อกฎหมายดังกล่าวศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพียงว่าเมื่อวันที่  21  กรกฎาคม  2546  เวลาประมาณ  20.15 น.  โจทก์ได้มอบสินค้าสมนาคุณเป็นเครื่องสำอางชนิดพกพาจำนวน  8  ชิ้น  และกระเป๋า  2  ใบ  ให้นางสาววันทนา  หิรัญวาทิตย์  ซึ่งมารับสินค้าของสมนาคุณแทนนางสาวจิตรา  หิรัญวาทิตย์น้องสาวนั้น  โดยที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้ฟังข้อเท็จริงและวินิจฉัยว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและโจทก์มีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามที่จำเลยอ้างดังกล่าวข้างต้นหรือไม่  อย่างไร  ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา  56  วรรคสอง  แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.  2522  จึงให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว  เสร็จแล้วให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.  2522  มาตรา  56  วรรคสองหรือวรรคสาม  ต่อไป 

  

ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน  191,616  บาท  แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ  15  ต่อปี  จากต้นเงิน  175,366  บาท  และดอกเบี้ยร้อยละ  7.5  ต่อปี  จากต้นเงิน  16,250  บาท  นับแต่วันที่  27  สิงหาคม  2546  เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นแต่ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องไม่เกิน  1,653  บาท

