ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ผงนัว...สมุนไพรชูรส แทนผงชูรส article

ผงนัว...สมุนไพรชูรส แทนผงชูรส


เมื่อการดำเนินชีวิตแปรเปลี่ยนไป ผู้คนหันมาพึ่งอาหารสำเร็จรูป อาหารนอกบ้าน สารพัดโรคจึงตามมา ทั้งโรคหัวใจ โรคเครียด โรคประสาท 'ผงนัว' ช่วยสร้างรสชาติอาหารให้กลมกล่อม ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ 



หลังจากที่ถนนลาดยางตัดผ่านชุมชนชาวกะเริง ชนเผ่าหนึ่งในภาคอีสานแถบจังหวัดสกลนคร เสาไฟขึ้นเรียงรายริมถนน บ้านแต่ละหลังมีไฟฟ้าใช้ วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยนไป จากที่เคยบริโภคพืชผักท้องถิ่นเด็ดจากริมรั้ว แต่ละครอบครัวก็หันมาพึ่งอาหารถุงสำเร็จรูป ซื้อวัตถุดิบจากรถกับข้าวเร่ขาย และสิ่งที่ตามมาก็คือ ชาวบ้านเริ่มป่วยเหมือนคนเมือง บางครั้งเป็นโรคหัวใจ โรคเครียด โรคประสาท 



เราเข้าไปทำแผนแม่บทชุมชน วิจัยศึกษาวิถีชีวิตชาวบ้านที่เปลี่ยนไป ทำให้สุขภาพเริ่มแย่ลง จากเดิมชาวบ้านเคยบริโภคพืชผักสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น เมื่อระบบเกษตรฯ เริ่มเปลี่ยนเน้นการส่งออก ชาวบ้านจึงผลิตเพื่อขายและต้องพึ่งพิงอาหารถุง อาหารกระป๋อง ที่มีผงชูรสเป็นส่วนประกอบทำให้ชาวบ้านเป็นโรคเหมือนคนในเมือง ทั้งโรคหัวใจ โรคเครียด โรคประสาท ความดันโลหิตสูง ทั้งๆ ที่ชาวบ้านเคยอายุยืนกว่า 100 ปี ซึ่งส่วนใหญ่กินอาหารพื้นถิ่น? ยงยุทธ ตรีนุชกร นักพัฒนาอิสระ ครูภูมิปัญญาไทย กล่าว



วิถีชีวิตที่แปรเปลี่ยนเช่นนี้ คงมิได้เกิดขึ้นเพียงแค่ชุมชนชาวกะเริง หลายชุมชนแถบชนบท เมื่อต้องพึ่งพิงอาหารนอกบ้าน พวกเขาเริ่มป่วยคล้ายๆ กับคนเมือง ปรากฏการณ์เช่นนี้น่าเป็นห่วง แล้วจะมีทางออกเพื่อคืนการมีสุขภาพที่ดีให้กับชุมชนอย่างไร



ผงนัว เพิ่มรสชาติเพื่อสุขภาพ

เมื่อสุขภาพของชาวบ้านในชุมชนเริ่มแย่ลง ทางออกจากเวทีเรื่องผักพื้นบ้าน เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว ก็มีประเด็นนำเสนอว่า จะใช้อะไรแทนผงชูรส และในที่สุด 'ผงนัว' คือทางออกที่ชัดเจนขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ 'นัว' มาจากภาษาพื้นถิ่นอีสานหรือภาษาไทยลาว แปลว่า 'กลมกล่อม' ผงนัวแปรรูปมาจากสมุนไพรหลายชนิด ที่สามารถใช้ทดแทนผงชูรสได้ และไม่ก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกาย นอกจากนี้ผงนัวยังเป็นรูปแบบหนึ่งของวิธีคิดจากระบบเศรษฐกิจฐานราก ครูภูมิปัญญาไทยอย่างอาจารย์ยงยุทธ ตรีนุชกร เป็นคนแรกที่สัมผัสชีวิตชุมชนชาวอีสาน และได้รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงว่า ชาวบ้านเริ่มป่วยมีโรคภัยใกล้เคียงกับคนเมือง คือมีสุขภาพที่แย่ลง จึงเป็นเหตุที่ต้องพลิกฟื้นภูมิปัญญาขึ้นมาใช้ โดยร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)   คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



