ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ทำบันทึกการเจรจา หลังถูกเลิกจ้าง ระบุว่า “หากนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว ลูกจ้างตกลงว่า article

 คำพิพากษาฎีกาที่ 5992 – 5998/53

ทำบันทึกการเจรจา หลังถูกเลิกจ้าง ระบุว่า หากนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว ลูกจ้างตกลงว่า จะไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่น ๆ   อีก ย่อมหมายถึง เงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุดด้วย ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้
                                รายชื่อโจทก์ปรากฏตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 2
 
 
                                คดีทั้งเจ็ดสำนวนนี้ ศาลแรงงานภาค 2 สั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันโดยให้เรียกโจทก์เรียงตามลำดับสำนวนว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และให้เรียกจำเลยทั้งเจ็ดสำนวนว่า จำเลย
 
 
                                โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องว่า จำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โดยมีกรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทผูกพันจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2546 และสิ้นสุดการเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 7 เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 
2541, 14 พฤศจิกายน 2546, 27 มิถุนายน 2546, 6 กุมภาพันธ์ 2548 และ พฤษภาคม 2548 
ตามลำดับและสิ้นสุดการเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ตำแหน่งสุดท้ายก่อนถูกเลิก
จ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ทำงานในตำแหน่งพนักงานขับรถเทรลเลอร์กึ่งพ่วงบรรทุกสินค้า โจทก์ที่ 2 และที่ 7 ทำงานในตำแหน่งพนักงานยกของประจำรถเทรลเลอร์ขนส่งสินค้า โดยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายก่อนถูกเลิกจ้างเป็นรายเดือน เดือนละ 4,560 บาท นอกจากค่าจ้างรายเดือนแล้วจำเลยยังได้จ่ายเงินจูงใจเพื่อให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ขยันทำงานขับรถบรรทุกวัตถุดิบในการผลิตสินค้าให้แก่จำเลยให้ได้ปริมาณวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังจ่ายให้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดการทุจริตน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมีอัตราการจ่ายเงินจูงใจซึ่งคิดคำนวณจากปริมาณน้ำหนักวัตถุดิบที่บรรทุก (ตัน) บวกด้วยระยะทาง (กิโลเมตร) คูณด้วย อัตรา 0.13 บาท สำหรับเที่ยวที่มีการบรรทุกวัตถุดิบเท่านั้น โดยจำเลยจะคิดคำนวณรอบการทำงานตั้งแต่วันที่ 16 ของเดือนจนถึงวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ซึ่งโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 จะได้รับเงินจูงใจเฉลี่ยประมาณเดือนละ 18,000 บาท ซึ่งเงินจูงใจที่จำเลยจ่ายนั้นมีลักษณะเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ได้ทำงานให้แก่จำเลย ย่อมถือว่าเงินจูงใจเช่นว่านี้เป็นเงินค่าจ้างที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ด้วยตามกฎหมาย จำเลยยังได้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 7 เมื่อโจทก์ที่ 2 และที่ 7 ได้ทำงานโดยประจำรถบรรทุกขนส่งวัตถุดิบเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ตามที่จำเลยได้สั่งให้ไปทำงานซึ่งจำเลยตกลงจ่ายในอัตราเดือนละ 2,800 บาท เป็นประจำทุกเดือนตลอดเวลาที่ทำงานกับจำเลย ย่อมถือได้ว่าเงินเบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 7 นั้นมีลักษณะเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานที่โจทก์ที่ 2 และที่ 7 ได้ทำงานให้แก่จำเลย ย่อมถือว่าเป็นค่าจ้างด้วยตามกฎหมาย จำเลยได้กำหนดจ่ายค่าจ้าง เงินจูงใจและเงินเบี้ยเลี้ยงในการทำงานให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดทุกวันสิ้นเดือนและจำเลยกำหนดให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันเสาร์ และกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยได้กำหนดเวลาเริ่มทำงานโดยให้โจทก์ทั้งเจ็ดรวมทั้งพนักงานขับรถอื่นๆ จะต้องไปรับใบเปิดงานจากพนักงานประจำศูนย์ (Call Center) ของจำเลย ในเวลา 13 นาฬิกา เพื่อเริ่มปฏิบัติงานในแต่ละวันเป็นประจำ โดยจำเลยกำหนดให้ถือเอาเวลา 13 นาฬิกา ที่โจทก์ทั้งเจ็ดและพนักงานขับรถรับใบเปิดงานเป็นเวลาเริ่มต้นการทำงาน แต่มิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดการทำงานแล้วแต่ว่ารถบรรทุกขนส่งวัตถุดิบจะกลับถึงบริษัทจำเลยเมื่อใดในแต่ละวัน โดยหนึ่งวันโจทก์ทั้งเจ็ดต้องทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวัน และตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549 จนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 โจทก์ทั้งเจ็ดได้ทำงานในวันทำงานปกติให้แก่จำเลยทั้งสิ้นจำนวน 380 วัน โดยทำงานวันละ 24 ชั่วโมง ซึ่งหากคิดคำนวณแล้วนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 โจทก์ทั้งเจ็ดทำงาน 230 วัน คิดเป็นชั่วโมงการทำงานจำนวน 5,520 ชั่วโมง และสำหรับชั่วโมงการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานรวม 150 วัน คิดเป็นชั่วโมงการทำงานจำนวน 3,600 ชั่วโมง ซึ่งรวมเป็นชั่วโมงการทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งสิ้น 9,120 ชั่วโมง ซึ่งหากนับคำนวณชั่วโมงการทำงานปกติตามที่กฎหมายกำหนดวันละ 8 ชั่วโมง ออกแล้วก็จะคงเหลือจำนวนระยะเวลาชั่วโมงการทำงานที่โจทก์ทั้งเจ็ดได้ทำเกินเวลาทำงานปกติสำหรับวันทำงานปกติในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2549 จำนวน 4,680 ชั่วโมง และสำหรับช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 29 มิถุนายน 2550 เป็นจำนวนอีก 2,400 ชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งทั้งสิ้นเป็นจำนวนชั่วโมงการทำงานที่โจทก์ได้ทำเกินเวลาจำนวนทั้งสิ้น 6,080 ชั่วโมง โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำได้คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่า ค่าจ้างที่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ได้รับชั่วโมงละ 84 บาท โจทก์ที่ 2 และที่ 7 ได้รับชั่วโมงละ 31 บาท คูณด้วยจำนวนชั่วโมงที่โจทก์ทำเกินจำนวน 6,080 ชั่วโมง เป็นเงินค่าล่วงเวลาของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 จำนวนคนละ 571,520 บาท ของโจทก์ที่ 2 และที่ 7 จำนวนคนละ 188,480 บาท แต่จำเลยมิได้จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดแต่อย่างใด อันถือได้ว่าจำเลยจงใจกระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยจึงต้องรับผิดจ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 จำนวนคนละ 571,520 บาท และให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 7 จำนวนคนละ 188,480 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549 จนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 จำเลยได้ให้โจทก์ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์สำหรับช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2549 เป็นจำนวน 37 วัน และสำหรับช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 29 มิถุนายน 2550 เป็นจำนวน 24 วัน และจำเลยให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานในวันหยุดตามประเพณีสำหรับช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2549 อีกจำนวน 7 วัน และสำหรับช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 29 มิถุนายน 2550 อีกจำนวน 4 วัน ซึ่งเมื่อคิดคำนวณวันที่จำเลยให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้นแล้วรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 72 วัน คิดเป็นชั่วโมงการทำงานในวันหยุดได้จำนวน 576 ชั่วโมง โจทก์ทั้งเจ็ดมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มในอัตราหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเมื่อคิดคำนวณแล้วโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดเป็นจำนวนเงินคนละ 54,144 บาท โจทก์ที่ 2 และที่ 7 มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดเป็นจำนวนเงินคนละ 17,856 บาท และจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด แต่จำเลยกลับจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นจำนวนเงินเพียงคนละ 10,944 บาท ซึ่งยังคงขาดอยู่อีกสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นจำนวนเงินคนละ 43,200 บาท และสำหรับโจทก์ที่ 2 และที่ 7 เป็นจำนวนเงินคนละ 43,200 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดสำหรับส่วนที่ขาดหายไป จำนวนคนละ 43,200 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 และจำนวนคนละ 6ล912 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 7 นับตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 จนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2550 โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีให้แก่จำเลยรวมทั้งสิ้นจำนวน 72 วัน โดยทำงานวันละ 24 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อคิดคำนวณชั่วโมงการทำงานแล้วรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 1,728 ชั่วโมง หากนับคำนวณจำนวนชั่วโมงการทำงานปกติตามที่กฎหมายกำหนดวันละ 8 ชั่วโมง ออกแล้วก็จะคงเหลือจำนวนระยะเวลาชั่วโมงการทำงานที่โจทก์ทั้งเจ็ดได้ทำเกินเวลาทำงานปกติในวันหยุดสำหรับช่วงระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 1,152 ชั่วโมง โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง สำหรับการทำงานในวันหยุดตามจำนวนชั่วโมงที่ทำได้คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่ากับค่าจ้างที่โจทก์ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ได้รับในวันหยุดชั่วโมงละ 188 บาท โจทก์ที่ 2 และที่ 7 ชั่วโมงละ 62 บาท คูณด้วยจำนวนชั่วโมงที่โจทก์ทั้งเจ็ดทำเกินจำนวน 1,152 ชั่วโมง เป็นเงินค่าล่วงในวันหยุดของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 จำนวนคนละ 216,576 บาท และของโจทก์ที่ 2 และที่ 7 จำนวนคนละ 71,424 บาท แต่จำเลยมิได้จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดแต่อย่างใด อันถือได้ว่าจำเลยจงใจกระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยจึงต้องรับผิดจ่ายเงินค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 จำนวนคนละ 216,576 บาท และให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 7 เป็นจำนวนเงินคนละ 71,424 บาท การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันถือได้ว่าเป็นการจงใจไม่จ่ายเงินค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด  อันเป็นเหตุทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดต้องได้รับความเสียหายจากการขาดประโยชน์ในเงินจำนวนดังกล่าวไป จึงขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ที่  1 และที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นเงินจำนวนคนละ 571,520 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 7 เป็นเงินจำนวนคนละ 188,480 บาท  ค่าทำงานในวันหยุดสำหรับที่ขาดหายไปสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 จำนวนคนละ 43,200 บาท สำหรับโจทก์ที่ 2 และที่ 7 จำนวนคนละ 6,912 บาท และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นเงินจำนวนคนละ 216,576 บาท และแก่โจทก์ที่ 2 และที่ 7 เป็นเงินจำนวนคนละ 71,424 บาท พร้อมให้จำเลยจ่ายเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลา 7 วัน ของจำนวนต้นเงินดังกล่าวทุกจำนวนนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งเจ็ด
 
