ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์แต่งตั้งประธานคณะกรรมการมีผลบังคับใช้ได้

 

คำพิพากษาฎีกา 4811 – 4813 /2552
คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์แต่งตั้งประธานคณะกรรมการมีผลบังคับใช้ได้
 
                                คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลแรงงานภาค 4 สั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกโจทก์ตามลำดับสำนวนว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และเรียกจำเลยทุกสำนวนว่าจำเลย
 
 
                                โจทก์ทั้งสามฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2531 โจทก์ที่ 1 สมัครงานเป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการ อัตราเงินเดือน 26,080 บาท เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2523 โจทก์ที่ 2 สมัครงานเป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าสินเชื่อ อัตราเงินเดือน 23,005 บาท เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2538 โจทก์ที่ 3 สมัครเป็นลูกจ้างของจำเลย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อ อัตราเงินเดือน 9,850 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ทั้งสามออกจากงานโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ทั้งสามกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง คือทุจริตต่อหน้าที่ จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์และประมาทเลินเล่อต่อหน้าที่เป็นเหตุให้สหกรณ์เสียหายอย่างร้ายแรงซึ่งโจทก์ทั้งสามมิได้กระทำความผิด โจทก์ทั้งสามถูกลั่นแกล้งใส่ร้ายป้ายสี ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนางบุปผา ชอบใช้ และคณะกรรมการดำเนินการของจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิไม่มีอำนาจสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรง ทั้งไม่มีสิทธิไม่มีอำนาจลงโทษไล่โจทก์ทั้งสามเนื่องจากนางบุปผา ประธานกรรมการดำเนินการของจำเลยซึ่งเป็นผู้ลงนามในคำสั่งของจำเลยเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงโจทก์ทั้งสามและลงนามในคำสั่งของจำเลยเรื่องลงโทษเจ้าหน้าที่โดยการไล่โจทก์ทั้งสามออกนั้น ศาลปกครองขอนแก่นพิพากษาว่าการสมัครรับเลือกตั้งของนางบุปผาประธานกรรมการดำเนินการของจำเลยเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2547   ตามคำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่นคดีหมายเลขดำที่ 169/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 296/2547 เป็นผลให้คำสั่งของจำเลยให้สอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงโจทก์ทั้งสามกับคำสั่งของจำเลยให้ไล่โจทก์ทั้งสามออกไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้จำเลยรับโจทก์ทั้งสามเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนเดิมและหากรับโจทก์ทั้งสามเข้าทำงานไม่ได้ ในการที่จำเลยไล่โจทก์ทั้งสามออกจากงานโจทก์ทั้งสามถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ที่ 1 ขอเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโดยคิดจากอัตราเงินเดือนสุดท้ายจำนวน 14 เดือน คิดเป็นเงิน 365,120 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยคิดจากอัตราเงินเดือนสุดท้ายจำนวน 1 เดือน เป็นเงิน 26,080 บาท โจทก์ที่ 1 ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน คิดเป็นเงิน 260,800 บาท โจทก์ที่ 2 ขอเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโดยคิดจากอัตราเงินเดือนสุดท้ายจำนวน 12 เดือน คิดเป็นเงิน 276,060 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยคิดจากอัตราเงินเดือนสุดท้ายจำนวน 1 เดือน เป็นเงิน 23,005 บาท โจทก์ที่ 2 ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป โจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน คิดเป็นเงิน 230,050 บาท โจทก์ที่ 3 ขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมโดยคิดอัตราเงินเดือนสุดท้ายจำนวน 12 เดือน คิดเป็นเงิน 118,200 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยคิดจากอัตราเงินเดือนสุดท้ายจำนวน 1 เดือน เป็นเงิน 9,850 บาท โจทก์ที่ 3 ทำงานกับจำเลยติดต่อกันได้เกิน 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี โจทก์ที่ 3 มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน คิดเป็นเงิน 78,800 บาท และโจทก์ที่ 1 ได้นำ น.ส.3ก. เลขที่ 1449 ตำบลโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เนื้อที่ 100 ตารางวา มาวางเป็นหลักประกันการทำงานกับจำเลย และโจทก์ที่ 2 ได้นำเงินจำนวน 48,928.98 บาท มาวางเป็นหลักประกันการทำงานกับจำเลย และโจทก์ที่ 3 ได้นำเงินจำนวน 21,315.81 บาท มาวางเป็นหลักประกันการทำงานกับจำเลย ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำเลยและให้รับโจทก์ทั้งสามกลับเข้าทำงานตามเดิมอัตราเงินเดือนและตำแหน่งเดิม หากรับไม่ได้ขอให้จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 260,800 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 230,050 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 78,800 บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 365,120 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 276,060 บาท และให้แก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 118,200 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 260,800 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 23,005 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 9,850 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินทั้งหมดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้แก่โจทก์ทั้งสามแล้วเสร็จให้จำเลยคืนหลักประกันให้โจทก์ทั้งสาม
 
