ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ศาลแรงงานมีคำสั่งหรือพิพากษาเกินคำขอได้ หากเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ

 

คำพิพากษาฎีกา 9139/2553
ศาลแรงงานมีคำสั่งหรือพิพากษาเกินคำขอได้ หากเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ
 
                                โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยครั้งสุดท้ายทำหน้าที่ผู้จัดการแผนก ได้รับค่าจ้างเดือนละ 41,403 บาท กำหนดจ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า อ้างว่าบกพร่องต่อหน้าที่และปฏิบัติงานโดยไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นเหตุให้บุคคลภายนอกจัดทำเอกสารปลอมเพื่อนำไปใช้แจ้งการเสียภาษีนำเข้าอันเป็นเท็จต่อกรมศุลกากรหลายครั้ง เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งไม่เป็นความจริงและมิใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 124,209 บาท และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 56 วัน เป็นเงิน 81,425.90 บาท การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายเป็นเงิน 5,000,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหาย 5,081,425.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และค่าชดเชย 124,209 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 
                               จำเลยให้การและฟ้องแย้งและแก้ไขคำให้การว่า  โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการ แผนกซ่อมบำรุงตู้คอนเทนเนอร์ มีหน้าที่ดูแลจัดการซ่อมบำรุงตู้สินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่จัดการซื้อตู้สินค้าเก่าให้จำเลยเพื่อนำมาขายเอากำไรตามระเบียบและวิธีปฏิบัติของจำเลย กล่าวคือ โจทก์จะต้องแจ้งความประสงค์ในการซื้อพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังผู้จัดการฝ่ายนำเข้าทางเรือเพื่อดำเนินการนำเข้าตู้สินค้าที่ขอซื้อและเสียภาษีผ่านพิธีการทางศุลกากรอย่างถูกต้องในนามจำเลยต่อกรมศุลกากร   แต่โจทก์เจตนาทุจริตหรือเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์กลับนำการดำเนินการขอนำเข้าตู้สินค้าที่จะซื้อไปให้นายประพันธ์ ประภาศิริกุล พนักงานเก่าที่ลาออกเพราะถูกจำเลยสอบสวนความผิดทุจริตเป็นผู้ไปดำเนินการ ปรากฏว่านายประพันธ์   ร่วมกับผู้มีชื่อดำเนินการแจ้งเท็จต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรโดยหลบเลี่ยงการเสียค่าอากรขาเข้าและนำสินค้าทั้งหมดหลบเลี่ยงการตรวจปล่อยไม่ผ่านพิธีการตรวจปล่อยตามพิธีการทางศุลกากร และโจทก์สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจ่ายค่าดำเนินการในราคาเหมาจ่ายที่ตกลงไว้กับนายประพันธ์ไปเป็นเงินสดโดยไม่ขออนุมัติจากจำเลยอันเป็นการผิดระเบียบและหากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบเอกสารจากนายประพันธ์ก็จะทราบถึงการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องของนายประพันธ์ การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอาจต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตในการเป็นตัวแทนนำเข้าและส่งออกของกรมศุลกากรอาจทำให้จำเลยต้องคดีอาญา  ทำให้เสียชื่อเสียงทางการค้า และจากการกระทำดังกล่าว จำเลยต้องแก้ไขโดยนำตู้สินค้าดังกล่าวทั้งหมดรวม 15 ตู้ ไปดำเนินการขอนำเข้าและเสียภาษีผ่านพิธีการทางศุลกากรอย่างถูกต้องใหม่ ต้องสูญเสียเงินไป 139,000 บาท การกระทำของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายตามฟ้อง ทั้งโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายสูงเกินความเป็นจริง ขอให้ยกฟ้อง โจทก์ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหายจากการนำเข้าตู้สินค้าและเสียภาษีอย่างผิดวิธีเป็นเงิน 139,000 บาท ค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงทางการค้าทำให้จำเลยขาดรายได้จากการค้าเป็นเงิน 3,000,000 บาท
 
