ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



นายจ้างตกลงรับผิดชอบค่าภาษีให้แก่ลูกจ้างภายหลังออกจากงาน จะฟ้องเรียกเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากลูกจ้างไม่ได้ article

 

คำพิพากษาฎีกา 547- 51
นายจ้างตกลงรับผิดชอบค่าภาษีให้แก่ลูกจ้างภายหลังออกจากงาน จะฟ้องเรียกเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากลูกจ้างไม่ได้
 
                โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด จำเลยเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์คนหนึ่งในช่วงระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2541 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 และยังเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งประธานกรรมการผู้บริหาร มีอำนาจหน้าที่บริหารงาน เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2544 โจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยตามสัญญาจ้างแรงงานแก่จำเลยในฐานะผู้บริหารตามสัญญาที่โจทก์และจำเลยมีต่อกันจำนวน 3 สัญญา รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 143,594,900 บาท โดยจำเลยจัดแบ่งจ่ายออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 จำนวน 20,420,900 บาท เป็นการจ่ายเงินเดือน 420,900 บาท โบนัส 5,000,000 บาท เงินชดเชยตามกฎหมาย 5,316,960 บาท เงินชดเชยตามสัญญาจ้าง 9,683,040 บาท โดยได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ของเงินทุกจำนวนดังกล่าวรวมเป็นเงิน 5,042,653.80 บาท และยังหักค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดที่จำเลยต้องคืนโจทก์จำนวน 8,589.80 บาท จึงเหลือเงินสุทธิที่จำเลยได้รับไปจำนวน 15,369,657.20 บาท ส่วนที่ 2 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2544 จำนวน 123,174,000 บาท อันเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามสัญญาจ้างแรงงานส่วนที่เหลือทั้งหมดซึ่งเงินชดเชยในส่วนที่ 2 นี้จำเลยในฐานะประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ มีหน้าที่จัดการในนามบริษัทโจทก์ให้มีการหักเงินรายได้ในส่วนนี้เป็นภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร แต่ปรากฏว่าจำเลยไม่ได้ดำเนินการ เป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินส่วนที่เป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายเกินไป เป็นเงิน 45,574,380 บาท ต่อมาวันที่ 5 มีนาคม 2545 โจทก์จำต้องชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนจำเลยไปก่อนเพื่อบรรเทาความเสียหายของโจทก์หากกรมสรรพากรตรวจสอบพบในภายหลัง และโจทก์ต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย 4,276,941 บาท นอกจากนี้เมื่อประมาณต้นปี 2544 จำเลยได้รับมอบรถยนต์ประจำตำแหน่งเพื่อการใช้งานในกิจการของโจทก์ เป็นรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิว หมายเลขทะเบียน ภร 767  กรุงเทพฯ ราคา 4,000,000 บาท ซึ่งเป็นของบริษัทโจทก์ จำเลยได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารและกรรมการเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนรถยนต์คันดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยไม่คืน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่จำเลยได้รับเกินและให้คืนรถยนต์แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 45ล574,380 บาท นับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2544 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,872,920 บาท ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถคันดังกล่าวที่จำเลยคงครอบครองอยู่นับแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 ในอัตราวันละ 3,000 บาท คิดถึงวันฟ้องจำนวน 128 วัน เป็นเงิน 384,000 บาท และหากจำเลยไม่อาจคืนรถคันดังกล่าวแก่โจทก์ได้ จำเลยต้องชำระเงินจำนวน  4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ย 47,447,300 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยคืนรถยนต์ ยี่ห้อบีเอ็มดับบลิว หมายเลขทะเบียน ภร 767 กรุงเทพฯ ในสภาพที่ใช้งานได้แก่โจทก์ ค่าขาดประโยชน์จำนวน 384,000 บาท หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคารถยนต์ จำนวน 4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 
 