 
 
                                จำเลยทั้งสามสำนวนให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยรับว่าโจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลยจริง ซึ่งจำเลยประกอบกิจการเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำกัด บริหารงานโดยคณะกรรมการดำเนินการ สำหรับคดีนี้คณะกรรมการดำเนินการได้มอบอำนาจให้นางบุปผา ชอบใช้ และหรือนายสมเกียรติ แพทย์ประดิษฐ์ เป็นผู้รับมอบอำนาจเกี่ยวกับการต่อสู้คดีแทนจำเลย จำเลยบริหารงานโดยคณะกรรมการดำเนินการภายใต้ข้อบังคับ ระเบียบของจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ สำหรับคำพิพากษาศาลปกครองขอนแก่น คดีหมายเลยแดงที่ 296/2547 จำเลยไม่ได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวและคำพิพากษาจะไม่ผูกพันบุคคลภายนอกอีกทั้งระเบียบการสรรหาประธานกรรมการ กรรมการดำเนินการและผู้ตรวจสอบกิจการของจำเลยนั้นก็เป็นระเบียบภายในไม่ใช่กฎหมายทั่วไป เมื่อคณะกรรมการเลือกตั้งภายหลังได้จัดให้มีการเลือกตั้งและนางบุปผา เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการดำเนินการจึงสมบูรณ์ อีกทั้งคดีศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ทั้งสามมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบของจำเลยโดยโจทก์ที่ 1 มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการ โจทก์ที่ 2 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อและโจทก์ที่ 3 มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อ โดยโจทก์ทั้งสามได้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงกล่าวคือไม่ปฏิบัติตามระเบียบสหกรณ์ว่าด้วยการให้เงินกู้ พ.ศ.2545 ข้อ 8 "การส่งเงินงวดชำระหนี้เงินกู้ทุกประเภท ดอกเบี้ยเงินกู้และเงินค่าหุ้นรายเดือนของสมาชิกรวมกันจะต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของเงินรายเดือนของสมาชิกนั้น" ซึ่งโจทก์ทั้งสามมีหน้าที่รับผิดชอบ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการให้สหกรณ์ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ถือปฏิบัติในเรื่องการให้เงินกู้แก่สมาชิก พ.ศ.2542 ข้อ 4 "เงินกู้พิเศษห้ามไม่ให้ใช้บุคคลเป็นผู้ค้ำประกันโดยเด็ดขาด" ซึ่งโจทก์ทั้งสามมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับสหกรณ์ ข้อ 74 (2) "ตรวจสอบควบคุมให้เงินกู้มีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสหกรณ์และเมื่อเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่องก็ต้องกำหนดให้ผู้กู้จัดการแก้ไขให้คืนดี" ซึ่งโจทก์ทั้งสามมีหน้าที่รับผิดชอบ จากการกระทำดังกล่าวซึ่งเป็นหน้าที่รับผิดชอบของโจทก์ทั้งสาม ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเงิน 61,907,880 บาท ซึ่งจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลแขวงขอนแก่นและศาลจังหวัดขอนแก่นให้โจทก์ทั้งสามร่วมรับผิดชดใช้เงินแก่จำเลยที่ศาลแขวงขอนแก่น จำนวน 65 คดี และสำนวนคดีของศาลจังหวัดขอนแก่น จำนวน 89 คดี จำเลยได้เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการใหม่แทนชุดเก่าซึ่งหมดวาระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2548 การเลิกจ้างจำเลยได้ทำตามขั้นตอนและข้อบังคับและระเบียบของจำเลย คณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามหลักฐานของผู้ตรวจการสหกรณ์และเอกสารทั้งหมดสรุปได้ว่า โจทก์ทั้งสามได้กระทำการขัดต่อวินัยอย่างร้ายแรงทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง จึงมีมติลงโทษโจทก์ทั้งสามโดยการไล่ออกจำเลยไล่โจทก์ทั้งสามออกเป็นการกระทำอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าทดแทนกรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ทั้งสาม ในการบรรจุและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลูกจ้างของจำเลยต้องทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานและมีหลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งไว้เป็นประกันความเสียหาย จำเลยได้ฟ้องโจทก์ทั้งสามให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเป็นกรณีละเมิดระหว่างที่โจทก์ทั้งสามปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงหลักประกันของโจทก์ทั้งสาม ขอให้ยกฟ้อง
 
 
 
