ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ไม่ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการ เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article

 ฎีกา 5863 -5873/53

ไม่ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการ เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
                                รายชื่อโจทก์ปรากฏตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
 
 
                         คดีทั้งสิบเอ็ดสำนวนนี้ ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกโจทก์เรียงตามลำดับสำนวนว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และเรียกจำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนว่าจำเลย
 
 
 
                               โจทก์ทั้งสิบเอ็ดสำนวนฟ้องเป็นใจความว่า  เมื่อระหว่างวันที่  16  เมษายน  2535  ถึง วันที่ 2 ธันวาคม 2545 จำเลยจ้างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 เข้าทำงานมีตำแหน่งสุดท้ายและอัตราค่าจ้างสุดท้ายปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่ละคน ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2548 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ด โดยโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามกฎหมาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้าง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราค่าจ้างเดิมและจ่ายค่าจ้างในระหว่างเลิกจ้างให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้าง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์แต่ละคน
 
 
 
                               จำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนให้การและฟ้องแย้ง  และแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้ง ว่า     จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด  ประกอบธุรกิจปิโตรเลียมค้าน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของจำเลย และมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการและผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยทำให้บรรดาอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยและสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของจำเลยยกเว้นสิทธิจะได้รับเงินปันผลตกอยู่แก่ผู้บริหารแผนดังกล่าวต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2546 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งตั้งกระทรวงการคลังโดยมีพลเอกมงคล อัมพรพิสิฎฐ์ พร้อมคณะรวม 5 คน เป็นผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนรายใหม่แทนผู้บริหารแผนเดิม จำเลยโดยคณะผู้บริหารแผนรายใหม่ได้มอบอำนาจให้นายชีพวุฒิ ลิชูปถัมภ์ยศ เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเคยทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามตำแหน่งหน้าที่และมีอัตราค่าจ้างสุดท้ายตามที่ระบุไว้ในคำฟ้องของโจทก์แต่ละคนจริง โดยโจทก์ทั้งสิบเอ็ดสังกัดอยู่ในสายงาน KNOWLEDGE MANAGEMENT SYSTEM OFFICE (KMS) ซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ บริหารจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ บริหารจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ด โดยไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามฟ้อง เนื่องจากเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร กล่าวคือ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้ปฏิบัติงานให้ล่าช้า ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของจำเลย ละเลย ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งจำเลยมอบหมาย ปฏิเสธที่จะตอบคำถามของจำเลยในระหว่างการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ใช้หรือครอบครองทรัพย์สินของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือไปยังโจทก์ทั้งสิบเอ็ดแล้ว โดยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 จำเลยมีประกาศฉบับที่ 029/2548 เรื่อง ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรเพื่อให้การดำเนินการของจำเลยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ จึงมีคำสั่งให้ยุบสายงาน KMS ซึ่งโจทก์ทั้งสิบเอ็ดสังกัดอยู่และให้โอนพนักงานที่สังกัดสายงานนี้รวมทั้งโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ไปปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสายงาน MIS DIVISION ซึ่งเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548 นางพัทธนันท์ เตชะกำพุช รองผู้จัดการใหญ่สายงาน MIS ผู้บังคับบัญชามีหนังสือเชิญโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและแผนงานและจะได้มอบหมายงานในหน้าที่ให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 เพื่อรับไปปฏิบัติและดำเนินการในวันที่ 21 เมษายน 2548 แต่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 กลับเพิกเฉยและปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและแผนงานตลอดจนรับมอบหมายงานดังกล่าว อันเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่ปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 จึงตักเตือนเป็นหนังสือไปยังโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 และในวันเดียวกันผู้บังคับบัญชาได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ให้เข้ารายงานตัวเพื่อรับมอบหมายงานในวันที่ 25 เมษายน 2548 แต่เมื่อถึงกำหนดปรากฏว่ามีเพียงโจทก์ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 เข้ารายงานตัวส่วนโจทก์ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ถึงที่ 11 ไม่ไปรายงานตัวเพื่อรับมอบหมายงานอันเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย หรือหน้าที่ซึ่งจำเลยมอบหมายส่วนโจทก์ที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 หลังจากรายงานตัวแล้ว กลับไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาอันเป็นความผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามประกาศคำสั่งที่ 003/2548 ลงวันที่ 27 เมษายน 2548 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม  2548  คณะกรรมการดังกล่าวได้มีหนังสือเชิญโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ไปให้ข้อเท็จจริง  แต่โจทก์ที่ 3 ถึง  11 ปฏิเสธที่จะเข้าให้ข้อเท็จจริง จากผลการสอบสวนของคณะกรรมการพบว่าการกระทำของโจทก์ ที่ 3 ถึงที่ 11 เป็นการกระทำโดยมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามประกาศหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยและผู้บังคับบัญชาเจตนาไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของจำเลย ละเลยปฏิเสธหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายหรือหน้าที่ซึ่งจำเลยมอบหมาย และจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ถือว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนและทำให้จำเลยได้รับความเสียหายคณะกรรมการจึงมีมติให้พักงานโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 เป็นเวลา 7 วัน และให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ส่งมอบงานและทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบคืนแก่จำเลยแต่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 กลับเพิกเฉยและปฏิเสธที่จะส่งมอบทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบให้แก่จำเลย อีกทั้งได้ร่วมกันขัดขวางมิให้ผู้ได้รับมอบหมายได้เข้าปฏิบัติงานนอกจากนี้เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการสั่งพักงานดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 