อาจารย์นิภาพร อามัสสา สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร และทีมนักวิจัยจากสถาบันเดียวกัน ได้ทำการวิจัยคุณค่าทางอาหาร พร้อมแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้ผงนัวสำเร็จรูป สะดวกกับการใช้งาน และเก็บได้นาน ได้ศึกษาวิจัยเรื่องนี้หลายปีจนกระทั่งปัจจุบันสามารถผลิตออกจำหน่ายและถ่ายทอดงานวิจัยสู่ชุมชน 



"ในฐานะที่ตนเป็นคนพื้นเพอีสาน ทำให้เห็นและรับรู้ถึงการใช้พืชผักพื้นบ้าน อย่างการนำหม่อนมาใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติที่อร่อย ต้มไก่ใส่ใบหม่อน นอกจากนี้ยังมี 'สูตรข้าวเบือ' ที่ใช้ข้าวเหนียวมาแช่น้ำ แล้วป่นใส่ในอาหารเพิ่มรสชาติ โดยเฉพาะที่สกลนคร มีเครื่องปรุงรสที่แปลกออกไปคือ ชาวบ้านใช้ใบของผักพื้นบ้านหลายชนิดตากแดดให้แห้ง แล้วตำให้ละเอียดผสมกัน เพื่อเก็บไว้ใส่อาหารเวลาต้มแกง หรือที่เรียกว่า ผงนัว" อาจารย์นิภาพรกล่าว



ผักที่ใช้ทำผงนัวจะมี 12 ชนิด ได้แก่ ใบผักหวาน, ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบกระเทียม, ใบหอม, ใบมะขาม, ใบกระเจี๊ยบ, ผักโขมทั้งต้น, ใบส้มป่อย, ใบน้อยหน่า, ใบชะม่วง และใบกุยช่าย เลือกใบที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป ผสมกับผักพื้นบ้านในอัตราส่วนที่ต่างกันไป แต่ที่มีอัตราส่วนปริมาณมาก คือ ผักหวานและใบหม่อน รองลงมาเป็นใบมะรุม และที่ใส่ลงไปน้อยสุดคือ ใบน้อยหน่า เนื่องจากมีการถ่ายทอดมาว่าใบน้อยหน่ามีพิษ ซึ่งคนสมัยโบราณนำใบน้อยหน่ามากำจัดเหา 



แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าพืชชนิดไหนมีพิษและมีรสขม หากใส่จำนวนน้อยถือว่าเป็นยาและใช้แกงกินก็ได้ นอกจากนี้แล้ว ยังเพิ่มข้าวเหนียวแช่น้ำ ข้าวกล้องแช่น้ำ และข้าวเหนียวนึ่งสุก ข้าวกล้องหุงสุก และเติมเกลือไอโอดีนลงไป ผ่านการอบแห้งแล้วป่นรวมกัน ซึ่งงานวิจัยผงนัว ยังคงส่วนผสมที่ชาวบ้านเคยทำไว้แต่มาปรับปรุงสัดส่วน และเพิ่มเกลือไอโอดีนลงไป พร้อมดัดแปลงเรื่องของรสชาติให้เหมาะกับอาหารแต่ละชนิด



ผงนัวจากงานวิจัยได้มีการทดสอบรสชาติให้เป็นที่น่าพอใจ จึงมีด้วยกัน 2 รส คือ รสมันหวาน ใช้สำหรับต้ม ผัด หมัก แกงและย่าง และรสเปรี้ยวใช้กับต้มยำ ยำ ลาบ อ่อม แจ่ว รสนี้เพิ่มผักที่มีรสเปรี้ยว พวกส้มป่อยหรือใบมะขาม ทั้งนี้รสชาติของผงนัวจะเพิ่มรสให้อาหารได้นั้นต้องใส่ในน้ำต้มแกงตอนร้อนๆ ถ้าชิมจะไม่มีรสชาติ แต่รู้สึกได้ว่ามีรสปะแล่มๆ คล้ายผงชูรสที่ขายตามท้องตลาด



"การทำผงนัวต้องใช้เวลาทั้งปี เพื่อเก็บใบผักพื้นบ้านให้ครบ เนื่องจากผักแต่ละชนิด มีฤดูกาล พวกใบหอม ใบกระเทียมจะมีตอนฤดูหนาว ผักหวานต้องรอให้ถึงหน้าฝนจึงจะมีใบ" อาจารย์นิภาพร อธิบาย