 
                               โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ไม่มีหน้าที่ในการจัดซื้อตู้สินค้า  โจทก์มีหน้าที่เพียงแจ้งให้ผู้จัดการใหญ่หรือผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ซึ่งมีอำนาจจัดซื้อทราบและดำเนินการติดต่อขอซื้อ หลังจากรับตู้สินค้าแล้วเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะซ่อมแล้วขายหรือขายโดยไม่ต้องซ่อม โจทก์ไม่มีอำนาจในการจ้างนายประพันธ์เข้ามาดำเนินการขอนำเข้าตู้สินค้าและผ่านพิธีการทางศุลกากร แต่เป็นอำนาจของนายมูราโอกะ หรือนายโอชิมา โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และไม่ทราบว่าการดำเนินการทางพิธีการทางศุลกากรจะต้องทำอย่างไร และโจทก์ไม่มีอำนาจอนุมัติในการจ่ายเงิน เป็นอำนาจของนายโอชิมา และนายอาราชิมา หากไม่ได้รับการอนุมิติก็ไม่สามารถจ่ายเงินได้การจ่ายเงินทุกครั้งได้รับการอนุมัติโดยถูกต้องแล้ว โจทก์มิได้ทุจริตหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายตามที่จำเลยฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง
 
 
                               ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าชดเชยจำนวน 124,209
บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 1 กรกฎาคม 2547) ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยกเสีย และให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย
 
