ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ลาออก ตามโครงการเกษียณก่อนกำหนด เมื่อข้อตกลงหรือโครงการเกษียณก่อนกำหนดมิได้ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายและมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อย จึงมีผลบังคับใช้ได้ เมื่อโจทก์ลาออกตามโครงการดังกล่าวจึงถือว่าได้ตกลงระงับสัญญาจ้างต่อกันแล้ว ย่อมมีสิทธิได้รับเ article

 คำพิพากษาฎีกา ที่  14050 - 14057/ 2555

ลาออก  ตามโครงการเกษียณก่อนกำหนด  เมื่อข้อตกลงหรือโครงการเกษียณก่อนกำหนดมิได้ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายและมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อย  จึงมีผลบังคับใช้ได้  เมื่อโจทก์ลาออกตามโครงการดังกล่าวจึงถือว่าได้ตกลงระงับสัญญาจ้างต่อกันแล้ว  ย่อมมีสิทธิได้รับเงินตามข้อตกลงในโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดไม่มีสิทธิได้รับเงินอื่นๆ อีก

                                       รายชื่อโจทก์ปรากฏตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

  

                               คดีทั้งแปดสำนวนนี้  ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน  โดยให้เรียกโจทก์ทั้งแปดสำนวนว่า  โจทก์ที่  1  ถึงที่  8  ตามลำดับ  และให้เรียกจำเลยทั้งแปดสำนวนว่า  จำเลย

   

                            โจทก์ทั้งแปดสำนวนฟ้องทำนองเดียวกันว่า  โจทก์ทั้งแปดเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ  พ.ศ.2542  ต่อมาวันที่  10  เมษายน  2551  คณะกรรมการของจำเลยมีมติเห็นชอบให้จำเลยจัดทำโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและโครงการร่วมใจจากองค์การ โจทก์ทั้งแปดแสดงความจำนงขอเกษียณอายุก่อนกำหนดจำเลยอนุมัติให้โจทก์ทั้งแปดลาออกก่อนกำหนดเกษียณอายุตามโครงการดังกล่าวโดยจำเลยตกลงให้โจทก์ที่  1  มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทน  ได้แก่  เงินค่าวิชาชีพ  ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จจากกองทุนสงเคราะห์  แต่จำเลยจ่ายเงินค่าวิชาชีพให้แก่โจทก์ที่  1  ขาดไป  89,918  บาท  และจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอีก  7  วัน  เป็นเงิน  30,356.66  บาท  ส่วนเงินบำเหน็จที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งแปดเมื่อออกจากงาน  ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อบังคับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  ฉบับที่  14  ว่าด้วย  กองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2522  โดยคิดจากเงินค่าจ้างเดือนสุดท้ายที่ออกจากงานคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน  แต่จำเลยคำนวณจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งแปดเป็น  2  ส่วน  ส่วนแรกเป็นเวลาทำงานในการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  และส่วนที่  2  เป็นเวลาทำงานในบริษัทจำเลย  การคำนวณเป็น  2  ส่วนดังกล่าวเป็นการนับเวลาทำงานไม่ต่อเนื่องกัน  จึงขัดต่อพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ  พ.ศ.2542  จำเลยไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  พ.ศ.2543  เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ขัดกับพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  พ.ศ.2543  และต้องใช้ระเบียบข้อบังคับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  ฉบับที่  (14) ว่าด้วย  กองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2522  ในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินบำเหน็จ  ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จที่ขาดแก่โจทก์ทั้งแปด  และเงินค่าวิชาชีพกับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ที่  1  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่  1  ตุลาคม  2551  เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

   

