ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



มีเหตุต้องย้ายสถานประกอบการ แต่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกว่าจะย้ายตามหรือไม่กลับมีคำสั่งเลิกจ้างแทนโดยว่าจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรงรับช่วงต่อหาคนงานใหม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article

คำพิพากษาฎีกาที่ 12414 - 53

มีเหตุต้องย้ายสถานประกอบการ แต่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกว่าจะย้ายตามหรือไม่กลับมีคำสั่งเลิกจ้างแทนโดยว่าจ้างบริษัทรับเหมาค่าแรงรับช่วงต่อหาคนงานใหม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
                                รายชื่อโจทก์ปรากฏตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
 
 
                                คดีทั้งยี่สิบสำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกันโดยให้เรียกโจทก์ทั้งยี่สิบสำนวนว่า โจทก์ที่ 1 - 20 ตามลำดับ และเรียกจำเลยทั้งยี่สิบสำนวนว่า จำเลย
 
 
                                โจทก์ทั้งยี่สิบสำนวนฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งยี่สิบเคยทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย    โดยปฏิบัติงานที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) กลุ่มแรกทำงานในสำนักงานให้บริการลูกค้าหรือแผนกการบริการลูกค้าประกอบด้วยโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 14 กลุ่มที่สอง ประกอบด้วยโจทก์ที่เหลือทำงานในแผนกวิศวกรตำแหน่งช่างเครื่องบิน เมื่อวันที่ 16 และวันที่ 24 สิงหาคม 2549 จำเลยมีหนังสือบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบและพนักงานอื่น โดยระบุเหตุว่าจำเลยว่าจ้างบริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาคนงานเข้าทำงานแทน อันเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจการบิน ทั้งๆ ที่บริษัทดังกล่าวเพิ่งจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเมื่อปี 2549   และไม่มีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานแทนโจทก์และพนักงานคนอื่นของจำเลย จำเลยมีแผนที่จะให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างไปสมัครเข้าทำงานกับบริษัทดังกล่าว ซึ่งจะได้รับเงินเดือนต่ำกว่าเดิมและไม่ได้รับสวัสดิการผลประโยชน์อื่นเหมือนเช่นที่เคยได้รับจากจำเลย จำเลยไม่ได้ประสบภาวะขาดทุน การเลิกจ้างของจำเลยทำโดยอาศัยช่องว่างของสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาการจ้างมาบอกเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลสมควรและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบได้รับความเสียหาย จึงขอเรียกค่าเสียหายจากฐานเงินทั้งหมดที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แต่ละคน ประกอบด้วยเงินเดือนสุดท้ายและการปรับเพิ่มเงินเดือนร้อยละ 4 ต่อปี สำหรับฐานเงินเดือนไม่เกิน 50,000 บาท และส่วนที่ฐานเงินเดือนไม่ถึง 50,000 บาท ขอเรียกการปรับเพิ่มร้อยละ 5.25 ต่อปี เงินโบนัส ค่าล่วงเวลาเฉลี่ยรายเดือน ค่าซักรีดเครื่องแบบ ค่าเบี้ยเลี้ยง ส่วนแบ่งกำไร เงินค่าลากเครื่องบินและเติมน้ำมันและเงินสมทบของจำเลย ผู้เป็นนายจ้าง ตั้งแต่ปี 2547 และการปรับเพิ่มอีกร้อยละ 4 ต่อปี ของเงินสมทบส่วนของจำเลยโดยคำนวณตั้งแต่วันเลิกจ้างถึงวันเกษียณอายุการทำงาน 55 ปี ขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 21,649,283 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน  24,402,603 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 11,941,829 บาท โจทก์ที่ 4 จำนวน 13,513,065 บาท  โจทก์ที่ 5 จำนวน 