ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ทักษะทางสังคมสำคัญกับเด็กวัย 3-6 ปี อย่างไร article

 ทักษะทางสังคมสำคัญกับเด็กวัย 3-6 ปี อย่างไร

 ทักษะทางสังคมและอารมณ์มีความสำคัญมากสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี เพราะการจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีจะต้องได้รับการปลูกฝังที่ดีตั้งแต่ช่วงวัยที่ยังเป็นต้นกล้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับเด็กวัย 3-6 ปี เด็กที่มีทักษะทางอารมณ์และสังคมที่มั่นคง จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้
 

พ่อแม่และคนในครอบครัวจึงต้องช่วยกันพัฒนาให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง การเลี้ยงลูกให้รู้จักควบคุมตนเอง และสอนให้รู้วิธีการสร้างเพื่อน และการอยู่ในสังคมได้อย่างดี มีมารยาท รู้จักระเบียบวินัย และที่สำคัญคือ รู้จักการแบ่งปัน

 

ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก หมายถึง การมีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิต ไม่กลัวที่จะพยายามทำสิ่งใหม่ๆ ไม่ท้อถอยกับสิ่งที่ยากขึ้น และมีความพยายามที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ

 

การเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง หมายถึง การสร้างการรับรู้ด้านอารมณ์ให้กับเด็ก เพื่อให้เขารู้จักควบคุมตนเอง สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ เมื่อโกรธหรือหงุดหงิดก็จะไม่แสดงออกด้วยการโวยวาย ตะโกนเสียงดัง แต่จะใช้การพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา

 

เด็กที่ได้รับการดูแลและอบรมจากพ่อแม่ให้เด็กรู้จักวิธีการจัดการกับอารมณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการพูดคุย เช่น โดนเพื่อนตี เด็กบอกเพื่อนไปว่า “ฉันไม่ชอบที่เธอตีฉัน หยุดเดี๋ยวนี้” หรือ ถ้ามีเพื่อนมาแย่งของเล่น ถ้าเด็กเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเองให้ได้ เด็กจะบอกเพื่อนว่า “ฉันยังเล่นของเล่นนี้อยู่ ถ้าเธออยากเล่นต้องรอให้ฉันเล่นเสร็จก่อน”

 
ขั้นตอนการเตรียมตัวเด็กวัย 3-6 ปีเพื่อเข้าสู่สังคม
ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมตัวพร้อมผูกมิตร

พ่อแม่ควรจำลองสถานการณ์วันพบเพื่อนใหม่ในห้องเรียน ถ้ารู้จักชื่อครูและเพื่อนที่จะได้เจอก็จะยิ่งดี ทำป้ายชื่อไปติดที่ตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์ หรือของเล่นของเด็ก และให้เด็กซ้อมพูดแนะนำตัวกับเพื่อนๆ ด้วย

ขั้นตอนที่ 2 : น้ำใจกับมั่นใจ

หัดให้เด็กสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนผ่านให้สิ่งของเล็กๆ น้อยๆ หรือทำอาหารไปแบ่งให้เพื่อนกินที่โรงเรียน โดยในขั้นตอนการทำ เด็กจะได้เป็นผู้ช่วยพ่อแม่ทำสิ่งเหล่านี้ด้วยตนเอง เมื่อเพื่อนได้รับของที่ทำจากความตั้งใจ เด็กจะมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นด้วย

ขั้นตอนที่ 3 : เลือกเพื่อน

เมื่อเด็กได้พบเพื่อนใหม่ พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กเลือกเพื่อนที่เขาอยากทำความรู้จักด้วยตัวเอง ในตอนแรก เด็กอาจจะยังไม่กล้า แต่ถ้าร้องเพลงด้วยกัน เล่นสนุกด้วยกัน ความสนิทสนมจะเกิดขึ้นได้เอง