 
                                โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการเป็นตัวแทนในการนำเข้าและส่งออกสินค้าต่างประเทศ กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย ล.15 โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2544 ตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้จัดการแผนกซ่อมและบำรุงตู้คอนเทนเนอร์ ได้รับค่าจ้างเดือนละ 41,403 บาท กำหนดจ่ายทุกวันที่ 25 ของเดือน ต่อมาวันที่ 29 มิถุนายน 2547 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ ตามเอกสารหมาย ล.1   โจทก์เป็นผู้บริหารคนไทยสูงสุดในแผนกซ่อมและบำรุงตู้คอนเทนเนอร์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและพนักงานในแผนกทั้งหมด อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้บริหารซึ่งเป็นคนญี่ปุ่นคือผู้จัดการใหญ่ฝ่ายคอนเทนเนอร์เดิมคือนายมูราโอกะ เมื่อนายมูราโอกะย้ายกลับไปประเทศญี่ปุ่นในปลายปี 2546 มีนายโอชิมาทำหน้าที่แทนนายมูราโอกะ ผู้บริหารเหนือขึ้นไปคือนายอาราชิมาผู้อำนวยการ เดิมแผนกตู้คอนเทนเนอร์รับทำการตรวจสภาพซ่อมและบำรุงรักษาตู้คอนเทนเนอร์ ต่อมาปี 2545 โจทก์เสนอให้มีการซื้อและขายตู้คอนเทนเนอร์เก่าที่ยังสามารถใช้ได้ภายในประเทศเพื่อเป็นการหารายได้เพิ่มให้แก่แผนกและได้รับความเห็นชอบจากนายมูราโอกะให้ดำเนินการ ดังนั้นเมื่อจะทำการซื้อขายตู้คอนเทนเนอร์ โจทก์จะให้นางรัชนก ธนธิติกาญจน์ พนักงานประสานงานด้านเอกสารทำการสำรวจตู้ที่ยังสามารถใช้งานได้แล้วรายงานให้โจทก์ทราบ จากนั้นโจทก์จะแจ้งให้นายมูราโอกะติดต่อซื้อตู้คอนเทนเนอร์ของบริษัทเอ็น วาย เค ลาย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของจำเลยตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ที่ได้บรรทุกสินค้าเข้ามาในประเทศไทยโดยติดต่อผ่านตัวแทนซึ่งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยจดหมายอีเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ ดังเช่นเอกสารหมาย จ.3 และจ.14 เมื่อตกลงซื้อขายกันแล้ว ตัวแทนในประเทศสิงคโปร์จะแจ้งมายังบริษัท เอ็น วาย เค ชิปปิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตัวแทนบริษัทแม่ในประเทศไทยให้ทราบ เพื่อส่งเอกสารการซื้อขายให้จำเลยดำเนินการเสียภาษีผ่านพิธีการทางศุลกากรเอง โดยส่งเอกสารต่างๆ   มาที่แผนกของโจทก์ ซึ่งจำเลยมีแผนกนำเข้าทางเรือทำหน้าที่พิธีการทางศุลกากรนำสินค้าเข้าโดยจำเลยมอบอำนาจให้นายไพโรจน์ ตั้งจิตร่วมบุญ ผู้จัดการใหญ่ของแผนกของแผนกดังกล่าวเป็นผู้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทในใบขนสินค้าและเอกกสารต่าง ๆ ในการทำพิธีการทางศุลกากรตามเอกสารหมาย ล.16 โดยกรมศุลกากรได้ออกบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจให้นายไพโรจน์ ตามเอกสารหมาย ล.17 เมื่อผ่านการดำเนินการของนายไพโรจน์แล้ว นายไพโรจน์จะมอบให้พนักงานคนใดคนหนึ่งในแผนกไปดำเนินการต่อกรมศุลกากรรวมทั้งนายสมบูรณ์ ชัยศรีสุรพันธ์ ด้วยคนหนึ่ง ซึ่งกรมศุลกากรได้ออกบัตรผ่านพิธีการทางศุลกากรให้นายสมบูรณ์ไว้ตามเอกสารหมาย ล.18 เดิมเมื่อตกลงซื้อขายกันแล้ว บริษัท  เอ็น วาย เค ชิปปิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะส่งเอกสารต่างๆ มาที่นางรัชนก จากนั้นนางรัชนกจะส่งเอกสารเหล่านั้นไปให้แผนกนำเข้าทางเรือทำพิธีการทางศุลกากรเนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์มี 2 ชนิด คือชนิดแห้ง และชนิดเย็น ซึ่งแต่ละตู้จะมีหมายเลขกำกับไว้ ตู้ที่ขึ้นด้วยหมายเลข 7 จะเป็นตู้ชนิดเย็นการเสียภาษีในการทำพิธีการทางศุลกากรจะต้องชำระทั้งค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าอากรขาเข้า ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.4 แผ่นที่ 2 ส่วนตู้อีกชนิดหนึ่งคือตู้แห้งหมายเลขที่กำกับไว้จะขึ้นต้นด้วยเลขอื่นทั้งหมดเว้นแต่หมายเลข 7   จะต้องชำระเฉพาะค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 2 เมื่อชำระค่าภาษีแล้ว ก็จะต้องนำเอกสารผ่านจุดตรวจปล่อยเพื่อตรวจความถูกต้อง เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วเจ้าหน้าที่ก็บันทึกการตรวจปล่อย ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 4 หลังจากทำพิธีการทางศุลกากรดังกล่าวแล้ว แผนกนำเข้าทางเรือจะส่งเอกสารที่ผ่านพิธีการและใบปะหน้าเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการและค่าภาษีมาที่นางรัชนก นางรัชนกจะถ่ายสำเนาเอกสารที่ผ่านพิธีการดังกล่าวเพื่อส่งไปให้บริษัท เอ็น วาย เค ชิปปิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อยืนยันว่าการซื้อขายได้ผ่านพิธีการทางศุลกากรถูกต้องแล้ว จากนั้นบริษัทดังกล่าวก็จะให้จำเลยรับตู้สินค้าไปเพื่อขายให้ลูกค้าต่อไป ในขณะเดียวกันนางรัชนกก็จะส่งเอกสารที่แผนกนำเข้าทางเรือทำพิธีการทางศุลกากรนั้นไปให้นางลักขณา แซ่จึง ผู้รับผิดชอบการเงินของแผนก เพื่อรวบรวมเอกสารเสนอนายมูราโอกะหรือนายโอชิมาแล้วแต่ช่วงเวลาการทำหน้าที่เพื่อลงลายมือชื่ออนุมัติการจ่ายเงินดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 1 เมื่อมีการลงลายมือชื่ออนุมัติแล้ว นางลักขณาก็จะส่งเอกสารทั้งหมดไปให้แผนกบัญชีและการเงินของบริษัทตัดจ่ายการชำระเงินโดยวิธีภายใน แผนกของโจทก์ได้ให้แผนกนำเข้าทางเรือทำพิธีการทางศุลกากรหลายครั้งตามเอกสารหมาย ล.2 ล.4 และ จ. 8 ถึง จ.13 ต่อมาตั้งแต่ประมาณปลายปี 2546 แผนกโจทก์ได้ปรึกษากันว่าในการให้แผนกนำเข้าทางเรือทำพิธีการทางศุลกากรจะเสียค่าภาษีสูงขึ้น ประกอบกับก่อนหน้านั้นนายประพันธ์ ประภาศิริกุล เคยเป็นพนักงานของจำเลยในแผนกตู้คอนเทนเนอร์นี้ แต่ในปี 2543 หรือ 2544 พนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาของนายประพันธ์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจึงได้ตั้งกรรมการสอบสวนนายประพันธ์และพนักงานผู้นั้นนายประพันธ์จึงขอลาออกไป และในปี 2546 นายประพันธ์ก็เคยติดต่อขอซื้อตู้คอนเทนเนอร์จากแผนกของโจทก์แต่ได้ขอนำไปทำพิธีการทางศุลกากรเอง ดังเช่นเอกสารหมาย จล.1 และจล.2 