ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุเวลาพักย่อยแต่ไม่ระบุสถานที่นั่งพัก นายจ้างสามารถกำหนดสถานที่พักได้ตามความเหมาะสม article

 

คำพิพากษาฎีกา 2563 - 2565/2552
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุเวลาพักย่อยแต่ไม่ระบุสถานที่นั่งพัก นายจ้างสามารถกำหนดสถานที่พักได้ตามความเหมาะสม
                   คดีทั้งสามสำนวนนี้ศาลแรงงานกลางสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกโจทก์เรียงตามลำดับสำนวนว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3
 
 
                                โจทก์ทั้งสามฟ้องเป็นใจความว่า โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลยทำหน้าที่เจียระไนเพชร วันเข้าทำงานและอัตราค่าจ้างปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่ละคนกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน จำเลยประกอบกิจการเจียระไนเพชรเพื่อการส่งออกมีลูกจ้าง 340 คน วันทำงานคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลาทำงานปกติ 7.30 นาฬิกา ถึง 18 นาฬิกา เวลาพัก 12 นาฬิกา ถึง 13นาฬิกา และเวลาพักย่อย 9.45 นาฬิกา ถึง 10 นาฬิกา และ 15 นาฬิกา ถึง 15.15 นาฬิกา การพักย่อยดังกล่าวเป็นไปตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2546 ซึ่งเกิดจากการที่สหภาพแรงงานเจียระไนเพชรแห่งประเทศไทยยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย โดยทางปฏิบัติลูกจ้างจะพักย่อยที่โรงอาหาร โจทก์ทั้งสามเป็นสมาชิกและกรรมการสหภาพแรงงานดังกล่าว ต่อมาจำเลยยื่นข้อเรียกร้องโดยขอปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานเกี่ยวกับการพักย่อยแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จำเลยจึงประกาศเปลี่ยนเวลาพักย่อยเป็นเวลาทำงานปกติและสั่งห้ามโจทก์ทั้งสามพักย่อยที่โรงอาหารโดยไม่ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเปิดประตู โจทก์ทั้งสามจึงพักย่อยในอาคารโรงงาน จำเลยลงโทษโจทก์ทั้งสามด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือกล่าวหาว่าโจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่ โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง คดีตกลงกันได้โดยจำเลยเพิกถอนคำสั่งลงโทษทั้งหมดให้ถือว่าโจทก์ทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดวินัย หลังจากนั้นจำเลยให้โจทก์ทั้งสามพักย่อยในที่นั่งทำงานแต่โจทก์ทั้งสามยังคงใช้สิทธิพักย่อยที่โรงอาหาร จำเลยจึงปิดประกาศห้ามพนักงานออกนอกบริเวณที่กำหนด โจทก์ทั้งสามจึงพักย่อยในสถานที่พักย่อยของช่างฝีมือผู้ชำนาญการต่อมาจำเลยลงโทษโจทก์ทั้งสามหลายครั้งด้วยการตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นหนังสือและพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง ในที่สุดจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ตามลำดับ โจทก์ทั้งสามใช้สิทธิพักย่อยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยชอบ ไม่ได้ออกนอกสถานที่ทำงานในเวลาทำงาน ไม่ได้ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ไม่ได้จงใจทำงานเฉื่อยไม่ได้ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ไม่ได้กระทำความผิด การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามนั่งพักย่อยในที่ทำงาน ไม่ให้พักย่อยนอกสถานที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อโจทก์ทั้งสาม คำสั่งเลิกจ้างของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์ทั้งสามกลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมและได้สิทธิประโยชน์ตามสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม และจ่ายค่าจ้างนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับโจทก์ทั้งสามกลับเข้าทำงานพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสาม หากไม่สามารถรับกลับเข้าทำงานได้ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ทั้งสาม และจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ที่ 3 ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2534 พร้อมดอกเบี้ยรายละเอียดปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์แต่ละคน
 
 
 