ขั้นตอนที่ 4 : สานต่อมิตรภาพด้วยรักและใส่ใจ

วันแรกของเพื่อนใหม่และโรงเรียนใหม่ เมื่อเด็กกลับมาแล้ว พ่อแม่ควรชวนเด็กพูดคุย ให้เด็กเล่าให้ฟังว่าเป็นอย่างไรบ้าง และพ่อแม่ควรฟังอย่างตั้งใจ ความใส่ใจจะทำให้เด็กรู้ว่า พ่อแม่มองเห็นคุณค่าของมิตรภาพที่เขาสร้างขึ้น และแนะนำให้หาสมุดบันทึกเล่มเล็ก คอยจดบันทึกว่า เด็กเอ่ยชื่อเพื่อนคนไหนบ่อยๆ หรือชอบทำกิจกรรมอะไรกับเพื่อนคนไหน หลังจากนั้นพ่อแม่ควรพูดคุยกับพ่อแม่ของเพื่อนลูกคนนั้นบ้าง หรือชวนเพื่อนลูกมาทำกิจกรรมที่บ้านในวันหยุดหรือโอกาสพิเศษ ก็จะช่วยสานไมตรีให้กับเด็กได้ด้วย

 
หมายเหตุ

อย่าขู่เด็กด้วยคำพูดทำนองว่า “ทำตัวไม่น่ารักแบบนี้ เพื่อนๆ ที่โรงเรียนต้องไม่ยอมเล่นกับลูกแน่” เด็กจะจินตนาการภาพของเพื่อนในทางลบได้

เด็กอาจมีอีกบุคลิกหนึ่งเวลาอยู่ที่โรงเรียน เมื่ออยู่บ้านจะซนมาก แต่อยู่โรงเรียนกลับเก็บเนื้อเก็บตัวพูดน้อย หรือบางคนตรงกันข้าม พ่อแม่ต้องคอยถามกับครู หรือลองสังเกตตอนไปรับเด็กที่โรงเรียน จะได้รู้ว่า เด็กผูกมิตรเพื่อนใหม่ได้แล้ว

 
 

บทบาทของครู ในการเรียนรู้ทักษะทางสังคมและอารมณ์ของเด็ก

1. ครูพูดคุยกับเด็กที่กำลังรู้สึกหงุดหงิด

สิ่งที่ครูพูด “ครูอยากรู้ว่าอะไรทำให้หนูหงุดหงิด บอกครูซิว่า เกิดอะไรขึ้น ครูจะได้ช่วยหนูได้”

เหตุผล เพื่อให้เด็กรู้ว่า ครูสนใจและเป็นห่วงเขา

2. บอกให้เด็กรู้ว่า ครูอยากเห็นพฤติกรรมเชิงบวก

สิ่งที่ครูพูด “อยู่ในห้องเรียนเราต้องเดิน ถ้าหนูวิ่งหนูอาจจะหกล้มแล้วเจ็บ ถ้าเล่นที่สนามจึงจะวิ่งได้”

เหตุผล เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้กติกา และบอกให้ทราบว่าทำไมต้องทำตามกติกา

3. สนับสนุนให้เด็กช่วยเหลือเพื่อน

สิ่งที่ครูพูด “แนนกำลังทำงานสำคัญ เขากำลังเช็ดโต๊ะหลังจากระบายสีเสร็จ ใครจะช่วยแนนได้บ้าง”

เหตุผล เพื่อกระตุ้นให้เด็กช่วยเหลือเพื่อนและแบ่งความรับผิดชอบในห้องเรียน

4. สอนให้เด็กรู้จักสังเกตการแสดงอารมณ์ทางสีหน้า ท่าทาง

สิ่งที่ครูพูด “ดูที่หน้าของเอซิ เธอกำลังโกรธ มาช่วยกันหาหน่อยว่าเกิดอะไรขึ้น จะได้ช่วยเธอได้”

เหตุผล เพื่อสอนให้เด็กเรียนรู้วิธีการแสดงออกทางอารมณ์ และพัฒนาการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

5. ช่วยให้เด็กสงบและใช้คำพูดเพื่อแก้ไขปัญหา

สิ่งที่ครูพูด “หนูทั้งสองคนรู้สึกไม่พอใจและหงุดหงิด หยุดทะเลาะกัน หายใจเข้าลึกๆ แล้วเล่าให้ครูฟังหน่อยว่าเกิดอะไรขึ้น เราจะได้ช่วยกันแก้ปัญหาได้”

เหตุผล เพื่อสอนให้เด็กรู้จักวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

 
 
ปัญหาเด็กทะเลาะหรือรังแกกัน

ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อเด็กเล่นด้วยกัน คุยกัน ก็ย่อมมีเรื่องทะเลาะกันตามประสา เพราะเด็กยังไม่สามารถควบคุมหรือใช้อารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม แต่หากการทะเลาะกันเล็กๆ เลยเถิดเป็นรังแกกัน พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจะต้องสังเกตและแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายใหญ่โต

