ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลบังคับใช้กับพนักงานทุกคน มีผลบังคับใช้กับพนักงานที่เข้ามาทำงานภายหลัง ทำข้อตกลงนั้นด้วย พนักงานที่เข้าหลังทำข้อตกลงได้รับสิทธิและประโยชน์ตามข้อตกลงนั้นด้วย article

คำพิพากษาฎีกา ที่ ๑๔๔๐๒ - ๑๔๔๑๙ / ๒๕๕๓

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลบังคับใช้กับพนักงานทุกคน มีผลบังคับใช้กับพนักงานที่เข้ามาทำงานภายหลัง ทำข้อตกลงนั้นด้วย พนักงานที่เข้าหลังทำข้อตกลงได้รับสิทธิและประโยชน์ตามข้อตกลงนั้นด้วย
                                คดีทั้งสิบแปดสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกโจทก์ทั้งสิบแปดสำนวนว่า โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๘ ตามลำดับ และเรียกจำเลยทั้งสิบแปดสำนวนว่า จำเลย
 
 
                                โจทก์ทั้งสิบแปดฟ้องจำเลยเป็นใจความว่า   โจทก์ทั้งสิบแปดเป็นลูกจ้างของจำเลย ได้รับค่าจ้างกำหนดเป็นชั่วโมงตามฟ้องของโจทก์แต่ละคน จ่ายค่าจ้างทุกวันที่ ๑๑ และ ๒๕ ของเดือน มีเวลาทำงานปกติตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ ทำงานเป็นกะ สัปดาห์ละ ๔๘ ชั่วโมง โจทก์ทั้งสิบแปดเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยฉบับล่าสุดคือฉบับลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๗ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ จำเลยได้จ้างพนักงานรวมทั้งโจทก์ทั้งสิบแปดทำงานแผนกคลังยาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตและกิจการของจำเลยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๙ เป็นต้นมา โดยทำสัญญาจ้างลักษณะเดียวกัน มีกำหนดระยะเวลาปีต่อปี ได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการน้อยกว่าพนักงานในแผนกอื่น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาแต่ละคราวไม่มีการเลิกจ้าง ไม่มีการจ่ายค่าชดเชย แต่ได้มีการทำสัญญาจ้างแรงงานกันใหม่เรื่อยมาจนกระทั่งปี ๒๕๔๗ จำเลยมิได้มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับพนักงานและโจทก์ทั้งสิบแปด จำเลยคงให้ทำงานในตำแหน่งเดิมจนถึงปี ๒๕๔๘ จำเลยได้ให้โจทก์ทั้งสิบแปดทำสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลา ๑ ปี การทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ทั้งสิบแปดขัดต้อกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๕, ๕๓ และตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๒๐ สัญญาจ้างแรงงานที่จำเลยทำกับโจทก์ทั้งสิบแปดขัดต่อกฎหมายไม่มีผลใช้บังคับทั้งหมด โจทก์ทั้งสิบแปดซึ่งเป็นพนักงานคลังยางต้องได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยทำกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย แต่จำเลยไม่ได้นำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ทำกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยมาใช้บังคับกับโจทก์ทั้งสิบแปดทำให้โจทก์ทั้งสิบแปดได้รับความเสียหายเกี่ยวกับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าเสียหายเกี่ยวกับโบนัส การจ่ายเงินสมนาคุณ และการปรับค่าครองชีพที่จำเลยไม่ได้ปรับให้ ปรากฏความเสียหายตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบแปด ขอให้บังคับจำเลยนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ทำกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยมาใช้บังคับกับโจทก์ทั้งสิบแปด และให้ยกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ได้ทำกับโจทก์ทั้งสิบแปดเสีย พร้อมทั้งจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ ๑ จำนวน ๒๐๔,๑๒๗.๓๑ บาท โจทก์ที่ ๒ จำนวน ๔๐,๙๒๕.๙๕ บาท โจทก์ที่ ๓ จำนวน ๑๙,๙๒๙.๙๕ บาท โจทก์ที่ ๔ จำนวน ๓๓,๖๗๑.๙๔ บาท โจทก์ที่ ๕ จำนวน ๒๐๒,๒๓๖.๗๗ บาท โจทก์ที่ ๖ จำนวน ๖๖,๖๔๙.๗๘ บาท โจทก์ที่ ๗ จำนวน ๑๙๙,๕๘๔.๑๑ บาท โจทก์ที่ ๘ จำนวน ๔๙,๙๓๕.๖๖ บาท โจทก์ที่ ๙ จำนวน ๘๙,๔๙๐.๖๕ บาท โจทก์ที่ ๑๐ จำนวน ๒๐,๘๙๓.๗๖ บาท โจทก์ที่ ๑๑ จำนวน ๙,๘๑๘.๔๕ บาท โจทก์ที่ ๑๒ จำนวน ๔๗,๗๘๑.๖๐ บาท โจทก์ที่ ๑๓ จำนวน ๗๖,๔๒๗.๗๙ บาท โจทก์ที่ ๑๔ จำนวน ๔๑,๒๕๓ บาท โจทก์ที่ ๑๕ จำนวน ๗๔,๐๖๒.๔๔ บาท โจทก์ที่ ๑๖ จำนวน ๖๔,๙๑๗.๒๐ บาท โจทก์ที่ ๑๗ จำนวน ๒๐๐,๗๐๓.๓๒ บาท โจทก์ที่ ๑๘ จำนวน ๒๐๒,๑๖๑.๑๒ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีของต้นเงินที่โจทก์ทั้งสิบแปดเรียกร้องนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
 
