ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ข้อยกเว้นกิจการเรือเดินทะเลที่ต้องปฏิบัติตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ article

คำพิพากษาฎีกา ที่ 6861 - 6898 / 2554

ข้อยกเว้นกิจการเรือเดินทะเลที่ต้องปฏิบัติตาม  พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ

                                  รายชื่อโจทก์ปรากฏตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
 

                                คดีทั้งสามสิบแปดสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันกับคดีอื่นอีกยี่สิบสี่สำนวนโดยให้เรียกโจทก์ทั้งสามสิบแปดสำนวนว่า  โจทก์ที่  5  ที่  14  ที่  16  ที่  20  ที่  21  ที่  24  ถึงที่  35  ที่  37  ถึงที่  45  ที่  47  ที่  49  ถึงที่  56  ที่  58  ที่  60  และที่  61  ตามลำดับและให้เรียกจำเลยทั้งสามสิบแปดสำนวนว่า  จำเลยที่  1  ถึงที่  5  แต่คดีสำหรับโจทก์ที่  1  ถึงที่  4  ที่  6  ถึงที่  13  ที่  15  ที่  17  ที่  18  ที่  19  ที่  22  ที่  23  ที่  36  ที่  46  ที่  48  ที่  57  ที่  59  และที่  62  ยุติไปแล้วตามคำสั่ง  และคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง  คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีสามสิบแปดสำนวนนี้

 
 

                           โจทก์ทั้งสามสิบแปดสำนวนฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นใจความทำนองเดียวกันว่า  จำเลยทั้งห้าเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองเรือประมงประภาสนาวี  ลำที่  1  ถึงที่  6  และตกลงว่าจ้างโจทก์ทั้งสามสิบแปดสำนวนเป็นลูกจ้างประจำเรือดังกล่าวในการออกหาปลาที่น่านน้ำประเทศอินโดนีเซียโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา  ต่มาจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบแปดโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นธรรม  ทั้งขณะเรืออยู่ในน่านน้ำดังกล่าวใบอนุญาตหาปลาของจำเลยทั้งห้าสิ้นอายุลง  จำเลยทั้งห้าไม่ได้สั่งการให้นำเรือกลับทันทีแต่กลับสั่งการให้จอดเรือไว้ในน่านน้ำดังกล่าวอยู่นานโดยไม่จัดส่งอาหารไปให้อย่างพอเพียง  ทำให้โจทก์ทั้งสามสิบแปดได้รับความเสียหายทางด้านร่างกาย  จิตใจและอนามัย  ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันหรือแทนกันจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย  เงินโบนัสพิเศษหรือเปอร์เซ็นต์จากการขาย  ค่าทำงานในวันหยุด  สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  ค่าชดเชย  และค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามสิบแปด  และให้จำเลยทั้งห้าออกหนังสือรับรองการทำงานที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายและส่งคืนหนังสือคนประจำเรือ  (seaman  book)  แก่โจทก์ทั้งสามสิบแปด

 
 