ด้านอาจารย์ ยงยุทธ ตรีนุชกร ครูภูมิปัญญาไทยกล่าวว่า ความคืบหน้าเรื่องการผลิตผงนัว ช่วงนี้ชาวบ้านเริ่มทำโครงการผลิตออกขายภายนอก เป็นการรวมตัวของเครือข่ายอินแปง จังหวัดสกลนคร พัฒนาสูตรไปเรื่อยๆ กำลังคิดว่าจะทำเป็นผงโรยให้เด็กกิน ใส่งา ใส่สาหร่าย (ไกแม่นํ้าโขง) ผสมเข้าไปด้วย ก็จะเป็นอาหารสำหรับเด็ก หรือทำเป็นแจ่ว ก็ปรับเป็นผง เป็นก้อน คงไม่ทำเป็นเกล็ดคล้ายผงชูรส ตอนนี้มีแบบผงอย่างเดียว แบบก้อนกลมๆ ชาวบ้านทำไว้ใช้เอง ตอนนี้ให้ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอทุน สวทช. เพื่อทำวิจัยว่า ในผงนัวมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนเท่าไหร่



"ผักทุกอย่างกินได้หมด ชาวบ้านบริโภคมากขึ้น เครือข่ายอินแปงของสกลนครบริโภคเยอะ เสียงตอบรับจากชาวบ้านจะดี ไปคุยที่ไหนที่นั่นเขาอยากจะทำ ปัญหาสุขภาพเรื่องใกล้ตัว และประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กินผงชูรสยิ่งกว่าไทย ใช้ผงชูรสจิ้มเลย มีกลุ่มคนลาวสนใจเข้ามาเรียน เครือข่ายอินแปงก็เคยไปลาว เราอยากเน้นให้คนไทยทุกคนได้กิน ที่ผ่านมาเผยแพร่เยอะพอสมควร คนรู้จักผงนัวมากขึ้น คิดจะทำแจกจ่ายให้แม่ค้าส้มตำ ไก่ย่าง ในกรุงเทพฯ เพราะถือว่าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภค แล้วเอาผลผลิตมะละกอแบบไม่มีจีเอ็มโอมาใช้ปรุงอาหาร"



ครูภูมิปัญญาไทยกล่าวอีกว่า รสชาติของผงนัวแต่ละท้องถิ่นจะไม่เหมือนกัน แต่เราต้องมีหลักคือ ประการแรก ต้องรู้จักสรรพคุณของต้นไม้ก่อน ต้องรู้ว่ารสชาติอะไรนำ อาจหวานเยอะตามด้วยรสมันเปรี้ยว ประการที่สอง จะใช้ปรุงอาหารแบบไหน อย่างส้มตำต้องลดปริมาณลง เปรี้ยวหวานจะนำ ต้องปรับไปตามสภาพอาหาร ประการที่สาม ใช้หลักตามเภสัชกรรม อย่างรสเปรี้ยวบำรุงฟอกเลือด รสหวานบำรุงกำลัง 


ผงนัวนอกจากมีคุณสมบัติเป็นเครื่องปรุงรสแล้ว ยังให้ประโยชน์ด้านสมุนไพร โดยเฉพาะตัวผักพื้นบ้าน มีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย จากการศึกษาของสถาบันการแพทย์แผนไทยพบว่า ใบมะขามอ่อน ยอดส้มป่อย ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ผักโขมและชะม่วง อีกทั้งดอกมะรุม มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในระดับที่สูงมาก


พ่อแสง นามตะ หมอพื้นบ้านด้านสมุนไพร ศูนย์การเรียนรู้สุขภาพชุมชน เครือข่ายเกษตรนิเวศน์เทพนิมิตร จังหวัดชัยภูมิ กล่าวถึงอีกต้นตำรับผงนัวที่เปลี่ยนชื่อเป็นผงแซบ โดยมีส่วนผสมของผักพื้นบ้านบางอย่างที่แตกต่างจากสกลนคร



"ต้นตำรับเดียวกัน ถ้าอยู่ชัยภูมิเรียกว่าผงแซบ แต่ก็เป็นเครือข่ายหมอพื้นบ้านเดียวกัน เราเอาทางโน้นมาทำ ปรับเปลี่ยนพืชผักไปตามสถานที่ จริงๆ เราทำมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 38 พอรวมกลุ่มหมอพื้นบ้านปี 40 ก็เริ่มพัฒนาอีกระดับหนึ่ง เริ่มเข้าที่เข้าทางประมาณ 3 ปี สูตรจะอยู่ตัว อร่อยกลมกล่อม เราพยายามหาสูตรสมุนไพรให้กลมกล่อม" 