 
                                จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า ก่อนปี พ.ศ.๒๕๓๙ โจทก์ที่ ๑ ที่ ๕ ที่ ๗ ที่ ๑๗ และที่ ๑๘ มิได้เป็นลูกจ้างจำเลย แต่เป็นลูกจ้างของบริษัทผู้รับเหมา ซึ่งจำเลยว่าจ้างผู้รับเหมามาทำงานในส่วนของคลังสินค้าและคลังยางให้แก่จำเลย ต่อมาประมาณเดือนมิถุนายน ๒๕๓๙ เกิดปัญหายางในคลังสินค้าหายและการบริหารงานของบริษัทผู้รับเหมาประสบปัญหา จำเลยจึงแจ้งความประสงค์ให้พนักงานของผู้รับเหมารวมถึงโจทก์ที่ ๑ ที่ ๕ ที่ ๗ ที่ ๑๗ ที่ ๑๘ มาสมัครเป็นลูกจ้างของจำเลย และเปิดรับสมัครบุคคลภายนอกเข้าทำงานซึ่งโจทก์ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๖ ที่ ๘ ถึงที่ ๑๖ ได้สมัครเข้าทำงานเป็นพนักงานทำสัญญาจ้างกับจำเลยภายหลัง ต่อมาโจทก์ทั้งสิบแปดสมัครใจทำสัญญาจ้าง และต่อสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนคราวละ ๑ ปี เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.๒๕๔๘ ยกเว้นปี พ.ศ.๒๕๔๗ จำเลยมิได้ให้โจทก์ที่ ๑ ถึงที่ ๑๐ และที่ ๑๒ ถึงที่ ๑๘ ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือแต่ตกลงให้ใช้สภาพการจ้างเดิมที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับก่อน โดยโจทก์ทั้งสิบแปดไม่ได้รับสวัสดิการและสภาพการจ้างเช่นเดียวกับพนักงานแผนกอื่นของจำเลยนอกเหนือที่ปรากฏในสัญญาจ้างซึ่งมีข้อยกเว้นไว้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยทำกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยกำหนดให้สภาพการจ้างที่ตกลงกันไว้ไม่มีผลใช้บังคับกับโจทก์ทั้งสิบแปดที่จำเลยจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลา เนื่องจากโจทก์ทั้งสิบแปดเป็นพนักงานแผนกคลังยางไม่มีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ด้านการศึกษา แต่เน้นการใช้แรงงาน ในปี ๒๕๔๗ สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างของพนักงานที่ทำงานในแผนกคลังยางของจำเลยให้สูงขึ้น แต่สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยและจำเลยตกลงให้สภาพการจ้างของพนักงานแผนกคลังยางคงไว้ตามเดิมที่ได้ทำสัญญาจ้างไว้กับจำเลย ดังนั้นการที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งสิบแปดโดยมิกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอนมีการทำสัญญาคราวละ ๑ ปี จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งทำขึ้นระหว่างสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยกับจำเลย ไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๕, ๕๓ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๒๐ จำเลยจึงไม่จำต้องนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยมาใช้บังคับกับโจทก์ทั้งสิบแปดและยกเลิกสัญญาจ้างของโจทก์ทั้งสิบแปด และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสิบแปดตามฟ้อง คดีโจทก์ทั้งสิบแปดขาดอายุความในส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าครองชีพ เพราะโจทก์ทั้งสิบแปดมีสิทธิฟ้องย้อนหลังได้เพียง ๒ ปี โจทก์ทั้งสิบแปดไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย ในปีที่สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อจำเลย ข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยกับจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสิบแปด โจทก์ทั้งสิบแปดได้หยุดในวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่ได้รับเงินโบนัส เงินสมนาคุณ และค่าครองชีพ ขอให้ยกฟ้อง
 