                                จำเลยทั้งสามสำนวนให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเนื่องจากโจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติ 7.30 นาฬิกา ถึง 18 นาฬิกา เวลาพัก 12 นาฬิกา ถึง 13 นาฬิกา และเวลาพักย่อย 9.45 นาฬิกา ถึง 10 นาฬิกา และ 15 นาฬิกา ถึง 15.15 นาฬิกา ต่อมาจำเลยประกาศยกเลิกเวลาพักย่อยทั้งหมด ลูกจ้างของจำเลยประมาณ 300 คน ยินยอมตามที่จำเลยขอ คงมีเพียงโจทก์ทั้งสามที่ไม่ยินยอมให้ยกเลิกเวลาพักย่อย จำเลยจึงให้โจทก์ทั้งสามพักย่อยตามเดิมแต่ต้องอยู่ภายในบริเวณสถานที่ทำงานของแต่ละคน ห้ามออกจากสถานที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากกิจการของจำเลยมีวัตถุดิบและผลงานเป็นเพชรและอัญมณีมีราคาสูง ต้องมีมาตรการเคร่งครัดและเข้มงวดต่อระเบียบในการตรวจสอบดูแลทรัพย์ จำเลยจึงต้องกำหนดสถานที่พักให้   ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง โจทก์ทั้งสามไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งของจำเลยโดยลงไปชั้นล่างและออกนอกบริเวณพื้นที่ไปในสถานที่ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ช่างผู้ชำนาญการช่างฝีมือชาวต่างชาติ พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานแผนกอื่น ไม่ตั้งใจทำงานเต็มความสามารถ (เฉื่อยงาน) แสดงกิริยาวาจาหยาบคายต่อผู้บังคับบัญชา จำเลยตักเตือนด้วยวาจาตักเตือนเป็นหนังสือ และสั่งพักงานหลายครั้ง แต่โจทก์ทั้งสามไม่เชื่อฟัง กระทำความผิดซ้ำคำเตือน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ก่อนถูกเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเคยนำเรื่องที่จำเลยลงโทษทางวินัยไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานมีคำวินิจฉัยว่าจำเลยลงโทษโจทก์ทั้งสามชอบด้วยระเบียบข้อบังคับ คำสั่งถึงที่สุดขอให้ยกฟ้อง
 
 
 