พ่อแสงให้ข้อมูลว่า ชัยภูมิเป็นที่ราบสูง มีการใช้สารเคมีจำนวนมาก ชาวบ้านเจ็บป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ กระเพาะ โรคปวดเมื่อย เราได้ถ่ายทอดความรู้บนเวทีหมอพื้นบ้านว่า ตอนนี้ชาวบ้านเจ็บป่วยกันมาก เราจะหาอะไรมาช่วย ก็เลยสอนให้หันมาหาพืชผัก ตัวสูตรผงนัวก็มีเหมือนกัน แต่เพิ่มบางตัวไม่เท่ากัน ทางชัยภูมิมี 2 สูตร สูตร 1 เป็นสูตรกลางๆ ใส่ต้มผักป่น แจ่วได้ สูตร 2 ใส่อ่อม ส่วนมากคนอีสานจะกินอ่อมขมนิดๆ ก็เพิ่มมะระขี้นก รสขมๆ อร่อยดี อ่อมทุกวันนี้ไม่ใช่อ่อมแบบโบราณ ก็นึกถึงสมัยก่อนด้วยการใส่มะระขี้นก


"อย่างสูตร 2 จะมีข้าวเหนียวเยอะ เราจะเอาข้าวเหนียวมาปิ้งให้สุกเหมือนจี่ข้าวกิน แล้วค่อยๆ ทุบให้แบน ย่างอีกทีหนึ่งจนกรอบ เราจะได้ข้าวเบือที่หอมๆ จะไม่เหมือนข้าวคั่ว ที่สกลนครทำสูตรเดียว ที่ผ่านมาเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง แต่ก่อนเรียกผงนัวตามคนอื่น พอทำไปสักพักก็เข้าสูตร เราเปลี่ยนเป็นผงแซบนัวผ่านมาปีหนึ่ง และก็เปลี่ยนเป็นผงแซบเฉยๆ แต่คราวหน้าว่าจะเปลี่ยนเป็นผงแซบนัวดีกว่า ทราบข่าวมาว่า ผงนัวสกลนครเอาขมิ้นมาใส่ด้วย แต่ของเราจะออกรสมัน ขมนิดหนึ่ง แต่ผงนัวสกลนครเปรี้ยวๆ ออกเค็มนิดหนึ่ง เราชอบรสไหน เราก็ลดส่วนตรงนั้น"



พ่อแสงกล่าวถึงเรื่องการบริโภคผงแซบนัวว่า ยังใช้กันไม่มากนัก บางคนยังติดผงชูรส ปีที่แล้วทำสูตรอาหารพื้นบ้าน ทำแล้วชิมกันเพื่อเก็บข้อมูล ปรากฏว่า คนยังบริโภคผงชูรสอันดับหนึ่ง ผงแซบอันดับ 2 และไม่ใส่อะไรเลย อันดับ 3 เราค่อยๆ ทำเรื่องนี้ ส่วนมากใช้ในครัวเรือน ผงแซบนัววางขายไม่มากนัก บางครั้งทางจังหวัด โรงพยาบาลก็สั่งซื้อเข้ามา เราอยากให้ชาวบ้านรู้จักเรื่องผักพื้นบ้านมากขึ้น เราพยายามทำเป็นเรื่องสุขภาพองค์รวม



"ถ้าจะใช้ผงรสนัวปรุงอาหารต้องผ่านความร้อน ถึงได้ประสิทธิผลความอร่อยมากขึ้น ใช้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปรุงอาหาร ปริมาณที่ใช้ 1-2 ช้อนชา เช่น เวลาต้มน้ำแกง พอใส่ทุกอย่างหมดแล้วน้ำเดือด พอจะยกลงเราก็ใส่ผงนัวลงในอาหารนั้นๆ จะเพิ่มรสอร่อยกลมกล่อม อาหารยำหรือส้มตำที่ไม่ได้ใช้ความร้อน ให้เราต้มน้ำพอน้ำเดือดเราก็ใส่ผงรสนัว แล้วเราจึงนำน้ำผงรสนัวที่ได้มาปรุงอาหารอีกทีหนึ่ง" พ่อแสงแนะนำ