                               จำเลยทั้งห้าให้การและแก้ไขคำให้การว่า  จำเลยที่  1  เป็นเจ้าของเรือ  ประภาสนาวี  6  และเป็นนายจ้างเฉพาะโจทก์ในสำนวนคดีหมายเลขดำที่  สค.53/2550 , สค.56/2550 , สค.58/2550 ,  สค.61/2550 , สค.70/2550 ,สค.73/2550,  สค.76/2550,  สค.78/2550,  สค.80/2550,  สค.82/2550,  สค.86/2550,  สค.92/2550,  สค.103/2550  และ  สค.110/2550  เท่านั้น  จำเลยที่  2  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  1  และ  2  และเป็นนายจ้างเฉพาะโจทก์ในสำนวนคดีหมายเลขดำที่  สค.51/2550,  สค54/2550,  สค.57/2550,  สค.59/2550,  สค.60/2550,  สค.63/2550,  สค.65/2550,  สค.66/2550,  สค.68/2550,  สค.55/2550,  สค.83/2550,  สค.84/2550,  สค.90/2550,  สค.91/2550,  สค.99/2550,  สค.106/2550,  สค.107/2550,  สค.109/2550  และ  สค.566/2550  เท่านั้น  จำเลยที่  3  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  3  และเป็นนายจ้างเฉพาะโจทก์ในสำนวนคดีหมายเลขดำที่  สค.50/2550,  สค.69/2550,  สค.79/2550,  สค.87/2550,  สค.94/2550,  สค.96/2550  และ  สค.105/2550  เท่านั้น  จำเลยที่  4  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  4  และเป็นนายจ้างเฉพาะโจทก์ในสำนวนคดีหมายเลขดำที่  สค.52/2550,  สค.64/2550,  สค.2550,  สค.81/2550,  สค.89/2550,  สค.93/2550,  สค.102/2550  และ  สค.104/2550  เท่านั้น  จำเลยที่  5  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  5  และเป็นนายจ้างเฉพาะโจทก์ในสำนวนคดีหมายเลขดำที่  สค.62/2550,  สค.75/2550,  สค.77/2550,  สค.88/2550,  สค.98/2550,  สค.100/2550  และ  สค.101/2550  เท่านั้น  จำเลยทั้งห้าไม่ได้เป็นนายจ้างโจทก์ในสำนวนคดีหมายเลขดำที่  สค.67/2550,  สค.71/2550,  สค.72/2550,  สค.85/2550,  สค.95/2550,  สค.97/2550  และ  สค.108/2550  อัตราเงินเดือนตามที่ระบุในฟ้องไม่ถูกต้อง  จำเลยทั้งห้าไม่เคยค้างจ่ายค่าจ้าง  ไม่เคยตกลงจ่ายเปอร์เซ็นต์จากการขายและได้จัดส่งอาหารไปให้ลูกเรืออย่างพอเพียง  จำเลยทั้งห้าประกอบอาชีพประมงระหว่างประเทศโดยมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นของการจ้างเมื่อเรือเดินทางออกจากท่าเรือในประเทศไทยและสิ้นสุดการจ้างเมื่อเรือเข้าเทียบท่าเรือในประเทศไทยจึงเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งการประกอบอาชีพประมงทะเลเข้าข้อยกเว้นเกี่ยวกับการทำงานในวันหยุด  ขอให้ยกฟ้อง

 
 