 
                                ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ทำสัญญากับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย ตามเอกสารหมาย ล. ๒๕ ซึ่งมีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบันได้มีการให้ความหมายของคำว่า “ลูกจ้าง” ว่า หมายถึงลูกจ้างรายเดือนหรือลูกจ้างรายชั่วโมงและลูกจ้างรายวันซึ่งได้รับการว่าจ้างและบรรจุตามอัตรากำลังการจ้างปกติและได้รับการจ่ายค่าจ้างโดยผ่านบัญชีค่าจ้างของบริษัท (ลูกจ้างประเภท ๑) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงลูกจ้างชั่วคราวซึ่งบริษัทตกลงจ้างไว้เป็นการเสริมอัตรากำลังการจ้างปกติ หรือจ้างไว้ไม่เป็นการประจำเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาล (ลูกจ้างประเภท ๒ และ ๓) แผนกคลังยางเป็นหน่วยงานหนึ่งของจำเลย เดิมแผนกคลังยางจำเลยได้จ้างผู้รับเหมาเป็นผู้จัดการทำ ตามเอกสารหมาย ล. ๑ ต่อมาผู้รับเหมาไม่ปฏิบัติตามระเบียบและประสบกับภาวะการเงินไม่สามารถจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างของตนเอง และสินค้าในคลังสินค้าของจำเลยหายไป จึงมีการเปลี่ยนแปลงการจ้างพนักงานให้เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์ทั้งสิบแปดได้ทำสัญญาการจ้างงานกับจำเลยตามเอกสารหมาย ล. ๖ ถึง ล. ๑๐ และ ล. ๑๑ ถึง ล. ๒๐ ตามสัญญาระบุให้พนักงานได้รับสวัสดิการตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น หากมีการปรับค่าจ้างหรือสวัสดิการอื่นใดให้แก่พนักงานฝ่ายผลิตหรือฝ่ายอื่นมิได้หมายความว่าบริษัทจะต้องปรับแก่พนักงานในคลังสินค้าตามสัญญานี้และมีการต่อสัญญาการจ้างระหว่างโจทก์ทั้งสิบแปดกับจำเลยเป็นหนังสือปีต่อปี ต่อมาวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๗ สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยได้ทำหนังสือเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงานชั่วคราวเหมือนกับพนักงานประจำทั่วไป เนื่องจากลักษณะงานของพนักงานชั่วคราวเป็นงานประจำไม่ใช่ลักษณะเป็นครั้งคราวและไม่ใช่งานที่เป็นโครงการหรืองานจร ไม่มีระยะเวลาที่กำหนดแล้วเสร็จแน่นอน แต่ตกลงกันได้บางส่วนตามเอกสารหมาย ล. ๒๖ โจทก์ทั้งสิบแปดเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย แล้ววินิจฉัยว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งสิบแปดกับจำเลยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสิบแปดมีสิทธิเรียกให้จำเลยนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ แต่ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี กับค่าครองชีพมีกำหนดอายุความสองปี เมื่อนับแต่โจทก์ทั้งสิบแปดเข้าทำงานถึงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว
 