                                ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประกอบธุรกิจเจียระไนเพชรเพื่อการส่งออก มีลูกจ้างประมาณ 300 คน ลูกจ้างของจำเลยก่อตั้งสหภาพแรงงานเจียระไนเพชรแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2521 (ที่ถูก 2541) โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลย ทำงานอยู่แผนกบ็อททอม โจทก์ทั้งสามเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นกรรมการสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการลูกจ้างด้วย เดิมจำเลยกำหนดทำงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.30 นาฬิกา ถึง 18 นาฬิกาเวลาพัก 12 นาฬิกา ถึง 13 นาฬิกา หยุดวันเสาร์และวันอาทิตย์ เมื่อปลายปี 2545 สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ผลการเจรจาสามารถตกลงกันได้ จึงทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 โดยจำเลยตกลงจัดให้ลูกจ้างพักย่อยช่วงเช้าเวลา 9.45 นาฬิกา ถึง 10 นาฬิกา และช่วงบ่ายเวลา 15 นาฬิกา ถึง 15.15 นาฬิกา เมื่อถึงเวลาพักย่อยจำเลยมีสัญญาณให้ลูกจ้างทุกคนทราบเพื่อออกไปพักย่อยที่โรงอาหาร เมื่อหมดเวลาพักย่อยมีสัญญาณให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานในอาคารโรงงาน วันที่ 17 มกราคม 2547 จำเลยแจ้งข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานขอเปลี่ยนแปลงการพักย่อยแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ กลางเดือนมิถุนายน 2547 จำเลยจึงให้หัวหน้างานขอความร่วมมือจากลูกจ้างเป็นรายบุคคล ให้ลูกจ้างยินยอมลงชื่อรับเงินเพิ่มเดือนละ 60 บาท แทนการใช้สิทธิพักย่อย ลูกจ้างส่วนใหญ่ยินยอม คงมีโจทก์ทั้งสามกับพวกรวมประมาณ 10 คน ที่ไม่ยอมลงชื่อสละสิทธิพักย่อย ต่อมากลุ่มที่ไม่ยอมลงชื่อกลับใจยอมลงชื่ออีก 5 คน หลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2547 จำเลยงดสัญญาณสำหรับพักย่อย ต่อมาจำเลยประกาศกำหนดให้เวลาพักย่อยเป็นเวลาทำงานปกติแต่โจทก์ทั้งสามกับพวกที่ไม่ยอมลงชื่อคงใช้สิทธิพักย่อยตามเดิม วันที่ 23 และวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยสามารถรวบรวมลายมือชื่อลูกจ้างส่วนใหญ่ปลดกรรมการลูกจ้างทั้งคณะออกจากตำแหน่ง โจทก์ทั้งสามจึงพ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง หลังจากนั้นจำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ทั้งสามออกไปพักย่อยที่โรงอาหารแต่โจทก์ทั้งสามยังคงใช้สิทธิออกไปพักที่โรงอาหารตามเดิมจำเลยจึงลงโทษโดยออกหนังสือเตือน โจทก์ทั้งสามฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ศาลไกล่เกลี่ยแล้วตกลงกันได้โดยจำเลยยินยอมเพิกถอนคำสั่งลงโทษโจทก์ทั้งสามที่สืบเนื่องจากการใช้สิทธิพักย่อยทุกคำสั่งโดยถือว่าโจทก์ทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดทางวินัยมาก่อนกับยินยอมจ่ายค่าจ้างที่หักไว้คืนให้แก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยตกลงให้โจทก์ทั้งสามใช้สิทธิพักย่อยได้ตามเดิม หลังจากตกลงถอนฟ้องแล้วโจทก์ทั้งสามก็ใช้สิทธิพักย่อยตามเดิมโดยไปพักที่โรงอาหาร จำเลยออกคำสั่งไม่ให้โจทก์ทั้งสามออกนอกอาคารโรงงานแต่โจทก์ทั้งสามคงออกไปพักย่อยที่โรงอาหารตามเดิม จำเลยจึงมีคำสั่งลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือ โจทก์ทั้งสามคัดค้านคำสั่งลงโทษตักเตือน ต่อมาจำเลยให้พนักงานรักษาความปลอดภัยปิดประตูเข้าออกระหว่างอาคารโรงงานกับโรงอาหาร โจทก์ทั้งสามจึงเดินอยู่ภายในอาคารโรงงานช่วงเวลาพักย่อย จำเลยก็มีคำสั่งลงโทษตักเตือนโจทก์ทั้งสามเป็นหนังสือฐานไม่เชื่อฟังคำสั่งที่ออกนอกบริเวณที่กำหนด ฐานออกนอกสถานที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยยังมีคำสั่งพักงานโจทก์ทั้งสามโดยไม่จ่ายค่าจ้างและไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยโจทก์ทั้งสามร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต่อมาพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งที่ 77/2548 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 และคำสั่งที่ 86/2548 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ว่าโจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างตามคำร้อง โจทก์ทั้งสามทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานแล้วแต่ไม่ได้ฟ้องเพิกถอนคำสั่งภายใน 30  วัน คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุด จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ตามลำดับ โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและกระทำความผิดซ้ำคำเตือน รายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.7 จ.10 จ.11 จ.15 จ.18 จ.21 ล.1 ล.5 ถึง ล.11 แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 