ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ย้ายสถานประกอบการ article

 ย้ายสถานประกอบการ หรือ ย้ายสถานที่ทำงาน

               สถานประกอบการหลายแห่ง อาจมีสำนักงานสาขา หรืออาจไม่มี การบริหารจัดการภายในองค์กร เกี่ยวกับการทำงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการทำงานอยู่ตลอดเวลา   การปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงสถานที่ทำงาน เพื่อความสะดวกหรือความเหมาะสมของธุรกิจ   ถือเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ   ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลให้ให้มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานใหม่   หรือมีการย้ายสถานประกอบการได้ 
             การย้ายสถานประกอบการกับการย้ายสถานที่ทำงาน   หลายท่านอาจมองว่าเป็นเรื่องเดียวกัน หรือความหมายเดียวกัน   แต่ในทางกฎหมายถือว่ามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ เนื่องจากผลของการย้ายสถานประกอบการ    กับการย้ายสถานที่ทำงานตามปกติ    มีผลที่แตกต่างกัน    บังคับใช้กฎหมายต่างกันไป   กล่าวคือ  
             การย้ายสถานประกอบการ ในที่นี้หมายถึง   การที่นายจ้างเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงาน หรือย้ายสถานที่ทำงานทั้งหมดไปตั้ง ณ.สถานที่อื่น   อันไม่ใช่สถานที่ทำงานเดิม   หรือสถานที่ทำงานสาขาของนายจ้างซึ่งมีอยู่เดิม ซึ่งการย้ายสถานประกอบการในลักษณะนี้   บังคับใช้ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาตรา 120 ฉบับแก้ไข ปี 2551
             องค์ประกอบที่สำคัญ คือ 
             1.  ย้ายสถานประกอบการไปตั้ง ณ.สถานที่อื่น 
             2.  ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง    
             3.  แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันย้าย     
               ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากนายจ้าง หรือ 
             5.  ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ในวันกำหนดย้ายสถานประกอบการ 
             6.  ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ เท่ากับอัตราค่าชดเชยตามกฎหมาย ( พรบ.คุ้มครองแรงงงาน ฯ ) มาตรา 118    
             7.  ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้าง     
             8. กรณีนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน     
   ตามองค์ประกอบดังกล่าว กรณีจะถือว่าเป็นการย้ายสถานประกอบการไปตั้ง ณ.สถานที่อื่น ต้องหมายถึง การที่นายจ้าง ย้ายสถานที่ตั้ง   หรือสถานที่ทำงาน ทั้งหมดไปตั้ง ณ.สถานที่ทำงานในพื้นที่อื่นแยกต่างหากจากที่ตั้งเดิม   การย้ายสถานที่ทำงานไปทำงานที่ใหม่แต่เป็นการย้ายเพียงบางส่วน หรือ เป็นการย้ายไปทำงาน ณ.สำนักงานสาขา   อันเป็นสาขาหนึ่งของนายจ้างอยู่แล้ว ยังไม่ถือว่าเป็นการย้ายสถานประกอบการ   เพราะถือว่าสถานประกอบการเดิมยังมีอยู่ ยังไม่ได้มีการโยกย้ายหรือเปลี่ยนเปลี่ยน แต่อาจเป็นเพียงการเพิ่มสาขา   หรือเป็นเพียงการย้ายไปทำงาน ณ.สำนักงานสาขาของนายจ้าง   ซึ่งมีอยู่เดิมแล้วเท่านั้น    กรณีจึงไม่ถือว่าเป็นการย้ายสถานประกอบการ ตามมาตรา 120  

                     หากพิจารณาได้ว่าเป็นการย้ายสถานประกอบการแล้ว   สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อคือ   การย้ายสถานประกอบการนั้น ต้องส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง   เช่น ต้องตื่นนอนแต่เช้า   ต้องเดินทางไกลมากขึ้น   ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น เป็นต้น   หากเป็นการย้ายสถานประกอบการจริง แต่เป็นการย้ายที่ไม่ห่างไกลจากเดิม   ลูกจ้างสามารถเดินทางมาทำงานได้ โดยใช้เวลาไม่ต่างจากเดิม หรือค่าใช้จ่ายไม่แตกต่างจากเดิม  หรือไม่ได้รับความเดือดร้อนจากการย้ายเลย ถือว่าการย้ายสถานประกอบการนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างแต่อย่างใด    กรณีก็ไม่ถือว่าครบองค์ประกอบตาม มาตรา 120 เช่นกัน ลูกจ้างจะใช้สิทธิตามมาตรา 120 ไม่ได้                 หากเข้าองค์ประกอบตามกฎหมายดังกล่าว   นายจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ต้องแจ้งล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบก่อนวันย้ายสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 30 วัน    หากไม่แจ้งล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน แก่ลูกจ้าง                                                                                                                                            ในขณะเดียวกันลูกจ้างก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเช่นกัน คือ หากไม่ประสงค์จะย้ายไปทำงาน ณ.สถานที่ทำงานใหม่   ตามที่นายจ้างแจ้ง   ลูกจ้างต้องแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง   หรือในวันกำหนดย้ายสถานประกอบการก็ได้  

