ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



พนักงานลากิจแต่นายจ้างยังไม่อนุมัติตามระเบียบ พนักงานหยุดงานไปถือว่าขาดงานละทิ้งหน้าที่ article

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 2549/52
พนักงานลากิจแต่นายจ้างยังไม่อนุมัติตามระเบียบ พนักงานหยุดงานไปถือว่าขาดงานละทิ้งหน้าที่
 
 
                                โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2546 ในตำแหน่งพนักงานขาย ฝ่ายขายบ้าน – ที่ดิน ได้รับเงินเดือนเดือนละ 6,000 บาทและค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ 1 ของเงินขายบ้าน – ที่ดิน อีกส่วนหนึ่ง ขณะจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์โจทก์ได้รับเงินเดือนเดือนละ 12,000 บาท จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน และหยุด 1 วัน คือวันพฤหัสบดี และให้มาทำงานในวันหยุดตามประเพณีโดยใช้ปฏิบัติในบริษัทจำเลยที่ 1 และในเครือกลุ่มพาราไดส์ด้วย และในปี 2547 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีไว้ 15 วัน ตามภาพถ่ายเรื่องวันหยุดตามประเพณี ประจำปี 2547 เอกสารท้ายคำฟ้อง จำเลยที่ 1 กำหนดหลักเกณฑ์ในการลาหยุดงานว่า โจทก์ต้องส่งใบลาหยุดงานโดยตรงต่อจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และต้องให้จำเลยที่ 2 อนุมัติก่อนวันลาหยุดงานทุกครั้ง จำเลยที่ 1 กำหนดจ่ายเงินเดือนทุกวันสิ้นเดือน สำหรับเงินค่าตอบแทนในการขายบ้าน – ที่ดินในอัตราร้อยละ 1 ของเงินยอดขาย จำเลยที่ 1 แบ่งการจ่ายเป็น 2 งวด งวดแรกจะจ่ายให้โจทก์ต่อเมื่อลูกค้าได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน/ปลูกสร้างบ้านกับจำเลยที่ 1 และงวดที่ 2 จะจ่ายให้โจทก์เมื่อลูกค้าทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์เริ่มทำงานครั้งแรกในโครงการมวกเหล็กพาราไดส์ รีสอร์ท และโครงการมวกเหล็กพาราไดส์ฮิลล์ (หมู่บ้านออสเตรเลีย) จังหวัดสระบุรี โดยให้โจทก์เป็นพนักงานขายหลักในโครงการเพียงคนเดียว ส่วนลูกจ้างอื่นของจำเลยที่ 1 จะทำงานในหน้าที่อื่น ๆ โดยโจทก์จะต้องเดินทางไปมาระหว่างโครงการมวกเหล็กพาราไดส์รีสอร์ท ในวันเสาร์ – อาทิตย์ และโครงการมวกเหล็กพาราไดส์ฮิลล์ ในวันจันทร์ – ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดของโจทก์ โดยรถกระบะส่วนตัวของโจทก์เอง ต่อมาจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ไปเป็นพนักงานประจำโครงการบ้านพาราไดส์เขาใหญ่ที่จังหวัดนครราชสีมาเพิ่มอีก 1 โครงการ โดยโจทก์จะเป็นพนักงานขายหลักในโครงการเพียงคนเดียวเช่นกับการขายในโครงการของจำเลยที่ 1 โจทก์จะต้องเดินทางโดยใช้รถกระบะส่วนตัวเดินทางในโครงการดังกล่าวเช่นเดียวกัน และเดินทางไปดูแลการขายในโครงการมวกเหล็กพาราไดส์รีสอร์ท และโครงการมวกเหล็กพาราไดส์ฮิลล์ ในบางครั้งอีกด้วย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่มียอดขายบ้านและที่ดินตามที่ตกลงกันไว้และได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ดูแลเอาใจในใส่ลูกค้าใหม่ ๆ ที่เข้ามาดูโครงการของจำเลยที่ 1 และโจทก์ละทิ้งหน้าที่ในการทำงานเมื่อวันที่ 5 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้อนุมัติลาหยุดงานเป็นเวลา 3 วัน ตามใบลาของโจทก์ ซึ่งข้อกล่าวอ้างของจำเลยที่ 1 ที่เลิกจ้างโจทก์นั้นไม่เป็นความจริงและไม่เป็นธรรมต่อโจทก์กล่าวคือเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2547 โจทก์ยื่นใบลาหยุดงานแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าจะขอหยุดงานในวันที่ 5 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 ซึ่งโจทก์ขอใช้สิทธิหยุดชดเชยการทำงานในวันสงกรานต์วันที่ 13  ถึงวันที่ 15 เมษายน 2547 รวม 3 วัน ซึ่งเป็นวันหยุดตามประเพณีตามประกาศของจำเลยที่ 1 โดยให้เหตุผลในการลาว่าจะต้องนำรถกระบะส่วนตัวที่ใช้เดินทางในโครงการไปซ่อมเพราะเกิดอุบัติเหตุและประกันภัยรถยนต์ของโจทก์กำลังจะหมดอายุที่อู่รถยนต์ที่กรุงเทพมหานคร