 
                                พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับสวัสดิการแก่โจทก์ที่ ๑ เป็นค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๒,๐๔๓.๓๖ บาท เงินโบนัส ๘,๖๕๑.๑๗ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๒ เป็นค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๑๔๑.๔๔ บาท เงินโบนัส ๒,๓๑๒.๘๐ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๓ เป็นค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๙๒๗.๒๐ บาท เงินโบนัส ๑,๓๗๔ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๔ เป็นค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๙๓๙.๒๐ บาท เงินโบนัส ๒,๒๕๓.๙๙ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๕ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๘๔๑.๗๖ บาท เงินโบนัส ๖,๙๐๔.๑๓ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๖ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๑๘๔.๖๔ บาท เงินโบนัส ๕,๖๙๒.๘๘ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๗ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๘๔๑.๗๖ บาท เงินโบนัส ๕,๘๘๘.๗๗ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๘ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๑๔๑.๔๔ บาท เงินโบนัส ๔,๗๗๒.๕๑ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๙ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๓๙๘.๘๘ บาท เงินโบนัส ๔,๑๒๙.๙๑ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๐ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๙๓๙.๒๐ บาท เงินโบนัส ๒,๑๑๓.๒๒ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๑ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๗๓๒.๑๖ บาท เงินสมนาคุณ ๕,๕๒๙ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๒ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๑๗๐.๒๔ บาท เงินโบนัส ๒,๔๘๑.๖๕ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๓ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๒๒๗.๘๔ บาท เงินโบนัส ๖,๓๘๑.๙๙ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๔ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๑๗๐.๒๔ บาท เงินโบนัส ๒,๕๐๒.๘๑ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๕ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๒๑๓.๔๔ บาท เงินโบนัส ๕,๒๔๗.๐๔ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๖ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๑๗๐.๒๔ บาท เงินโบนัส ๕,๒๒๗.๗๔ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๗ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๘๔๑.๗๖ บาท เงินโบนัส ๗,๐๐๗.๙๘ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท โจทก์ที่ ๑๘ ได้รับค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี ๑,๘๔๑.๗๖ บาท เงินโบนัส ๗,๖๓๒.๖๗ บาท เงินสมนาคุณ ๖,๑๐๐ บาท ค่าครองชีพ ๘๓๗.๒๕ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีของต้นเงินค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปีและต้นเงินค่าครองชีพของโจทก์แต่ละคน กับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีของต้นเงินโบนัส และต้นเงินสมนาคุณของโจทก์แต่ละคน นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)  เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์ทั้งสิบแปดเสร็จสิ้น
 
 
                                โจทก์ทั้งสิบแปดและจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว   ข้อเท็จจริงที่ยุติในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลางปรากฏว่า  จำเลยเป็นบริษัทมหาชนจำกัด  ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางโดยมีสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทย เป็นสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยยื่นข้อเรียกร้องและเจรจาตกลงกับจำเลย โดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานดังกล่าวมาหลายฉบับนับแต่ปี ๒๕๒๐ กระทั่งถึงปี ๒๕๔๗ จำเลยเคยจ้างบริษัทภายนอกเข้าทำงานในคลังสินค้าและคลังยางของจำเลย โดยมีโจทก์บางคนเคยเป็นลูกจ้างของบริษัทภายนอกดังกล่าวอยู่ด้วย กระทั่งถึงปี ๒๕๓๙ บริษัทภายนอกดังกล่าวประสบปัญหาและมียางส่วนหนึ่งสูญหายจากคลังสินค้า จำเลยจึงเลิกสัญญากับบริษัทภายนอกแล้วจ้างโจทก์ทั้งสิบแปดเข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน เอกสารหมาย ล. ๖ ถึง ล. ๒๐ ซึ่งมีชื่อของสัญญาว่า  “หนังสือสัญญาการจ้างงานโดยมีกำหนดระยะเวลาการว่าจ้างที่แน่นอน”   โดยสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวมีระยะเวลาการจ้างปีต่อปีเรื่องมา โจทก์ทั้งสิบแปดสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยและเป็นสมาชิกเรื่อยมาโดยโจทก์บางคนเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ และโจทก์ที่เป็นสมาชิกล่าสุดเป็นในปี ๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๗ สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยได้เรียกร้องให้จำเลยจ่ายสวัสดิการต่างๆ ให้แก่พนักงานชั่วคราวเช่นเดียวกับพนักงานประจำทั่วไปแต่ไม่อาจตกลงกันในประเด็นนี้ได้
 
