ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



สัญญาส่งฝึกอบรม เมื่ออบรมเสร็จกลับมาทำงานทดแทนภายในกำหนด หากไม่ครบกำหนด เรียกค่าเสียหาย + เบี้ยปรับได้ แต่ค่าเสียหายบังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและสมควรแก่กรณี article

 

คำพิพากษาฎีกา  690/2552
สัญญาส่งฝึกอบรม  เมื่ออบรมเสร็จกลับมาทำงานทดแทนภายในกำหนด  หากไม่ครบกำหนด  เรียกค่าเสียหาย + เบี้ยปรับได้  แต่ค่าเสียหายบังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและสมควรแก่กรณี

                        โจทก์ฟ้องว่า  โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด  ประกอบกิจการขนส่งสินค้าและคนโดยสารทางอากาศทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ  จำเลยที่  1  เป็นลูกจ้างโจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่  10  กรกฎาคม  2545  ในตำแหน่งนักบินที่  2  ต่อมาวันที่  10  มกราคม  2546  จำเลยที่  1  ทำสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศกับโจทก์เพื่อไปฝึกอบรมหลักสูตร  Flight  Simulator  Training  (การฝึกบินกับเครื่องจำลองการบิน)  ณ ศูนย์ฝึกอบรมของ  PT.  Grahadi  Angkasa  (พีที. กราฮาดิแองกาซ่า)  เมืองจาการ์ต้า  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  ตั้งแต่วันที่  14  ถึงวันที่  27  มกราคม  2546  เป็นเวลา  14  วัน  (รวมวันเดินทาง  2  วัน)  โดยตกลงกันว่าโจทก์เป็นผู้รับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าตอบแทนในระหว่างการฝึกอบรมให้แก่จำเลยที่  1  คือ  ค่าฝึกอบรม  ค่าที่พัก  ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงาน  ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่กรมการบินพาณิชย์  ค่าเบี้ยเลี้ยงครูฝึกบิน  ค่าตั๋วเครื่องบินพนักงาน  ค่าตั๋วเครื่องบินเจ้าหน้าที่กรมการบินพาณิชย์  ค่าตั๋วเครื่องบินครูฝึกบิน  และค่าภาษีสนามบิน  เมื่อสำเร็จการฝึกอบรมแล้ว  จำเลยที่  1  จะกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า  3  ปี  หรือ  1,095  วัน  หากจำเลยที่  1  ผิดสัญญา  จำเลยที่  1  ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปในการฝึกอบรมรวมทั้งค่าตอบแทนที่จำเลยที่  1  ได้รับไปในระหว่างการฝึกอบรมคืนให้แก่โจทก์ทั้งหมด  และยอมใช้ค่าเสียหายอีก  3  เท่า  ของจำนวนเงินที่จำเลยที่  1  จะต้องคืนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  นับแต่วันที่โจทก์ทวงถาม  โดยจำเลยที่  2  ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม  จำเลยที่  1  ได้เดินทางไปฝึกอบรมจนจบหลักสูตรแล้ว  โดยโจทก์เสียค่าใช้จ่ายซึ่งได้แก่ค่าฝึกอบรมในต่างประเทศ  ค่าเครื่องจำลองการบิน  ค่าฝึกกับเครื่องบินแบบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว  ค่าฝึกกับเครื่องบินแบบที่มีการเคลื่อนไหว  ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน  ค่าพาหนะ  ค่าเบี้ยเลี้ยงนักบิน  ค่าเบี้ยเลี้ยงครูฝึก   ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่กรมการบินพาณิชย์  ค่าตั๋วเครื่องบินนักบิน  ค่าตั๋วเครื่องบินครูฝึก   ค่าตั๋วเครื่องบินเจ้าหน้าที่กรมการบินพาณิชย์  ค่าภาษีสนามบิน  ค่าที่พัก  รวมเป็นเงิน  397,857.29  บาท  แต่จำเลยที่  1  กลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งนักบินที่  2  เพียง  352  วัน  ตั้งแต่วันที่  28  มกราคม  2546  ถึงวันที่  14  มกราคม  2547  จำเลยที่  1  ก็ลาออกจากการเป็นลูกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่  15  มกราคม  2547  ไปทำงานในตำแหน่งนักบินกับบริษัทอื่นซึ่งประกอบกิจการเช่นเดียวกับโจทก์อันเป็นการผิดสัญญา  ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย  จำเลยที่  1  จึงต้องคืนเงินค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม  397,857.29  บาท  และใช้ค่าเสียหายอีก  3  เท่า  คิดเป็นเงิน  1,193,571.87  บาท  รวมเป็นเงิน  1,591,429.16  บาท  ให้โจทก์  แต่จำเลยที่  1  ทำงานชดใช้แล้ว  352  วัน  คิดเป็นเงิน  511,582.71  บาท  จำเลยที่  1  จึงต้องชดใช้อีก  1,079,846.45  บาท  พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ  15  ต่อปี  นับแต่วันจำเลยที่  1  ลาออก  โดยจำเลยที่  2  ต้องร่วมรับผิดด้วย  เฉพาะดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน  84,316.78  บาท  ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงิน  1,164,163.23  บาท  พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ  15  ต่อปี  ของเงินต้น  1,079,846.45  บาท  นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 