                              จำเลยทั้งแปดสำนวนให้การว่า  เดิมจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ  จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  พ.ศ.2522  ต่อมาได้เปลี่ยนสภาพเป็นบริษัทมหาชน  จำกัด  ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ  พ.ศ.2542  โดยใช้ชื่อว่าบริษัทท่าอากาศยานไทย  จำกัด  (มหาชน)  ให้อักษรย่อว่า  ทอท.  ตั้งแต่วันที่  30  กันยายน  2545  คณะกรรมการของจำเลยมีมติในการประชุมครั้งที่  1/2545  เมื่อวันที่  30  กันยายน  2545  อนุมัติให้ใช้ข้อบังคับ  ระเบียบ  คำสั่ง  และประกาศการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นในการดำเนินกิจการของจำเลยต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งรวมถึงข้อบังคับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  ฉบับที่  14  ว่าด้วย  กองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2542  ด้วย  ต่อมาวันที่  19  สิงหาคม  2546  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจ  12  แห่ง  รวมทั้งจำเลยได้รับการยกเว้น  กฎ  ระเบียบ  มติคณะรัฐมนตรีต่างๆ  ที่กำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงิน  ตามมาตรา  13  (2)  แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  พ.ศ.2543  ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์โดยให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงิน  การกำหนดอัตราค่าจ้าง  ค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่างๆ  ของพนักงานได้เอง  เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว  ในการประชุมครั้งที่  10/2546  เมื่อวันที่  31  ตุลาคม  2546  คณะกรรมการของจำเลยมีมติกำหนดระเบียบบริษัทท่าอากาศยานไทย  จำกัด  (มหาชน)  ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2546  ขึ้น  ใช้บังคับตั้งแต่วันที่  6  พฤศจิกายน  2546  เป็นต้นไป  ยกเว้นวิธีการคำนวณบำเหน็จในข้อ  17  ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่  30  กันยายน  2545  เป็นต้นไป  ซึ่งระเบียบข้อ  17  กำหนดว่า  การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากผลรวม  2  ส่วนได้แก่ส่วนที่  1  คำนวณจากระยะเวลาตั้งแต่ปฏิบัติงานในการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยจนถึงวันที่  29  กันยายน  2545  คูณด้วยเงินเดือน  ณ  วันที่  29  กันยายน  2545  ส่วนที่  2  คำนวณจากระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในบริษัทท่าอากาศยานไทย  จำกัด  (มหาชน)  คูณด้วยเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน  สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้ายไม่เต็มเดือน  ให้ถือเอาอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายเต็มเดือนเป็นเกณฑ์คำนวณ  จำเลยได้ออกระเบียบดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรี  วันที่  19  สิงหาคม  2546  การที่จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ทั้งแปดแบ่งเป็น  2  ส่วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบของจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2546  โดยมิได้ใช้ข้อบังคับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  ฉบับที่  14  ว่าด้วย  กองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2522  ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  พ.