ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



วันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา article

 

วันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา

วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา; อังกฤษ: Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย  คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๘ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๘ หลังแทน สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ วันอาสาฬหบูชาจะตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ

 

 

วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์

 

    

 

 

 

 


 

 

เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑  กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล

  

 

 

 


 

 วันเข้าพรรษา

 

          วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น 
 

          "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า "ปุริมพรรษา" 
 

          ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด 
 

          สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

          1.การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย 
          2.การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ 
          3.การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด 
          4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้


          นอกจากนี้หากระหว่างเดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ 
 

          ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา... 
 

          อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง 
 
 
 นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า – เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป - เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว  
 

                            ทั้งนี้ ในปี 2554 นี้ "วันเข้าพรรษา" จะตรงกับวันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
 
 
 
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

          ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา 

          ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่พระภิกษุสามเณร 

          ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 

          อธิษฐานงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา

เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน ๘ หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ การบูชาในเดือน ๘ หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)  โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก

 

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ ๑ ใน ๕ ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย




นานา น่ารู้

ระวัง! สารกันบูดในขนมปังร้านดัง article
กินอย่างไร เมื่อโคเลสเตอรอลในเลือดสูง article
นาฬิกาแขวนผนัง article
อ่านให้จบนะ..ดีมากๆ? เลย article
อ่านแล้วชอบ จึงขอแบ่งปัน article
ช้อนยาวหนึ่งเมตร article
ป้องกันและชะลอ “ข้อเข่าเสื่อม” ก่อนวัย article
ทำไมแสงแดดถึงเป็นอันตราย article
อย่าไปเกลียดใคร ให้แผ่เมตตา article
13 คุณประโยชน์จากวาซาบิที่คุณคาดไม่ถึง article
อุจจาระบอกความผิดปกติ article
ตำนานวันไหว้พระจันทร์ article
ผู้ชาย VS วัยทอง article
ท้องป่อง อ้วนลงพุง article
คาถาบูชาพ่อ แม่สวดทุกวัน article
ขึ้นฉ่าย ปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ article
กินอาโวคาโดลดไขมัน ไม่ทำให้อ้วน article
การใช้บุญที่ถูกต้องถึงจะได้ผล article
กระชาย : ชะลอความแก่ article
อ่านแล้วสบายใจ article