มีการตรวจสอบแล้วปรากฏว่าการดำเนินการของนายประพันธ์ เสียภาษีถูกกว่า แผนกของโจทก์จึงตกลงให้นายประพันธ์เป็นผู้ทำพิธีการทางศุลกากรตั้งแต่ต้นปี 2547 เป็นต้นมารวม 4 ครั้ง จำนวน 15 ตู้ โดยตกลงเหมาจ่ายค่าดำเนินการและค่าภาษีทั้งหมด ตู้ชนิดแห้งตู้สั้นราคาตู้ละ 6,000 บาท ตู้ยาวราคาตู้ละ 8,500 บาท และตู้ชนิดเย็นราคาตู้ละ 16,000 บาท ขั้นตอนการดำเนินการก็เช่นเดียวกับที่ให้แผนกนำเข้าทางเรือดำเนินการทั้งหมด เมื่อนางรัชนกได้รับเอกสารจากบริษัท เอ็น วาย เค ชิปปิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด แล้ว แทนที่จะส่งไปให้แผนกนำเข้าทางเรือดำเนินการพิธีการทางศุลกากร ก็จะส่งมอบเอกสารทั้งหมดไปให้นายประพันธ์ดำเนินการแทน ปรากฏว่านายประพันธ์ได้มอบให้นายฉัตรชัย จิตต์ธรรมา ไปดำเนินการ เมื่อนายฉัตรชัยดำเนินการแล้วก็จะส่งเอกสารให้นายประพันธ์ นายประพันธ์จะนำเอกสารที่ผ่านพิธีการทางศุลกากรแล้วนั้นมามอบให้นางรัชนกเพื่อถ่ายสำเนาส่งไปให้บริษัทเอ็น วาย เค ชิปปิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ตรวจให้จำเลยรับตู้ไปขายต่อไปและนางรัชนกส่งเอกสารที่ผ่านพิธีการนั้นไปให้นางลักขณา แต่เนื่องจากนายประพันธ์ไม่ได้ทำเอกสารใบปะหน้าเพื่อขอเบิกเงินมา นางลักขณาจึงขออนุญาตจ่ายเป็นเงินสด โดยใช้แบบฟอร์มการจ่ายเงินสดของบริษัทให้ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่ออนุมัติจ่ายตามลำดับ เริ่มจากนายธเนศ ธรรมโรจน์ ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก โจทก์ นายโอชิมา และนายอาราชิมาตามลำดับ ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.10 แผ่นที่ 1 และนายประพันธ์ทำเอกสารลงลายมือรับเงินไว้ ดังเช่น เอกสารหมาย ล.10 แผ่นที่ 2 แล้วนางลักขณารวบรวมเอกสารส่งไปให้แผนกการเงินและบัญชีของบริษัท สำหรับเงินที่นายประพันธ์รับไปนั้นนายประพันธ์จะเก็บค่าตอบแทนในการดำเนินการส่วนของตนไว้เป็นเงินตู้ละ 2,000 บาท ที่เหลือมอบให้นายฉัตรชัยไปเอกสารที่นายประพันธ์ให้นายฉัตรชัยดำเนินการพิธีการทางศุลกากรทั้ง 15 ตู้ ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.10 ถึง ล.13 โดยบริษัทเอ็น วาย เค ชิปปิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 15 ตู้ ให้จำเลยรับไปหมดแล้ว และจำเลยได้ขายไปให้แก่บุคคลภายนอกแล้วเป็นส่วนมาก ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคม 2547 ความจึงปรากฏข้อเท็จจริงที่ฟังได้จากการรายงานของนายไพโรจน์ต่อนายรังสรรค์ รังสิพล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการว่า ที่มอบให้นายประพันธ์ไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรแก่ตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 15 ตู้ นั้นเป็นไปโดยไม่ชอบ โดยมีการปลอมลายมือชื่อของนายไพโรจน์และตราประทับในใบขนส่ง มีการระบุอ้างว่านายสมบูรณ์เป็นผู้ไปดำเนินการต่อกรมศุลกากร ดังเช่นที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.10 แผ่นที่ 7 และแผ่นที่ 10 ถึง 13 และการเสียภาษีสำหรับตู้ชนิดเย็นก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่มีการเสียค่าอากรขาเข้าอีกทั้งการดำเนินการทั้ง 15 ตู้ ไม่มีเอกสารแสดงการตรวจปล่อยของเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ให้ดำเนินคดีอาญาแก่นายประพันธ์และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามเอกสารหมาย ล.19 และจำเลยได้มอบให้นายรังสรรค์เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ นายรังสรรค์ได้ทำการสอบสวนนางลักขณา นางรัชนก โจทก์   นายธเนศ และนายประพันธ์ไว้ตามเอกสารหมาย ล.5 ถึง ล.9 ระหว่างสอบสวนนายฉัตรชัยได้ยอมรับว่าตราประทับในใบขนสินค้าในเอกสารหมาย ล.10 ถึง ล.13 เป็นตราประทับปลอมและได้ส่งตรายางดังกล่าวให้จำเลยไว้ตามเอกสารหมาย ล.20 ต่อมาจำเลยได้ไปทำเรื่องดำเนินการพิธีการทางศุลกากรสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 15 ตู้ ที่ให้นายประพันธ์ไปดำเนินการนั้นให้ถูกต้องใหม่ทั้งหมด ตามเอกสารหมาย ล.14 ผลการสอบสวนจำเลยเห็นว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายอย่างร้ายแรง และเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จึงมีหน้าที่ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2547 เลิกจ้างโจทก์โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป การที่โจทก์มอบให้นายประพันธ์ไปดำเนินการทำพิธีการทางศุลกากรแทนแผนกนำเข้าทางเรือของจำเลยนั้นได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้ว ไม่ปราฏว่าโจทก์มีส่วนร่วมรู้เห็นให้นายประพันธ์หรือนายฉัตรชัยไปดำเนินการ โจทก์ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายและโจทก์ไม่ได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ โจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน แต่โจทก์ขอคิดเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน จึงกำหนดให้เท่าที่โจทก์ขอ โจทก์เป็นผู้จัดการแผนกได้รับเงินเดือนสูง มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและพนักงานในแผนกทั้งหมด แต่ปล่อยปละละเลยไม่วางระเบียบการตรวจสอบให้ดี จนทำให้เกิดความผิดพลาดในแผนกจนอาจเกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ย่อมทำให้ไม่เป็นที่ไว้วางใจแก่จำเลยต่อไป จึงเป็นเหตุสมควรที่จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยได้รับตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 15 ตู้ ที่นายประพันธ์ไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรครบถ้วนจนจำเลยได้ขายไปเป็นส่วนมากซึ่งจำเลยย่อมได้กำไรจากการขาย และไม่มีผู้ใดกล่าวอ้างอันจะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงในทางการค้า การที่จำเลยไปดำเนินการพิธีการทางศุลกากรสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 15 ตู้ ให้ถูกต้องใหม่ ทั้งๆ ที่ตู้คอนเทนเนอร์ส่วนมากจำเลยได้ขายไปแล้วเป็นการสมัครใจกระทำเพื่อป้องกันชื่อเสียงของจำเลยเอง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามที่จำเลยฟ้องแย้ง
 