 
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว  ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จริงเป็นยุติว่า  เมื่อวันที่  2  ตุลาคม  2544  เวลาประมาณ  21.15  น.  โจทก์นำสินค้าของสมนาคุณ  คือยาทาเล็บ  7  ชิ้น  และผลิตภัณฑ์ขนาดเดินทาง  4  ชิ้น  ออกนอกบริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล  สาขาลาดพร้าว  โดยไม่ได้ทำใบออกตามระเบียบอย่างถูกต้อง  แต่จำเลยไม่ได้ลงโทษโจทก์ในเรื่องนี้  ต่อมาเมื่อวันที่  21  กรกฎาคม  2546  เวลาประมาณ  20.15  น.  โจทก์ได้มอบสินค้าของสมนาคุณเป็นเครื่องสำอางชนิดพกพาจำนวน  8  ชิ้น  และกระเป๋า  2  ใบ  ให้นางสาววันทนา  หิรัญวาทิตย์  ซึ่งมารับสินค้าของสมนาคุณแทนนางสาวจิตรา  หิรัญวาทิตย์  น้องสาว  โดยโจทก์นำสินค้าของสมนาคุณดังกล่าวใส่ถุงของห้างท้อปซุปเปอร์มาร์เกต  ซึ่งมีสีเหลืองโดยไม่ได้ใส่ในถุงเครืองสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์  โจทก์ทำงานกับจำเลยมานานประมาณ  17  ปี  การปฏิบัติหน้าที่ได้ผลดีและประสบความสำเร็จมาโดยตลอดจนจำเลยให้รางวัลโจทก์ไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศแล้ววินิจฉัยว่า  การมอบสินค้าของสมนาคุณให้แก่ลูกค้าซึ่งมาซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์ก็เพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อนี้อีกอันเป็นการเพิ่มยอดขายและเพิ่มผลกำไรให้แก่จำเลยมากขึ้น  ส่วนบุคคลทั่วไปซึ่งใช้เครื่องสำอางชนิดอื่นอยู่  ถ้าหากมีท่าทีสนใจและมีโอกาสที่จะมาใช้เครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์ผู้ขายก็อาจะมอบเครื่องสำอางของแถมให้บุคคลดังกล่าวไปทดลองใช้เพื่อจะได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์ได้เช่นเดียวกัน  ซึ่งผลประโยชน์ที่ได้รับก็คือยอดขายที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้ขายได้รับส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์มากขึ้นและจำเลยก็จะได้ผลกำไรเป็นเงาตามตัวเช่นเดียวกันอันถือได้ว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน  เดิมห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล  สาขาปิ่นเกล้า  ของจำเลยมียอดขายเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์ประมาณเดือนละ  600,000  บาท  แต่เมื่อโจทก์มาอยู่ประจำที่สาขาปิ่นเกล้าแล้วปรากฏว่ายอดขายเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์มียอดขายเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดจนก่อนที่โจทก์จะถูกเลิกจ้างยอดขายได้เพิ่มขึ้นสูงกว่า  1,200,000  บาท  เมื่อเทียบเปอร์เซ็นต์แล้วโจทก์ทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า  100  เปอร์เซ็นต์  อันแสดงความตั้งใจในการทำงานจนประสบความสำเร็จในการทำยอดขายให้สูงขึ้น  การที่โจทก์มอบสินค้าของสมนาคุณให้นางสาววันทนา  หิรัญวาทิตย์  ซึ่งมารับสินค้าของสมนาคุณแทนนางสาวจิตรา  หิรัญวาทิตย์  น้องสาวนั้น  เมื่อนางสาวจิตรามีสิทธิได้รับสินค้าของสมนาคุณการมอบอำนาจให้มากระทำการแทนกันดังกล่าวย่อมสามารถกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายส่วนการที่โจทก์นำยอดซื้อของลูกค้าทั่วไปจำนวนเงิน  800  บาทเศษมาใส่ในยอดซื้อของนางสาวจิตราเพราะเห็นว่ายอดซื้อของนางสาวจิตราขาดอยู่เพียงเล็กน้อยนั้น  โจทก์ได้แจ้งให้เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาทราบแล้ว  ทั้งจากการตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏว่ายอดซื้อของนางสาวจิตราขาดไปแต่อย่างใด  ดังนั้นไม่ว่าจะมีการนำยอดซื้อของลูกค้าทั่วไปเข้ามาเพิ่มหรือไม่นางสาวจิตราก็ยังคงมีสิทธิได้รับสินค้าของสมนาคุณอยู่นั่นเอง  การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยมีวัตถุประสงค์จะผูกใจลูกค้าให้ติดใจในบริการที่ได้รับเพื่อจะได้เป็นลูกค้าเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์ตลอดไป  ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำการดังกล่าวไปโดยทุจริต  ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับเป็นหนังสือให้ผู้รับสินค้าของสมนาคุณจะต้องมารับด้วยตนเอง  ดังนั้นการที่โจทก์มอบของสมนาคุณให้บุคคลซึ่งรับมอบอำนาจจากลูกค้าที่แท้จริงทั้งมีหนังสือมอบอำนาจตามเอกสารหมาย  จ.13  มาแสดงจึงสามารถกระทำได้  ทั้งปรากฏว่าเมื่อโจทก์มอบสินค้าของสมนาคุณให้ผู้รับมอบอำนาจจากลูกค้าไปแล้ว  โจทก์ได้ให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อรับสินค้าของสมนาคุณไว้ในเอกสารหมาย  ล.16  แผนที่  16/3  ของคุณจิตรา  หิรัญวาทิตย์  ไว้ด้วย  ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำหลักฐานการส่งมอบไว้ครบถ้วนถูกต้องแล้ว  ทั้งการปฏิบัติดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานอื่นปฏิบัติผิดแผกแตกต่างเป็นอย่างอื่น  จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามประเพณีที่เคยปฏิบัติมาจึงสามารถกระทำได้และไม่ขัดต่อระเบียบของจำเลย  ส่วนการที่โจทก์นำสินค้าของสมนาคุณใส่ถุงอื่นซึ่งไม่ใช่ถุงของเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์นั้น  เมื่อในวันดังกล่าวผู้รับมอบอำนาจจากลูกค้ามิได้การซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์  ซึ่งในกรณีเช่นนี้แคชเชียร์จะไม่ให้ถุงของเครื่องสำอางยี่ห้อคลาแร็งส์  โจทก์จึงได้ขออนุญาตเอาถุงอื่นใส่สินค้าของสมนาคุณแทนซึ่งผู้รับมอบอำนาจจากลูกค้าก็ไม่ขัดข้อง  ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบห้ามการใช้ถุงของผู้อื่นใส่สินค้าของสมนาคุณ  จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบในเรื่องวินัยของพนักงานตามข้อ  8.5.1.2  เรื่องต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย  และข้อ  8.5.1.4  เรื่องต้องปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ทำหน้าที่โดยทุจริต  เมื่อการกระทำของโจทก์ทั้งหมดไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่วางเอาไว้และโจทก์มิได้ทำหน้าที่โดยทุจริต  การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่  หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามข้อ  10.4.3.2  และไม่เป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามข้อ  10.4.3.3  และไม่เป็นการทำงานที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบ  หรือประกาศ  หรือคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมตามข้อ  10.4.3.4  ตามเอกสารหมาย  ล.25  การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบข้อ  10.4.3  โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามเอกสารหมาย  ล.23  จึงไม่ชอบ