                               ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว  พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์ที่  5  จำนวน  202,500  บาท  และ  8,000  บาท  โจทก์ที่  14  จำนวน  177,000  บาท  และ  8,000  บาท  โจทก์ที่  16  จำนวน  80,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  20  จำนวน  98,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  21  จำนวน  61,000  บาท  และ  4,500  บาท  โจทก์ที่  24  จำนวน  66,000  บาท  และ  4,500  บาท  โจทก์ที่  25  จำนวน  127,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  26  จำนวน  86,000  บาท  และ  6,000  บาท  โจทก์ที่  27  จำนวน  43,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  28  จำนวน  63,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  29  จำนวน  105,000  บาท  และ  6,000  บาท  โจทก์ที่  30  จำนวน  99,000  บาท  และ  6,000  บาท  โจทก์ที่  31  จำนวน  162,000  บาท  และ  5,500  บาท  โจทก์ที่  32  จำนวน  117,000  บาท  และ  6,000  บาท  โจทก์ที่  33  จำนวน  47,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  34  จำนวน  110,000  บาท  และ  8,000  บาท  โจทก์ที่  35  จำนวน  90,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  37  จำนวน  81,000  บาท  และ  6,000  บาท  โจทก์ที่  38  จำนวน  92,000  บาท  และ 5,500  บาท  โจทก์ที่  39  จำนวน  195,000  บาท  และ  9,000  บาท  โจทก์ที่  40  จำนวน  156,000  บาท  และ  6,000  บาท  โจทก์ที่  41  จำนวน  113,500  บาท  และ  5,500  บาท  โจทก์ที่  42  จำนวน  74,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  43  จำนวน  131,000  บาท  และ  5,500  บาท  โจทก์ที่  44  จำนวน  89, 000  บาท  และ  6,000  บาท  โจทก์ที่  45  จำนวน  75,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  47  จำนวน  98,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  49  จำนวน  41,000  บาท  และ  4,500  บาท  โจทก์ที่  50  จำนวน  53,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  51  จำนวน  80,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  52  จำนวน  74,000  บาท  และ  5,500  บาท  โจทก์ที่  53  จำนวน  141,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  54  จำนวน  47,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  55  จำนวน  120,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  56  จำนวน  27,000  บาท  และ  8,000  บาท  โจทก์ที่  58  จำนวน  65,000  บาท  และ  5,000  บาท  โจทก์ที่  60  จำนวน  84,000  บาท  และ  5,000  บาท  และโจทก์ที่  61  จำนวน  87,500  บาท  และ  4,500  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  และร้อยละ  7.5  ต่อปี  ในจำนวนเงินดังกล่าวตามลำดับนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นและให้จำเลยทั้งห้าออกใบสำคัญแสดงการทำงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่  23  ที่  36  ที่  46  ที่  48  และที่  59