 
                                จำเลยทุกสำนวนให้การว่า จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งเจ็ดจริง โดยโจทก์ที่ 1 เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2546 โจทก์ที่ 2 เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2548 มิใช่วันที่ 7 ตุลาคม 2546 ตามฟ้องของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 3 เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 โจทก์ที่ 4 เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2546 โจทก์ที่ 5 เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2546 โจทก์ที่ 6 เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 และโจทก์ที่ 7 เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2548 ในตำแหน่งพนักงานรถบรรทุกพ่วงขนสินค้าจริง โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสุดท้ายเดือนละ 4,560 บาท และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2550 จริง ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทจำเลยประสบปัญหาภาวะขาดทุนอย่างมาก เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเลยจึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพนักงานเพื่อให้จำเลยสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยได้มีนโยบายเรื่องการโอนย้ายพนักงานขับรถหลายอัตราให้ไปทำงานในบริษัทอื่นในเครือของจำเลย ซึ่งอยู่อีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งจำเลยได้พยายามเจรจาตกลงกับโจทก์ทั้งเจ็ดในเรื่องการโอนย้าย แต่โจทก์ทั้งเจ็ดและพนักงานคนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งของจำเลยไม่ประสงค์จะโอนย้าย จำเลยจึงได้มีการตกลงเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดในวันที่ 30 มิถุนายน2550 ดังกล่าวซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยจึงได้ตกลงทำบันทึกข้อตกลงอันถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกัน เพื่อยุติข้อพิพาทที่เกิดจากการเลิกจ้างทั้งหมด ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี โดยมีเงื่อนไขข้อตกลงที่จำเลยยินยอมจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 178,533.24 บาท และ 4,560 บาท ตามลำดับรวมรับเงินไปทั้งสิ้น 
178,533.24 บาท จ่ายเงินให้โจทก์ที่ 2 เป็นเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 27,040 บาท และ 4,560 บาท ตามลำดับรวมรับเงินไปทั้งสิ้น 31,600 บาท จ่ายเงินให้โจทก์ที่ 3 เป็นเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 226,149.89 บาท 
และ 4,560 บาท ตามลำดับรวมรับเงินไปทั้งสิ้น 230,709.89 บาท จ่ายเงินให้โจทก์ที่ 4 เป็นเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 134,232.11 บาท และ 4,560 บาท ตามลำดับ รวมรับเงินไปทั้งสิ้น 138,792.11 บาท จ่ายเงินให้โจทก์ที่ 5 เป็นเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 146,000.58 บาท และ 4,560 บาท ตามลำดับ รวมรับเงินไปทั้งสิ้น 150,560.58  บาท จ่ายเงินให้โจทก์ที่ 6 เป็นเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 257,983.59 บาท และ 4,560 บาท ตามลำดับ รวมรับเงินไปทั้งสิ้น 262,543.59 บาท และจ่ายเงินให้โจทก์ที่ 7 เป็นเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวน 26,540 บาท และ 4,560 บาท ตามลำดับ รวมรับเงินไปทั้งสิ้น 31,100 บาท แบ่งจ่ายเป็น 4 งวดๆละ 1 เดือน ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว ในวันที่ 29 ตุลาคม 2550 โดยโจทก์ทั้งเจ็ดตกลงยินยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอีก รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบันทึกการเจรจา ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ซึ่งในวันที่ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์ทั้งเจ็ดพ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว และมีการร่วมเจรจาตกลงกับตัวแทนภาครัฐอื่นๆ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย การที่โจทก์ทั้งเจ็ดใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกเอาเงินค่าล่วงเวลา และเงินค่าทำงานในวันหยุด จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ นอกจากนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นลูกจ้างในงานขนส่งทางบกย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าล่วงเวลาตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 คงมีแต่สิทธิในเงินค่าทำงานในส่วนเกินเวลาปกติซึ่งในทางปฏิบัติที่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยปฏิบัติต่อกันมา อันถือเป็นสภาพการจ้างในเรื่องของการจ่ายเงินค่าตอบแทนการทำงานนั้น จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติในอัตราเดือนละ 4,560 บาท และตกลงจ่ายเงินค่าเที่ยวเพื่อตอบแทนการขับรถให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดในอัตราตามสูตรการคำนวณตามฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดจริง
แม้จำเลยจะไม่เคยตกลงโดยชัดแจ้งกับโจทก์ทั้งเจ็ดว่าเงินดังกล่าวเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติก็ตาม แต่ในสภาพงานขับรถขนส่งทางบกโจทก์ย่อมตระหนักดีว่าอาจมีการขับขี่ล่วงเวลาบ้าง และในการตกลงจ่ายค่าเที่ยวจำเลยก็ตกลงจ่ายให้โจทก์ทั้งเจ็ดตามจำนวนเที่ยวและระยะทางที่โจทก์ทั้งเจ็ดขับขี่ไปตามความเป็นจริง ซึ่งหมายรวมถึงการขับขี่ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานตอบแทนให้แก่จำเลยและโจทก์ทั้งเจ็ดก็ได้ตกลงยินยอมปฏิบัติงานและยอมรับเงินค่าเที่ยวดังกล่าวโดยไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินค่าเที่ยวของจำเลยตลอดมาเป็นเวลามากว่า 2 ปี จึงย่อมถือโดยปริยายได้ว่าเงินเบี้ยเลี้ยงหรือเงินค่าเที่ยวดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการขับรถซึ่งรวมถึงเงินล่วงเวลาไปแล้วอยู่ในตัว ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดเองก็ยอมรับในวิธีการจ่ายค่าจ้างของจำเลยมาโดยตลอดอันเป็นสภาพการจ้างอยู่ในตัว และถือได้ว่าจำเลยได้จ่ายเงินค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดครบถ้วนแล้ว ที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องเรียกเงินค่าล่วงเวลาหรือเงินค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลามาตามฟ้องจึงไม่ถูกต้องโจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาแต่อย่างใดในส่วนของเงินค่าทำงานในวันหยุดนั้น จำเลยตกลงกำหนดให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานสัปดาห์ละ  6 วัน หยุดทุกวันอาทิตย์ ซึ่งนับแต่วันที่จำเลยได้เริ่มต้นว่าจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดให้ทำงานจำเลยได้จ่ายเงินค่าทำงานในวันหยุดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดครบถ้วนแล้วทุกครั้ง ตามจำนวนวันที่จำเลยได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ขับรถในวันหยุดประจำสัปดาห์ และตามประกาศวันหยุดของบริษัทจำเลยในอัตราวันละ 152 บาท ตามอัตราเงินเดือนของโจทก์ทั้งเจ็ด ยังได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเที่ยวสำหรับการทำงานขับรถในวันหยุดครบถ้วนแล้วเช่นกัน ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในเรื่องของเวลาการทำงานที่โจทก์ทั้งเจ็ดกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้ทำงานตอบแทนจำเลยเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงต่อหนึ่งวันนั้น ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยหลักเหตุผลสากล เพราะโดยลักษณะการทำงานของโจทก์ทั้งเจ็ดนั้นจำเลยกำหนดให้โจทก์ทั้งเจ็ดร่วมกับพนักงานขับรถอีก 1 คน รวมเป็น 2 คน ขับรถ 1 คัน ในระยะทางไกลที่ต้องขับรถเกินกว่า 4 ชั่วโมงใน 1 วัน  เพื่อให้โจทก์ทั้งเจ็ดได้มีเวลาพักผ่อนครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นในการทำงานขับรถขนส่งของโจทก์ทั้งเจ็ดในหนึ่งวัน โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมใช้เวลาขับรถอันถือว่าเป็นเวลาทำงานจริง ไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งหากคำนวณค่าล่วงเวลาต่อวันแล้ว โจทก์ทั้งเจ็ดอาจมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง และเมื่อคำนวณจากอัตราค่าจ้างรายเดือนๆละ 4,560 บาท โจทก์ทั้งเจ็ดอาจมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาไม่เกินวันละ 76 บาท หรือเดือนละไม่เกิน 2,280 บาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการจ่ายค่าเที่ยวในแต่ละเดือนที่จำเลยจ่ายตอบแทนการทำงานของโจทก์ทั้งเจ็ด ไม่น้อยกว่าเดือนละ 5,000 บาท จำเลยจึงไม่มีหนี้เงินค่าล่วงเวลาทั้งในวันปกติและในวันหยุดค้างจ่ายแก่โจทก์ทั้งเจ็ดอีกแต่อย่างใด ที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องเรียกเงินดังกล่าวตามฟ้องจึงไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้อง
 