ศ.2543  เพราะเป็นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  19  สิงหาคม  2546  และคณะกรรมการของจำเลยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว  โดยได้รับความยินยอมจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าอากาศยานไทย  ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543  มาตรา  40, 54 (6) ในการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จโดยยกเลิกระเบียบเก่าและใช้ระเบียบใหม่  คือ  ระเบียบบริษัทท่าอากาศยานไทย  จำกัด  (มหาชน)  ว่าด้วย  กองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2546  แทน  ระเบียบใหม่ดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกัน  จึงมีผลใช้บังคับได้  การที่จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ทั้งแปดเป็น  2  ส่วน  จึงสอดคล้องกับหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค.0209.2/10649  ลงวันที่  31  มิถุนายน  2545  เรื่อง  การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกองทุนบำเหน็จและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของการสื่อสารแห่งประเทศไทย  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่พนักงานกลุ่มอื่นๆ  ส่วนสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับเงินค่าวิชาชีพนั้น  จำเลยเริ่มจ่ายเงินค่าวิชาชีพตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  2539  ในอัตราไม่เกินคนละ  4,000  บาทต่อเดือน  ต่อมาสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือที่  นร.0205/ว (ล)  12475  ลงวันที่  1  พฤศจิกายน  2544  แจ้งเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าวิชาชีพหรือเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่  30  ตุลาคม  2544  โดยให้อำนาจคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่จะพิจารณาจ่ายตามความเหมาะสม  ความจำเป็น  และฐานะทางการเงิน  แต่จะต้องไม่เกิน  วงเงินที่มีการจ่ายครั้งสุดท้าย  (278,400  บาทต่อเดือน)  จำเลยจ่ายเงินค่าวิชาชีพหรือเงินเพิ่มพิเศษฯ  ให้แก่ผู้มีสิทธิตามเงื่อนไขดังกล่าวทุกคนรวมทั้งโจทก์ที่  1  ด้วย  ในอัตราคนละ  3,760  บาทต่อเดือน  ตั้งแต่วันที่  1  พฤศจิกายน  2544  จนกระทั่งจำเลยได้ชะลอการจ่ายเงินค่าวิชาชีพหรือเงินเพิ่มพิเศษฯ  ตั้งแต่วันที่  1  ธันวาคม  2548  เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่มีมติให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่  30  ตุลาคม  2544  ในส่วนที่เกี่ยวกับเงื่อนไขให้มีสิทธิได้รับเงินค่าวิชาชีพหรือเงินเพิ่มพิเศษเฉพาะผู้ที่เคยได้รับอยู่ก่อนมีการระงับการจ่าย  ต่อมาคณะกรรมการของจำเลยมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินค่าวิชาชีพหรือเงินเพิ่มพิเศษฯ  ตามเงื่อนไขคณะรัฐมนตรีวันที่  30  ตุลาคม  2544  โดยจ่ายย้อนหลังให้แก่ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับทั้งหมดตั้งแต่วันที่  1  พฤศจิกายน  2544  ถึง  1  ธันวาคม  2548  และจ่ายให้แก่ผู้ที่มีสิทธิทั้ง  2  กลุ่ม  คือ  ผู้ที่เคยรับอยู่เดิม  และผู้ที่ได้รับใหม่  ตั้งแต่วันที่  1  ธันวาคม  2548  ตามวงเงินที่จำเลยสามารถดำเนินการได้  (278,400  บาทต่อเดือน)  โดยนำมาเฉลี่ยตามจำนวนผู้ที่มีสิทธิในแต่ละเดือน  เป็นผลให้ผู้ที่มีสิทธิเดิมแต่ละคนรวมทั้งโจทก์ที่  1  ได้รับเงินค่าวิชาชีพพิเศษหรือเงินเพิ่มพิเศษฯ  ลดลง  คงเหลือคนละ  1,074 - 1,265  บาท  ดังนั้นโจทก์ที่  1  จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าวิชาชีพเพิ่มเติมแต่อย่างใด  ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น  จำเลยได้จัดทำโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและโครงการร่วมใจจากองค์การประจำปีงบประมาณ  2551  เป็นการชี้ชวนให้พนักงานสมัครเข้าร่วมโครงการ  ถือเป็นความสมัครใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย  เมื่อโจทก์ที่  1  สมัครเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด  และได้รับอนุมัติให้ลาออกจากหน้าที่การงานแล้ว  จึงเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจ  มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ที่  1  ขอให้ยกฟ้อง