และในการยื่นใบลาหยุดดังกล่าว ฝ่ายบุคคลของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 2 จะเดินทางมาตรวจดูโครงการบ้านพาราไดส์เขาใหญ่ ที่จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 ให้โจทก์ยื่นใบลาหยุดโดยตรงต่อจำเลยที่ 2 ตามภาพถ่ายในลาหยุดงาน ใบรับรถและใบรายการขอเบิกเงินค่าซ่อมรถยนต์เอกสารท้ายคำฟ้อง และในวันดังกล่าวโจทก์ยื่นใบลาหยุดให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ยอมรับใบลาหยุดโดยแจ้งว่าให้โจทก์นำใบลาหยุดดังกล่าวไปยื่นต่อฝ่ายบุคคลและจำเลยที่ 2 จะดำเนินการให้ โจทก์ยื่นใบลาแก่จำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2547 และวันที่ 4 กรกฎาคม 2547 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่ได้แจ้งไม่อนุมัติการหยุดชดเชยของโจทก์แต่ประการใด ซึ่งในการปฏิบัติของการลาหยุดชดเชยเมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทราบโดยการยื่นใบลาหยุดโจทก์ก็สามารถหยุดตามวันที่แจ้งไปได้เลยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้อนุมัติการขอหยุดแล้วแต่ในครั้งนี้จำเลยที่ 1 กลับแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่อนุญาตให้โจทก์หยุดชดเชยในวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 หลังจากที่โจทก์นำรถยนต์เข้าไปซ่อมที่อู่ในกรุงเทพมหานครแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ โจทก์จะต้องเดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครมายังโครงการของจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นรีสอร์ทอยู่ในภูเขา หากไม่มีรถโจทก์จะมีความลำบากในการเดินทางอย่างมากไม่สามารถเข้าไปในโครงการได้ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม นอกจากนี้การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่าได้มีหนังสือเตือนโจทก์ถึง 2 ครั้ง ตามบันทึกภายในและหนังสือเตือนเอกสารท้ายคำฟ้องนั้นการออกหนังสือเตือนครั้งแรกเป็นเรื่องเนื่องมาจากเมื่อครั้งที่โจทก์เริ่มทำงานโจทก์ได้หยุดงานในวันหยุดตามประเพณีตามวันที่จำเลยที่ 2 ประกาศแจ้ง จำเลยที่ 1 จึงมีหนังสือเตือนโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิหยุดในวันที่ตรงกับวันหยุดตามประเพณี จำเลยที่ 1 ไม่เคยแจ้งหรือมีประกาศให้โจทก์ทราบ โจทก์ไม่เคยทราบ และในระเบียบเรื่องวันลาและหลักเกณฑ์การลาก็ไม่ได้ระบุไว้ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบดังกล่าวแล้วโจทก์ก็ถือปฏิบัติตามส่วนหนังสือเตือนครั้งที่ 2 เป็นเรื่องความผิดพลาดของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เอง เนื่องด้วยโจทก์จะต้องไปมาระหว่างโครงการของจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครราชสีมา ในวันที่จำเลยที่ 1 ออกหนังสือเตือนครั้งที่ 2 ในเรื่องการหยุดงาน ข้อเท็จจริงโจทก์ไม่ได้หยุดงานตามหนังสือเตือน แต่โจทก์เดินทางมาปฏิบัติงานที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว นอกจากนี้ข้อกล่าวอ้างของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ว่าโจทก์ไม่มียอดขายบ้าน – ที่ดิน  ตามที่ตกลงกันไว้นั้นก็ไม่เป็นความจริง โจทก์สามารถขายบ้าน – ที่ดินในโครงการต่างๆ ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้เป็นจำนวนมาก และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยังคงค้างจ่ายเงินค่าส่วนแบ่งการขายบ้าน – ที่ดิน  ให้แก่โจทก์อีกจำนวนมาก การที่จำเลยที่ 1   โดยจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ทั้งที่โจทก์ไม่มีความผิด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดชอบใช้ความเสียหายและจ่ายเงินในส่วนของคำตอบแทนในการขายของโจทก์ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดขายบ้าน – ที่ดิน ที่ค้างชำระต่อโจทก์ดังนี้
 