                       จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะลายมือชื่อผู้แต่งทนายความไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ตราประทับก็ไม่ใช่ตราประทับสำคัญที่โจทก์จดทะเบียนไว้ นายพิสิษฐ  เดชไชยยาศักดิ์ จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีในนามของโจทก์จำเลยไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ โจทก์และจำเลยมีสัญญาต่อกันว่ากรณีเงินได้ที่จำเลยรับเงินสุทธิ ไม่ต้องรับผิดชอบในเรื่องภาษี ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 เนื่องจากโจทก์และจำเลยได้ตกลงกันว่า เมื่อโจทก์จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ จำเลยยอมลงนามในหนังสือลาออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ โจทก์จะจ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยเป็นเงินและตกลงโอนรถยนต์หมายเลขทะเบียน ภร 767 กรุงเทพฯ ให้แก่จำเลย และทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งอื่นใดต่อกันอีก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินภาษี รถยนต์หรือชำระราคารถยนต์แทน และค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ตามฟ้อง นอกจากนี้ รถยนต์คันดังกล่าวหากนำออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินวันละ 1,000 บาท และมีมูลค่าไม่เกิน 1,000,000 บาท คำฟ้องของโจทก์ในส่วนเกี่ยวกับค่าภาษีเป็นกรณีต้องด้วยมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 อยู่ในอำนาจการพิจารณาคดีของศาลภาษีอากรกลาง ขอให้ยกฟ้อง
 
 
 
                                ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
 
 
 