                        จำเลยทั้งสองให้การและแก้ไขคำให้การว่า  โจทก์จ้างจำเลยที่  1  ทำงานโดยตกลงจ่ายค่าจ้างและค่าตำแหน่งให้จำเลยที่  1  ด้วยการนำฝากเข้าบัญชีของจำเลยที่  1  ทุกๆ  วันที่  15  ของเดือน  และเมื่อจำเลยที่  1  ฝึกอบรมสำเร็จแล้วโจทก์จะเพิ่มเงินค่าตำแหน่งให้จำเลยที่  1  และย้อนหลังไปตั้งแต่เดือนธันวาคม  2545  ถึงวันที่  15  ตุลาคม  2546  รวม  9  เดือน  คิดเป็นเงิน  45,000  บาท  แต่เมื่อจำเลยที่  1  ฝึกอบรมเสร็จและกลับไปทำงานให้โจทก์แล้ว  โจทก์กลับผิดสัญญาไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงและสภาพการจ้าง  โดยโจทก์กำหนดค่าจ้างและค่าตำแหน่งให้จำเลยที่  1  ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วๆ ไป  ทั้งไม่จ่ายค่าจ้าง  ค่าตำแหน่งและค่าล่วงเวลาให้จำเลยที่  1  ตามกำหนดเพื่อบีบบังคับจำเลยที่  1  จนจำเลยที่  1  ไม่สามารถทนทำงานกับโจทก์ต่อไปได้  จำเลยที่  1  จึงได้ลาออกโดยไม่ใช่เป็นความผิดของจำเลยที่  1  จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ทุนคืนให้แก่โจทก์  ค่าฝึกอบรมในประเทศไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ระบุไว้ในสัญญา  ส่วนค่าธรรมเนียมการโอนเงิน  ค่าเบี้ยเลี้ยงครูฝึก  ค่าตั๋วเครื่องบินครูฝึกและค่าตั๋วเครื่องบินเจ้าหน้าที่กรมการบินพาณิชย์  ตามที่โจทก์ฟ้องเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จะต้องเสียอยู่แล้วเพราะมีการฝึกอบรมพนักงานหลายคน  ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเฉพาะแต่การฝึกอบรมของจำเลยที่  1  เพียงลำพัง  ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านบุคลากรอันเป็นต้นทุนในทางธุรกิจของโจทก์อยู่แล้ว  และโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเพราะสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้  ทั้งจำเลยที่  1  ได้ทำงานให้โจทก์โดยได้รับค่าจ้างและค่าตอบแทนต่ำกว่ามาตรฐานมาเป็นเวลาเพียงพอแก่ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแล้ว  โจทก์กำหนดค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับจำนวน  3  เท่า  ของจำนวนเงินที่จำเลยที่  1  จะต้องคืนให้แก่โจทก์และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  ขึ้นเองตามอำเภอใจเพื่อผูกมัด  จำเลยที่  1  ไม่ให้ได้รับความเจริญก้าวหน้า  เป็นข้อตกลงที่ทำให้จำเลยทั้งสองต้องรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ  จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  ไม่มีผลบังคับ  และสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศระหว่างโจทก์กับจำเลยที่  1  เป็นสัญญาในทางแพ่งทั่วๆ ไป  โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อศาลแรงงานกลางขอให้ยกฟ้อง
 
 