   

                                ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว  พิพากษายกฟ้อง

   

                                โจทก์ทั้งแปดอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

   

                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว  ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า  เดิมจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐ  ตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  พ.ศ.2522  ชื่อว่า  การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยโจทก์ทั้งแปดเป็นพนักงานของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  ต่อมาการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเปลี่ยนสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจำกัด  (มหาชน)  ชื่อว่า  บริษัทท่าอากาศยานไทย  จำกัด  (มหาชน)  ใช้อักษรย่อว่า  ทอท.  เมื่อ พ.ศ.2545  ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ  พ.ศ.2542  กำหนดให้พนักงานตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นลูกจ้างของจำเลยได้รับเงินเดือน  ค่าจ้าง  และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ  ไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิม  กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของพนักงานในรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นการทำงานในบริษัทจำเลยโดยไม่ถือว่าการเปลี่ยนสภาพจากรัฐวิสาหกิจเดิมเป็นบริษัทจำเลยนั้นเป็นการเลิกจ้าง  คณะกรรมการของจำเลยมีมติอนุมัติให้ใช้ข้อบังคับ  ระเบียบคำสั่งและประกาศการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นในการดำเนินกิจการของจำเลยต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง  โจทก์ทั้งแปดซึ่งเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจเดิมจึงเป็นพนักงานของจำเลยรัฐวิสาหกิจเดิมมีข้อบังคับฉบับที่  (14)  ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2522  ให้จ่ายเงินบำเหน็จจากกองทุนสงเคราะห์ให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างประจำเมื่อต้องออกจากงาน  โดยคำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้าย  คูณด้วยเวลาทำงานนับเป็นปี  เศษของปีให้นับตามอัตราส่วนจำนวนวัน  ต่อมาคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เห็นว่า  คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีความสามารถในการบริหารจัดการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎ  ระเบียบ  มติคณะรัฐมนตรี  คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จึงมีมติให้นำกรอบที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบดังกล่าวมากำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตาม  มาตรา  13  (2)  แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  พ.ศ.2543  แก่รัฐวิสาหกิจ  12  แห่ง  ซึ่งรวมทั้งจำเลยด้วย  โดยให้รัฐวิสาหกิจดังกล่าวสามารถดำเนินการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินในการกำหนดอัตราค่าจ้าง  ค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่างๆ  ของพนักงานเองได้  เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว  และเมื่อวันที่  19  สิงหาคม  2546  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการนำกรอบที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจ  12  แห่งได้รับการยกเว้นกฎ  ระเบียบ  มติคณะรัฐมนตรีต่างๆ  มากำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินตามมาตรา  13  (2)  แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  พ.ศ.2543  ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  โดยให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถดำเนินการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินในการกำหนดอัตราค่าจ้าง  ค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่างๆ  ของพนักงานได้เอง  เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้นเห็นชอบแล้ว  วันที่  31  ตุลาคม  2546  คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจของจำเลยมีมติให้กำหนดระเบียบของจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.  2546   ขึ้นให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่  6  พฤศจิกายน  2546  เป็นต้นไป  ยกเว้นวิธีการคำนวณบำเหน็จในข้อ  17  ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่  30  กันยายน  2545  เป็นต้นไป  ซึ่งกำหนดว่า 