                                โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
 
                           ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.1 และ จ. 26 โจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามเอกสารหมาย จ.2 โจทก์มีระเบียบข้อบังคับการทำงานตามเอกสารหมาย จ. 22 จำเลยเข้าทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 โจทก์และจำเลยยังได้ทำข้อตกลงการจ่ายโบนัสประจำปี ตามเอกสารหมาย จ.5 ตำแหน่งประธานกรรมการบริหารมีหน้าที่จัดการงานและบริหารของบริษัทโจทก์และบริษัทในเครือ จำเลยยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์ช่วงระหว่างปี 2541 ถึงปี 2545 ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2543 โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างและยืนยันสัญญาเดิมตามเอกสารหมาย จ.6 และในวันที่ 9 ตุลาคม 2544 โจทก์และจำเลยได้ทำข้อตกลงการแก้ไขสัญญาตามเอกสารหมาย จ.7 โดยนายพรชัย อธิคมกุลชัย กรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ กระทำการแทนโจทก์ทั้งสองฉบับ สาระสำคัญของสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างและยืนยันสัญญาเดิมตามเอกสารหมาย จ.6 และข้อตกลงการแก้ไขสัญญาตามเอกสารหมาย จ. 7 การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่จำเลยเนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงการควบคุมกิจการของโจทก์โดยบริษัทเฟิร์ส แปซิฟิค จำกัด ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์ขณะนั้น ซึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ประสบปัญหาการเงิน จึงต้องการขายหุ้นของบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละ 50 อันจะทำให้มีผลกระทบต่อผลกำไรของงบการเงินรวมของบริษัทโจทก์ และมีผลทำให้ผู้บริหารของโจทก์ได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงด้วย โจทก์และจำเลยจึงได้ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างและยืนยันสัญญาเดิมตามเอกสารหมาย จ.6 ต่อมาบริษัทเฟิร์ส แปซิฟิค จำกัด เปลี่ยนใจไม่ขายหุ้นของบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย จำกัด โดยจะขายหุ้นของตนในบริษัทโจทก์ จึงมีการทำข้อตกลงแก้ไขสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยเอกสารหมาย จ.7 บริษัทเฟิร์ส แปซิฟิค จำกัด และจำเลยได้มีหนังสือตอบโต้กันเกี่ยวกับการทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างและยืนยันสัญญาเดิมด้วย ตามเอกสารหมาย ล.4 (ตรงกับ จ.6) แผ่นที่ 5 และแผ่นที่ 6 ต่อมาเดือนธันวาคม 2544 ก่อนเปลี่ยนแปลงการควบคุม โจทก์ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุม (COC) แก่จำเลยและผู้บริหารอื่น ซึ่งผู้บริหารบางคนเป็นกรรมการของโจทก์ โดยขณะนั้นโจทก์มีกรรมการทั้งหมด 14 คน แต่มีกรรมการเพียง 5 คนที่ได้รับค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุม คือนายประเสริฐ เมฆวัฒนา จำเลย นายสตีเฟ่น อลัน ไวส์แมน นายการณ์ จิตรวิมล และนายพรชัย อธิคมกุลชัย ตามเอกสารหมาย จ.14 และจ.15 โดยไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือภาษีเงินได้ของเงินดังกล่าวทั้งหมด นายพรชัย อธิคมกุลชัย ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งยังได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือความว่า โจทก์เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องภาษีทั้งหมดเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมที่จำเลยได้รับตามเอกสารหมาย ล.11 นอกจากนี้เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 โจทก์และจำเลยได้มีการทำหนังสือตกลงเกี่ยวกับการที่จำเลยจะลาออกจากงาน โดยโจทก์ตกลงโอนรถยนต์บีเอ็มดับบลิว หมายเลขทะเบียน ภร 767 กรุงเทพฯ ให้แก่จำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ กับบริษัทต่อไป ตามเอกสารหมาย ล.9 หนังสือดังกล่าวนายพรชัย อธิคมกุลชัย กรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ลงนามและประทับตราสำคัญของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ ต่อมาปลายเดือนธันวาคม 2544 บริษัทนครชื่น จำกัด ได้ตกลงซื้อหุ้นของโจทก์จากบริษัทเฟิร์ส แปซิฟิค จำกัด และเข้ามาเป็นผู้บริหาร ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 5 เมื่อบริษัทนครชื่น จำกัด เข้ามาบริหารบริษัทโจทก์ โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างฉบับใหม่กับจำเลยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2544 ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย ล.19 ต่อมาจำเลยต้องการลาออกจากงาน วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545 โจทก์และจำเลยจึงได้ทำสัญญาบอกเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โดยจำเลยสัญญาจะไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดจากบริษัทโจทก์ ตามสัญญาว่าจ้างผู้บริหารและโจทก์ยืนยันไม่ติดใจฟ้องร้องหรือเรียกร้องสิ่งใดจากจำเลย เว้นแต่ในการกระทำฉ้อโกงหรือกระทำผิดกฎหมายอาญา และยืนยันจะรับผิดชอบในบรรดาหนี้ภาษีอากรของจำเลยตามสัญญาว่าจ้างผู้บริหารและสัญญาจ้างก่อนหน้านี้ที่สิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม 2544 ตามสัญญาบอกเลิกเอกสารหมาย ล.12 โดยนายสมโภชน์ โกสุม กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่ไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับ นับตั้งแต่จำเลยเข้าทำงานกับโจทก์ปี 2541 จนถึงโจทก์และจำเลยทำสัญญาบอกเลิกสัญญาจ้างต่อกัน การจ่ายเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนพิเศษค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินชดเชยตามสัญญาจ้าง โจทก์ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ของเงินได้บุคคลธรรมดาเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.15 ภายหลังจากที่บริษัทนครชื่น จำกัด เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์ โจทก์ได้ชำระเงินภาษีเงินได้ของค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมที่จำเลยและผู้บริหารชุดเดิมได้รับไปตามเอกสารหมาย จ.15 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว และเรียกเงินคืนจากจำเลยและผู้บริหารดังกล่าว ผู้บริหารทุกคนได้คืนเงินภาษีดังกล่าวให้แก่โจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.21 แต่จำเลยไม่ยอมคืน
 
 
 