44 ก็มิได้กลับเข้ารายงานตัวหรือปฏิบัติงานโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือมีเหตุอันสมควรคณะผู้บริหารแผนได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามคำสั่งที่ 004/2548 ผลการสอบสวนทางวินัยเห็นว่า โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 กระทำผิดโดยละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2548 จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 รวมเป็นระยะเวลา 7 วัน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ปฏิเสธหรือไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของจำเลย มีความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หมวดที่ 8 วินัยและโทษทางวินัยข้อ 1.1.4 ข้อ 1.1.7 ข้อ 1.4.6 ข้อ 4.4 และ ข้อ 4.5 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) และ(5) ส่วนการเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นั้นปรากฏว่า เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 จำเลยมีประกาศแต่งตั้งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นคณะกรรมการศึกษาและพัฒนากระบวนการธุรกิจ แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ให้ความร่วมมือและไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวนี้ได้เรียกประชุม โจทก์ที่ 1 และที่ 2  ไม่ยอมให้ความร่วมมือเข้าร่วมประชุม   อันเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังที่จำเลยมอบหมาย อีกทั้งเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 ทางสายงาน MIS ได้มีหนังสือขอให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่งมอบงานและทรัพย์สินที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 สังกัดอยู่เดิมคือหน่วยงาน KMS ตามประกาศของจำเลยฉบับที่ 029/2548 แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ดำเนินการส่งมอบงานและทรัพย์สินให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ต่อมาวันที่ 27 เมษายน 2548 จำเลยมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีหนังสือเชิญโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไปให้ข้อเท็จจริงแต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธที่จะไปให้ข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการ ผลการสอบสวนของคณะกรรมการพบว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาปฏิบัติงานให้ล่าช้า ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ละเลย ปฏิเสธหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายหรือหน้าที่ซึ่งจำเลยมอบหมายและจงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหายเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หมวดที่ 8 วินัยและโทษทางวินัย ข้อ 1.14 ข้อ 1.17 ข้อ 4.2 และข้อ 4.4 คณะกรรมการจึงมีมติสั่งพักงานโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในระหว่างการสอบสวนทางวินัย และให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไปรายงานตัวในวันที่ 18 พฤษภาคม 2548 เพื่อส่งมอบงานที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลย แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ โดยไม่ไปรายงานตัวและส่งมอบงานที่อยู่ในความรับผิดชอบให้แก่ผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลย อีกทั้งได้ร่วมกับโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ขัดขวางไม่ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยได้เข้าปฏิบัติงาน คณะผู้บริหารแผนจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามคำสั่งที่ 004/2548 นอกจากนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2548 จำเลยยังได้มีหนังสือลงโทษโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยตักเตือนเป็นหนังสือให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ละเว้นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยและขอให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่งมอบงานและทรัพย์สิน แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กลับเพิกเฉย ฝ่าฝืนไม่ทำการส่งมอบงานและทรัพย์สินให้แก่ผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลย เป้นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย ทั้งเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการสั่งพักงานตามคำสั่งของจำเลยแล้ว โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้กลับเข้าไปรายงานตัวหรือปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด โดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือมีเหตุอันสมควร คณะผู้บริหารแผน เห็นว่า การกระทำของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดอย่างร้ายแรงโดยละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2548  จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 รวมเป็นระยะเวลา 7 วัน ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ปฏิเสธหรือไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยเป็นการกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หมวดที่ 8 วินัยและโทษทางวินัย ข้อ 1.14 ข้อ 1.17 ข้อ 4.2 และข้อ 4.4 และข้อ 4.5 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) และ (5) จึงเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยไม่จ่ายค่าชดเชย  และสินจ้างแทนการบอกกล่าวหน้าและการกระทำ ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงกล่าวคือ การที่ไม่ส่งมอบงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ ไม่ส่งมอบรหัสประจำตัวในการเข้าสู่ระบบงานในคอมพิวเตอร์ เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจเข้าไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งโจทก์ทั้งสิบเอ็ดจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเป็นความเสียหายที่จำเลยมีความจำเป็นต้องติดตั้งวงจรสื่อสารเพิ่มเติมขึ้นใหม่เป็นการชั่วคราวซึ่งจำเลยต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่มีความรู้ความเข้าใจระบบคอมพิวเตอร์ที่จำเลยใช้งานอยู่เพื่อทำงานติดตั้งระบบ Intetrnet Intranet และระบบ e-mail ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ และเป็นการดูแลระบบต่อเป็นการชั่วคราว จำเลยต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นเงินจำนวน 100,000 บาทต่อเดือน จำเลยได้ใช้จ่ายเป็นระยะเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 300,000 บาท และการที่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่ส่งมอบงานและมอบรหัสผ่านเข้าสู่ระบบงานในคอมพิวเตอร์ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายไม่อาจใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นผู้รับผิดชอบอยู่ จำเลยจำเป็นต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้าตรวจสอบความเสียหายของระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนดำเนินการแก้ไขระบบต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้ออุปกรณ์ใหม่ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบคู่สายใหม่ทั้งที่สำนักงานของจำเลยที่กรุงเทพมหานครและที่จังหวัดระยอง ติดตั้งระบบความปลอดภัย ระบบ network ตลอดจนต้องวางระบบข้อมูลต่างๆ ทางธุรกิจของจำเลยใหม่ทั้งหมดเป็นเงินค่าเสียหายส่วนรวม 64,727,750 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 65,027,750 บาท ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและบังคับให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 65,027,750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย
 