ตัวอย่างสถานการณ์

เด็กแอบเทนมในแก้วตัวเองใส่ในแก้วของเพื่อนที่ดื่มนมหมดแล้ว เพราะตัวเองไม่อยากดื่มนม

เด็กที่ตัวโตกว่าเพื่อน ไม่ถูกใจไม่พอใจเพื่อนก็จะผลักเพื่อน บางทีผลักจนล้ม ก็เจ็บตัวกันไป

เด็กที่นำของเล่นของตัวเองมาเล่นที่โรงเรียน และมักถูกเพื่อนแย่งจนร้องไห้ทุกทีไป

วิธีรังแกกันของเด็ก มีรายละเอียดที่ผู้ใหญ่อาจนึกไม่ถึง เพราะมักเป็นเรื่องไม่ซับซ้อน การทะเลาะกันไม่นาน โกรธกันวันนี้ พรุ่งนี้ก็คืนดีกันแล้ว แต่หากปล่อยทิ้งไว้ก็อาจทำให้เกิดปมด้อยตามมาทั้งสองฝ่าย เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่เกเร ส่วนฝ่ายที่ถูกแกล้งก็อาจกลายเป็นคนไม่สู้คนและถูกควบคุมได้ง่าย แล้วพอความมั่นใจในตัวเองก็จะหายไป

 
 
หนทางแก้ปัญหา
บทบาทของพ่อแม่

ควรแสดงท่าทีที่ดี เมื่อครูบอกเล่าพฤติกรรมตอนเด็กอยู่โรงเรียน เพราะแสดงว่าครูดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี

ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ด้วยการพูดคุย เล่ารายละเอียด เพื่อร่วมกันหาทางออก

มองเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องพัฒนาการและการปรับตัวของเด็กวัยนี้ อย่าคิดว่าคู่กรณีเป็นเด็กมีปัญหา และควรหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

สอนเด็กว่า อย่าอยู่ใกล้เพื่อนที่ชอบแกล้ง ตอนที่ไม่มีเพื่อนหรือครูอยู่ด้วย เพราะเด็กจอมแกล้งอาจจะนึกสนุกและรังแกเพื่อนคนเดิมซ้ำอีก สอนเด็กว่าเพื่อนที่ดีที่สุด คือตัวของเขาเอง

สอนเด็กว่า อย่าตอบโต้ด้วยการใช้กำลังหรือคิดแก้แค้นกัน เพราะจะทำให้ปัญหาบานปลาย

และในการแก้ไขระยะยาว เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเองและกล้าปกป้องตัวเองเมื่อถูกรังแก พ่อแม่ต้องคอยย้ำกับเด็กว่า ถึงเพื่อนคนนั้นจะชอบรังแกเขา แต่เพื่อนคนอื่นๆ กับครูรักเขามาก

การสอนของพ่อแม่ต้องไม่ใช่การยุหรือผลักดันให้เด็กตอบโต้ หรือหันมาใช้พฤติกรรมไม่น่ารักเหมือนที่เขาถูกเพื่อนทำ

 

บทบาทของครู

เมื่อเห็นเด็กทะเลาะหรือรังแกกัน ให้แยกสองฝ่ายออกจากกันในระยะเวลาสั้นๆ ก่อน เพื่อให้อารมณ์เด็กเย็นลง

ให้คำมั่นสัญญา ทำให้เด็กที่ถูกรังแกอุ่นใจได้ เช่น "ครูรักหนูนะ ครูจะปกป้องหนูเหมือนพ่อแม่ดูแลหนู ไม่ให้ใครมารังแกหนูอีก"

เร่งปรับพฤติกรรมเด็กทั้งสองฝ่าย คือ เด็กจอมรังแก สอนให้เขารู้จักการขอโทษ และ สอนเด็กที่ถูกรังแกรู้จักการให้อภัย เพื่อพัฒนาทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

สอนฝ่ายรังแกให้รักเพื่อนมากขึ้น เมื่อรับรู้และเข้าใจว่า คนถูกแกล้งไม่ชอบ แต่ก็ยังยอมให้อภัยได้ เด็กก็จะเข้าใจและไม่อยากแกล้งเพื่อนอีก

อาจให้ทั้งสองฝ่ายช่วยเสนอแนะทางออก โน้มน้าวให้ทั้งสองฝ่ายมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