                                ศาลแรงงานภาค 4 พิจารณาแล้วพิพากษาให้เพิกถอน คำสั่งของจำเลยที่ 18/2547 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยอย่างร้ายแรง ตามเอกสารหมาย ล.15 และคำสั่งของจำเลยที่ 36/2547 เรื่อง การลงโทษเจ้าหน้าที่โดยการไล่ออกตามเอกสารหมาย ล.17 และให้จำเลยรับโจทก์ทั้งสามกลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
 
 
 
                                จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
 
                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์ โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยโดยเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2531 โจทก์ที่ 1 สมัครเป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการ อัตราเงินเดือน 26,080 บาท เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2523 โจทก์ที่ 2 สมัครงานเป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าสินเชื่อ อัตราเงินเดือน 23,005 บาท เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2538 โจทก์ที่ 3 สมัครเป็นลูกจ้างของจำเลย ตำแหน่งสุดท้ายเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อ อัตราเงินเดือน 9,850 บาท โจทก์ทั้งสามมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์ตามระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด เอกสารหมาย ล.5 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2546 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ได้ตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของจำเลยกรณีนางละมุน จำปาทอง ได้ร้องเรียนว่าหลักทรัพย์ที่จำนองไว้กับจำเลยได้หายไปปรากฏตามผลการตรวจเอกสารประกอบการพิจารณาเงินกู้พิเศษหมาย ล.9 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 คณะผู้ตรวจการสหกรณ์ได้ตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของจำเลย พบว่ามีข้อบกพร่องตามหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องและแบบรายงานการตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินเอกสารหมาย ล.10 และ ล.11 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองขอนแก่นได้ทำการตรวจค้นและยึดเอกสารต่างๆ จากจำเลยเพื่อไปประกอบการสอบสวนโดยแจ้งว่านางลำพูน หร่องบุตรศรี กับพวกซึ่งเป็นสมาชิกของจำเลยจำนวนหนึ่งได้กล่าวหาว่าโจทก์ทั้งสามกับพวกกระทำความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา ปรากฏตามบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ หนังสือแจ้งความผิดในคดีอาญาที่เกี่ยวกับเรื่องการทุจริตฉ้อโกงและทะเบียนรายชื่อสมาชิกที่โจทก์ทั้งสามทำให้สหกรณ์เสียหาย เอกสารหมาย ล.12 ถึง ล.14 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 จำเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยอย่างร้ายแรงตามเอกสารหมาย ล.15 กรรมการสอบวินัยอย่างร้ายแรงได้แจ้งผลการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงให้แก่คณะกรรมการดำเนินการตามเอกสารหมาย ล.16 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547 นางบุปผา ชอบใช้ ประธานกรรมการดำเนินการของจำเลยได้มีคำสั่งลงโทษโจทก์ทั้งสามโดยการไล่ออกตามเอกสารหมาย ล.17 ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสามกับพวกให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยต่อศาลแขวงขอนแก่น จำนวน 63  คดี และศาลจังหวัดขอนแก่น จำนวน 91 คดี รวมเป็นทุนทรัพย์ทั้งสิ้น 59,971,887.51 บาท ตามเอกสารหมาย ล.18 นายอาคม อึ่งพวง ฟ้องสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นต่อศาลปกครองขอนแก่นคัดค้านคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่วินิจฉัยว่านางบุปผาเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำกัด ได้ และศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นตามหนังสือสำนักงานสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ที่ ขก.001/1022 ลงวันที่ 22 เมษายน 2547 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่มีหนังสือฉบับดังกล่าวตามเอกสารหมาย จ.1
 
 
 
