ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เพิ่มเวลาทำงาน เพิ่มวันหยุด ทำงานทดแทน article
                เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง  เพิ่มเวลาทำงาน  เพิ่มวันหยุด   และทำงานทดแทน ได้หรือไม่
 
หลาย  ๆ  บริษัท   อาจมีความต้องการปรับเปลี่ยนเวลาทำงาน  หรือเพิ่มวันหยุดประจำสัปดาห์  
 
หรือสลับวันหยุดเพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับคำสั่งซื้อ   หรืออัตรากำลังการผลิตที่ลดลง  
 
หรือเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านต่าง  ๆ
 
           ประเด็นปัญหา  คือ หากบริษัท มีวันและเวลาทำงานปกติอยู่แล้วตามข้อบังคับเกี่ยวกับ
 
การทำงาน      ต้องการกำหนดวันหยุดเพิ่ม     และให้ลูกจ้างมาทำงานทดแทนในวันทำงาน
 
ปกติแทน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่นพลังงาน  ไฟฟ้า  เป็นต้น     แต่ไม่ต้องการ
 
แก้ไขเปลี่ยนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  เนื่องจากยุ่งยาก  เสียเวลา จะทำได้หรือไม่
 
          กรณีปัญหา   หากพิจารณาตามข้อกฎหมาย  ที่กำหนดเกี่ยวกับเวลาทำงานปกติ  
 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  คือ  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ  มาตรา ๒๓  กำหนดไว้ว่า
 
       “ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ    โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและ
 
เวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภท
 
งานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง     แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง   ในกรณีที่เวลา
 
ทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมงนายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วน
 
ที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้         แต่ต้องไม่เกินวันละเก้า
 
ชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง
 
เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่
 
กำหนดในกฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง     
 
และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง
 
           ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับ
 
เวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงให้นายจ้าง
 
จ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตาม
 
จำนวนชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงหรือไม่น้อยกว่า
 
หนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้
 
ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน.........”
 
           ตามหลักกฎหมายดังกล่าว  สรุปสาระสำคัญได้คือ
 
-    บริษัท ทั่ว ๆ ไป  นายจ้างประกาศกำหนดเวลาทำงานปกติวันหนึ่ง  
  
      ไม่เกิน  ๘  ชั่วโมง
 
-    บริษัท ลักษณะงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยตาม
 
     กฎกระทรวง    ไม่เกิน  ๗  ชั่วโมง
 
-    วันใดทำงานน้อยกว่า  เวลาที่กำหนด   ลูกจ้างและนายจ้าง  สามารถ
 
     ตกลงกันนำเวลาทำงานที่ขาด     ไปทำงานทดแทนในวันทำงานปกติวันอื่นได้
 
-    แต่รวมกันแล้วไม่เกินวันละ   ๙  ชั่วโมง     (  เดิมทีกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้
 
     แก้ไขเพิ่มเติมตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ปี ๕๑  )
 
  -  พนักงานรายวัน  มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนสำหรับวันทำงานปกติส่วนที่เกิน  
 
     ๘  ชั่วโมงไม่น้อยกว่า  ๑.๕ เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง      ส่วนพนักงาน
 
     รายเดือนไม่ได้  
 
             หากพิจารณาตามหลักกฎหมาย  สามารถนำมาปรับใช้ในการปรับเปลี่ยน
 
เวลาทำงานชั่วคราวได้  โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานปกติ  หรือวันทำงานปกติ 
 
คือ   
 
           หากช่วงเวลาใด  บริษัท  ไม่มีงาน     หรือมีงานน้อย   จำเป็นต้องหยุดงานหรือ
 
ปิดงานบางวัน  หรือบางช่วงเวลาการนำข้อกฎหมายดังกล่าวมาปรับใช้  เป็นการชั่วคราว  
 
ก็สามารถช่วยได้ทางหนึ่ง   เช่น
 
          เดิมทำงานวันจันทร์  ถึงวัน เสาร์     เวลาทำงานปกติวันละ  ๘  ชั่วโมง    ในช่วง
 
ที่บริษัทไม่มีงานหรือมีงานน้อยจำเป็นต้องหยุดงาน   เพื่อต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย
 
ด้านอื่น ๆ   โดยหยุดงานวันเสาร์เพิ่ม   นายจ้างก็สามารถปรับเปลี่ยนได้    โดย
 
ตกลงกับลูกจ้างประกาศให้วันเสาร์เป็นวันหยุดเพิ่มเติมโดยนำเวลาทำงานในวันเสาร์  
 
มาทำงานทดแทนในวันทำงานปกติได้   แต่รวมแล้ววันหนึ่งต้องไม่เกิน  ๙  ชั่วโมง   
 
          ดังนั้น  หากจะกำหนดหยุดงานวันเสาร์ในช่วงใด  หรือวันใด      ต้องคำนวณ
 
เวลาทำงานที่ต้องไปทำงานทดแทนในวันทำงานปกติให้ถูกต้องและสอดคล้องกับ
 
กฎหมายด้วยนะครับ        ป้องกันปัญหาที่จะตามมา
 
 
                                                                                                  สรุปโดย  นายไสว  ปาระมี
 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




กฎหมายน่ารู้

เลิกจ้าง อย่างไร ให้ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม article
ปิดกิจการชั่วคราว หรือ หยุดกิจการชั่วคราว article
สิทธิหน้าที่นายจ้าง ลูกจ้าง article
การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
พนักงานรับเหมาค่าแรง ตามมาตรา ๑๑/๑ article
ย้ายสถานประกอบการ article
วันหยุดพักผ่อนประจำปี article
การค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง article
วันลา (ลาเพื่อรับราชการ,ลาเพื่อฝึกอบรม) article
วันลา (ลาคลอด) article
วันลา (ลากิจ ลาเพื่อทำหมัน) article
วันลา (ลาป่วย) article
วันหยุด ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ article
การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าจ้าง article
ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com