                     ศาลแรงงานกลางส่งสำนวนให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นเรื่องคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่แล้ว  อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า  คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน  ตามคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่  143/2547
 

  
                       ศาลแรงงานกลางพิจารณาประเด็นอื่นแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า  โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด  ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ  ทำสัญญาจ้างจำเลยที่  1  เข้าทำงานเป็นลูกจ้างในตำแหน่งนักบินที่  2  เมื่อวันที่  10  กรกฎาคม  2545  ให้ค่าจ้างเป็นเงินเดือนๆละ  40,000  บาท  กับค่าตำแหน่งเดือนละ  15,000  บาท  รวมเป็นเงิน  55,000  บาท  ตามสัญญาว่าจ้างเอกสารหมาย  จ.4  ต่อมาวันที่  10  มกราคม  2546  โจทก์และจำเลยที่  1  ได้ทำสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศเพื่อให้จำเลยที่  1  ซึ่งเป็นผู้รับทุนเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกบินกับเครื่องจำลองการบินที่ศูนย์ฝึกอบรม  พีที.  กราฮาดิแองกาซา  เมืองจาการ์ต้า  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  มีกำหนด  14  วัน  ตั้งแต่วันที่  14  ถึงวันที่  27  มกราคม  2546  ตามเอกสารหมาย  จ.5  มีสาระสำคัญว่า  โจทก์จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่  1  ตามรายการและค่าใช้จ่ายที่ประมาณการไว้  ซึ่งเมื่อคิดอัตราแลกเปลี่ยน  1  ดอลลาร์สหรัฐต่อ  43  บาท  จะเป็นเงินไทยประมาณ  300,000  บาท  เมื่อฝึกอบรมเสร็จแล้วจำเลยที่  1  จะกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลา  3  ปี  หากจำเลยที่  1  ผิดสัญญา  จำเลยที่  1  ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่โทก์ได้จ่ายไปทั้งหมดคืนให้แก่โจทก์และยอมใช้ค่าเสียหายอีก  3  เท่า  ของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืน  ถ้าจำเลยที่  1  ไม่ชำระ  จำเลยที่  1  ยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  โดยจำเลยที่  2  ทำสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม  ทำสัญญาแล้วโจทก์ได้ส่งจำเลยที่  1  และนักบินอื่นรวม  10  คน  ไปฝึกอบรมภายในประเทศที่บริษัทไทยเจเนอรัล  อเวชั่น  เทคโนโลยี  จำกัด  แล้วจึงส่งจำเลยที่  1  และนาวาอากาศตรีไพรรัตน์  อินทรศักดิ์  พร้อมด้วยครูฝึกบิน  1  คน  กับเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลและรับรองการฝึกอบรมของกรมการบินพาณิชย์อีก  1  คน  เดินทางไปฝึกอบรมตามวันเวลาที่กำหนดจนแล้วเสร็จโดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย  จากนั้นจำเลยที่  1  ได้กลับมาทำงานกับโจทก์ตั้งแต่วันที่  28  มกราคม  2546  จนถึงวันที่  14  มกราคม  2547  รวม  352  วัน  โดยโจทก์ไมได้ให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม  จำเลยที่  1  จึงลาออกไปทำงานกับสายการบินอื่นที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า  ระหว่างจำเลยที่  1  ยังทำงานอยู่นั้นโจทก์จ่ายค่าจ้างไม่ตรงตามกำหนด  แต่ติดค้างเฉพาะค่าจ้างช่วงวันที่  15  ธันวาคม  2546  ถึงวันที่  15  มกราคม  2547  และโจทก์นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่  1  ไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์  แล้ววินิจฉัยว่าสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศระหว่างโจทก์กับจำเลยที่  1  ตามเอกสารหมาย  จ.5  ข้อ  6  ระบุว่า  เมื่อสำเร็จการฝึกอบรมตามกำหนดแล้วจำเลยที่  1  จะทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์ได้กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า  3  ปี  จำเลยที่  1  ฝึกอบรมเสร็จเมื่อวันที่  27  มกราคม  2546  และเดินทางกลับมาทำงานกับโจทก์ตั้งแต่วันที่  28  มกราคม  2546  แต่จำเลยที่  1  ได้ลาออกจากงานเมื่อวันที่  15  มกราคม  2547  เพื่อไปทำงานที่แห่งใหม่ที่เจริญก้าวหน้ากว่า  รวมระยะเวลาที่จำเลยที่  1  ทำงานให้โจทก์เพียง  352  วัน  ไม่ครบ  3  ปี  ตามที่ตกลงกันไว้  โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ผิดสัญญาหรือเป็นฝ่ายเลิกจ้างเลิกสัญญา  แม้โจทก์จะจ่ายค่าจ้างไม่ตรงตามกำหนด  