 
                                ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้ว ข้อเท็จจริงได้ความตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดว่า ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่โจทก์ทั้งเจ็ดเรียกร้องมานั้น เป็นค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่มีมาก่อนวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทั้งเจ็ดได้ทำสัญญาประนีประนอมตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 กับจำเลย ตามข้อ 3 มีข้อความว่า หากนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว ลูกจ้างตกลงว่าจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นๆ เช่น ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมจากนายจ้างอีกต่อไป เห็นว่า ข้อตกลงนี้มีผลบังคับย่อมถือได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินประเภทอื่นอันจะพึงได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับของจำเลย รวมทั้งสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม บันทึกข้อตกลงทำขึ้นหลังจากที่โจทก์ทั้งเจ็ดพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปแล้ว โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีอิสระแก่ตน พ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยเป็นการทำโดยสมัครใจของโจทก์แต่ละคน กรณีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งเจ็ดเกี่ยวกับเงินใดๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความนี้นั้นเป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้อสิทธิที่ระงับไปแล้วตามกฎหมายขึ้นมาฟ้องร้องบังคับให้จำเลยรับผิดอีกได้ ประเด็นข้อพิพาทที่ว่า โจทก์ทั้งเจ็ดมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดพร้อมด้วยเงินเพิ่ม ดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดหรือไม่ เพียงใดจึงไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไป พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ด
 