จำเลยต้องให้ลูกจ้างพักย่อยวันละ 2 ช่วง ช่วงละ 15 นาที ทำให้เวลาทำงานของลูกจ้างจากเดิมวันละ 9 ชั่วโมงครึ่งต้องลดลงเหลือวันละ 9 ชั่วโมง อันหมายถึงผลงานที่ได้ต้องลดน้อยลงไปด้วย แต่ถ้ามองในด้านลูกจ้างที่ทำงานเจียระไนเพชรซึ่งต้องใช้สายตาจับจ้องอยู่กับชิ้นงานที่ทำงานเป็นเวลานาน การได้พักย่อยนับว่าเป็นประโยชน์ในการทะนุถนอมสมรรถภาพทางสายตาของลูกจ้าง ถือเป็นความจำเป็นเพื่อสุขภาพของลูกจ้างที่นายจ้างควรตระหนัก แต่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกลับคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จึงยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานเจียรไนเพชรแห่งประเทศไทยเพื่อขอยกเลิกการพักย่อยแต่ตกลงกันไม่ได้ จำเลยก็ใช้วิธีให้หัวหน้างานขอความร่วมมือจากลูกจ้างผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นรายบุคคลเพื่อยินยอมลงชื่อสละสิทธิพักย่อยโดยจำเลยจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มให้วันละ 2 บาท เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำลายสหภาพแรงงานโดยอาศัยจุดอ่อนของลูกจ้างที่กลัวว่าจะตกงาน จึงจำยอมตามที่หัวหน้างานขอ โจทก์ทั้งสามและกรรมการสหภาพแรงงานที่ไม่ยอมจึงกลายเป็นคนส่วนน้อยในกลุ่มลูกจ้างด้วยกัน จำเลยก็ลงโทษโจทก์ทั้งสามฐานขัดคำสั่งโดยตักเตือนเป็นหนังสือและพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง โจทก์ทั้งสามจึงต้องฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ศาลไกล่เกลี่ยแล้วจำเลยยอมเพิกถอนคำสั่งลงโทษที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้สิทธิพักย่อยและจ่ายค่าจ้างที่หักคืนโจทก์ทั้งสามโดยถือว่าโจทก์ทั้งสามไม่เคยกระทำความผิด โจทก์ทั้งสามยอมถอนฟ้อง แต่พอกลับมาทำงานโจทก์ทั้งสามใช้สิทธิพักย่อยก็ถูกจำเลยออกคำสั่งห้ามเช่นห้ามไปพักที่โรงอาหาร ต่อมาก็ห้ามลงไปพักชั้นล่าง ห้ามเดินไปที่แผนกอื่น และในที่สุดก็มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสามพักย่อยตรงบริเวณที่ทำงานเท่านั้น โดยอ้างว่ากิจการของจำเลยเกี่ยวกับอัญมณีมีราคาสูงจำต้องป้องกันความสูญหาย ทั้งที่ลูกจ้างแต่ละคนมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบชิ้นงานที่รับมอบหมายมาทำอยู่แล้ว คำสั่งของจำเลยนั้นเห็นได้ชัดว่ามีจุดประสงค์เพื่อบีบบังคับกดดันโจทก์ทั้งสามให้จำยอมสละสิทธิพักย่อยที่ได้มาจากการเรียกร้องจนมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือต้องการทำลายสหภาพแรงงาน หรือทำให้กรรมการสหภาพแรงงานหมดความสำคัญสำหรับลูกจ้างอีกต่อไป ดังนั้นคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งสามปฏิบัติหรือห้ามปฏิบัติจึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ส่วนโรงอาหารและอาคารโรงงานแม้จะแยกกันแต่ก็ยังอยู่ในบริเวณเดียวกัน ใช้ประตูทางเข้าออกเดียวกันหลังจากทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยก็ให้ลูกจ้างไปพักย่อยที่โรงอาหารมาตลอดหลังจากที่ลูกจ้างส่วนใหญ่ยอมสละสิทธิพักย่อยตามที่จำเลยขอแล้วโจทก์ทั้งสามจึงใช้สิทธิพักย่อยที่โรงอาหารตามเดิม ยังถือไม่ได้ว่าจงใจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย หรือฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการออกจากสถานที่ทำงานตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงาน ข้อ 3.2.3 ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย หรือจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) (4) ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามมีพฤติการณ์เสียหายมาก่อนคงมีปัญหาขัดแย้งกับจำเลยอันเนื่องจากโจทก์ทั้งสามเป็นกรรมการสหภาพแรงงานใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ทั้งสามไม่ได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์ทั้งสามไม่ได้นำสืบถึงรายละเอียดและระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่พิจารณาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์ทั้งสามกลับเข้าทำงานในตำแหน่ง อัตราค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ไม่ต่ำกว่าเดิมโดยนับอายุงานต่อเนื่อง พร้อมทั้งชำระค่าเสียหายเท่ากับอัตราค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับกลับเข้าทำงานแก่โจทก์แต่ละคน หากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์ทั้งสามกลับเข้าทำงานให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสาม และให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ที่ 3 ตามจำนวนในบัญชีท้ายคำพิพากษา พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับค่าชดเชย และอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินอื่นนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จคำขอนอกจากนี้ให้ยก
 