 
                                มีปัญหาต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบแปดและจำเลยว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยกับจำเลยมีผลผูกพันให้โจทก์ทั้งสิบแปดได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ทั้งสิบแปดกับจำเลยหรือไม่และสัญญาจ้างแรงงานที่ระบุให้โจทก์ทั้งสิบแปดไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวจะใช้บังคับได้หรือไม่ เห็นว่า สหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยกับจำเลยได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ กระทั่งปี ๒๕๓๘ ก็ได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้คำนิยาม ข้อที่ ๒ (๔) “พนักงาน” หมายความถึง “พนักงานรายเดือน พนักงานรายชั่วโมง ซึ่งได้รับการว่าจ้างและบรรจุตามอัตรากำลังการจ้างปกติ และได้รับการจ่ายค่าจ้างโดยผ่านบัญชีค่าจ้างของบริษัท ทั้งนี้ไม่รวมถึงลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน ซึ่งบริษัทตกลงจ้างไว้เป็นการเสริมอัตรากำลังการจ้างปกติหรือจ้างไว้ไม่เป็นการประจำเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นงานจรหรืองานโครงการ” ซึ่งศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทั้งสิบแปดมีความรับผิดชอบของงานตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมาย ล.๒๑ ซึ่งแตกต่างจากลูกจ้างประจำอื่นที่ทำงานในแผนกคลังสินค้าซึ่งมีความรับผิดชอบของงานตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมาย ล.๒๒ และโจทก์ทั้งสิบแปดได้รับการจ่ายค่าจ้างโดยผ่านบัญชีของจำเลย ดังนั้นเมื่อพิจารณาประกอบกับสัญญาจ้างแรงงานเอกสารหมาย ล.๖ ถึง ล.๒๐ ซึ่งแม้จะระบุในสัญญาให้การจ้างแรงงานโจทก์ทั้งสิบแปดมีผลบังคับไม่เกินหนึ่งปี แต่ก็มีการจ้างแรงงานกันติดต่อเรื่อยมานับแต่ปี ๒๕๓๙ ให้โจทก์ทั้งสิบแปดทำงานในคลังสินค้าและคลังยางของจำเลยร่วมกับลูกจ้างประจำอื่น การทำงานของโจทก์ทั้งสิบแปดจึงมิใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นงานจรหรืองานโครงการ โจทก์ทั้งสิบแปดจึงเป็นพนักงานตามนิยามของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับปี ๒๕๓๘ และแม้ว่าโจทก์ทั้งสิบแปดจะเข้าทำงานหลังจากมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับปี ๒๕๓๘ แล้ว และจำเลยให้โจทก์ทั้งสิบแปดทำสัญญาจ้างแรงงานเอกสารหมาย ล.๖ ถึง ล.๒๐ ซึ่งระบุให้โจทก์ทั้งสิบแปดได้รับสวัสดิการตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวเท่านั้น โดยมุ่งหมายให้โจทก์ทั้งสิบแปดไม่ได้รับประโยชน์อื่นที่พนักงานจำเลยทั่วไปได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ตามแต่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๒๐ ได้บัญญัติว่า “เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า” ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งหมายที่จะป้องกันมิให้นายจ้างหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำไว้ โดยทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างเป็นรายบุคคลให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสีย สำหรับลูกจ้างที่จะได้รับความคุ้มครองมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นลูกจ้างอยู่แล้วขณะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เมื่อคำนึงถึงว่าการที่นายจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ ยินยอมให้สิทธิหรือประโยชน์ใดๆ แก่ลูกจ้าง แสดงอยู่ในตัวว่าสิทธิและประโยชน์นั้นๆ เป็นสิทธิและประโยชน์อันสมควรและเป็นธรรมที่ลูกจ้างในกิจการนั้นพึงได้รับ กฎหมายแรงงานย่อมประสงค์ที่จะคุ้มครองให้ลูกจ้างที่เข้าเป็นลูกจ้างในภายหลังได้รับสิทธิและประโยชน์อันสมควรและเป็นธรรมนั้นด้วย ทั้งการให้ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ได้รับสิทธิและประโยชน์เช่นเดียวกับลูกจ้างที่เป็นลูกจ้างอยู่แล้วตั้งแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับนั้นยังมีผลทำให้ลูกจ้างทุกคนได้รับการปฏิบัติจากนายจ้างเสมอหน้ากัน อันเป็นความเป็นธรรมตามความมุ่งหมายของกฎหมายแรงงานอีกประการหนึ่ง ลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้จึงรวมถึงลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้วด้วย ส่วนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า “ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องนั้น ตลอดจนลูกจ้างซึ่งมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนเป็นผู้เข้าร่วมในการเจรจาทุกคน” เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับลูกจ้างที่เป็นลูกจ้างแล้วโดยเฉพาะ หารวมถึงลูกจ้างซึ่งเข้าเป็นลูกจ้างในภายหลังซึ่งไม่มีโอกาสลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้อง หรือมีส่วนในการเลือกตั้งผู้แทนด้วยไม่ ดังนั้น โจทก์ทั้งสิบแปดซึ่งเป็นลูกจ้างที่เข้าทำงานภายหลังข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยได้ทำขึ้นร่วมกัน ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสิบแปดให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงาน ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสิบแปดมีสิทธิเรียกให้จำเลยนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยมาใช้บังคับกับโจทก์ทั้งสิบแปดได้นั้น จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบแปดประการนี้ฟังขึ้น ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
 