  

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่  โดยจำเลยอุทธรณ์ในข้อ  2.1  และ  2.2  ว่า  การที่โจทก์มอบสินค้าของสมนาคุณจำนวน  8  ชิ้น  และกระเป๋า  2  ใบ  ให้นางสาววันทนา  หิรัญวาทิตย์  ซึ่งมารับแทนนางสาวจิตรา  หิรัญวาทิตย์  โดยไม่มีใบเสร็จการชำระค่าสินค้ามาแสดง  การที่โจทก์นำยอดซื้อสินค้าของลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกมารวมยอดให้แก่นางสาวจิตราเป็นการทุจริตต่อหน้าที่  เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย  ฝ่าฝืนระเบียบและข้อบังคับในการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงนั้น  เห็นว่า  การกระทำของลูกจ้างจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่นั้นต้องวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ  ประกอบกันหลายประการ  อาทิ  ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง  ลักษณะ  และพฤติการณ์การกระทำความผิดของลูกจ้าง  ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดว่ามีมากน้อยเพียงใด  แม้คดีนี้โจทก์มอบสินค้าของสมนาคุณให้แก่นางสาววันทนาซึ่งมารับแทนนางสาวจิตรา  โดยไม่มีใบเสร็จการชำระค่าสินค้ามาแสดงและนำยอดซื้อสินค้าของลูกค้าทั่วไปมารวมยอดซื้อสินค้าของนางสาวจิตรา   แต่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่ายอดซื้อของนางสาวจิตรามิได้ขาดไปแต่อย่างไร  ไม่ว่าจะมีการนำยอดซื้อของลูกค้าทั่วไปมาเพิ่มหรือไม่นางสาวจิตราก็ยังคงมีสิทธิได้รับสินค้าของสมนาคุณอยู่นั่นเอง  ดังนั้นการที่โจทก์มอบสินค้าของสมนาคุณให้แก่นางสาวจิตราจึงเป็นไปตามสิทธิที่นางสาวจิตราได้รับอยู่แล้ว   จำเลยจึงมิได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์   การกระทำของโจทก์จึงมิได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่   หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง   หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย  หรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบเป็นกรณีร้ายแรงที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่จำต้องตักเตือนเป็นหนังสือ  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.  2541  มาตรา  119 ( 4 )  การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชย  แต่สำหรับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น   การที่โจทก์นำยอดซื้อสินค้าของลูกค้าทั่วไปมารวมยอดให้แก่นางสาวจิตรา   เป็นการทำให้ยอดซื้อสินค้าสะสมของนางสาวจิตราเพิ่มขึ้นโดยจำเลยมิได้ขายสินค้าเพิ่มขึ้น  การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต  จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า  อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวฟังขึ้นบางส่วน

 

 

  
ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ในข้อ  2.3  ว่า  ในช่วงที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่อยู่สินค้าของสมนาคุณคุณลูกค้าได้สูญหายไป  1  กล่อง  การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อให้จำเลยได้รับความเสียหาย  เป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง  เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงนั้นอุทธรณ์ดังกล่าวจำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ  แม้ศาลแรงงานกลางจะหยิบยกปัญหาดังกล่างขึ้นวินิจฉัยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ว่ามีสินค้าของสมนาคุณสูญหายในช่วงที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง  ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.  2522  มาตรา  54  วรรคหนึ่ง  ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
 
 
 
 พิพากษาแก้เป็นว่า  ให้ยกคำขอในส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย  นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง. 
 
 
 

เรียบเรียงโดย บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด




อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างขอค่าชดเชย นายจ้างไม่คุยด้วย แต่ยังไม่ได้บอกเลิกจ้างและยังไม่ปรากฎว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างและไม่ให้เข้าทำงานต่อ ยังไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ( อย่าเข้าใจไปเอง ) ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com