จะต้องบอกกับพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งฝ่ายเด็กรังแกเพื่อนและเด็กถูกรังแก หากการรังแกนั้นรุนแรง บ่อยครั้ง และมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงจนน่าเป็นห่วง

ท่าทีในการสื่อสารของครูเป็นเรื่องสำคัญ ต้องใช้วิธีพูดคุยทำนองบอกเล่าเรื่องราวและปรึกษา อย่าตำหนิติติงด้วยอารมณ์ หรือย้ำถึงปมด้อยของเด็ก เพราะยิ่งจะทำให้พ่อแม่ร้อนใจจนจับเด็กย้ายห้องหรือย้ายโรงเรียนไปเลย

 
 
การปลูกฝังมารยาทสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี

“คำพูดเพราะๆ การไหว้ สวัสดีผู้ใหญ่ รู้จักกาลเทศะ” เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กๆ กลายเป็นเด็กน่าเอ็นดูสำหรับผู้ใหญ่ การสอนเด็กถึงการปฏิบัติตัวที่ดีนั้นไม่ยากเกินไป ค่อยๆ สอน ค่อยเป็นค่อยไป สอนในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กมีพื้นฐานชีวิตที่ดี มีนิสัยน่ารัก และเมื่อเด็กทำดี พ่อแม่ก็ควรชมเชย เด็กจะได้ทำเป็นประจำจนเป็นนิสัย

 

รู้จักทักทาย

สอนให้เด็กไหว้ผู้ใหญ่ทุกคนที่ได้พบและพูดคุยกัน และทำเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็น

พูดชมเชย หากเด็กไหว้ได้สวย และชมเด็กๆ คนอื่นด้วย เด็กจะได้มีกำลังใจ

หากอยู่ในสถานการณ์ เด็กคนอื่นๆ กำลังโวยวาย ให้สอนเด็กว่าเป็นกิริยาที่ไม่ดี ทำอย่างนั้นแล้วจะไม่มีใครรัก

การพนมมือไหว้อย่างไทยๆ เป็นการทำท่าในการพัฒนาสมองทั้งสองข้าง ในท่าของ Brain Gym

วิธีที่ง่ายที่สุด ในการสอนมารยาทเบื้องต้น คือ การสอนผ่านการกระทำที่มีผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ดี

 

พูดจามีหางเสียง

ฝึกให้เด็กพูดมีหางเสียง มีครับ / ค่ะ ต่อท้าย ทุกๆ ครั้ง

พูดสวัสดี ขอโทษหรือขอบคุณ โดยการสอนให้เด็กรู้จักขอโทษ เมื่อเด็กทำผิด ขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือไม่ว่าเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม

ให้เด็กเล่นกับเด็กวัยเดียวกันที่มีนิสัยน่ารัก พูดเพราะ แล้วเด็กจะเลียนแบบและซึมซับ ลักษณะท่าทางรวมทั้งการพูดคุยมาอย่างไม่รู้ตัว

 

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

ฝึกให้เด็กกินข้าวพร้อมกับพ่อแม่ เพื่อให้เด็กได้ซึมซับพฤติกรรมของผู้ใหญ่ว่ากินอาหารกันอย่างไร

ให้เด็กกินข้าวเองโดยใช้อุปกรณ์ช่วยกันเปื้อนเลอะเทอะ เช่น ผ้ารองจาน และผ้ากันเปื้อน

ใช้นิทานและเพลงเป็นเครื่องมือในการฝึกมารยาท เพราะเด็กจะเข้าใจได้ง่าย สนุก และมีความคล้อยตามง่าย

 

ข้อห้ามสำหรับพ่อแม่

อย่าใช้เสียงดัง ห้ามตวาดเด็ก หากเด็กไม่ทำตามที่บอก

สร้างบรรยากาศให้สบายๆ ไม่กดดัน แต่แสดงให้เห็นว่าใครๆ เขาก็ทำกัน มีมารยาทที่ดี

การสอนที่ดีที่สุดคือการที่พ่อแม่และบุคคลใกล้ชิด ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง

การฝึก ต้องทำอย่างจริงจัง ไม่ใช่บางวันเตือน บางวันก็ไม่เตือน เด็กจะคิดว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ

อย่าลืมกล่าวคำชม เมื่อเด็กทำดีทุกครั้ง

การเริ่มต้นสอนสิ่งที่ดีๆให้กับเด็ก เริ่มเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี แต่พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังมากจนเกินไป และอย่าทำให้เด็กคิดว่าการใช้ชีวิตบนโลกนี้ลำบาก ควรจะค่อยๆ สอนไปกับการใช้ชีวิตประจำวัน

 
 
การปลูกฝังระเบียบวินัยสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี

เด็กซนอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปวิ่งมาได้ทั้งวัน ขว้างปาสิ่งของเลอะเทอะทั่วบ้าน ห่วงแต่เล่น เล่นอะไรไม่เคยเก็บ พอเรียกให้มาเก็บ ก็หนีหายไป เอาแต่ใจตัวเอง ไม่ยอมรับกติกา กลายเป็นเรื่องปวดหัวให้พ่อแม่ และจะปวดหัวมากขึ้นอีกเมื่อโตไป ถ้าพ่อแม่ไม่สร้างวินัยให้กับเด็กตั้งแต่ตอนนี้

 

พ่อแม่จะต้องสอนให้เด็กรู้จักระเบียบวินัย เพราะระเบียบวินัยเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคม เมื่อโตขึ้นเด็กต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ดังนั้น ต้องสอนตั้งแต่ยังเด็กอยู่จึงจะได้ผล

 

การสร้างระเบียบวินัย

เด็กวัย 3 - 6 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มเข้าสู่สังคมมากขึ้น ไปโรงเรียน มีเพื่อนใหม่ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง จะเป็นวัยที่เด็กเริ่มพูดรู้เรื่องมากขึ้น เชื่อฟังมากขึ้น แต่บางคนก็ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่ ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้มากนัก เวลาโกรธหรือไม่พอใจ ก็ยังคงทำปึงปังๆ

 

พ่อแม่จะต้องเริ่มสอนเรื่องวินัยเข้าไปในชีวิตประจำวัน การเลี้ยงลูกโดยทำให้เด็กรู้สึกเคยชินว่าเป็นสิ่งที่เด็กทำอยู่แล้ว และต้องไม่คาดหวัง ค่อยๆ บอก ค่อยๆ สอน เด็กจะเรียนรู้และทำได้มากขึ้น

สอนให้เด็กรับผิดชอบตัวเองให้ได้  เช่น อาบน้ำ  แปรงฟัน กินข้าว แต่งตัว ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้ตามวัย

รู้จักควบคุมตัวเอง   ไม่อาละวาดขว้างปาข้าวของเมื่อไม่พอใจ  ไม่เข้าไปแย่งหรือทำร้ายเพื่อนเมื่ออยากได้ของเล่น

รู้ถึงสิ่งที่ควรทำ เช่น กินผักแล้วดี ล้างมือก่อนกินข้าวทุกครั้ง แปรงฟันเช้าและก่อนนอน เป็นต้น

รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เช่น รู้ว่าเวลานี้ถึงเวลากินข้าวแล้ว ต้องพักเรื่องเล่นมากินข้าวก่อน

รู้ว่าถึงเวลานอนก็ต้องเข้านอน

รู้ว่าสิ่งไหนไม่ควรทำ เช่น ไม่เล่นไฟ ไม่เล่นของมีคม ไม่ออกไปวิ่งที่ถนน ไม่เอานิ้วแหย่พัดลม

รู้จักเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น รู้จักขอ รู้จักรอคอย ไม่แซงคิว รู้จักแบ่งปัน รู้จักขอบคุณและขอโทษ

สิ่งสำคัญของการสร้างวินัยให้กับเด็กคือ พ่อแม่ นั่นเอง

อย่าตามใจมากเกินเหตุ เช่น ให้ทุกสิ่งที่เด็กอยากได้ พ่อแม่ควรจะควรซื้อของเล่นให้ตามความเหมาะสม เช่น ของเล่นเก่าพังแล้ว จึงซื้อให้ใหม่ หรือหากเด็กอยากได้มากๆ  ก็ต้องคุยกันด้วยเหตุผล หรือมีข้อแลกเปลี่ยน เช่น ทำงานบ้านเล็กๆ  น้อยๆ  เพื่อให้ได้ของนั้นมา  เป็นต้น

สอนให้เด็กรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ

ในเด็กเล็กๆ การฝึกวินัยอาจจะทำได้ยาก พ่อแม่ต้องใจเย็นและอดทน ค่อยๆ สอนไปเรื่อยๆ เด็กจะซึมซับและสามารถทำได้เอง