 
 
                                จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 

                              ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว  ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า  จำเลยที่  1  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  6  และ  เป็นนายจ้างของโจทก์ที่  21  ถึงที่  24  ที่  27  ที่  29  ที่  31  ที่  33  ที่  37  ที่  43  ที่  44  และที่  61  จำเลยที่  2  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  1  และเรือประภาสนาวี  2  และเป็นนายจ้างของโจทก์ที่  14  ที่  16  ที่  34  ที่  35  ที่  41  ที่  42  ที่  50  ที่  58  และที่  60  จำเลยที่  3  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  3  และเป็นนายจ้างของโจทก์ที่  20  ที่  30  ที่  38  ที่  45  ที่  47  และที่  56  จำเลยที่ 4  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  4  และเป็นนายจ้างของโจทก์ที่  25  ที่  32  ที่  40  ที่  44  ที่  53  และที่  55  จำเลยที่  5  เป็นเจ้าของเรือประภาสนาวี  5  และเป็นนายจ้างของโจทก์ที่  26  ที่  28  ที่  39  ที่  49  ที่  51  และที่  52  จำเลยที่  5  เป็นผู้บริหารจัดการเรือทั้งหกลำดังกล่าวซึ่งใช้ทำการประมงระหว่างประเทศร่วมกันโดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่  1  - ที่  4  จำเลยที่  5  เป็นคนรับสมัครเฉพาะไต๋เรือแต่ละลำ  แล้วให้ไต๋เรือไปจัดหาลูกเรือมาทำงานในตำแหน่งอื่นๆ  ได้แก่  นายท้ายเรือ  ช่างเครื่อง  ช่างซ่อมอวน  คนทำอาหาร  และลูกเรือ  โดยอัตราค่าจ้างเป็นรายเดือนตามที่ไต๋เรือกำหนด  มีคนทำงานบนเรือทั้งหกลำรวมกันกว่า  100  คน  สามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปช่วยทำงานกันได้  นอกจากค่าจ้างแล้วลูกจ้างบนเรือจะได้รับเงินโบนัสหรือเปอร์เซ็นต์จากกำไรที่ได้จากการขายปลาที่จับได้  เรือทั้งหกเดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม  2546  เพื่อไปทำการประมงในน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย  และเดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อวันที่  3  กรกฎาคม  2549  หลังจากนั้นไม่ได้มีการนำเรือดังกล่าวออกทำการประมงอีก  ลูกเรือบางคนออกเดินทางไปพร้อมกับเรือ  บางคนเดินทางตามไปภายหลังกับเรือแม่ที่ใช้บรรทุกขนถ่ายปลาที่จับได้  ก่อนลงเรือออกเดินทางลูกเรือจะได้รับค่าจ้างล่วงหน้าบางส่วนและระหว่างทำงานบนเรือมีลูกเรือขอเบิกเงินจากไต๋เรือ  หรือขอให้ญาติหรือคนที่อยู่ในประเทศไทยเบิกเงินจากนายจ้างได้  ไต๋เรือเป็นผู้จัดเก็บหลักฐานการขอเบิกเงินบนเรือและเก็บหนังสือคนประจำเรือของคนทำงานบนเรือไว้  และศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า  ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นลูกเรือที่ไต๋เรือจัดหามาทำงานบนเรือประภาสนาวีทั้งหกลำ  ยกเว้นโจทก์ที่  18  ที่  22  ที่  23  ที่  36  ที่  48  และที่  59  โดยเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน  ฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์ที่  5  ที่  14  ที่  16  ที่  20  ที่  21  ที่  24  ถึงที่  35  ที่  37  ถึงที่  45  ที่  47  ที่  49  ถึงที่  56  ที่  58  ที่  60  และที่  61  ตั้งแต่วันที่  3  กรกฎาคม  2549  โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดหรือมีเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า  จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  แต่การเลิกจ้างมีเหตุอันจำเป็นที่สมควรเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม  จำเลยทั้งห้าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่ลูกเรือเจ็บป่วยเนื่องจากขาดสารอาหารเพราะนายจ้างไม่ส่งอาหารให้ลูกเรือเพียงพอ  และไม่ต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเปอร์เซ็นต์จากการขายปลาเพราะไม่ปรากฏว่ามีกำไร  กับให้จำเลยทั้งห้าจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระแต่ไม่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด

 
 

                             ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนในปัญหาตามที่จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า  กิจการทำประมงทะเลในต่างประเทศของจำเลยทั้งห้าอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  583  หรือไม่  จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า  จำเลยทั้งห้าประกอบอาชีพประมงทะเลระหว่างประเทศ  ย่อมอยู่ในบังคับตามกฎกระทรวงฉบับที่  10  (พ.ศ.  2541)  ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา  6  และมาตรา  22  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  ซึ่งกำหนดการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลไว้ต่างหาก  โดยไม่ได้ระบุถึงเรื่องการจ่ายค่าชดเชย  และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไว้  และนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้วให้เป็นไปตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน  จึงไม่นำบทบัญญัติเรื่องการเลิกจ้าง  การบอกกล่าวล่วงหน้า  และการจ่ายค่าชดเชย  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  583  และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  มาตรา  119  มาใช้บังคับ  เห็นว่า    การจ้างแรงงานที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  ได้แก่  ราชการส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น  กับการจ้างแรงงานประเภทหนึ่งประเภทใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับในเรื่องใดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน  ตามมาตรา  4  และมาตรา  22  แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว  แม้   ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม  ได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่  10  ลงวันที่  14  กันยายน  2541  กำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเลไว้ต่างหากแต่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าว   ข้อ  2  กำหนดว่า   มิให้ใช้กฎกระทรวงบังคับแก่  1)  งานประมงทะเลที่มีจำนวนลูกจ้างน้อยกว่ายี่สิบคน..ฯ  2)  เรือประมงที่ไปดำเนินการประจำอยู่นอกราชอาณาจักรติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป  คดีนี้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า  จำเลยทั้งห้าจ้างลูกจ้างไปทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียเมื่อเดือน  กรกฎาคม  2546  และเดินทางกลับถึงประเทศไทยเมื่อวันที่  3  กรกฎาคม  2549  การจ้างแรงงานโจทก์ของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการทำประมงทะเลนอกราชอาณาจักรไทยติดต่อกันเกินกว่าหนึ่งปีย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวงฉบับที่  10  ลงวันที่  14  กันยายน  2541  และยังคงอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  เช่นเดียวกับการจ้างแรงงานอื่นทั่วไปเนื่องจากไม่ได้รับยกเว้นการบังคับใช้ตามมาตรา  22  ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น  และนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้ายังต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน    ที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่า  การทำประมงทะเลระหว่างประเทศใช้เวลาหลายปีจะต้องอยู่ในความคุ้มครองดูแลของรัฐที่ให้สัมปทานเนื่องจากเป็นการจับปลาหรือใช้ทรัพยากรของประเทศผู้ให้สัมปทานและในช่วงเวลาดังกล่าวลูกจ้างไม่ได้รับบริการสวัสดิการจากประเทศไทย  เช่น  การรักษาพยาบาล  จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  มาใช้บังคับกับจำเลยทั้งห้า  นั้น  เห็นว่า  ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยทั้งห้าเช่นนั้น   ทั้งการทำสัญญาจ้างแรงงานครั้งนี้นายจ้างและลูกจ้างบางส่วนเป็นคนสัญชาติไทย  แม้ลูกจ้างบางส่วนเป็นคนต่างชาติแต่ก็ทำสัญญาจ้างแรงงานในราชอาณาจักรไทยและทำงานในเรือประมงที่ถือสัญชาติไทย  ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติเป็นอย่างอื่น   ส่วนที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศที่ไปทำประมงหรือไม่เพียงใด  ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่จำเลยทั้งหายกขึ้นอ้าง  ทั้งไม่เป็นเหตุที่จะอ้างเพื่อให้จำเลยทั้งห้าพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายภายในราชอาณาจักรไทยได้แต่อย่างใด  เมื่อจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดหรือมีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย  จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์แต่ละคนตามอัตราเงินเดือนและอายุงาน  และหากเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน  ก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างหรือจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย  อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