 
                                โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
 
                               ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ตามข้อเท็จจริงที่ยุติในชั้นพิจารณาศาลแรงงานภาค 2 ตามรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2551 และวันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 ปรากฏว่า โจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมีอัตราค่าจ้างและวันเลิกจ้างเป็นไปตามคำฟ้องและคำให้การ วันที่ 16 กรกฎาคม 2550 โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยได้ตกลงทำบันทึกการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาท ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี ตามบันทึกการเจรจา เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 โดยโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับเงินตามบันทึกการเจรจาไปครบถ้วนแล้ว โจทก์ทั้งเจ็ดได้รับเงินเดือน เงินจูงใจ เงินอุดหนุนค่าเช่าบ้าน ค่าทำงานในวันหยุด และเงินอื่นๆ ตามบัญชีย้อนหลังหกเดือน ตามเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 โจทก์ทั้งเจ็ดมีเวลาการทำงานล่วงเวลาและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าเที่ยว ตามเอกสารหมาย ล.8 และ ล.9
 
 
                               โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ว่า บันทึกการเจรจาตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 ทำขึ้นสืบเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่านั้นไม่ได้สิบเนื่องจากข้อกำหนดเรื่องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดตกลงตามบันทึกการเจรจาดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทเรื่องค่าล่วงเวลาค่าทำทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด และสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจะตกลงยกเว้นกันไม่ได้ จึงถือว่าการตกลงตามบันทึกการเจรจาดังกล่าวที่จะระงับสิทธิเรื่องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดเป็นโมฆะ เห็นว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2550 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2และโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 7 ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2550 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 7 และเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกการเจรจาตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 ซึ่งจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์โจทก์ทั้งเจ็ดและลูกจ้างอื่นรวม 137 คน โดยบันทึกการเจรจาข้อ 3 ระบุว่า "หากนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าครบถ้วนแล้วลูกจ้างตกลงว่าจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นๆ เช่น ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมจากนายจ้างอีกต่อไป" ดังนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดตกลงทำบันทึกการเจรจา เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 2 หลังจากโจทก์ทั้งเจ็ดพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างจำเลยไปแล้วประมาณ 15 วัน โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การตกลงว่าจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ในบันทึกการเจรจา จึงเป็นการสละสิทธิเรียกร้องโดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ และเมื่อบันทึกการเจรจาข้อ 3 ระบุว่าลูกจ้างตกลงว่าจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นๆ ซึ่งเงินอื่นๆ ที่โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ติดใจเรียกร้องดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึงเงินทุกประเภทรวมทั้งค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่โจทก์ทั้งเจ็ดอาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินตามฟ้อง ที่ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งเจ็ดไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดได้นั้นจึงชอบแล้วอุทธรณ์โจทก์ทั้งเจ็ดฟังไม่ขึ้น
 
 
                                พิพากษายืน.     



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com