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า คำสั่งของจำเลยเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงกับโจทก์ทั้งสามและคำสั่งไล่โจทก์ทั้งสามออก เป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ โดยจำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ประกอบด้วยประธานกรรมการดำเนินการและกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสี่คน ตามกฎหมายและข้อบังคับของจำเลย กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก การที่ศาลแรงงานภาค 4 พิจารณาตามคำพิพากษาศาลปกครอง และวินิจฉัยว่า นางบุปผา ชอบใช้ ประธานกรรมการของจำเลยลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงกับโจทก์ทั้งสามเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมายนั้นเป็นการวินิจฉัยเฉพาะในส่วนของนางบุปผาโดยมิได้พิจารณาว่าสหกรณ์จำเลยดำเนินการและบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการดำเนินการ ซึ่งต้องเป็นไปตามติเสียงข้างมาก ดังนั้น ที่นางบุปผาลงนามในคำสั่งดังกล่าวเป็นการลงนามในฐานะประธานกรรมการดำเนินการของจำเลยซึ่งเป็นเพียงตัวแทนในการแสดงเจตนาของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยเท่านั้น แม้ต่อมาศาลปกครองจะพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น ที่ ขก.0010/022 ลงวันที่ 22 เมษายน 2547 และถือว่านางบุปผาเป็นประธานกรรมการดำเนินการของจำเลยโดยไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมายก็เป็นการเสียไปเฉพาะบุคคลเฉพาะตำแหน่งไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของมติคณะกรรมการดำเนินการของจำเลย และถึงแม้ว่าที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการจะลงมติขัดกับระเบียบสหกรณ์ แต่ที่ประชุมมิได้รู้ถึงเหตุแห่งการฝ่าฝืนระเบียบและการประชุมในคราวนั้นยังมิได้ถูกเพิกถอนมติ การเลิอกตั้งประธานกรรมการ คณะกรรมการดำเนินการชุดที่มีนางบุปผาเป็นประธานดังกล่าวจึงเป็นคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยที่ชอบด้วยกฎหมายและมีอำนาจดำเนินกิจการแทนจำเลยได้ คำสั่งของจำเลยเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงกับโจทก์ทั้งสามและคำสั่งไล่โจทก์ทั้งสามออก จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประกอบกิจการเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ การบริหารงานหรือการดำเนินกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกของสหกรณ์กระทำโดยคณะกรรมการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 51 และตามข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์ออมทรัพย์จำเลย เอกสารหมาย ล.22 ข้อ 65 มิใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้ ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสามฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรง ทั้งไม่มีอำนาจลงโทษไล่โจทก์ทั้งสามออก เนื่องนางบุปผา ประธานคณะกรรมการดำเนินการของจำเลย ซึ่งเป็นผู้ลงนามในคำสั่ง ถูกศาลปกครองพิพากษาว่าการสมัครรับเลือกตั้งของนางบุปผา เป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เป็นผลให้คำสั่งของจำเลยดังกล่าวไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมายดัวยนั้น โดยโจทก์ทั้งสามต้องพิสูจน์ให้ฟังได้ว่า คณะกรรมการดำเนินการของจำเลยชุดที่ 25 ซึ่งมีนางบุปผาเป็นประธานคณะกรรมการเข้ามาเป็นคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์ทั้งสามนำสืบแต่เพียงว่า ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นที่ ขก.0010/022 ลงวันที่ 22 เมษายน 2547 ซึ่งมีไปถึงจำเลย เนื่องจากสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นไม่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยหารือไปเท่านั้น และคำพิพากษาดังกล่าวมีผลเท่ากับสหกรณ์จังหวัดขอนแก่นไม่ได้ตอบข้อหารือของจำเลย เมื่อจำเลยได้จัดให้มีการเลือกตั้งประธานคณะกรรมการดำเนินการ และกรรมการอื่นของจำเลยต่อมา ผลของการเลือกตั้งจะถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ หากโจทก์ทั้งสามเห็นว่าการที่นางบุปผาสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสามต้องฟ้องร้องต่อศาลและนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ข้ออ้างดังกล่าวแต่คดีนี้โจทก์ทั้งสามฟ้องแต่เพียงว่า “จำเลยไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิด... เนื่องจากนางบุปผา ถูกศาลปกครองขอนแก่นพิพากษาว่า การสมัครรับเลือกตั้งของนางบุปผา เป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย...เป็นผลให้คำสั่งของจำเลยที่ให้สอบสวนความผิด...โจทก์ทั้งสามไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย” คดีจึงไม่มีประเด็นว่า นางบุปผา สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และโจทก์ทั้งสามไม่ได้ฟ้องว่า จำเลยไม่มีสิทธิหรือไม่มีอำนาจสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงทั้งไม่มีอำนาจลงโทษไล่โจทก์ทั้งสามออกเพราะเหตุอื่นอีก จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ดังนั้น เมื่อสหกรณ์ออมทรัพย์จำเลยได้จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ชุดที่ 25 นางบุปผาและพวกได้รับเลือกตั้งเข้ามาโดยที่ประชุมใหญ่ของจำเลย คณะกรรมการดำเนินการของจำเลยชุดนี้จึงมีอำนาจดำเนินกิจการต่างๆ แทนจำเลยได้ และคณะกรรมการดำเนินการชุดดังกล่าวได้ประชุมกันแล้วลงมติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงกับโจทก์ทั้งสามและมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทั้งสามโดยมีนางบุปผาประธานคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้ลงนามกระทำการแทนจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและคดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นในประเด็นข้อนี้อีกต่อไปที่ศาลแรงงานภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานไม่เห็นพ้องด้วยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น
 
 
 
เมื่อคดีฟังได้ว่า คำสั่งของจำเลยที่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดและสอบวินัยอย่างร้ายแรงกับโจทก์ทั้งสามและคำสั่งไล่โจทก์ทั้งสามออกเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาท ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานจึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 4 พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
 
 
 
 พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานภาค  4 ให้ศาลแรงงานภาค 4 พิจารณาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาท ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี 
 



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com