17,946,791 บาท โจทก์ที่ 6 จำนวน 12,471,223 บาท โจทก์ที่ 7 จำนวน 17,210,185 บาทโจทก์ที่ 8 จำนวน 20,122,544 บาท โจทก์ 9 จำนวน 15,056,479 บาท โจทก์ 10 จำนวน 4,811,141บาท โจทก์ที่ 11 จำนวน 6,946,962 บาท โจทก์ที่ 12 จำนวน 16,957,877 บาท โจทก์ 13 จำนวน11,978,676 บาท โจทก์ที่ 14 จำนวน 15,957,752 บาท โจทก์ 15 จำนวน 2,889,689 บาท โจทก์ที่ 16 จำนวน 3,554,457 บาท โจทก์ที่ 17 จำนวน 6,208,701 บาท โจทก์ที่ 18  จำนวน 5,062,282 บาทโจทก์ที่ 19 จำนวน 5,308,444  บาท โจทก์ที่ 20 จำนวน 9,654,806 บาท หรือรับโจทก์ทุกคนกลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิม และให้จ่ายเงินเดือนพร้อมผลประโยชน์อื่นย้อนหลังขึ้นไปตั้งแต่เลิกจ้างจนถึงวันที่รับโจทก์แต่ละคนกลับเข้าทำงาน
 
 
                                จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัท จำกัด จดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ ประกอบธุรกิจการบิน รวมถึงขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และพัสดุภัณฑ์ทางไปรษณีย์ จำเลยมีสาขาหลายแห่งทั่วโลก รวมทั้งสาขาในประเทศไทย ซึ่งได้เปิดดำเนินการเป็นเวลานานมาแล้ว ประมาณต้นปี 2538 จำเลยและบริษัทแควนตัสแอร์เวย์ จำกัด ตกลงทำสัญญาให้บริการร่วมกัน เพื่อพัฒนาเครือข่ายการบินทั่วโลกและขยายการให้บริการ ทั้งสองบริษัทต้องดำเนินงานร่วมกันเรื่องการให้บริการลูกค้า ปลายปี 2549 จำเลยมีเครื่องบิน 2 ลำ เดินทางเข้าออกในประเทศไทย วันละ 2 เที่ยวบิน สำนักงานของจำเลยในประเทศไทยมีสำนักงานให้บริการลูกค้าหรือแผนกให้บริการลูกค้าและแผนกวิศวกรตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพหรือท่าอากาศยานดอนเมือง วันที่ 28 กันยายน 2549 ประเทศไทยย้ายท่าอากาศยานนานาชาติจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อันเป็นผลให้สำนักงานให้บริการลูกค้าและแผนกวิศวกรของจำเลยต้องย้ายไปอยู่ที่ท่าอากาศยานแห่งใหม่ด้วย พนักงานได้รับความเดือดร้อนจึงแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาและคุยกันในหมู่เพื่อนร่วมงานว่าจะไม่ยอมย้ายไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หากจำเลยยอมจ่ายเงินค่าชดเชย ท่าอากาศยานแห่งใหม่ห่างจากท่าอากาศยานดอนเมืองเดิมประมาณ 50 กิโลเมตร และต้องใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้นรวมเป็น 2 ชั่วโมง ในช่วงการจราจรติดขัด ที่ปรึกษากฎหมายให้คำแนะนำแก่จำเลยว่ากรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการ พนักงานมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างแรงงานภายในกำหนด 30 วัน ซึ่งจะทำให้จำเลยเสียหายได้หากมีการใช้สิทธิดังกล่าวเพราะไม่มีพนักงานทำงานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และระบบงานของจำเลยจะดำเนินการต่อไปไม่ได้ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้โดยสาร จำเลยได้ศึกษาปัญหาและได้ข้อสรุปว่าจำเลยและบริษัทแควนตัสแอร์เวย์ จำกัด จะยุบเลิกสำนักงานให้บริการลูกค้าและจำเลยจะยุบเลิกแผนกวิศกรทั้งหมด จำเลยช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้างรวมทั้งโจทก์ทุกคน โดยการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ครบถ้วน และจ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษให้แก่โจทก์ที่ทำงานติดต่อกันเกิน 6 ปี โดยจ่ายให้อัตราเงินเดือน 15 วัน ต่ออายุการทำงาน 1 ปี จำเลยทำสัญญากับบริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส จำกัด และบริษัทคาเธ่ย์ แปซิฟิค จำกัด ให้จัดหาพนักงานเข้าทำงานให้แก่จำเลยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอันเป็นการแก้ปัญหาความเสี่ยงในการไม่มีพนักงานมาทำงาน