เช็คความเสื่อมแต่ละวัย! article
จงใช้ชีวิตให้คุ้มค่า article
ลืมได้ ก็จำได้ article
ยาหมดอายุแล้วสามารถกินได้ไหม? article
จริงหรือไม่ เจ็บคอ บ่อยๆ article
ตอนอยู่ อยากได้เงิน ตอนตาย อยากได้บุญ ตอนอยู่ ทำตามใจกิเลส ตอนตาย เลยกลายเปรต article
คน 8 ประเภท อย่าคบ อย่าช่วย ถอยห่างได้เป็นดี article
เรื่องน่ารู้ของ สีพาสปอร์ตในไทย article
บทเรียนของคนวัย 40 ปีขึ้นไป ที่อยากแก้ไข และเตือนคนรุ่นหลัง article
จริงหรือไม่? กินไก่มาก เป็น “โรคเกาต์” article
ดื่มนมต่างเวลา ได้คุณค่าแตกต่างกัน article
จริงหรือไม่ วางมือถือข้างหมอน เสี่ยง "มะเร็งสมอง" article
คุณสมบัติหลินจือกับสุขภาพร่างกาย article
อ่านเถอะดีมาก เคล็ดลับการดูแลสมอง 10 ประการ จาก "หนูดี วนิษา เรซ" article
จริง หรือ ไม่ ความอ้วน ฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด ? article
ทำไมต้องนั่งสมาธิในเวลา "ก่อนนอน หรือ ตอนเช้า" article
เครียดไม่รู้ตัว ภัยเงียบที่อาจอยู่ข้างๆคุณ article
คนเราตายแล้วไปไหนบ้าง ? article
กรรมที่เกิดมาเป็นสัตว์ article
แค่กำมือก็ช่วยความดันได้ article
วันนี้... คือ “ วันที่ดีที่สุด ” article
คำกลอน วันพุธ article
คำกลอน วันอังคาร article
คำกลอน วันจันทร์ article
คำกลอน วันอาทิตย์ article
คำกลอน วันเสาร์
คำกลอน วันศุกร์ article
คำกลอน วันพฤหัสบดี article
ไข่ไก่ แทบจะเป็นเมนูหลักเมนูหนึ่งของคนไทยเลยทีเดียว article
คีโม คือธุรกิจเลือดเย็นของโรงพยาบาลแบบเจ้ามือหวย คนเล่นเสีย เจ้ามือรวย article
วิธีใช้ปุ่มบนเครื่องคิดเลข article
มนุษย์ที่หมดบุญ มี 2 อย่างด้วยกัน article
แผลในปาก เกิดจากอะไร กันแน่!! article
10 อาหารช่วยลดกลิ่นตัว กลิ่นตัวหอมธรรมชาติไม่ต้องพึ่งโรลออน article
10 ข้อคิดยุคใหม่ article
5 อาการนิ้วล๊อคเป็นอย่างไร? article
จำกันได้ไหม เด็กน้อย
จำกันได้ไหม แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟัน
จำกันได้ไหม กาดำ article
ระลึก นึกถึง พระคุณ พ่อ แม่
จำกันได้ไหม ยี่สิบม้วนไม้ม้วน
ทบทวนความจำ พยัญชนะไทย article
ท่อง จำ ติดหู ติดใจ กันได้บ้างไหม article
อาหารเสริม กับ การกินเจ article
เทศกาลกินเจ 2564 ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม - 14 ตุลาคม 2564 article
วิตามินและอาหารเสริมควรทานเวลาไหนดี? article
อาการแบบใดเรียก ว่า กำลังอยู่ในภาวะช็อค ! article
ปรัชญาแห่ง “ความเรียบง่าย” ของชีวิต article
รวมบทธรรมะ article
ความดันโลหิตสูง article
ระวัง !!!! Favipiravir มีขายเกลื่อนเนท article
ระวัง! ฟ้าทะลายโจรปลอม เช็กให้ดีก่อนซื้อ
ความเข้าใจผิด ท่านพุทธทาสภิกขุ article
เงินกับเวลา article
10 พฤติกรรมทำลายกระดูกและส่วนสูง ถ้าไม่อยาก เตี้ยลง ควรหยุดทำสิ่งเหล่านี้ article
ไม่น่าเชื่อว่าน้ำตาลในกล้วยตากมากกว่าทุเรียนเกือบเท่าตัว ในขณะที่ article
วิตามิน กินอย่างไรให้ถูกวิธี? article
มนุษย์เราเอ๋ย article
อารมณ์ไม่ดี article
เคยสงสัยไหม? ทำไมรางรถไฟต้องถูกรองด้วยก้อนหิน article
...คนดีเดินไปไหน... ใครก็ทัก article
อวัยวะ กลัวอะไร article
สุดท้าย article
วิธีแก้เครียดก่อนเข้านอน article
ประโยชน์ของใบย่านาง ไอเดียการกินการใช้ใบย่านางเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง article
สิ่งที่คุณต้อง ขอบคุณ article
มีเมียสวยไม่สู้มีเมียใจซื่อ article
#ไม่ขอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ # article
การตื่นเช้า article
รู้จัก 5 แซ่จีน ลูกหลานมังกรในไทย เปิดที่มาต้นกำเนิดนามสกุลจีน article
บริจาคเลือดตามวันเกิด article
ยาที่ดีที่สุด article
อยากลดน้ำหนัก article
รักษาไขมันพอกตับ article
หลงลืมตามวัยหรือสมองเสื่อม article
8 ต้นเหตุ พร้อม 7 วิธีแก้ บอกลา ตะคริว แบบถาวร article
กระตุ้น สมอง article
ทำไมเราถึงตด? article
“สาลี่” ผลไม้สรรพคุณดีจากจีน ช่วยบำรุงหัวใจ ฟอกเลือด article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com