 
                                จำเลยทั้งสามสำนวนอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
 
                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมซึ่งนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ และจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ เห็นว่า ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2546 เอกสารหมาย จ.4 ข้อ 1 ระบุเพียงว่า “บริษัทฯ ตกลงจัดให้มีการพักย่อย 15 นาที เพิ่มเติมจากการหยุดพักปกติโดยให้หยุดช่วงแรกเวลา 9.45 – 10.00 น. และช่วงที่สองเวลา 15.00 - 15.15 น.” เท่านั้น โดยไม่ได้จำกัดว่าจำเลยต้องจัดสถานที่พักย่อยให้เฉพาะที่โรงอาหาร จำเลยจึงอาจจัดสถานที่พักย่อยให้แก่ลูกจ้างได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม ซึ่งอาจต้องพิจารณาถึงสถานที่ ลักษณะการทำงาน และจำนวนลูกจ้าง เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งกิจการของจำเลยเป็นกิจการเกี่ยวกับการเจียระไนเพชรซึ่งมีราคาสูงและโดยสภาพมีขนาดเล็กสามารถลักลอบพกพาออกไปได้สะดวก จึงอาจจำต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อทรัพย์สินของจำเลยด้วย ซึ่งในคดีที่โจทก์ทั้งสามฟ้องต่อศาลแรงงานกลางและศาลไกล่เกลี่ยแล้วจำเลยตกลงเพิกถอนคำสั่งที่เคยลงโทษโจทก์ทั้งสามเกี่ยวกับเรื่องการพักย่อยทุกคำสั่งโดยถือว่าโจทก์ทั้งสามไม่เคยกระทำความผิดทางวินัยมาก่อนและให้โจทก์ทั้งสามใช้สิทธิพักย่อยได้ โจทก์ทั้งสามจึงถอนฟ้องตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 เอกสารหมาย จ.15 จ.18 และ จ.21 หรือ ล.4 ซึ่งตามรายงานกระบวนพิจารณาก็ระบุเพียงว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ทั้งสามใช้สิทธิพักย่อยได้ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 20 มกราคม 2546 มิได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าให้โจทก์ทั้งสามไปพักย่อยที่โรงอาหาร ตามข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยออกคำสั่งไม่ให้โจทก์ทั้งสามออกนอกอาคารโรงงานแต่โจทก์ทั้งสามคงออกไปพักย่อยที่โรงอาหารตามเดิม จำเลยจึงมีคำสั่งลงโทษตักเตือนเป็นหนังสือ ต่อมาจำเลยให้พนักงานรักษาความปลอดภัยปิดประตูเข้าออกระหว่างอาคารโรงงานกับโรงอาหารโจทก์ทั้งสามจึงเดินอยู่ภายในอาคารโรงงานช่วงเวลาพักย่อย จำเลยก็มีคำสั่งลงโทษตักเตือนโจทก์ทั้งสามเป็นหนังสือฐานไม่เชื่อฟังคำสั่งที่ออกนอกบริเวณที่กำหนด ฐานออกนอกสถานที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยยังมีคำสั่งพักงานโจทก์ทั้งสามโดยไม่จ่ายค่าจ้างและไม่จ่ายค่าจ้างในวันลาป่วย โจทก์ทั้งสามร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งที่ 77/2548 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 และคำสั่งที่ 86/2548 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ตามเอกสารหมาย ล.9 และ ล.10 ว่าจำเลยจึงมีสิทธิลงโทษพักงานโจทก์ทั้งสามโดยไม่จ่ายค่าจ้างได้ และคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุด ปรากฏว่าหลังจากนั้นโจทก์ทั้งสามก็ยังคงออกไปพักย่อยนอกบริเวณที่กำหนดและจำเลยมีหนังสือเตือนโจทก์ทั้งสามหลายครั้ง ในที่สุดจำเลยจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั้งสาม การที่ไม่มีข้อตกลงไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยจะต้องจัดสถานที่พักย่อยให้แก่ลูกจ้างที่โรงอาหาร และการจัดสถานที่พักย่อยจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมดังที่ได้วินิจฉัยไว้ข้างต้น ทั้งศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยไว้ว่าการพักย่อยเป็นการถนอมสมรรถภาพทางสายตาของลูกจ้าง ดังนั้นแม้ว่าจำเลยจะเคยให้ลูกจ้างออกจากอาคารโรงงานไปพักย่อยที่โรงอาหาร แต่เมื่อลูกจ้างของจำเลยเกือบทั้งหมดประมาณ 300 คน สละสิทธิพักย่อยโดยขอรับเงินเพิ่มเดือนละ 60 บาท แทน ดังนั้นในขณะที่โจทก์ทั้งสามพักย่อยลูกจ้างของจำเลยเกือบทั้งหมดจึงอยู่ระหว่างการทำงาน และเวลาพักย่อยแต่ละช่วงมีเพียง 15 นาที เท่านั้น ทั้งเป็นเพียงการพักสายตาซึ่งสามารถพักในบริเวณที่นั่งทำงานได้การที่จำเลยเปลี่ยนที่พักย่อยให้โจทก์ทั้งสามพักเฉพาะในบริเวณที่กำหนดจึงไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เมื่อโจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมซึ่งนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยชอบและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ต่อไปว่าการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมีจุดประสงค์เพื่อบีบบังคับกดดันโจทก์ทั้งสามให้จำยอมสละสิทธิพักย่อยที่ได้มาจากการเรียกร้องจนมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือต้องการทำลายสหภาพแรงงาน หรือทำให้กรรมการสหภาพแรงงานหมดความสำคัญสำหรับลูกจ้าง เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดีหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป  อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น
 
 
 
                                พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องของโจทก์ทั้งสามในส่วนที่ขอให้จำเลยรับโจทก์ทั้งสามกลับเข้าทำงาน และที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่ากับอัตราค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับกลับเข้าทำงาน หากจำเลยไม่ยอมรับโจทก์ทั้งสามกลับเข้าทำงานให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com