 
 
                                    โจทก์ทั้งสิบเอ็ดให้การแก้ฟ้องแย้งว่า  โจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ตามฟ้องแย้ง กล่าวคือ ก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2548 จำเลยไม่ได้มีหนังสือฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 เชิญโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไปให้ข้อเท็จจริง แต่ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 จำเลยได้สั่งพักงานโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและจำเลยได้นำกำลังไปปิดสถานที่ทำงานของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดพร้อมปิดประตูและคล้องกุญแจประตูไม่ให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดเข้าไปในที่ทำงาน ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ การที่จำเลยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งวรจรสื่อสารและการที่จำเลยต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญสั่งซื้ออุปกรณ์ใหม่ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบคู่สายใหม่ตลอดจนวางระบบข้อมูลต่างๆ ก็เป็นเรื่องของจำเลย โจทก์ทั้งสิบเอ็ดหาต้องรับผิดชอบไม่ และในระหว่างที่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดทำงานให้จำเลยอยู่นั้น จำเลยได้ใช้บริการระบบวงจรสื่อสารจากบริษัทแอดวานซ์ ดาต้า เน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัทยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด และบริการระบบอินเตอร์เน็ตจากบริษัทเอเน็ต จำกัด บริษัทอินเตอร์เน็ต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด ซึ่งจำเลยสามารถร้องขอความช่วยเหลือในการเข้าถึงระบบได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ตามสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้บริการ ระบบทั้งหมดที่ทำงานอยู่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องเว้นแต่จำเลยได้นำพาบุคคลเข้าไปกระทำการใดๆ แก่ตัวเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเป็นผลให้ระบบดังกล่าวเกิดปัญหาไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่เคยปิดบังในเรื่องนี้ เป็นแต่จำเลยไม่สนใจสอบถามเอง โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง
 