พ่อแม่และคนในครอบครัว ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ทำให้เด็กเห็น ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ

 

สร้างระเบียบวินัยจากการเล่น

ทำบ้านให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดวางเป็นระเบียบ ไม่รกรุงรัง

จัดสถานที่เก็บให้เอื้อต่อการเก็บสำหรับเด็ก มีชั้นวาง ตะกร้า กล่อง หรือกระบุง ให้เด็กเก็บของเล่น

ท่าทีแสดงออกของพ่อแม่  ต้องเป็นการชักชวน  มากกว่าการบังคับ  และฝึกให้เด็กแสดงความคิดเห็นหรือชวนกันคิด

ดึงดูดการเก็บของเล่นให้สนุก ด้วยการช่วยกันเก็บ เช่น เกมพาสีเทียนกลับบ้าน (ลงกล่อง) หรือ พาตุ๊กตาไปนอนในห้อง(ลงตะกร้า)

เตือนเด็กทันที ถ้าเห็นว่าเด็กไม่เล่นของชิ้นนั้นแล้ว ว่าจะต้องเก็บเข้าที่

อย่าปล่อยให้เด็กหันไปทำกิจกรรมอื่น โดยที่ยังเก็บของเล่นไม่เสร็จ เช่น ไปเปิดโทรทัศน์ดู ไปกินขนม เพราะเด็กจะไม่สนใจเก็บแล้วล่ะ

พ่อแม่ต้องไม่เก็บของเล่นที่ลูกไม่ยอมเก็บเอง เพราะเท่ากับว่าไม่ได้ฝึกเด็กอย่างที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ถ้าเด็กอิดออดก็ต้องชวนกันเก็บ แล้วพูดคำชมเชยเด็ก

ตั้งใจจริงในการฝึกเด็ก และรักษาความสม่ำเสมอ ทำจนเกิดความเคยชิน เก็บทุกครั้งๆ จนกลายเป็นนิสัยได้เอง

 

การปลูกฝังเรื่องการแบ่งปันสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี

เด็กอายุระหว่าง 2 - 4 ปี โดยประมาณ มักจะหวงของเล่น เด็กจะยึดทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเข้าหาตัวเอง มีตัวเองเป็นศูนย์กลาง ตอนเล็กๆ อยู่ก็ธรรมดา แต่พออยู่ในช่วงวัยนี้ มีของเล่นแล้วจะไม่ยอมแบ่งคนอื่น พอเด็กเข้าวัย 4 ปี เด็กจะชอบเข้าสังคม ชอบมีเพื่อน อาการยึดทุกอย่างเข้าหาตัวเองจะผ่อนคลายไปบ้าง

 

การปลูกฝังเรื่องการแบ่งปัน

การให้เป็นความรู้สึกเป็นสุขที่ผู้ใหญ่รับรู้ได้ แต่กว่าที่เด็กคนหนึ่งจะรู้ว่า การรับมีความสุขและการให้ยิ่งมีความสุขมากกว่า ก็ต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ และสิ่งเหล่านี้ต้องบ่มเพาะตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ จะได้สอนเด็กรุ่นต่อไปให้มีความสุขจากการแบ่งปัน

 

ชีวิตของเด็กคนหนึ่งมีความสุขได้ เพราะเป็นผู้รับ ได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ ในช่วงขวบปีแรกของชีวิตจึงเป็นเวลาทองแห่งการสร้างพื้นฐานด้านจิตใจอันมั่นคง ด้วยการเป็นผู้รับความสุขความสบายใจจากการดูแลอย่างดีของพ่อแม่

 

เมื่อได้รับอย่างที่ต้องการ ได้กินอิ่ม นอนหลับ ได้เล่นสนุก ได้รับความรักความเอาใจใส่อย่างเต็มเปี่ยม จะช่วยให้เด็กมีอารมณ์แจ่มใส มีจิตใจมั่นคง และเมื่อไม่ขาดแคลนทั้งด้านกายภาพหรือด้านจิตใจ เด็กจะมีหัวใจเมตตา สามารถเรียนรู้เรื่องการเป็นผู้ให้ได้ง่ายขึ้นในวันข้างหน้า

 