 
                                ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ ๑๑ ไม่ได้มีสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลย เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ขัดกับพยานหลักฐานในสำนวน เพื่อนำไปสู่ปัญหาว่าการจ้างโจทก์ทั้งสิบแปดทำงานเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนหรือไม่นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับปัญหาที่ว่าสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยเคยยื่นข้อเรียกร้องให้จำเลยรับพนักงานชั่วคราวซึ่งรวมทั้งโจทก์ทั้งสิบแปดให้เป็นพนักงานประจำแล้วได้ถอนข้อเรียกร้องไป โจทก์ทั้งสิบแปดไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น เห็นว่า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสิบแปดไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอนหรือไม่ แต่เมื่องานที่จำเลยให้โจทก์ทั้งสิบแปดทำไม่ใช่งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นงานจรหรืองานโครงการแล้วโจทก์ทั้งสิบแปดจึงเป็นพนักงานที่มีสิทธิและประโยชน์ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่นับแต่เมื่อเข้าเป็นลูกจ้างจำเลยแล้วเช่นนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบแปดและจำเลยดังกล่าวจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
 
 
                                โจทก์ทั้งสิบแปดอุทธรณ์ประการต่อไปว่า การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ค่าเสียหายส่วนที่เป็นค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง ส่วนที่เกินกว่าสองปีจึงขาดอายุความนั้น โจทก์ทั้งสิบแปดฟ้องเรียกเงินดังกล่าวโดยถือว่าเป็นค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยไม่นำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมาใช้บังคับกับโจทก์ทั้งสิบแปด เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานมิได้ฟ้องเรียกค่าจ้างย้อนหลังจึงมีอายุความสิบปีนั้น เห็นว่า การที่โจทก์ทั้งสิบแปดฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายโดยคำนวณจากค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าครองชีพ โดยอ้างว่าการที่จำเลยไม่ให้โจทก์ทั้งสิบแปดได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทำให้โจทก์ทั้งสิบแปดเสียสิทธิที่จะได้รับการหยุดพักผ่อนประจำปีและเสียสิทธิในการปรับค่าครองชีพตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงเรียกค่าเสียหายโดยคำนวณเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าครองชีพที่ไม่ได้ปรับขึ้นตามจำนวนวันทำงานและวันหยุดพักผ่อนประจำปีแต่ละปีนั้น จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสิบแปดฟ้องเรียกค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติและเงินตอบแทนการทำงานในวันหยุด อันเป็นค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดที่แยกประเภทออกจากกันได้ดังกล่าวเข้ากับยอดรวมของค่าเสียหายอื่น ซึ่งสิทธิในการเรียกร้องค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๔ (๘) (๙) กำหนดอายุความไว้สองปี ดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีและค่าครองชีพนับแต่วันที่โจทก์ทั้งสิบแปดเข้าทำงานถึงวันที่ครบกำหนดสองปีก่อนที่โจทก์ทั้งสิบแปดฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางขาดอายุความนั้น จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบแปดประการนี้ฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์ทั้งสิบแปดอุทธรณ์ประการสุดท้ายว่า ก่อนที่โจทก์ทั้งสิบแปดจะเข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยนั้น จำเลยกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใช้บังคับอยู่แล้ว โจทก์ทั้งสิบแปดจึงได้รับสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขที่ระบุในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนับแต่นั้น มิใช่นับแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป เห็นว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างในขณะนั้นจำเลยกับสหภาพแรงงานคนทำยางแห่งประเทศไทยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับปี ๒๕๓๘ ใช้ร่วมกัน โจทก์ทั้งสิบแปดจึงได้รับสิทธิและประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับปี ๒๕๓๘ และฉบับต่อมาที่มีการเจรจาตกลงกันใหม่ต่อมาด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งสิบแปดได้รับสิทธิและประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ฉบับปี ๒๕๔๗ ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ แล้วกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี  โบนัส  เงินสมนาคุณ  และค่าครองชีพ ให้โจทก์ทั้งสิบแปดตามตารางค่าเสียหาย เอกสารหมาย ล.๒๘ เฉพาะสิทธิที่จะได้ในปี ๒๕๔๗ จึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
 
 
                                พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเฉพาะที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสิบแปดตามตารางค่าเสียหาย เฉพาะสิทธิในปี ๒๕๔๗ ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสิบแปดตามนัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com