                   แต่หากพิจารณาตามเจตนาและผลทางกฎหมายแล้ว   จะเห็นว่าการแจ้งหรือการบอกกล่าวนั้นควรทำเป็นหนังสือ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักฐานในการแจ้งหรือการบอกกล่าว   ว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดแล้วหรือไม่   และสอดคล้องกับการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม มาตรา 17 ด้วย   ดังนั้นผมเห็นว่า การแจ้งหรือบอกกล่าวล่วงหน้านั้น   ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องทำเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบจะเป็นหลักฐานที่ดีที่สุด   

                  กรณีหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 120 ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังกล่าวข้างต้น   เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน มีคำสั่งเป็นเช่นไร   ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว   สามารถฟ้องขอเพิกถอนต่อศาลแรงงานได้    และหากนายจ้างเป็นฝ่ายฟ้องขอเพิกถอนคำสั่ง   นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนเงินในคำสั่งก่อน   จึงจะใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนได้    

               กรณีหากไม่เข้าองค์ประกอบการย้ายสถานประกอบการดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นการย้ายสถานที่ทำงาน หรือย้ายสาขา หรือเป็นการปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น   คงต้องกลับไปดูสภาพการจ้างเดิม   สัญญาจ้าง   และข้อกำหนดเกี่ยวกับการจ้างงานในประเด็น เรื่อง การโอนย้าย หรือเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หรือการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ ของแต่ละคนว่า    นายจ้างสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด   มีอำนาจในการบริหารจัดการในเรื่องนั้น ๆ หรือไม่อย่างไร มีข้อกำหนดหรือข้อตกลงกันไว้อย่างไร   บนพื้นฐานที่กฎหมายกำหนด เช่น การพิจารณาด้วยความเป็นธรรม   ไม่ได้เกิดจากการกลั่นแกล้ง เป็นไปตามเงื่อนไขข้อตกลงหรือสัญญาจ้างที่กำหนดไว้    ไม่เป็นการลดตำแหน่งหรือลดค่าจ้างให้น้อยหรือต่ำลงกว่าเดิม   เป็นต้น   

 

 

              ดังนั้น   การที่ลูกจ้างจะขัดคำสั่งนายจ้าง   หรือนายจ้างจะสั่งการหรือดำเนินการอย่างไร   ก็ควรพิจารณาถึงหลักการและเหตุผล พิจารณาผลกระทบที่ตามมาและข้อกฎหมายประกอบด้วย ก็จะเป็นการดีทั้งสองฝ่าย ทั้งลูกจ้างและนายจ้างครับ        

 ไสว    ปาระมี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



 

 

 

 

 

 

 

                  

 

 

 

                หากการโยกย้าย หรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่   เป็นการพิจารณาด้วยความเป็นธรรม   เป็นอำนาจการบริหารจัดการที่นายจ้างสามารถทำได้ตามความเหมาะสม   หากลูกจ้างฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตาม   ถือว่าขัดคำสั่งนายจ้าง    นายจ้างมีสิทธิพิจารณาโทษตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบที่กำหนดได้   และอาจถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่อีกกรณีหนึ่งด้วย  

 

 

                         หากลูกจ้างไม่แจ้งความประสงค์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผลก็คือ ถือว่าลูกจ้างตกลงยินยอมย้ายไปทำงาน ณ.สถานที่ งานใหม่ตามที่นายจ้างแจ้ง   หากภายหลังไม่ยอมย้ายไปทำงานตามกำหนดเวลาดังกล่าว   ถือว่าขาดงานละทิ้งหน้าที่   นายจ้างมีสิทธิพิจารณาโทษได้ตามความเหมาะสมแก่กรณี ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบที่กำหนด 

                การแจ้งหรือการบอกล่าวตามมาตรา 120 กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า ต้องแจ้งเป็นหนังสือ ซึ่งจะแตกต่างจากการบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 17  ซึ่งกำหนดไว้ในเรื่องการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้ว่า “นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้”            

 




กฎหมายน่ารู้

เลิกจ้าง อย่างไร ให้ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม article
ปิดกิจการชั่วคราว หรือ หยุดกิจการชั่วคราว article
สิทธิหน้าที่นายจ้าง ลูกจ้าง article
การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
พนักงานรับเหมาค่าแรง ตามมาตรา ๑๑/๑ article
เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เพิ่มเวลาทำงาน เพิ่มวันหยุด ทำงานทดแทน article
วันหยุดพักผ่อนประจำปี article
การค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง article
วันลา (ลาเพื่อรับราชการ,ลาเพื่อฝึกอบรม) article
วันลา (ลาคลอด) article
วันลา (ลากิจ ลาเพื่อทำหมัน) article
วันลา (ลาป่วย) article
วันหยุด ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ article
การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าจ้าง article
ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com