 
 

                             จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ประการต่อไปทำนองว่า  สัญญาจ้างโจทก์ไปทำประมงทะเลในต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน  เพราะจำเลยทั้งห้าต้องได้รับสัมปทานการทำประมงซึ่งมีกำหนดเวลาแน่นอน  สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งห้าจึงมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนด้วย  ในกรณีนี้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยแล้วว่าเมื่อเรือกลับเข้าถึงฝั่งในประเทศไทยถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุด  และนายฉลองชลธาร  ไต๋เรือเบิกความว่า  กรณีมีเหตุขัดข้องทำให้ไม่สามารถอยู่ได้ครบเทอมเรือต้องกลับเข้าฝั่งประเทศไทย  ถือว่าสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลงเช่นกัน  จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าถึงการเลิกจ้างอีก  ดังนี้  เห็นว่า  แม้เนื้อหาอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าข้อตกลงเป็นอย่างไรแน่  ก่อนที่จะตีความข้อตกลง  แต่ในการวินิจฉัยประเด็นพิพาทข้อนี้ศาลแรงงานกลางเพียงแต่มีคำวินิจฉัยว่า  โจทก์เป็นลูกจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน  โดยมิได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยและแสดงการพิเคราะห์ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่นำสืบ  จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  51  วรรคหนึ่ง  เมื่อจำเลยทั้งห้ายกประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นอุทธรณ์โดยอ้างเหตุผลสนับสนุน  ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้สิ้นความสงสัยและเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความเนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  142  (5)  ,246  ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  31  ในเรื่องนี้ข้อเท็จจริงที่ยุติในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลางปรากฏว่า  การทำประมงทะเลในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียจะต้องได้รับสัมปทานที่มีกำหนดเวลาแน่นอนคราวละหนึ่งปี  แต่อาจมีการต่ออายุสัมปทานต่อไปได้เรื่อยๆ  การทำสัญญาจ้างลูกเรือจะมีการตกลงกันว่าลูกจ้างต้องเดินทางไปทำประมงต่างประเทศเทอมละกี่ปี  ลูกเรือต้องอยู่ให้ครบเทอมซึ่งมีระยะเวลาเป็นปี  ลูกเรือที่อยู่ครบเทอมมีสิทธิได้รับเปอร์เซ็นต์จากการขายปลาเมื่อเรือเข้าฝั่ง  แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเรือประภาสนาวีทั้งหกลำมิได้ทำประมงติดต่อกันจนครบ  3  หรือ  4  ปี  ดังที่ตกลงกับลูกเรือ  และในการไปทำประมงที่ประเทศอินโดนีเซียต้องใช้เวลาประมาณ  3 ถึง  4  ปี  ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพเรือ  และลูกเรือก็ทราบว่าใช้ระยะเวลาในการไปทำประมงที่ประเทศอินโดนีเซียมีกำหนด  3  ถึง  4  ปี  ดังนั้นระยะเวลาเช่นนั้นย่อมไม่มีความแน่นอนในตัวเอง  เพราะไม่แน่นอนว่าจะเป็น  3  ปี  หรือ  4  ปี  ทั้งระยะเวลาซึ่งอาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมีความแตกต่างกันถึง  1  ปี  อีกทั้งการขอตั๋วทำประมงในประเทศอินโดนีเซียนั้นได้รับอนุญาตปีต่อปีแต่ก็สามารถต่อไปได้เรื่อยๆ  เพราะมีการต่อใบอนุญาตหรือตั๋วไปได้เรื่อยๆ  จนกลายเป็นไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนในการทำงานนอกจากนั้นในการหาลูกเรือนั้น  ไต๋เรือจะเป็นผู้ไปหาลูกเรือเอง  ไต๋เรือเป็นคนกำหนดอัตราเงินเดือน  โดยไม่ปรากฏว่าลูกเรือได้รับทราบถึงระยะเวลาการทำงานตามที่อ้างจริงหรือไม่  นอกจากนั้นข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วก็ปรากฏว่าเรือประภาสนาวีทั้งหกลำต้องหยุดทำประมงและเดินทางกลับประเทศไทยก่อนครบกำหนดเวลาที่อ้างว่าตกลงกับลูกเรือเนื่องจากไม่ได้รับต่อใบอนุญาตและถูกทางการประเทศอินโดนีเซียจับกุมในน่านน้ำจนต้องหลบหนี  พฤติการณ์ในการทำประมงครั้งนี้จึงไม่มีความแน่นอนในเรื่องกำหนดเวลาเพราะขึ้นกับปัจจัยภายนอกหลายประการ  เช่น  การได้รับต่อใบอนุญาตจับปลาจากรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียหรือไม่  สภาพของเรือสามารถจะทำประมงได้เพียงใด  เป็นต้น  ศาลฎีกาจึงเห็นด้วยในผลที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า  สัญญาจ้างลูกจ้างทำงานในเรือประมงทะเลระหว่างประเทศของจำเลยทั้งห้ากับโจทก์ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน  เมื่อจำเลยทั้งห้าจะเลิกจ้างลูกจ้าง  ก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งงดของการชำระค่าจ้าง  หรือต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าข้อนี้ฟังไม่ขึ้น  แต่อย่างก็ตามเมื่อไม่ปรากฏว่ามีกำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้แน่นอนจึงให้ถือว่ามีกำหนดจ่ายค่าจ้างกันเดือนละหนึ่งครั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  มาตรา  70  (1)  และจ่ายทุกวันสิ้นเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  580  ซึ่งฟ้องโจทก์มีคำขอให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างคนละหนึ่งเดือน  จำเลยทั้งห้าจึงต้องชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ที่มีสิทธิเท่ากับค่าจ้างคนละหนึ่งเดือน