พอเด็กอยู่ในวัย 1 - 3 ขวบ ธรรมชาติของเด็ก คือ จะเริ่มเอาตนเองเป็นศูนย์กลางในทุกๆ เรื่องมากขึ้น เพราะรู้สึกถึงการมีตัวตนอยู่ของตนเองมากขึ้น รวมถึงรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของสิ่งที่ตนเองครอบครอง

 

ช่วงวัยนี้ เหมาะจะสอดแทรกแนวคิด เรื่องการเป็นผู้ให้ – ผู้รับได้ดีที่สุด เด็กจะเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเขาให้ของเล่นของเขาแก่พ่อแม่แล้วพ่อแม่มีความสุข เด็กก็จะมีความสุขไปด้วย เด็กจะค่อยๆ ซึมซับบทบาทผู้ให้และผู้รับได้เอง

 

ในเด็กวัย 3 – 6 ปี เป็นวัยที่เด็กเริ่มมีเพื่อน มีสังคมของตัวเอง พ่อแม่ควรสอนการแบ่งปันได้ในทางอ้อม ถ้าเด็กได้รับขนมในขณะที่มีเพื่อนๆ อยู่ด้วย ก็บอกให้แบ่งขนมให้เพื่อนด้วยเป็นต้น ถ้าในครอบครัวมีน้อง มีพี่ ก็หัดให้เด็กแบ่งปันขนม ของเล่น กับคนในครอบครัวก็สอนเด็กได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน โดยพ่อแม่ต้องช่วยสร้างบรรยากาศให้เด็กรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ จะมีการแบ่งปัน เป็นเรื่องสนุกสนานที่จะกินขนม หรือเล่นของเล่นด้วยกัน มีความสุขพร้อมกันทุกๆ คนทั้งผู้ให้และผู้รับ และที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า พ่อแม่จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ




นานา น่ารู้

ระวัง! สารกันบูดในขนมปังร้านดัง article
กินอย่างไร เมื่อโคเลสเตอรอลในเลือดสูง article
นาฬิกาแขวนผนัง article
อ่านให้จบนะ..ดีมากๆ? เลย article
อ่านแล้วชอบ จึงขอแบ่งปัน article
ช้อนยาวหนึ่งเมตร article
ป้องกันและชะลอ “ข้อเข่าเสื่อม” ก่อนวัย article
ทำไมแสงแดดถึงเป็นอันตราย article
อย่าไปเกลียดใคร ให้แผ่เมตตา article
13 คุณประโยชน์จากวาซาบิที่คุณคาดไม่ถึง article
อุจจาระบอกความผิดปกติ article
ตำนานวันไหว้พระจันทร์ article
ผู้ชาย VS วัยทอง article
ท้องป่อง อ้วนลงพุง article
คาถาบูชาพ่อ แม่สวดทุกวัน article
ขึ้นฉ่าย ปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ article
กินอาโวคาโดลดไขมัน ไม่ทำให้อ้วน article
การใช้บุญที่ถูกต้องถึงจะได้ผล article
กระชาย : ชะลอความแก่ article
อ่านแล้วสบายใจ article
เช็คความเสื่อมแต่ละวัย! article
จงใช้ชีวิตให้คุ้มค่า article
ลืมได้ ก็จำได้ article
ยาหมดอายุแล้วสามารถกินได้ไหม? article
จริงหรือไม่ เจ็บคอ บ่อยๆ article
ตอนอยู่ อยากได้เงิน ตอนตาย อยากได้บุญ ตอนอยู่ ทำตามใจกิเลส ตอนตาย เลยกลายเปรต article
คน 8 ประเภท อย่าคบ อย่าช่วย ถอยห่างได้เป็นดี article
เรื่องน่ารู้ของ สีพาสปอร์ตในไทย article
บทเรียนของคนวัย 40 ปีขึ้นไป ที่อยากแก้ไข และเตือนคนรุ่นหลัง article
จริงหรือไม่? กินไก่มาก เป็น “โรคเกาต์” article
ดื่มนมต่างเวลา ได้คุณค่าแตกต่างกัน article
จริงหรือไม่ วางมือถือข้างหมอน เสี่ยง "มะเร็งสมอง" article
คุณสมบัติหลินจือกับสุขภาพร่างกาย article
อ่านเถอะดีมาก เคล็ดลับการดูแลสมอง 10 ประการ จาก "หนูดี วนิษา เรซ" article
จริง หรือ ไม่ ความอ้วน ฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด ? article
ทำไมต้องนั่งสมาธิในเวลา "ก่อนนอน หรือ ตอนเช้า" article
เครียดไม่รู้ตัว ภัยเงียบที่อาจอยู่ข้างๆคุณ article
คนเราตายแล้วไปไหนบ้าง ? article
กรรมที่เกิดมาเป็นสัตว์ article
แค่กำมือก็ช่วยความดันได้ article
วันนี้... คือ “ วันที่ดีที่สุด ” article
คำกลอน วันพุธ article
คำกลอน วันอังคาร article
คำกลอน วันจันทร์ article
คำกลอน วันอาทิตย์ article
คำกลอน วันเสาร์
คำกลอน วันศุกร์ article
คำกลอน วันพฤหัสบดี article
ไข่ไก่ แทบจะเป็นเมนูหลักเมนูหนึ่งของคนไทยเลยทีเดียว article
คีโม คือธุรกิจเลือดเย็นของโรงพยาบาลแบบเจ้ามือหวย คนเล่นเสีย เจ้ามือรวย article
วิธีใช้ปุ่มบนเครื่องคิดเลข article
มนุษย์ที่หมดบุญ มี 2 อย่างด้วยกัน article
แผลในปาก เกิดจากอะไร กันแน่!! article
10 อาหารช่วยลดกลิ่นตัว กลิ่นตัวหอมธรรมชาติไม่ต้องพึ่งโรลออน article
10 ข้อคิดยุคใหม่ article
5 อาการนิ้วล๊อคเป็นอย่างไร? article
จำกันได้ไหม เด็กน้อย
จำกันได้ไหม แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟัน
จำกันได้ไหม กาดำ article
ระลึก นึกถึง พระคุณ พ่อ แม่
จำกันได้ไหม ยี่สิบม้วนไม้ม้วน
ทบทวนความจำ พยัญชนะไทย article
ท่อง จำ ติดหู ติดใจ กันได้บ้างไหม article
อาหารเสริม กับ การกินเจ article
เทศกาลกินเจ 2564 ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม - 14 ตุลาคม 2564 article
วิตามินและอาหารเสริมควรทานเวลาไหนดี? article
อาการแบบใดเรียก ว่า กำลังอยู่ในภาวะช็อค ! article
ปรัชญาแห่ง “ความเรียบง่าย” ของชีวิต article
รวมบทธรรมะ article
ความดันโลหิตสูง article
ระวัง !!!! Favipiravir มีขายเกลื่อนเนท article
ระวัง! ฟ้าทะลายโจรปลอม เช็กให้ดีก่อนซื้อ
ความเข้าใจผิด ท่านพุทธทาสภิกขุ article
เงินกับเวลา article
10 พฤติกรรมทำลายกระดูกและส่วนสูง ถ้าไม่อยาก เตี้ยลง ควรหยุดทำสิ่งเหล่านี้ article
ไม่น่าเชื่อว่าน้ำตาลในกล้วยตากมากกว่าทุเรียนเกือบเท่าตัว ในขณะที่ article
วิตามิน กินอย่างไรให้ถูกวิธี? article
มนุษย์เราเอ๋ย article
อารมณ์ไม่ดี article
เคยสงสัยไหม? ทำไมรางรถไฟต้องถูกรองด้วยก้อนหิน article
...คนดีเดินไปไหน... ใครก็ทัก article
อวัยวะ กลัวอะไร article
สุดท้าย article
วิธีแก้เครียดก่อนเข้านอน article
ประโยชน์ของใบย่านาง ไอเดียการกินการใช้ใบย่านางเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง article
สิ่งที่คุณต้อง ขอบคุณ article
มีเมียสวยไม่สู้มีเมียใจซื่อ article
#ไม่ขอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ # article
การตื่นเช้า article
รู้จัก 5 แซ่จีน ลูกหลานมังกรในไทย เปิดที่มาต้นกำเนิดนามสกุลจีน article
บริจาคเลือดตามวันเกิด article
ยาที่ดีที่สุด article
อยากลดน้ำหนัก article
รักษาไขมันพอกตับ article
หลงลืมตามวัยหรือสมองเสื่อม article
8 ต้นเหตุ พร้อม 7 วิธีแก้ บอกลา ตะคริว แบบถาวร article
กระตุ้น สมอง article
ทำไมเราถึงตด? article
“สาลี่” ผลไม้สรรพคุณดีจากจีน ช่วยบำรุงหัวใจ ฟอกเลือด article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com