แต่ก่อนเกิดกรณีพิพาท  โจทก์ก็ไม่เคยติดค้างชำระจ้างแก่จำเลยที่  1  จึงไม่ถึงขนาดจะเป็นเหตุให้จำเลยที่  1  ยกขึ้นอ้างได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา  เมื่อจำเลยที่  1  ไม่ทำงานกับโจทก์ให้ครบกำหนดระยะเวลาตามที่ตกลงกันไว้  จำเลยที่  1  จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา  ข้อตกลงกำหนดเบี้ยปรับ  3  เท่า  ของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่จำเลยที่  1  จะต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์และข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ  15  ต่อปี  ในสัญญาดังกล่าว  ไม่เป็นข้อสัญญาหรือข้อตกลงที่ถึงขนาดทำให้โจทก์ได้เปรียบจำเลยที่  1  จนจำเลยที่  1  ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  พ.ศ.2540  มาตรา  4  วรรคสาม  (2)  และวรรคท้าย  ประกอบด้วยมาตรา  10  ตามที่จำเลยกล่าวอ้างเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเบี้ยปรับมาตรา  379  ถึงมาตรา  385  และว่าด้วยดอกเบี้ย  มาตรา  7  มาตรา  224  และมาตรา  654  ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  มาตรา  14  บัญญัติให้คู่กรณีสามารถตกลงเบี้ยปรับผิดสัญญาและอัตราดอกเบี้ยกันได้  ซึ่งหากสูงเกินไปศาลก็ใช้ดุลพินิจลดลงได้ตามจำนวนที่พอสมควร  จึงมีผลใช้บังคับ  ค่าฝึกอบรมภายในประเทศไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ระบุไว้ในสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศเอกสารหมาย  จ.5  โจทก์ไม่มีสิทธินำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายให้จำเลยที่  1  รับผิด  คู่มือพนักงานของโจทก์ตามเอกสารหมาย  ล.6  ระบุให้พนักงานระดับผู้จัดการที่เดินทางไปปฏิบัติงานต่างประเทศในทวีปเอเชียมีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ  50  ดอลลาร์สหรัฐ  จำเลยที่  1  เป็นพนักงานของโจทก์ได้รับทุนเดินทางไปฝึกอบรมยังต่างประเทศเพื่อนำความรู้กลับมาทำงานให้เป็นประโยชน์แก่โจทก์  ต้องถือว่าจำเลยที่  1  ไปปฏิบัติงานของโจทก์ที่ต่างประเทศจึงมีสิทธิได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงตามคู่มือพนักงานดังกล่าว  โจทก์ไม่มีสิทธินำมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่  1  และจำเลยที่  1  ไปฝึกอบรมเพียง  14  วัน  จึงต้องรับผิดชอบค่าที่พักของตนเองเพียง  14  วัน  ไม่ใช่  1  เดือน  ตามที่โจทก์กล่าวอ้างค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปในการให้ทุนจำเลยที่  1  ไปฝึกอบรมต่างประเทศซึ่งจำเลยที่  1  จะต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์จึงคิดเป็นเงินเพียง  22   วัน   3,871.70  บาท  และเมื่อนำมูลค่าที่จำเลยที่  1  ได้ทำงานชดใช้ให้โจทก์แล้ว  352  วัน  มาหักออก  จำนวนเงินที่จำเลยที่  1  จะต้องชดใช้คืนและค่าปรับอีก  3  เท่า  อันเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่  1  จะต้องชำระให้โจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศ  จึงรวมเป็นเงิน  607,622.56  บาท  ซึ่งเมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์และจำเลยที่  1  ที่โจทก์ต้องได้รับความเสียหายเดือดร้อนจากการสูญเสียบุคลากรที่เป็นนักบินให้แก่คู่แข่งทางธุรกิจ  ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่  1  แม้จะไม่มากนัก  ทั้งจำเลยที่  1  ได้ทำงานชดใช้ให้แล้วบางส่วนและได้ประโยชน์จากการนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีเงินได้ของโจทก์  จำเลยที่  1  ต้องทำงานกับโจทก์โดยได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสมและไม่ตรงตามกำหนด  ทั้งยังถูกติดค้างค่าจ้างในช่วงวันที่  15  ธันวาคม  2546  ถึงวันที่  15  มกราคม  2547  รวมตลอดถึงทางได้เสียอื่น  ๆ   ของทั้งสองฝ่ายเปรียบเทียบกันแล้วสมควรลดค่าเสียหายดังกล่าวลงเหลือ  400,000  บาท  และลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ  7.5  ต่อปี  พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน  400,000  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  7.5  ต่อปี  นับแต่วันที่  15  มกราคม  2547  จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์  แต่ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องต้องไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ
 