สารพัดประโยชน์จากผงนัว

ผงนัวทุกวันนี้ ผลิตออกมา 3 ชนิด คือ ผงนัว (ของชาวบ้าน) ,ผงเกษตร (ของสถาบันราชมงคล) และผงแซบ(ของชัยภูมิ) ราคาที่จำหน่ายก็ย่อมเยา อยู่ในอัตราซองละ 15-20 บาท (ตามน้ำหนัก) 1 ซองสามารถใช้ได้หลายครั้ง ได้มีการทดลองนำผงนัวไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ผงนัว สามารถควบคุมน้ำตาลได้ นอกจากนี้อาการต่างๆ ของพิษที่เกิดขึ้นในร่างกาย (อย่างอาการนั่งหลับ เพราะมลพิษจากสภาพแวดล้อม) ผงนัวสามารถนำไปทดแทน ทำให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น (ทั้งนี้เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต แต่ยังไม่มีการทดลองวิจัยที่เป็นวิทยาศาสตร์ยืนยัน) 



อาจารย์ยงยุทธ ให้รายละเอียดของกลุ่มพืช ที่นำมาทำผงนัว 3 ตระกูล 


ตระกูลแรก เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและบำรุงอวัยวะภายใน ได้แก่ ข้าวเหนียวที่สีแล้ว เป็นยาบำรุงกำลัง (หากได้ข้าวเหนียวดำ พันธุ์พื้นบ้านดั้งเดิมจะดีมาก เนื่องจาก มีคุณค่าทางสารอาหารสูง โดยเฉพาะข้าวที่ไม่สีโดยเครื่องจักร ใช้การตำจะดีมาก) นอกจากข้าวเหนียวแล้ว ยังมีพืชอื่นๆ อีก ได้แก่ มันเทศ (บางคนเรียกมันแกว) หากไม่ใช่สีขาวยิ่งดี (ให้สังเกตชนิดที่มีสี เพราะจะเข้าไปซ่อมแซมเซลล์ไม่ให้กลายพันธุ์ ป้องกันสารก่อมะเร็ง มันเทศช่วยถอนพิษได้) หากเป็นใบไม้ธรรมดา นำไปตากแห้ง ถ้าเป็นมันเทศต้องนำไปต้มก่อน จึงจะนำไปตากแห้ง ล้างให้สะอาด ใช้เปลือกด้วย เนื่องจากต้องการสีของมัน 



ส่วนผักก้านตรง (ออกรสมันหวาน ปลูกในกระถาง เด็ดกินได้ ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงกระดูก) ผักคอนแคน (เป็นไม้ป่าเลื้อย ดอกเป็นช่อยาว รสชาติดีกว่าหน่อไม้ฝรั่ง เป็นอาหารขึ้นชื่อของสกลนคร ออกดอกปีละครั้ง ยอดอ่อนนำมาเผาไฟ หมกไฟ เพื่อให้กลิ่นที่หอมและมีความหวาน แล้วนำไปตากแห้งแล้วบด) มะรุม (จะมีแคลเซียมมาก ธรรมชาติบำบัดในอินเดีย จะใช้มะรุมช่วยบำรุงกระดูก ) ข้าวโพด (ใช้หนวดข้าวโพดพื้นบ้าน ไม่ใช่ข้าวโพดสวิส ข้าวโพดที่มีหลากสี ใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้) ฟักทอง (โดยมากใช้ไส้ข้างใน นำมานึ่งทั้งเมล็ด ตัวนี้จะช่วยบำรุงตับไต ไส้พุง เมล็ดฟักทอง สามารถป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ และช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ มีเบต้าแคโรทีนสูงมาก คุณค่าของไส้ฟักทอง มีมากกว่าเนื้อฟักทอง) นำส่วนผสมทั้งหมดนี้มาปรับตามความเหมาะสม


ตระกูลที่สอง เป็นพืชที่เผ็ดร้อน เกี่ยวข้องกับการขับลมในลำไส้ ช่วยเจริญอาหาร เช่น หอม ข่า กระเทียม ข่าจะใช้หัวเหง้า กระเทียมจะใช้ใบ นอกจากนี้ยังมีผักแพรว (รับประทานกับก๋วยเตี๋ยวญวน) กะเพรา ผักแป้น (ใบกุยช่าย) ตะไคร้ ใบมะกรูด กระชาย (ช่วยบำรุงไตได้ดี) แมงลัก โหระพา ผักกาดหัว (คือหัวไชเท้า) ผักหวานบ้าน ย่านาง 