 
                                คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน ตามขอซึ่งน้อยกว่าสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้โจทก์จะฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน แต่กฎหมายแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลแรงงานกลางจะต้องพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย เห็นว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้” บทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิเศษที่จะพิพากษาเกินคำขอได้ เพราะคดีแรงงานเป็นคดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ลูกจ้างมีความรู้น้อย บางครั้งก็ดำเนินคดีด้วยตนเอง แต่ต้องเป็นกรณีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความ เมื่อปรากฏในคำฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องว่าโจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 124,209 บาท โจทก์เป็นพนักงานจำเลบระดับผู้จัดการแผนกซ่อมและบำรุงตู้คอนเทนเนอร์ เป็นผู้บริหารคนไทยสูงสุดในแผนก เป็นผู้มีความรู้ โจทก์ย่อมรู้ถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามสิทธิหลังจากจำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง โจทก์แต่งตั้งทนายความและทนายความโจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องทั้งที่มีทนายความและสามารถดำเนินการได้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 124,209 บาท ตามขอพร้อมดอกเบี้ยจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยตามสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันไม่ใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาในประเด็นนี้มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น
 
 
                                มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า การเลิกจ้างเป็นธรรมต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งการที่จะพิจารณาว่า การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 นั้น จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างว่า มีเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ เห็นว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการแผนกปล่อยปละละเลยไม่วางระเบียบการตรวจสอบให้ดีปล่อยให้มีการปลอมเอกสารและลายมือชื่อในการดำเนินการเสียภาษีนำเข้าตู้สินค้าในนามจำเจยไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดความผิดพลาดในแผนกอาจเกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นการกระทำที่ผิดพลาดอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จึงมีเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่อีกต่อไปเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยในประเด็นนี้มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
 