 

                        จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 

                        ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว  ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า  คดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางเพราะไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานนั้น  เห็นว่า  พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  8  บัญญัติว่า  ”ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องต่อไปนี้  (1)  คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง.....”  และมาตรา  9  วรรคสอง  บัญญัติว่า  “ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น  ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย  คำวินิจฉัยของอธิบดีผิพิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด”  ข้อเท็จจริงปรากฏว่า  อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่  1  และคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่  2  เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522  มาตรา  8  (1)  อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน  ตามคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่143/2547  คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  9  วรรคสอง  อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  223  ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  31  ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัย
 
 
 

                        ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า  สัญญาจ้างเอกสารหมาย  จ.4  ข้อ  4  กำหนดให้จำเลยที่  1  ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ  ข้อบังคับเกี่ยวกับการบินของกรมการบินพาณิชย์หน่วยงานราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในและระหว่างประเทศ  และโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าหากจำเลยที่  1  ไม่ผ่านการฝึกอบรม  จำเลยที่  1  จะไม่สามารถทำงานในหน้าที่ขับเครื่องบิน  737 – 200  ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ในสายการบินของโจทก์ได้  โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องออกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่  1  แต่โจทก์กลับใช้อำนาจที่เหนือกว่ากำหนดให้จำเลยที่  1  ต้องทำสัญญาให้ทุนฝึกอบรมกับโจทก์เพื่อผลักภาระความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้จำเลยที่  1  อันเป็นการนอกเหนือสัญญาจ้างจึงไม่ผูกพันจำเลยทั้งสองและอุทธรณ์ว่า  ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเอกสารหมาย  ล.2  ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่  3  กรกฎาคม  2545  โจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างพิเศษให้จำเลยที่  1  ในการที่จำเลยที่  1  ต้องทำงานในหน้าที่ผู้บริหารให้โจทก์ทุกเดือนตั้งแต่เดือนธันวาคม  2545  ถึงวันที่  15  ตุลาคม  2546  เป็นเวลา  9  เดือน  รวมเป็นเงิน  45,000  บาท  แต่โจทก์ไม่จ่ายค่าจ้างพิเศษให้จำเลยที่  1  อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำให้จำเลยที่  1  ไม่สามารถทนทำงานกับโจทก์ต่อไปได้จนจำเลยที่  1  ต้องลาออก  โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้ทุนฝึกอบรม  จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์  เห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง  ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา  225  วรรคหนึ่ง  ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  31  ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
 
 
 

                       ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า  โจทก์นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทั้งหมดไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์จนทำให้กิจการของโจทก์ขาดทุนและโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี  2545  และปี  2546  อันเป็นการนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทั้งหมดไปเป็นประโยชน์ของโจทก์แล้ว  โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย  ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองชดใช้ให้แก่โจทก์จึงเป็นการไม่ถูกต้อง  เห็นว่า  เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่  อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง  ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน  พ.ศ.2522  มาตรา  54  วรรคหนึ่ง  ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
 
 