                  โจทก์อุทธรณ์ประการแรกว่า ตามเอกสารสัญญาว่าจ้างหมาย จ.2 ถึง จ.7 (ที่ ถูก จ.4 ถึงจ.7) หรือเอกสารหมาย ล.2 ถึงล.5 ไม่มีข้อตกลงในเรื่องโจทก์ต้องรับภาระภาษีแทนจำเลยจากการจ่ายค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมนอกเหนือจากเงินโบนัสเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเอกสารหมาย ล.11 เป็นข้อตกลงว่า โจทก์เป็นผู้รับผิดชอบในภาษีให้แก่จำเลยเพียงคนเดียว จึงเป็นการขัดกับเอกสารสัญญาจ้างหมาย จ.2 ถึง จ.7 (ที่ถูก จ.4 ถึง จ.7) หรือเอกสารหมาย ล.2 ถึง ล.5 และศาลแรงงานกลางแปลความตามเอกสารหมาย ล.11 คลาดเคลื่อน แม้จะมีถ้อยคำว่าโจทก์จะต้องรับผิดในเงินภาษีใด ๆ แทนจำเลย แต่ไม่มีผลผูกพันโจทก์เพราะไม่มีข้อตกลงตามสัญญาเอกสารหมาย ล.11 จึงเป็นคำรับที่ไม่มีฐานแห่งข้อสัญญาที่โจทก์จะต้องรับผิดนั้น เห็นว่า สาระสำคัญของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 ข้อ 1 ระบุให้จำเลยดำรงตำแหน่งประธานและเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ข้อ 3 ระบุให้จำเลยได้รับเงินเดือนประจำขั้นต้น 600,000 บาท โดยจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้ โดยจะมีการประเมินอัตราเงินเดือนดังกล่าวทุกปี ข้อ 4 ระบุให้ลูกจ้างได้รับโบนัสประจำปีตามผลงานข้อ 5 ระบุให้จำเลยมีสิทธิรับเงินชดเชยสูงถึง 200,000 บาท (สุทธิภาษี) ต่อปีในการชำระเงินตามแผนการปลดเกษียณและบำนาญที่จำเลยมีสิทธิได้รับตามความเป็นจริง ข้อ 6 ระบุให้โจทก์จัดหารถยนต์เมอร์เซเดส เบนซ์ 320 อี หรือเทียบเท่าพร้อมพนักงานขับรถเพื่อใช้บริการรับส่งจำเลย และข้อ 13 ระบุให้กรณีที่โจทก์ยกเลิกสัญญาหรือมีการเปลี่ยนแปลงการควบคุมบริษัทฯ ตามที่กำหนดตามกฎการจดทะเบียนหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้บังคับ จำเลยจะมีสิทธิรับเงินเดือนและโบนัสที่คาดไว้ทันทีตามระยะเวลาการแจ้งยกเลิกสัญญาที่กำหนดไว้ ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 ดังกล่าวระบุให้ลูกจ้างต้องชำระภาษีเงินได้ในเงินเดือนประจำเท่านั้น ในส่วนของเงินชดเชยก็ระบุให้ได้รับโดยสุทธิภาษีในส่วนของโบนัสไม่ได้ระบุภาระในการชำระภาษีไว้ ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยได้มีข้อตกลงการจ่ายโบนัสประจำปีเอกสารหมาย จ.5 ระบุให้เพิ่มเติมข้อ 4 เดิมของสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 ให้โจทก์ต้องจ่ายโบนัสประจำปีโดยคำนวณภาษีและหักภาษี ณ ที่จ่ายอื่นๆ ของประเทศไทยจากยอดสุทธิ โดยกำหนดโบนัสขั้นต่ำเป็นเงิน 274,000 ดอลลาร์สหรัฐตามข้อตกลงการจ่ายโบนัสประจำปีเอกสารหมาย จ.5 นี้จึงเป็นการระบุเพิ่มเติมสัญญาเดิมให้จำเลยต้องรับภาระทางภาษีจากโบนัสประจำปี ดังนั้นตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 และตามข้อตกลงการจ่ายโบนัสประจำปีเอกสารหมาย จ.5 จึงระบุให้จำเลยมีหน้าที่จ่ายภาษีจากเงินเดือนและโบนัส แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างและยืนยันสัญญาเดิมเอกสารหมาย จ.6 โดยมีสาระสำคัญให้จำเลยได้รับโบนัสประจำปีในรูปของการปันผลกำไรจากรายได้สุทธิรวมของบริษัท และให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงควบคุมไว้ในข้อ 5 และวันที่ 9 ตุลาคม 2544 โจทก์และจำเลยได้ตกลงทำข้อตกลงแก้ไขสัญญาตามเอกสาร จ. 7 โดยมีสาระสำคัญให้จำเลยมีสิทธิรับเงินเดือนและโบนัสซึ่งขึ้นอยู่กับผลกำไรสุทธิรวมของบริษัทฯ หากมีการยกเลิกการว่าจ้างเรียกว่า “ค่าตอบแทนที่ตกลงไว้” และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการควบคุมหรือบริษัทฯยกเลิกการว่าจ้างหรือยกเลิกสัญญาการว่าจ้าง จำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่ากำหนดไว้เรียกว่า “การชำระเงินตามการเปลี่ยนแปลงการควบคุม” และระบุในสัญญาข้อ 5 ว่า ข้อตกลงนี้ได้ผ่านการหารือและเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริษัทแล้ว โดยเงินตามการเปลี่ยนแปลงการควบคุมนี้มิได้ระบุในข้อตกลงการแก้ไขสัญญาเอกสารหมาย จ.7 ว่า โจทก์หรือจำเลยจะต้องเป็นผู้ชำระภาษี จึงแตกต่างจากโบนัสประจำปีที่ได้ระบุให้จำเลยต้องรับภาระทางภาษีด้วย ซึ่งศาลแรงงานกลางก็ได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเงินค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมตามข้อตกลงการแก้ไขสัญญาเอกสารหมาย จ.7 มิใช่โบนัสประจำปีตามข้อตกลงการจ่ายโบนัสประจำปีเอกสารหมาย จ.5 และนายพรชัย อธิคมกุลชัย กรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของโจทก์ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือเอกสารหมาย ล.11 ว่าโจทก์เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องภาษีทั้งหมดเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนการเปลี่ยนการควบคุมที่จำเลยได้รับ จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยได้จัดทำเอกสารหมาย ล.11 เพิ่มเติมเพื่อระบุให้โจทก์ต้องรับภาระทางภาษีแทนจำเลยจากการจ่ายเงินค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงต่อมาว่า โจทก์ได้ตกลงเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องภาษีทั้งหมดเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมที่จำเลได้รับ และที่วินิจฉัยว่าการที่จำเลยมีคำสั่งให้บริษัทรูเบียอินเวสเม้นท์ จำกัด บริษัทในเครือของโจทก์ที่ฮ่องกงชำระเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ต่างประเทศเพื่อจ่ายค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมจำนวน 123,174,000 บาท โดยไม่ได้สั่งให้หักภาษีเงินได้หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงาน จึงไม่ได้ขัดกับพยานหลักฐานหรือสัญญาว่าจ้างเอกสารหมาย จ.2 ถึง จ.7 (ที่ถูก จ.4 ถึง จ.7) หรือเอกสารหมาย ล.2 ถึง ล.5 ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ต่อไปว่า ศาลแปลความเอกสารหมาย ล.11 คลาดเคลื่อนโดยเอกสารหมาย ล.11 จะมีผลผูกพันโจทก์ต่อเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 ถึง จ.7 มีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้รับผิดชำระภาษีแทนจำเลยนั้น เห็นว่า ตามเอกสารหมาย ล.11 แปลเป็นภาษาไทยว่า “ตามเอกสารแนบท้าย 1 ตามสัญญาว่าจ้างนายเดวิด นิโคล บริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องภาษีทั้งหมดเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมที่นายเดวิด นิโคล ได้รับ” ตามข้อตกลงดังกล่าวเพียงแต่กล่าวอ้างถึงสัญญาจ้างเดิมระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งตามสัญญาเดิมจะระบุในข้อตกลงการแก้ไขสัญญาเอกสารหมาย จ.7 ที่กำหนดการชำระเงินตามการเปลี่ยนแปลงการควบคุมซึ่งไม่ได้ระบุถึงความรับผิดชอบภาระทางภาษี เอกสารหมาย ล.11 จึงได้ระบุเพิ่มเติมให้โจทก์เป็นผู้รับผิดชอบทางภาษีโดยอ้างถึงสัญญาจ้างเดิมดังกล่าวหาได้มีความหมายไปถึงว่าเอกสารหมาย ล.11 จะมีผลผูกพันโจทก์ต่อเมื่อสัญญาจ้างเดิมต้องมีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้รับผิดชอบภาระทางภาษีแทนจำเลยไม่ เพราะหากมีสัญญาจ้างเดิมระบุให้โจทก์ต้องรับผิดชอบภาระทางภาษีแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องจัดทำเอกสารหมาย ล.11 ขึ้นอีก ดังนั้นเอกสารหมาย ล.11 จึงมิใช่คำรับที่ไม่มีฐานแห่งข้อสัญญาที่โจทก์จะต้องรับผิดดังที่โจทก์อุทธรณ์แต่ประการใด อุทธรณ์โจทก์ประการแรกนี้ฟังไม่ขึ้น
 