 
 
            ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย 396,800 บาท ค่าจ้างค้าง 9,920 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 19,840 บาท แก่โจทก์ที่ 1 ค่าชดเชย 919,000 บาท ค่าจ้างค้าง 18,380 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 55,140 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ค่าชดเชย 581,700 บาท ค่าจ้างค้าง 11,634 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 31,024 บาท แก่โจทก์ที่ 3 ค่าชดเชย 244,320 บาท ค่าจ้างค้าง 6,108 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 12,216 บาท แก่โจทก์ที่ 4 ค่าชดเชย 162,000 บาท ค่าจ้างค้าง 5,400 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 5,400 บาท แก่โจทก์ที่ 5 ค่าชดเชย 143,220 บาท ค่าจ้างค้าง 4,774 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 4,774 บาท แก่โจทก์ที่ 6 ค่าชดเชย 126,480 บาท ค่าจ้างค้าง 4,216 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 4,216 บาท แก่โจทก์ที่ 7 ค่าชดเชย 54,120 บาท ค่าจ้างค้าง 3,608 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 3,608 บาท แก่โจทก์ที่ 8 ค่าชดเชย 59,520 บาท ค่าจ้างค้าง 1,984 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 1,984 บาท แก่โจทก์ที่ 9 ค่าชดเชย 27,840 บาท ค่าจ้างค้าง 1,856 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 1,856 บาท แก่โจทก์ที่ 10 และจ่ายค่าชดเชย 27,240 บาท ค่าจ้างค้าง 1,818 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 1,818 บาท แก่โจทก์ที่ 11 ทั้งนี้จำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากค่าชดเชยค่าจ้างค้าง และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแต่ละจำนวนนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2548 อันเป็นวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์แต่ละคนเสร็จสิ้น คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย
 
 
                               โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และจำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
                               ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อ
เท็จจริงว่า การที่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่เข้ารายงานตัวเพื่อรับมอบหมายงานในช่วงแรกที่ประธานคณะผู้บริหารแผนจากกระทรวงการคลังมีคำสั่งยุบหน่วยงาน KMS ซึ่งโจทก์ทั้งสิบเอ็ดทำงานรับผิดชอบอยู่เดิมซึ่งขึ้นตรงต่อนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธาน ผู้บริหารของจำเลย ไปสังกัดงาน MIS โจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมต้องมีปฏิกิริยา โดยโจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมไปยังประธานคณะผู้บริหารแผนจากกระทรวงการคลังตามเอกสารหมาย จ.1 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 โจทก์ทั้งสิบเอ็ดขึ้นไปห้องทำงานในหน่วยงาน KMS   ปรากฏว่ามีการปิดล็อกประตูเข้าหน่วยงานดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่สามารถส่งมอบงาน  ทรัพย์สิน และพาสเวิร์ด ให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างตามคำสั่งของฝ่ายจำเลย การฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในสายงาน MIS ซึ่งจะต้องไปสังกัดของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 การไม่เข้าร่วมประชุมในการประชุมคณะกรรมการศึกษาและพัฒนากระบวนการธุรกิจของจำเลยของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในครั้งที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โดยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ทำหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่เข้าร่วมประชุมไว้นั้น กรณียังไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยผู้เป็นนายจ้างอันจะเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงและรับฟังข้อเท็จจริงว่า กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกระทำผิดซ้ำคำเตือนและข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด นอกจากนี้ศาลแรงงานกลางยังรับฟังข้อเท็จจริงว่า พฤติกรรมของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ดังนั้น จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ด การเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด
 