                       ส่วนที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า  ข้อตกลงในสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศตามเอกสารหมาย  จ.5  ที่กำหนดให้จำเลยที่  1  ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์เป็นเวลา  3  ปี  มิฉะนั้นต้องเสียเบี้ยปรับ  3  เท่า  ของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่  1  จะต้องชดใช้คืน  และเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ  15  ต่อปี  เป็นข้อตกลงที่มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งเสรีภาพเพราะจำเลยที่  1  อยู่ในภาวะจำยอมต้องเข้าทำสัญญากับโจทก์เนื่องจากได้ลาออกจากราชการมาทำงานเป็นลูกจ้างของโจทก์แล้ว  และเป็นข้อตกลงที่ทำให้จำเลยที่  1  ต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร  จึงเป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม  อันเป็นการอุทธรณ์ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพการงานซึ่งไม่เป็นโมฆะ  แต่เป็นข้อตกลงที่ทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ  ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  พ.ศ.2540  มาตรา  5  ซึ่งมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น  และจำเลยทั้งสองสามารถยกขึ้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว  เห็นว่าสำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ  15  ต่อปี  เป็นอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในขอบเขตซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  654  บัญญัติไว้  และศาลแรงงานกลางได้ลดอัตราให้เหลือร้อยละ  7.5  ต่อปีแล้ว  จึงไม่ทำให้จำเลยที่  1  ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ  ส่วนข้อกำหนดให้จำเลยที่  1  ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์  มิฉะนั้นต้องเสียเบี้ยปรับ  3  เท่า  ของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่  1  จะต้องชดใช้คืน  ข้อเท็จจริงได้ความว่า  ก่อนทำสัญญาจำเลยที่  1  ทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งนักบินอยู่แล้ว  และปรากฏตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่า  หากจำเลยที่  1  ไม่ผ่านการฝึกอบรมตามสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศเอกสารหมาย  จ.5  จำเลยที่  1  จะไม่สามารถทำหน้าที่ขับเครื่องบิน  737- 200  ที่โจทก์นำมาใช้ในสายการบินของโจทก์ได้  แสดงว่าการฝึกอบรมมีผลทำให้จำเลยที่  1  มีคุณวุฒิในการขับเครื่องบินเพิ่มขึ้น  ย่อมเป็นที่ต้องการของบริษัทอื่นเพราะไม่ต้องลงทุนส่งคนไปฝึกอบรม  ข้อกำหนดให้จำเลยที่  1  ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนและเสียเบี้ยปรับจึงเป็นข้อห้ามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของโจทก์ไม่ให้สูญเสียพนักงานที่อุตส่าห์ลงทุนส่งไปฝึกอบรมจนมีคุณวุฒิในการขับเครื่องบินตามกฎระเบียบ  ข้อบังคับเกี่ยวกับการบินของกรมการบินพาณิชย์  จึงเป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้  โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่  1  โดยมุ่งหวังที่จะได้พนักงานที่มีคุณสมบัติตามที่โจทก์ต้องการไว้ทำงานกับโจทก์และจำเลยที่  1  ได้รับประโยชน์จากการฝึกอบรมโดยมีคุณวุฒิในการขับเครื่องบินเพิ่มขึ้นทั้งจำเลยที่  1  สามารถจะเลือกเอาได้ว่าจะกลับมาทำงานกับโจทก์หรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนให้โจทก์พร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับ  3  เท่า  ของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืนข้อกำหนดเบี้ยปรับ  3  เท่า  ดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่  1  ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ  แต่โจทก์ส่งจำเลยที่  1  ไปฝึกอบรมเพียง  14  วัน  (รวมทั้งวันเดินทาง  2  วัน)  โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไว้  300,000  บาท  และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า  โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่  1  ไปเพียง  223,871.70  บาท  ข้อกำหนดที่ให้จำเลยที่  1  ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลาถึง  3  ปี  จึงเป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่  1  ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ  จึงให้มีผลบังคับได้เพียง  1  ปี  เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี  โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่  1  ไป  223,871.70  บาท  จำเลยที่  1  ต้องกลับมาทำงานชดใช้เป็นเวลา  1  ปี  หรือ  365  วัน  เมื่อจำเลยที่  1  ได้ทำงานให้โจทก์แล้ว  352  วัน  จำเนวนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่จำเลยที่  1  จะต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์จึงคิดเป็นเงิน  7,973.52  บาท  และเบี้ยปรับ  3  เท่า  ของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืนเป็นเงิน  23,920.56  บาท  จึงรวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์  31,894.08  บาท  อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังขึ้น
 
 

                       พิพากษาแก้เป็นว่า  ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน  31,894.08  บาท  พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ  7.5  ต่อปี  นับแต่วันที่  15  มกราคม  2547  จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
  



อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com