ตระกูลที่สาม
พวกไม้เบื่อเมา จะขมและเหมือนทำให้เมา ต้องใช้ปริมาณน้อยไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของอัตราผสมทั้งหมด พืชตระกูลนี้จะช่วยคลายและถอนพิษหลายอย่าง พวกคลายประสาทได้แก่ ผักโขมที่ใช้มากคือ โขมหวาน (ผักโขมจะมีเส้นใยมาก คุณสมบัตินี้จะช่วยกำจัดสารมะเร็งที่ปนเปื้อนในน้ำดื่ม ในไส้กรองได้ดี) ผักโขมให้วิตามินเคและวิตามินอื่นๆ อีกมาก ควรรับประทานเป็นประจำ



จากการศึกษาและทดลองจนได้พัฒนาเป็นสูตรขึ้นมาเรียกว่า ผงนัว ซึ่งขณะนี้สถาบันราชมงคลมีสูตรส้มตำ แกงอ่อม ต้มผัด สูตรหมัก ส่วนที่อำเภอพังโคนผลิตรสต้มยำ สามารถปรับใช้ให้เข้ากับลิ้นของคนภาคกลาง โดยมีเครื่องหมาย อย.รับรอง และขณะนี้มีการส่งผงนัวออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ แต่คนไทยยังไม่ได้ลองชิมผงนัว คนไทยที่ได้กินคือ แรงงานจากภาคอีสานที่ไปทำงานต่างประเทศ 



เมื่อผงนัวทำให้รสชาติอาหารอร่อยและกลมกล่อม แล้วยังให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายจากสมุนไพรธรรมชาติ ผงนัวจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
 