 
 
                   ที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวนอุทธรณ์ว่า โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีที่ร้ายแรง เพราะเมื่อจำเลยยุบหน่วยงาน KMS และให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไปเป็นกรรมการในคณะกรรมการศึกษาและพัฒนากระบวนการธุรกิจ กับให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ไปปฏิบัติงานสาย MIS นั้น โจทก์ทั้งสิบเอ็ดก็ต้องปฏิบัติตาม การที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ทำหนังสือขอความเป็นธรรมไปยังตัวแทนกระทรวงการคลังและขอปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบเดิมไปก่อนแต่เมื่อนางพัทธนันท์ เตชะกำพุธ รองผู้จัดการใหญ่สาย MIS เชิญโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและรับมอบงานในวันที่ 21 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นเวลา หลังจากโจทก์ร้องขอความเป็นธรรมถึง 15 วัน โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ควรจะทราบหรือเข้าใจแล้วว่าหนังสือขอความเป็นธรรมของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่ได้รับการตอบสนองการที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ไม่ไปประชุมตามที่ผู้บังคับบัญชานัดหมาย จึงเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยแจ้งชัดและการที่นายผดุงศักดิ์ ธีระภาพ ผู้ช่วยรองผู้จัดการใหญ่สาย MIS เคยแจ้งโจทก์ที่ 3 ให้แจ้งพนักงานที่เหลือมารายงานตัว แต่ไม่มีผู้ใดมารายงานตัวเพิ่มเติม ชี้ให้เห็นได้ว่าโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 จงใจหลีกเลี่ยงคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่ให้ไปรายงานตัว เป็นการจงใจให้จำเลยได้รับความเสียหาย และที่อุทธรณ์ว่า คำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ที่ว่า โจทก์ที่ 2 กับพวกทั้งหมดไม่เคยเห็นเอกสารหมาย ล. 9 มาก่อนนั้นไม่น่าเชื่อถือ คำเบิกความของนายผดุงศักดิ์ มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่า จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ได้รับเอกสารหมาย ล. 9 ที่กำหนดให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 มอบหมายงานภายในวันที่ 27 เมษายน 2548 การที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 11 ไม่ปฏิบัติตามหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อผู้บังคับบัญชาเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น ล้วนแต่โต้แย้งดุลพินิจในการช่างน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางโดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่และนำไปสู่ข้อกฎหมายว่า โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีที่ร้ายแรง จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
 
 
 
                              ส่วนที่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดอุทธรณ์ว่า จำเลยมีเจตนาวางแผนกลั่นแกล้งเพื่อเลิกจ้างโจทก์  ทั้งสิบเอ็ด จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดโดยไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดนั้น เป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนที่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดอุทธรณ์ว่า จำเลยต้องรับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกลับเข้าทำงานตามตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมนั้น เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้ว โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกลับเข้าทำงานตามตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างเดิมหรือเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 และที่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดอุทธรณ์ว่าจำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด  เห็นว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าพฤติกรรมของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเป็นไปในทำนองไม่ยอมรับอำนาจบริหารจัดการของจำเลยโดยไม่ยอมเข้ารายงานตัวและเข้าให้ปากคำต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง กับพฤติกรรมของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งพยายามไม่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการศึกษาและพัฒนากระบวนการธุรกิจของจำเลย กับการไม่เข้าให้ปากคำต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดเสียได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และมาตรา 582 และ 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน และไม่ได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อพฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดส่อไปในทำนองไม่ยอมรับไม่ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการของจำเลย ซึ่งจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามบทกฎหมายดังกล่าวอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดในส่วนนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางดังกล่าวได้ จึงเป็นข้อที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
 
 
                               พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสิบเอ็ดสำนวน
 



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com