การเลิกจ้างของจำเลยไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผล ประการแรก เป็นสิทธิของคู่สัญญาตามสัญญาจ้างแรงงานที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยแจ้งเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 1 เดือน ประการที่สอง จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชยพิเศษซึ่งส่วนนี้ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลย อันเป็นการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทุกคนครบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประการที่สาม เป็นการเลิกจ้างพนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์ที่ทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเพราะยุบเลิกแผนกและมีการปิดสนามบินดังกล่าว จึงไม่มีงานให้ทำ ประการที่สี่ แม้ไม่เลิกจ้าง พนักงานทุกคนรวมทั้งโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ในขณะที่ไปทำงานที่ท่าอากาศยานแห่งใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ดังกล่าว อันทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยและผู้โดยสารและการทำสัญญาจ้างบริษัททั้งสองแห่งข้างต้นจัดหาพนักงานเข้ามาทำงานเป็นเรื่องปกติและยอมรับกันในวงการธุรกิจการบินระหว่างประเทศ ประการที่ห้า จำเลยมีเจตนาสุจริตเพราะเป็นการเลิกจ้างทั้งแผนก ไม่ใช่เรื่องต้องการประหยัดเงินค่าใช้จ่ายหากรอให้พนักงานบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน จะมีผลให้จำเลยต้องจ่ายเงินเพียงกึ่งหนึ่งของเงินค่าชดเชย ประการที่หก พนักงานทุกคนในแผนกให้บริการลูกค้าได้รับโอกาสให้สมัครเข้าทำงานกับบริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส จำกัด โดยจะได้รับการเลื่อนเป็นระดับหัวหน้างาน แต่ไม่มีโจทก์คนใดยื่นใบสมัครงาน ทั้งๆ ที่มีตำแหน่งงานว่าง ส่วนพนักงานแผนกวิศกรได้รับโอกาสให้เข้าสมัครงานที่บริษัทคาเธ่ย์ แปซิฟิค จำกัด โดยโจทก์ที่ 4 ที่ 15 ที่ 16 และที่ 17 ถึงที่ 20 ได้รับการว่าจ้างเข้าทำงานที่บริษัทดังกล่าวแล้วโดยไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าเสียหายถึงเกษียณอายุการทำงานตามคำฟ้อง โจทก์ที่ 13 ตกลงกับจำเลยว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย โจทก์ที่ 13 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
 
 
                                ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
 
 
                                โจทก์ทั้งยี่สิบอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ ประกอบธุรกิจการบินรวมถึงขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และพัสดุภัณฑ์ทางไปรษณีย์ จำเลยมีสาขาหลายแห่งทั่วโลกรวมทั้งสาขาในประเทศไทย ปลายปี 2549 จำเลยมีเครื่องบิน 2 ลำ เดินทางเข้าออกในประเทศไทย วันละ 2 เที่ยวบิน สำนักงานของจำเลยในประเทศไทยมีสำนักงานให้บริการลูกค้าหรือแผนกให้บริการลูกค้าและแผนกวิศวกรตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพหรือท่าอากาศยานดอนเมือง วันที่ 28 กันยายน 2549 ประเทศไทยย้ายท่าอากาศยานนานาชาติจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อันเป็นผลให้สำนักงานให้บริการลูกค้าและแผนกวิศวกรของจำเลยต้องย้ายไปอยู่ที่ท่าอากาศยานแห่งใหม่ด้วย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิห่างจากท่าอากาศยานดอนเมืองประมาณ 50 กิโลเมตร และต้องใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้นรวมเป็น 2 ชั่วโมง ในกรณีที่จราจรติดขัด ที่ปรึกษากฎหมายให้คำแนะนำแก่จำเลยว่ากรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการ พนักงานมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานภายในกำหนด 30 วัน จำเลยไม่ได้จัดการสอบถามความสมัครใจของพนักงานรวมทั้งโจทก์ทั้งยี่สิบว่าต้องการไปทำงานกับจำเลยที่สำนักงานของจำเลยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก่อนการเลิกจ้าง เดิมงานแผนกวิศวกรจำเลยได้รับใบอนุญาตจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยหรือบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด ให้ดำเนินการรับจ้างซ่อมแซมและดูแลบำรุงรักษาเครื่องบิน ภายหลังเมื่อมีการย้ายท่าอากาศยานแห่งใหม่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อไป จำเลยตัดสินใจยุบเลิกสำนักงานให้บริการลูกค้าและแผนกวิศกรทั้งหมด โดยในวันที่ 24 สิงหาคม 2549 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นพนักงานทำงานแผนกให้บริการลูกค้า  ส่วนโจทก์ที่เหลือทำงานในแผนกวิศวกรได้รับหนังสือเลิกจ้างในวันที่ 16 สิงหาคม 2549 โดยหนังสือเลิกจ้างระบุว่า แผนกให้บริการลูกค้าของจำเลยจะมีบริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส จำกัด เข้ามารับช่วงดำเนินการต่อไป และแผนกวิศวกรของจำเลยจะมีบริษัทคาเธ่ย์ แปซิฟิค จำกัด เข้ามารับช่วงดำเนินการต่อไป ตำแหน่งงานของท่านต้องถูกยุบ จำเลยมีความจำเป็นที่ต้องเลิกจ้างท่าน โดยให้มีผลบังคับอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2549 หลังจากมีการเลิกจ้างแล้ว จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ครบถ้วน และค่าชดเชยพิเศษ ซึ่งจ่ายให้แก่โจทก์ที่ทำงานติดต่อกันเกิน 6 ปี โดยจ่ายให้อัตราเงินเดือน 15 วัน ต่ออายุการทำงาน 1 ปี ขณะเลิกจ้างจำเลยไม่ได้ประสบภาวะขาดทุน ในการทำงานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำเลยตกลงทำสัญญากับบริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส  จำกัด จัดหาพนักงานเข้ามาทำงานแทนพนักงานเดิมที่เลิกจ้างในสำนักงานให้บริการลูกค้า และทำสัญญาจ้างบริษัทคาเธ่ย์ แปซิฟิค จำกัด ดำเนินการตรวจสอบซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินแทน บริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่พนักงานที่เข้ามาทำงานแทนในสำนักงานให้บริการลูกค้า บริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคม 2549 และเป็นบริษัทในเครือของบริษัทบริการภาคพื้นดินการบินกรุงเทพเวิลด์ไวลด์ไฟท์เซอร์วิส จำกัด ได้รับอนุญาตจากบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดการพนักงานให้แก่สายการบินต่างๆ ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยได้รับการสนับสนุนด้านกำลังคนจากบริษัทบริการภาคพื้นดินการบินไทยกรุงเทพเวิลด์ไวลด์ไฟท์เซอร์วิส จำกัด ซึ่งมีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ที่ทำงานให้แก่สายการบินต่างๆ ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ข้อบังคับการทำงานระหว่างจำเลยกับโจทก์ทั้งยี่สิบ เอกสารหมาย ล.2 หมวดอีอาร์ 19 กรณีการสิ้นสุดการว่าจ้าง กำหนดว่า คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยแจ้งเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 1 เดือน การว่าจ้างพนักงานอาจยุติลงเพราะเหตุบริษัทปรับปรุงหน่วยงาน หรือการบริการซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนพนักงานจำเลยจะแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนวันที่จะเลิกจ้าง ในกรณีที่จำเลยย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น จำเลยจะแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ พนักงานมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้หากไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย เนื่องจากมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของพนักงานและครอบครัว ในการลาออก พนักงานจะต้องลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้จัดการฝ่ายโดยต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อยที่สุด 1 เดือน หมวด อีอาร์ 22 กรณีเงินชดเชย ข้อ 2 กรณีการเลิกจ้างเพราะเหตุที่จำเลยปรับปรุงหน่วยงานหรือการบริการซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนพนักงาน จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน ในกรณีที่จำเลยไม่แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าหรือแจ้งน้อยกว่า 60 วัน และจะจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มจากค่าชดเชยปกติในกรณีที่พนักงานทำงานติดต่อกันเกิน 6 ปี ทั้งนี้ค่าชดเชยพิเศษดังกล่าวจะไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน ข้อ 3 เรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้งสถานที่อื่น จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน ในกรณีที่จำเลยไม่สามารถแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าได้หรือแจ้งน้อยกว่า 30 วัน หากพนักงานไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย พนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยปกติที่พนักงานมีสิทธิได้รับ หมวด อีอาร์ 20 กรณีการปลดเกษียณ ข้อ 1 กำหนดว่าอายุเกษียณตามปกติสำหรับพนักงานของจำเลยคือสิ้นเดือนของเดือนที่พนักงานนั้นมีอายุครบ 55 ปี ข้อ 2 กำหนดว่าพนักงานที่ปลดเกษียณจะได้รับเงินชดเชยเมื่อสิ้นสุดการทำงานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด อีอาร์ 9 กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงค่าซักรีดเครื่องแบบ 350 บาท ต่อเดือน หมวด อีอาร์ 12 กรณีโบนัสประจำปี กำหนดจ่ายเท่ากับเงินเดือนพื้นฐาน  1 เดือน ในเดือนธันวาคมของทุกปี หมวด อีอาร์ 13 กรณีแผนงานการแบ่งผลกำไร กำหนดว่า พนักงานจะได้รับผลประโยชน์นี้ตามผลงานและเงินเดือนของพนักงาน โดยขึ้นอยู่กับระดับผลกำไรและการพิจารณาของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบเนื่องจากได้ยุบเลิกแผนกให้บริการลูกค้าและวิศวกรโดยจ้างให้บริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส จำกัด เริ่มดำเนินงานเมื่อเดือนกันยายน 2549 จำเลยจ้างบริษัทคาเธ่ย์ แปซิฟิค จำกัด ทำหน้าที่ตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินเดิมพนักงานแผนกวิศวกรมี 17 คน ประกอบด้วย ช่างเครื่องบิน 14 คน และวิศวกร 3 คน การทำงานตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องบิน 1 ลำ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยใช้ช่างเครื่องบิน 3 คน และตรวจสอบอีกครั้งโดยวิศกร จำเลยไม่ได้ทำการรับจ้างตรวจสอบซ่อมแซมเครื่องบินให้แก่สายการบินอื่นและสายการบินแควนตัสอีกต่อไป ซึ่งเดิมเคยรับจ้างตรวจสอบ มีปัญหาต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งยี่สิบว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่โดยโจทก์ทั้งยี่สิบอุทธรณ์ว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบนั้น จำเลยมิได้ประสบภาวะขาดทุนและไม่มีปัญหาด้านการเงิน แต่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายให้บริการลูกค้า โดยมิได้สอบถามความสมัครใจของโจทก์ดังกล่าวก่อนว่าจะไปทำงานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือไม่ แต่คาดเดาเอาเองว่าโจทก์ดังกล่าวจะไม่ตามไปทำงานด้วย แล้วจ้างพนักงานจากบริษัทภายนอกเข้าทำงานจึงไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้างเพียงพอ ส่วนโจทก์ที่ 4 และที่ 15 ถึงที่ 20 เป็นช่างเครื่องการที่จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจสอบและซ่อมแซมเครื่องบินเกิดจากความผิดของจำเลยที่ไม่ยื่นคำขอใบอนุญาต เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 4 และที่ 15 ถึงที่ 20 จึงไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้างเพียงพอเช่นกัน ดังนั้นการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นั้น เห็นว่า เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประกอบธุรกิจการบินมีสาขาหลายแห่งทั่วโลก มีเครื่องบิน 2 ลำ ที่เดินทางเข้าออกในประเทศไทย วันละ 2 เที่ยวบิน ต่อมาประเทศไทยย้ายท่าอากาศนานาชาติจากท่าอากาศยานกรุงเทพหรือท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังท่าอากาศสุวรรณภูมิ เป็นผลให้สำนักงานให้บริการลูกค้าและแผนกวิศวกรต้องย้ายไปอยู่ที่ท่าอากาศสุวรรณภูมิ แต่ไม่ยุบเลิกสำนักงานให้บริการลูกค้าและแผนกวิศวกรและเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบที่อยู่ในแผนกดังกล่าว ในส่วนทางแผนกให้บริการลูกค้าของจำเลยจะมีบริษัท เอส เอ เซอร์วิสเซส จำกัด เข้าไปรับช่วงดำเนินการต่อไป แผนกวิศวกรของจำเลยจะมีบริษัทคาเธ่ย์ แปซิฟิค จำกัด เข้าไปรับช่วงดำเนินการต่อ จำเลยมิได้ประสบภาวะขาดทุนในขณะเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบ จึงเห็นได้ว่าไม่ว่าจะมีการย้ายท่าอากาศยานนานาชาติจากท่าอากาศยานกรุงเทพหรือท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือไม่ จำเลยก็ยังคงมีเครื่องบิน 2 ลำ ที่เดินทางเข้าออกประเทศไทยวันละ 2 เที่ยวบิน ซึ่งจะต้องมีพนักงานที่ทำหน้าที่ให้บริการลูกค้าประจำอยู่ที่ท่าอากาศยาน รวมทั้งแผนกวิศวกรซึ่งมีพนักงานที่ทำหน้าที่วิศวกรและช่างเครื่องในการตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องบินอยู่ ซึ่งจำเลยสามารถจะโอนย้ายลูกจ้างในแผนกบริการลูกค้าและแผนกวิศวกรของจำเลยให้ไปปฏิบัติหน้าที่ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ แต่จำเลยเลือกที่จะเลิกจ้างลูกจ้างแล้วให้บริษัทภายนอกจัดส่งพนักงานเข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทน การกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากการปรับลดค่าใช้จ่ายในการบริหารกิจการของจำเลยหรือการคาดหมายเหตุการณ์ในภายหน้าที่อาจจะไม่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่เพียงพอก็ดี หรือจากการที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด ให้ดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องบินก็ดีล้วนแต่เป็นไปเพราะเหตุจากการบริหารงานและเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองโดยมิได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของลูกค้าเมื่อถูกเลิกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบ  อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งยี่สิบฟังขึ้น แต่การจะสั่งให้จำเลยรับโจทก์ทั้งยี่สิบเข้าทำงานต่อไปหรือกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้เป็นดุลพินิจซึ่งศาลแรงงานกลางจะต้องพิจารณาโดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 รวมทั้งค่าชดเชยและเงินอื่นๆ ที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบโดยปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในการว่าจ้างเอกสารหมาย ล.2 ประกอบการพิจารณา ซึ่งศาลฎีกาไม่อาจกำหนดได้ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
 
 
                                พิพากษากลับและให้ย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาสมควรรับโจทก์ทั้งยี่สิบเข้าทำงานหรือกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
  



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com