 
1.     ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โดยจำเลยทั้งสองกำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 6 วัน โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเวลา 10 เดือน ยังไม่ครบ 1 ปี แต่จำเลยทั้งสองมีเจตนากลั่นแกล้งมิให้โจทก์ทำงานครบ 1 ปี และต้องเสียสิทธิที่จะได้หยุดพักผ่อนประจำปี จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ตามสัดส่วนที่โจทก์ได้ทำงานให้เป็นเวลา 5 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท 
 
 
2.     ค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์มีอาชีพเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้ลูกค้าของโจทก์ไม่เชื่อถือในตัวโจทก์ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในการประกอบอาชีพเช่นเดิมต่อไป กว่าโจทก์จะสามารถทำงานได้เหมือนเดิมเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากโจทก์มีอายุ 39 ปี โจทก์จึงขอคิดค่าเสียหายในส่วนนี้ โดยคิดจากเงินเดือนเดือนสุดท้ายเดือนละ 12,000 บาท เป็นเวลา 3 ปี เป็นเงิน 432,000 บาท
 
 
3.     ค่าตอบแทนในการขายบ้าน – ที่ดินของโจทก์ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดขายบ้าน – ที่ดิน จำเลยที่ 1 แบ่งการจ่ายเงินดังกล่าวเป็น 2 งวด โดยงวดแรกจำเลยที่ 1 จะจ่ายให้โจทก์ต่อเมื่อลูกค้าที่มาซื้อบ้าน –ที่ดินในโครงการของจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน-ปลูกสร้างบ้าน และงวดที่ 2  จะเลยที่ 1 จะจ่ายให้โจทก์ต่อเมื่อลูกค้าที่มาซื้อบ้าน – ที่ดินทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อขายที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ค้างชำระแก่โจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อขายเรียบร้อยแล้วโดยจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นเงินรวม 154,327.20 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2,000 บาท ค่าเสียหาย 432,000  บาท และค่าตอบแทนในการขายบ้าน – ที่ดิน 154,327.20 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์เคยเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ตำแหน่งพนักงายขายประจำโครงการบ้านพาราไดส์เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จริงโดยได้รับเงินเดือนอัตราสุดท้าย 6,500 บาท ค่าน้ำมันรถเดือนละ 4,500 บาท ค่าโทรศัพท์เดือนละ 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเดือนละ 12,000 บาท จำเลยที่ 1 บอกเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ตามหนังสือแจ้งการเลิกจ้างเอกสารแนบท้ายคำให้การเนื่องมาจากโจทก์ประพฤติปฏิบัติตนฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 เป็นอาจิณ จำเลยที่ 1 เคยออกหนังสือเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 หลายครั้งแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตาม จนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 โจทก์ขาดงานโดยไม่มีเหตุอันควร ในวันดังกล่าวเป็นวันต้นเดือนซึ่งโดยปกติลูกค้าจะเข้ามาดูโครงการและติดต่องานในโครงการ จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าให้มาปฏิบัติงาน แต่โจทก์ก็ยังคงขาดงานไป โจทก์จงใจที่จะขัดขืนคำสั่งผู้บังคับบัญชาอย่างแจ้งชัดอันเป็นการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่ได้ตั้งใจในการทำงานไม่ให้ความร่วมมือในการดูแลเอาใจใส่ต่อลูกค้ารายใหม่ๆ ที่เข้าชมและดูโครงการจนทำให้จำเลยที่ 1 เสียโอกาสที่ขายบ้านได้ซึ่งรวมถึงลูกค้ารายเก่าด้วย อีกทั้งโจทก์ไม่สามารถทำงานร่วมกับทีมงานของผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ได้ด้วย ซึ่งหากโจทก์ยังคงทำงานอยู่กับจำเลยก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2547 จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายทุกประการแล้วมิได้เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่ 1 จ่ายเงินเดือนในเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งเป็นเดือนที่จำเลยที่ 1 บอกเลิกจ้างโจทก์จำนวน 12,000 บาท และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 12,000 บาท พร้อมทั้งค่าชดเชยจำนวน 12,000 บาท ให้แก่โจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายทุกประการ จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยที่ 1 ในส่วนของค่าคอมมิสชันในการขายที่ดินจองจำเลยที่ 1 ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับในอัตราร้อยละ 1 นั้น ก็มิได้เป็นความจริง จำเลยที่ 1 ไม่เคยค้างจ่ายค่าคอมมิสชันในการขายบ้านของโจทก์ จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการในโครงการบ้านพาราไดส์เขาใหญ่มีสิทธิที่จะได้รับค่าคอมมิสชันทุกคนโดยจะนำเงินดังกล่าวในจำนวนร้อยละ 1 ของมูลค่าที่สามารถขายได้มาจัดสรรแบ่งให้แก่พนักงานทุกคนตามสัดส่วน โดยจำนวนร้อยละ 60 ของค่าคอมมิสชันดังกล่าวจะเป็นของพนักงานผู้ปิดการขายได้ และร้อยละ 40 มาแบ่งให้แก่พนักงานภายในโครงการทุกคน โดยจะจ่ายก่อนร้อยละ 50 ของค่าคอมมิสชันทั้งหมดในวันทำสัญญาส่วนที่เหลือจะจ่ายเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์กันเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าพนักงานที่จะมีสิทธิได้รับค่าคอมมิสชันในส่วนหลังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ปิดการขายหรือพนักงานคนอื่นๆ นั้น จะต้องอยู่ดูแลและให้บริการลูกค้ารายที่ขายได้จนลูกค้ารายดังกล่าวดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ได้ทำสัญญาซื้อขายด้วย หากไม่อยู่ดำเนินการก็จะไม่มีสิทธิได้รับค่าคอมมิสชันส่วนที่เหลือ โดยค่าคอมมิสชันในส่วนหลังจะจัดสรรกันในหมู่พนักงานที่ได้ดำเนินการจนถึงวันที่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์กัน ค่าคอมมิสชันในส่วนของโจทก์นั้น โจทก์ได้รับไปจากจำเลยที่ 1 จนหมดสิ้นแล้วตามใบนำเงินเข้าบัญชีเอกสารแนบท้ายคำให้การส่วนค่าคอมมิสชันในส่วนหลังนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเพราะโจทก์มิได้อยู่ดูแลลูกค้าจนเสร็จสิ้นการโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 2 มิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใดๆ ทางกฎหมายกับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นการส่วนตัว จำเลยที่ 2 เป็นเพียงพนักงานของจำเลยที่ 1 ขอให้ยกฟ้อง
 