 
                               ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า  การที่โจทก์เป็นผู้จัดการแผนกได้รับเงินเดือนสูง มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและพนักงานในแผนกทั้งหมดแต่ปล่อยปละละเลยไม่วางระเบียบการตรวจสอบให้ดี จนทำให้เกิดความผิดพลาดในแผนกอาจเกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ย่อมทำให้ไม่เป็นที่ไว้วางใจแก่จำเลยต่อไป จึงเป็นเหตุสมควรให้จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้ทันที โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ถูกต้องเพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตตามระเบียบประเพณีปฏิบัติตลอดมาจำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นดังกล่าว เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
 
 
                                ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้บริหารคนไทยสูงสุดตำแหน่งผู้จัดการแผนกซ่อมบำรุงมีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและพนักงานในแผนกทั้งหมดไม่เอาใจใส่ต่อหน้าที่ทำให้นายประพันธ์ไปดำเนินการเสียภาษีนำเข้าตู้สินค้าในนามจำเลยมีการหลบเลี่ยงการเสียภาษีและปลอมลายมือชื่อนายไพโรจน์ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยในการเสียภาษีและตราประทับ ทำให้จำเลยเสียภาษีไม่ถูกต้องต่ำกว่าความเป็นจริงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนจำเลยต้องเสียภาษีผ่านพิธีการทางศุลกากรอย่างถูกต้องใหม่ต้องเสียภาษีอีกเป็นเงิน 139,000 บาท และทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงในการค้า ขาดรายได้จากการค้าขายกับนายประพันธ์ เป็นเงิน 3,000,000 บาท เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงแล้ว โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลย และจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
 
 
                                พิพากษายืน



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com