นานา น่ารู้

ระวัง! สารกันบูดในขนมปังร้านดัง article
กินอย่างไร เมื่อโคเลสเตอรอลในเลือดสูง article
นาฬิกาแขวนผนัง article
อ่านให้จบนะ..ดีมากๆ? เลย article
อ่านแล้วชอบ จึงขอแบ่งปัน article
ช้อนยาวหนึ่งเมตร article
ป้องกันและชะลอ “ข้อเข่าเสื่อม” ก่อนวัย article
ทำไมแสงแดดถึงเป็นอันตราย article
อย่าไปเกลียดใคร ให้แผ่เมตตา article
13 คุณประโยชน์จากวาซาบิที่คุณคาดไม่ถึง article
อุจจาระบอกความผิดปกติ article
ตำนานวันไหว้พระจันทร์ article
ผู้ชาย VS วัยทอง article
ท้องป่อง อ้วนลงพุง article
คาถาบูชาพ่อ แม่สวดทุกวัน article
ขึ้นฉ่าย ปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ article
กินอาโวคาโดลดไขมัน ไม่ทำให้อ้วน article
การใช้บุญที่ถูกต้องถึงจะได้ผล article
กระชาย : ชะลอความแก่ article
อ่านแล้วสบายใจ article
เช็คความเสื่อมแต่ละวัย! article
จงใช้ชีวิตให้คุ้มค่า article
ลืมได้ ก็จำได้ article
ยาหมดอายุแล้วสามารถกินได้ไหม? article
จริงหรือไม่ เจ็บคอ บ่อยๆ article
ตอนอยู่ อยากได้เงิน ตอนตาย อยากได้บุญ ตอนอยู่ ทำตามใจกิเลส ตอนตาย เลยกลายเปรต article
คน 8 ประเภท อย่าคบ อย่าช่วย ถอยห่างได้เป็นดี article
เรื่องน่ารู้ของ สีพาสปอร์ตในไทย article
บทเรียนของคนวัย 40 ปีขึ้นไป ที่อยากแก้ไข และเตือนคนรุ่นหลัง article
จริงหรือไม่? กินไก่มาก เป็น “โรคเกาต์” article
ดื่มนมต่างเวลา ได้คุณค่าแตกต่างกัน article
จริงหรือไม่ วางมือถือข้างหมอน เสี่ยง "มะเร็งสมอง" article
คุณสมบัติหลินจือกับสุขภาพร่างกาย article
อ่านเถอะดีมาก เคล็ดลับการดูแลสมอง 10 ประการ จาก "หนูดี วนิษา เรซ" article
จริง หรือ ไม่ ความอ้วน ฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด ? article
ทำไมต้องนั่งสมาธิในเวลา "ก่อนนอน หรือ ตอนเช้า" article
เครียดไม่รู้ตัว ภัยเงียบที่อาจอยู่ข้างๆคุณ article
คนเราตายแล้วไปไหนบ้าง ? article
กรรมที่เกิดมาเป็นสัตว์ article
แค่กำมือก็ช่วยความดันได้ article
วันนี้... คือ “ วันที่ดีที่สุด ” article
คำกลอน วันพุธ article
คำกลอน วันอังคาร article
คำกลอน วันจันทร์ article
คำกลอน วันอาทิตย์ article
คำกลอน วันเสาร์
คำกลอน วันศุกร์ article
คำกลอน วันพฤหัสบดี article
ไข่ไก่ แทบจะเป็นเมนูหลักเมนูหนึ่งของคนไทยเลยทีเดียว article
คีโม คือธุรกิจเลือดเย็นของโรงพยาบาลแบบเจ้ามือหวย คนเล่นเสีย เจ้ามือรวย article
วิธีใช้ปุ่มบนเครื่องคิดเลข article
มนุษย์ที่หมดบุญ มี 2 อย่างด้วยกัน article
แผลในปาก เกิดจากอะไร กันแน่!! article
10 อาหารช่วยลดกลิ่นตัว กลิ่นตัวหอมธรรมชาติไม่ต้องพึ่งโรลออน article
10 ข้อคิดยุคใหม่ article
5 อาการนิ้วล๊อคเป็นอย่างไร? article
จำกันได้ไหม เด็กน้อย
จำกันได้ไหม แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟัน
จำกันได้ไหม กาดำ article
ระลึก นึกถึง พระคุณ พ่อ แม่
จำกันได้ไหม ยี่สิบม้วนไม้ม้วน
ทบทวนความจำ พยัญชนะไทย article
ท่อง จำ ติดหู ติดใจ กันได้บ้างไหม article
อาหารเสริม กับ การกินเจ article
เทศกาลกินเจ 2564 ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม - 14 ตุลาคม 2564 article
วิตามินและอาหารเสริมควรทานเวลาไหนดี? article
อาการแบบใดเรียก ว่า กำลังอยู่ในภาวะช็อค ! article
ปรัชญาแห่ง “ความเรียบง่าย” ของชีวิต article
รวมบทธรรมะ article
ความดันโลหิตสูง article
ระวัง !!!! Favipiravir มีขายเกลื่อนเนท article
ระวัง! ฟ้าทะลายโจรปลอม เช็กให้ดีก่อนซื้อ
ความเข้าใจผิด ท่านพุทธทาสภิกขุ article
เงินกับเวลา article
10 พฤติกรรมทำลายกระดูกและส่วนสูง ถ้าไม่อยาก เตี้ยลง ควรหยุดทำสิ่งเหล่านี้ article
ไม่น่าเชื่อว่าน้ำตาลในกล้วยตากมากกว่าทุเรียนเกือบเท่าตัว ในขณะที่ article
วิตามิน กินอย่างไรให้ถูกวิธี? article
มนุษย์เราเอ๋ย article
อารมณ์ไม่ดี article
เคยสงสัยไหม? ทำไมรางรถไฟต้องถูกรองด้วยก้อนหิน article
...คนดีเดินไปไหน... ใครก็ทัก article
อวัยวะ กลัวอะไร article
สุดท้าย article
วิธีแก้เครียดก่อนเข้านอน article
ประโยชน์ของใบย่านาง ไอเดียการกินการใช้ใบย่านางเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง article
สิ่งที่คุณต้อง ขอบคุณ article
มีเมียสวยไม่สู้มีเมียใจซื่อ article
#ไม่ขอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ # article
การตื่นเช้า article
รู้จัก 5 แซ่จีน ลูกหลานมังกรในไทย เปิดที่มาต้นกำเนิดนามสกุลจีน article
บริจาคเลือดตามวันเกิด article
ยาที่ดีที่สุด article
อยากลดน้ำหนัก article
รักษาไขมันพอกตับ article
หลงลืมตามวัยหรือสมองเสื่อม article
8 ต้นเหตุ พร้อม 7 วิธีแก้ บอกลา ตะคริว แบบถาวร article
กระตุ้น สมอง article
ทำไมเราถึงตด? article
“สาลี่” ผลไม้สรรพคุณดีจากจีน ช่วยบำรุงหัวใจ ฟอกเลือด article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com