  

                                ข้อ  17  การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากผลรวม  2  ส่วน  ได้แก่

  

                               1.  ส่วนที่หนึ่งคำนวณจากระยะเวลาตั้งแต่ปฏิบัติงานในการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยจนถึงวันที่  29  กันยายน  2545  คูณด้วยเงินเดือน  ณ  วันที่  29  กันยายน  2545

   

                              2.  ส่วนที่สองคำนวณจากระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานไทยคูณด้วยเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน

  

                               ต่อมาเมื่อวันที่  10  เมษายน  2551  คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจจำเลยมีมติเห็นชอบให้จำเลยจัดทำโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด  และโครงการร่วมใจจากองค์กรประจำปีงบประมาณ  2551  โดยเสนอผลตอบแทน  โจทก์ทั้งแปดสมัครเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและผ่านการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการฯ  ให้สามารถลาออกตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดได้ตามคำสั่งบริษัท  ท่าอากาศยานไทย  จำกัด  (มหาชน)  ที่  653/2551  เรื่อง  ให้พนักงานลาออกจากหน้าที่การงานโดยให้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนต่างๆ  หลายประการ  ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  2551  เป็นต้นไป  ซึ่งจำเลยได้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่โจทก์ทั้งแปดแล้ว  และโจทก์ที่  1  ยังเหลือวันหยุดพักผ่อนประจำปี  7  วัน  ส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าวิชาชีพหรือเงินเพิ่มพิเศษนั้น  เมื่อประมาณเดือนตุลาคม  2539  คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเดิมในสังกัดกระทรวงคมนาคม  เห็นชอบให้จ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน  กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว  อนุมัติให้จ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนดังกล่าว  ในเงื่อนไขที่กำหนด  5  ข้อ  การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยมีคำสั่งที่  165/2540  เรื่อง  การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนโดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน  สอดคล้องกับหนังสือกระทรวงการคลัง  โจทก์ที่  1  เป็นผู้ที่ได้รับเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนต่อมามีการระงับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตั้งแต่วันที่  1  มกราคม  2542  ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่  นร.0205/(ล)  17155  ลงวันที่  28  ธันวาคม  2541  ต่อมาวันที่  30  ตุลาคม  2544  คณะรัฐมนตรีมีมติให้อำนาจคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่จะพิจารณาจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนตามความเหมาะสม  ความจำเป็นและฐานะทางการเงิน  แก่ผู้ที่เคยได้รับอยู่ก่อนถูกระงับและจะต้องไม่เกินวงเกินที่มีการจ่ายครั้งสุดท้ายตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  ที่  นร.0205/(ล)  12475 ลงวันที่  1  พฤศจิกายน  2544  รัฐวิสาหกิจเดิมและจำเลยได้จ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนในวงเงิน  278,400  บาท  ที่มีการจ่ายครั้งสุดท้ายให้แก่ผู้มีสิทธิตามเงื่อนไขดังกล่าวทุกคนรวมทั้งโจทก์ที่  1  ด้วยในอัตราคนละ  3,760  บาท  ต่อเดือน  ตั้งแต่วันที่  1  พฤศจิกายน  2544  เป็นต้นไป  และได้ระงับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษไว้ตั้งแต่วันที่  1  ธันวาคม  2548  เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  30  ตุลาคม  2544 ในส่วนกำหนดเงื่อนไขการมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษฯ  ว่าต้องเป็นพนักงานซึ่งเคยได้รับเงินเพิ่มพิเศษฯ  อยู่เดิมก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ระงับการจ่าย  ทั้งนี้ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  30  ตุลาคม  2544  เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว  และไม่ให้ขัดกับหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลังที่กำหนดว่า  ให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจสามารถจ่ายได้ไม่เกินวงเงินที่ได้มีการจ่ายครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่  31  ธันวาคม  2541  ในการประชุมครั้งที่  1/2551  เมื่อวันที่  8  มกราคม  2551  คณะกรรมการของจำเลยได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ  ย้อนหลังให้แก่ผู้ที่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับทั้งหมดแต่ยังไม่เคยได้รับย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่  1  พฤศจิกายน  2544  ถึง  1  ธันวาคม  2548  เท่ากันกับผู้ที่เคยได้รับกลุ่มแรกเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติระหว่างพนักงานที่ปฏิบัติงานด้านเดียวกันตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด  และอนุมัติจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ  ให้แก่ผู้มีสิธิทั้งสองกลุ่มคือผู้ที่ได้รับอยู่เดิมและผู้ที่ได้รับใหม่  ตั้งแต่วันที่  1  ธันวาคม  2548  เป็นต้นไป  ตามวงเงินที่จำเลยสามารถดำเนินการได้  คือ  278,400  บาทต่อเดือน  โดยนำมาเฉลี่ยให้แก่ผู้มีสิทธิตามจำนวนผู้มีสิทธิได้รับในแต่ละเดือน  จากเดิมมีจำนวน  74  คน  ได้รับคนละ  3,760  บาทต่อเดือน  ครั้งสุดท้ายมีจำนวน  250  คน  เฉลี่ยได้รับคนละเดือนละประมาณ  1,074  บาทถึง  1,265  บาท