 
 
             โจทก์อุทธรณ์ประการต่อไปว่า ตามพระราชบัญญัติมหาชน พ.ศ.2535 มาตรา 85 ได้กำหนดให้กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท แต่จำเลยกับนายพรชัยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทโจทก์ กลับทำสัญญาให้ประโยชน์ซึ่งกันและกันด้วยการลงนามในสัญญาเปลี่ยนแปลงการควบคุม (COC) โดยจำเลยกระทำในนามโจทก์ให้แก่นายพรชัย ส่วนนายพรชัยกระทำในนามโจทก์ให้แก่จำเลยโดยมีพฤติการณ์ในการปกปิดและนำเงินออกจากบัญชีของโจทก์ไปใช้ประโยชน์ในกลุ่มของจำเลยกับนายพรชัย จึงเป็นพฤติการณ์ที่ไม่สุจริต ไม่ระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก์และขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำให้เอกสารหมาย ล.11 ตกเป็นโมฆะ เห็นว่า อุทธรณ์โจทก์ดังกล่าวมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้อง และจำเลยมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ โจทก์เพียงแต่กล่าวอ้างในคำแถลงการณ์เปิดคดี จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
 
 
 
     โจทก์อุทธรณ์ประการต่อไปว่า นายพรชัยไม่อยู่ในฐานะที่จะทำสัญญาหรือนิติกรรมแทนโจทก์ และนายพรชัยได้ยืนยันต่อศาลแรงงานกลางว่า หนังสือการเปลี่ยนแปลงการควบคุมและการลาออกเอกสารหมาย ล.9 ไม่มีผลตามกฎหมายด้วยสิบเนื่องมาจากจำเลยได้หลอกลวงฉ้อฉลและไม่มีข้อตกลงที่จะต้องให้รถยนต์ประจำตำแหน่งแก่จำเลย เห็นว่า ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า นายพรชัยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามข้อบังคับของโจทก์ ได้ลงลายมือและประทับตราสำคัญของโจทก์ในเอกสารหมาย ล.9 ให้แก่จำเลย ที่นายพรชัยเบิกความว่าเหตุที่ยินยอมลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญในเอกสารดังกล่าวเนื่องจากจำเลยบอกว่าตามสัญญาจ้างจำเลยมีสิทธิได้รับยนต์ดังกล่าวเมื่อเลิกสัญญาแต่เมื่อเห็นสัญญาจ้างแล้วไม่มีการระบุว่าโจทก์จะต้องมอบหรือโอนรถยนต์ให้แก่จำเลยนั้นคำเบิกความของนายพรชัยขัดแย้งกับเอกสารของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ ดังนั้นอุทธรณ์โจทก์ข้างต้นจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ต่อไปเป็นประการสุดท้ายว่า เมื่อเอกสารหมาย ล.11 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริหารและเป็นผู้จัดการให้มีการจ่ายเงินดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อจำเลยไม่หักไว้จึงต้องคืนเงินตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เห็นว่า เมื่อปรากฏตามข้อวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ประการแรกแล้วว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ทำข้อตกลงฉบับใหม่ตามเอกสารหมาย ล.11 โดยให้โจทก์ต้องรับภาระภาษีจากการจ่ายค่าตอบแทนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมของจำเลยแล้ว ดังนี้ อุทธรณ์โจทก์ประการนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อุทธรณ์โจทก์สองประการสุดท้ายจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
 
 
 
                    พิพากษายืน

 




อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com