 
 

                              ส่วนปัญหาว่า  โจทก์แต่ละคนจะได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้นจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าโจทก์แต่ละคนได้รับค่าจ้างอัตราเดือนละเท่าใด  และจำเลยทั้งห้าค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์แต่ละคนเพียงใดจำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า  การว่าจ้างทำประมงในคดีนี้ไม่ได้ทำสัญญาจ้างไว้  ก่อนออกทำการประมงลูกจ้างมีการเบิกเงินล่วงหน้าทุกคน  อย่างน้อยที่สุดคนละ  12,000  บาท  โจทก์ทุกคนให้ญาติพี่น้องมาเบิกเงินกับนายจ้างและลงชื่อรับเงินไป  และโจทก์บางคนฝากซื้อของใช้ในเรือโดยเบิกเงินจากนายจ้าง  และมีการเบิกเงินเพิ่มขึ้นขณะอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย  โดยจำเลยทั้งห้าทำบัญชีรับจ่ายไว้ชัดเชนทุกคน  แต่ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามคำฟ้องโจทก์โดยมิได้มีการหักเงินส่วนที่เบิกล่วงหน้านั้น  เห็นว่า  การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยอัตราค่าจ้างของโจทก์และหักจำนวนเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายโดยมิได้ให้เหตุผลของคำวินิจฉัยและแสดงการพิเคราะห์พยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่ายไว้ด้วยจึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  51  วรรคหนึ่ง  เพราะอัตราค่าจ้างและจำนวนค่าจ้างที่ค้างชำระนั้นโจทก์แต่ละคนได้บรรยายระบุตำแหน่งและอัตราเงินเดือน  และจำนวนเงินค่าจ้างที่ค้างชำระมาตามที่ปรากฏในฟ้อง  จำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธว่าอัตราเงินเดือนตามฟ้องไม่ถูกต้องจำเลยทั้งห้าไม่เคยค้างจ่าย  ค่าจ้าง  เมื่อมีประเด็นโต้เถียงกันเช่นนี้คู่ความจึงต้องเสนอพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนคำฟ้องและคำให้การของตนในระหว่างการไต่สวนพยานของศาล  และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  ได้บัญญัติไว้ในหมวดที่  9  ว่า  ด้วยเรื่องการควบคุม  โดยกำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป  จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและจัดทำทะเบียนลูกจ้างซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวลูกจ้างโดยเฉพาะชื่อสกุล  ตำแหน่งหน้าที่  อัตราค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง  และเก็บไว้  ณ  สำนักงานพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ  และต้องจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างกับค่าตอบแทนอย่างอื่น  โดยอย่างน้อยต้องมีวัน  เวลาทำงาน  อัตราและจำนวนค่าจ้างที่ลูกจ้างแต่ละคนได้รับ  เมื่อมีการจ่ายค่าจ้าง  ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน  ตามมาตรา  108112113 และ  114  ดังนี้นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจัดเก็บและแสดงข้อมูลเพื่อแสดงว่า  ลูกจ้างแต่ละคนได้รับค่าจ้างในอัตราใดและเมื่อมีการเบิกเงินค่าจ้างแต่ละครั้งนายจ้างก็ต้องทำหลักฐานให้ลูกจ้างหรือตัวแทนลงชื่อไว้ทุกครั้ง  หากนายจ้างไม่สามารถแสดงทะเบียนลูกจ้างและเอกสารการจ่ายค่าจ้างกับค่าตอบแทนอย่างอื่นหรือแสดงได้ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนเมื่อมีข้อสงสัย  ฝ่ายนายจ้างก็ต้องรับผิดต่อลูกจ้างในประเด็นดังกล่าวเพราะมีหน้าที่จัดทำเอกสารดังกล่าวโดยตรง  ดังนั้นแม้จำเลยทั้งห้าจะอ้างทำนองว่าระบบการว่าจ้างลูกเรือจะมีประเพณีปฏิบัติที่มอบให้ไต๋เรือเป็นคนกำหนดค่าจ้างของลูกเรือแต่ละคนในเบื้องต้นแล้วให้เจ้าของเรือพิจารณาอีกครั้งหนึ่งเมื่อมีการคิดบัญชี  โดยพยานกับไต๋เรือจะคุยกันเกี่ยวกับค่าจ้างของลูกเรือแต่ละคนเมื่อเรือกลับเข้าฝั่ง  แต่ไม่มีการทำเป็นเอกสารและไม่มีการแจ้งให้ลูกเรือทราบก่อนว่าแต่ละคนได้รับค่าจ้างเดือนละเท่าใด  การที่นายจ้างไม่แจ้งอัตราค่าจ้างที่แท้จริงให้ลูกจ้างทราบภายในเวลาอันสมควรและทำเป็นหลักฐานเพื่อให้ฝ่ายนายจ้างลูกจ้างสามารถตรวจสอบหรือโต้แย้งความถูกต้องได้  นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้นในภายหลังแล้ว  ยังถือว่านายจ้างไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนซึ่งหน้าที่ของนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานที่ต้องแจ้งอัตราค่าจ้างให้ลูกจ้างทราบ  ซึ่งจำเลยทั้งห้าก็มอบอำนาจให้ไต๋เรือเป็นตัวแทนกำหนดค่าจ้างอยู่แล้วเพราะไม่มีโอกาสได้เห็นและควบคุมการทำงานของลูกเรือด้วยตนเอง  โดยไต๋เรือกำหนดค่าจ้างตำแหน่งต่างๆ  ตามอัตราทั่วไปโดยประมาณแล้วแจ้งให้ลูกเรือแต่ละคนทราบเมื่อแรกเข้าทำงานหลังจากออกเรือทำงานไปสองเที่ยวเรือแล้วจึงจะกำหนดค่าจ้างที่แท้จริงให้ลูกเรือทราบจึงเป็นหน้าที่ของไต๋เรือที่ต้องแจ้งอัตราค่าจ้างให้ลูกเรือทราบแทนนายจ้างเพื่อตัดสินใจว่าจะทำงานให้นายจ้างต่อไปตามเงื่อนไขการจ้างนั้นหรือไม่  การที่จำเลยทั้งห้าจะมากำหนดอัตราค่าจ้างในภายหลังโดยลดค่าจ้างเมื่อเรือกลับเข้าฝั่งโดยอ้างว่าปรึกษาหารือกับไต๋เรือเท่ากับเป็นการกำหนดค่าจ้างตามอำเภอใจ  ย่อมไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างและถือว่าเป็นสัญญาจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร  ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างมีผลบังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  มาตรา  14/1   นอกจากนั้นตามที่ปรากฏในเอกสารหมาย  ล.12  ถึง  ล.17  ดังกล่าวจำเลยทั้งห้าได้ทำรายการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างของลูกเรือแต่ละคนไว้  โดยมีรายละเอียดของตำแหน่งงาน  อัตราเงินเดือนวันที่เบิกเงิน  จำนวนเงิน  วิธีการจ่ายเป็นเงินสด  หรือส่งทางธนาณัติ  มีการระบุสินค้าในกรณีที่ลูกเรือสั่งซื้อโดยเบิกเงินล่วงหน้า  โดยมีบิลรายการสินค้า  ใบสำคัญการจ่ายเงิน  สำเนารายการฝากส่งเงินทางธนาณัติแนบประกอบ  โดยโจทก์ส่วนใหญ่มิได้มาเบิกความโต้แย้งเอกสารดังกล่าว  คงมีโจทก์เพียงสี่รายมาเบิกความแตกต่างจากบัญชีที่จำเลยทั้งห้าจัดทำขึ้น  ดังนั้น  ศาลแรงงานจึงควรรับฟังเอกสารหมาย  ล.12  ถึง  ล.17  โดยนำมาชั่งน้ำหนักกับคำเบิกความของนายฉลอง  และพยานโจทก์ที่มาเบิกความเป็นอย่างอื่นเป็นรายๆ ไป  และเมื่อทราบอัตราค่าจ้างกับค่าจ้างค้างจ่ายแล้ว   จำเลยทั้งห้าก็ไม่มีสิทธินำเงินค่าใบอนุญาตทำงานของโจทก์แต่ละคนมาหักจากค่าจ้างของโจทก์ดังกล่าว  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  มาตรา  76  ส่วนการเบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าของโจทก์แต่ละคนนั้น  ก็ต้องพิจารณาลายมือชื่อที่โจทก์แต่ละคนลงไว้ว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ดังกล่าวหรือไม่  แล้วจึงกำหนดจำนวนค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องพร้อมกันต่อไป  จึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวว่า  โจทก์แต่ละคนได้รับค่าจ้างอัตราเดือนละเท่าใด  จำเลยทั้งห้าค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์แต่ละคนเพียงใด  โจทก์แต่ละคนเบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าจากจำเลยทั้งห้าหรือไม่  แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์แต่ละคนเบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าจากจำเลยทั้งห้าหรือไม่  แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่าใดตามนัยข้างต้น 

 
 

                                พิพากษาแก้เป็นว่า  ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเฉพาะส่วนที่กำหนดอัตราค่าจ้าง  ค่าชดเชย  และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า  และการเบิกเงินล่วงหน้าของโจทก์แต่ละคน  เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามนัยข้างต้นหากข้อเท็จจริงที่ฟังใหม่จะเป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงก็ให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีใหม่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  56  วรรคสองและวรรคสาม  นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.




อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com