  

                             ที่โจทก์ที่  1  อุทธรณ์ทำนองว่า  ไม่ว่าจำเลยจะจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับฉบับใด  จำเลยต้องนำค่าวิชาชีพซึ่งเป็นค่าจ้างมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จด้วยนั้น  เห็นว่าโจทก์ที่  1  มิได้บรรยายฟ้องว่า  เงินค่าวิชาชีพเป็นค่าจ้างและจะต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินบำเหน็จ  เช่นนี้  อุทธรณ์ของโจทก์ที่  1  ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  225  วรรคหนึ่ง  ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.  2522  มาตรา  31  ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

 

                                 คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งแปดว่า  จำเลยต้องจ่ายเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดแก่โจทก์ทั้งแปดตามฟ้องหรือไม่  โดยโจทก์ทั้งแปดอุทธรณ์ว่า  ตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดมิได้ระบุว่าให้ใช้ระเบียบจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2546  แต่อย่างใด  ทั้งระเบียบดังกล่าวขัดต่อพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ  พ.ศ.  2543 มาตรา  25  จึงใช้บังคับไม่ได้  การคำนวณบำเหน็จจึงต้องบังคับตามข้อบังคับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  ฉบับที่  14  ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2522  โดยใช้อัตราเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยระยะเวลาทำงานที่โจทก์ทั้งแปดทำงานอยู่ในรัฐวิสาหกิจเดิมรวมกับระยะเวลาที่ทำงานอยู่ในบริษัทจำเลยนั้น  เห็นว่า  ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า  เมื่อวันที่  31  ตุลาคม  2546  คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจของจำเลยมีมติให้กำหนดระเบียบของจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พ.ศ.2546  ขึ้น  โดยหมวด  4  วิธีการคำนวณบำเหน็จข้อ  17  กำหนดว่า  การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณผลรวม  2  ส่วน  ได้แก่  ส่วนที่หนึ่งคำนวณจากระยะเวลาตั้งแต่ปฏิบัติงานในการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยจนถึงวันที่  29  กันยายน  2545  คูณด้วยเงินเดือน  ณ  วันที่  29  กันยายน  2545  ส่วนที่สองคำนวณจากระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานไทยคูณด้วยเงินเดือนสุดท้ายที่ออกจากงานสำหรับพนักงานหรือลูกจ้างประจำซึ่งได้รับเงินเดือนสุดท้ายไม่เต็มเดือนให้ถือเอาอัตราสุดท้ายเต็มเดือนเป็นเกณฑ์คำนวณ  ต่อมาวันที่  10  เมษายน  2551  คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจจำเลยมีมติให้จำเลยจัดทำโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและโครงการร่วมใจจากองค์กรประจำปีงบประมาณ  2551  โดยเสนอผลตอบแทนโจทก์ทั้งแปดเข้าร่วมโครงการดังกล่าวและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนซึ่งในส่วนของเงินกองทุนสงเคราะห์หรือเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ  ทอท.  เช่นนี้  โจทก์ทั้งแปดพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดอันมีลักษณะเป็นข้อตกลงระงับสัญญาจ้างร่วมกัน  โดยจำเลยตกลงให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่พนักงานซึ่งเข้าร่วมโครงการดังกล่าว  ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็มิได้ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายและมิได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด  มีผลบังคับได้  จึงมิใช่การเลิกจ้างแต่อย่างใด  ดังนั้น  เมื่อโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของจำเลย  จำเลยตกลงให้ผลตอบแทนในส่วนของบำเหน็จ  โดยกำหนดไว้ในข้อ 4.2.3  ว่า  "เงินกองทุนสงเคราะห์หรือเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของ  ทอท"  ซึ่งข้อบังคับของ ทอท. ดังกล่าวได้แก่  ระเบียบบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2546  หาใช่ข้อบังคับการท่าอากาศแห่งประเทศไทย  ฉบับที่  (14)  ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.  2522  ไม่  เมื่อระเบียบบริษัทท่าอากาศยานไทย  จำกัด (มหาชน)  ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์  พ.ศ.2546  กำหนดวิธีการคำนวณบำเหน็จไว้ในหมวด 4  ข้อ  17 โจทก์ทั้งแปดและจำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น  จำเลยจ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์ทั้งแปดโดยคำนวณบำเหน็จตามข้อ  17  แห่งระเบียบท่าอากาศยานไทย  จำกัด  (มหาชน)  ดังกล่าว  จึงเป็นไปตามข้อตกลงตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดแล้ว  จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดแก่โจทก์ทั้งแปดตามฟ้อง  และไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้ออื่นในเรื่องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดแก่โจทก์ทั้งแปดตามฟ้อง  และไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้ออื่นในเรื่องเงินบำเหน็จอีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้น  ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล  อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งแปดฟังไม่ขึ้น
 

                               คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่  1  ว่า  จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินค่าวิชาชีพตามฟ้องให้แก่โจทก์ที่  1  หรือไม่  โดยโจทก์ที่  1  อุทธรณ์ว่า  การที่โจทก์ที่  1  เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด  เป็นการสมัครใจของโจทก์ที่  1  ที่ตกลงให้มีการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด  มิใช่ตกลงกันให้ลาออกนั้น  เห็นว่า  การที่โจทก์ที่  1  เข้าร่วมโครงการเกษียณอายุกำหนดของจำเลย  โดยได้รับผลตอบแทนมีลักษณะเป็นข้อตกลงระงับสัญญาจ้างร่วมกัน  ไม่ใช่การเลิกจ้างแต่อย่างใด  โจทก์ที่  1  และจำเลยจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงในโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด  ดังที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยข้างต้น  จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์  เรื่อง  มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ  ข้อ  33  ให้แก่โจทก์ที่  1 

และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเสนอจะจ่ายค่าวิชาชีพให้แก่โจทก์ที่  1  ตามข้อตกลงผลประโยชน์ตอบแทนตามโครงการเกษียณอายุ  จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าวิชาชีพให้แก่โจทก์ที่  1  เช่นกัน  ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว  อุทธรณ์ของโจทก์ที่  1  ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

 

 
                                พิพากษายืน.



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com