 
                                ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
 
 
                                โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสองตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2546 และจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2547 โจทก์ทำงานกับจำเลยทั้งสองติดต่อกันไม่ครบ 1 ปี จึงไม่มีสิทธิที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีและไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีด้วย สำหรับการจ่ายค่าคอมมิสชันการขายบ้านและที่ดินนั้น ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าคอมมิสชันให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 1 ของเงินที่ขายบ้านและที่ดินได้โดยจ่ายเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ทำสัญญากับลูกค้าจ่ายร้อยละ 50 ครั้งที่ 2 ในวันที่โอนที่ดินจ่ายอีกร้อยละ 50 ตามเอกสารหมาย จ.2 ดังที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ แต่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าคอมมิสชันในอัตราตามที่กำหนดไว้ในเอกสารหมาย ล.18 ซึ่งระบุว่าค่าคอมมิสชันในอัตราร้อยละ 1 จากราคาขายบ้านและที่ดิน พนักงานขายจะได้รับร้อยละ 60 ฝ่ายสนับสนุนจะได้รับร้อยละ 40 โดยจ่ายเมื่อรับเงินทำสัญญาร้อยละ 50 และเมื่อโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินร้อยละ 50 เมื่อโจทก์เบิกความรับว่าค่าคอมมิสชันร้อยละ 30 ของร้อยละ 1 ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้ในวันทำสัญญานั้น โจทก์เบิกจากจำเลยที่ 1 และได้รับมาครบถ้วนแล้ว ส่วนอีกร้อยละ 30 ที่จำเลยที่ 1 จะจ่ายให้ในวันโอนขายบ้านและที่ดินนั้น โจทก์ขอเบิกจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ยอมจ่ายให้คงจ่ายให้ในลักษณะเงินล่วงหน้าจำนวน 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 หักไว้แล้วเป็นเงิน 3,000 บาท แสดงว่าหากจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าคอมมิสชัน จำเลยที่ 1 คงค้างชำระเฉพาะค่าคอมมิสชันร้อยละ 30 ของร้อยละ 1 ที่จำเลยที่ 1 จะจ่ายให้ในวันโอนขายบ้านและที่ดินเท่านั้น แต่พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่าได้มีการโอนขายบ้านและที่ดินแต่ละรายกันแล้วในขณะที่โจทก์เป็นพนักงานเมื่อใดและโจทก์ได้ค่าคอมมิสชันในส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 30 เป็นเงินเท่าใดข้อเท็จจริงคงฟังได้เพียงว่าโจทก์ได้ขอเบิกจากจำเลยทั้งสองไปและจำเลยทั้งสองจ่ายให้ในลักษณะเงินล่วงหน้า 10,000 บาท และมีการหักค่าคอมมิสชันไว้ 3,000 บาท เท่านั้น จึงยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยทั้งสองมิได้จ่ายค่าคอมมิสชันส่วนนี้อีกเท่าใดจะต้องจ่ายอีกเท่าใด และเมื่อหักกับเงินที่โจทก์เบิกล่วงหน้าไปแล้วคงเหลือเท่าใดข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองค้างชำระค่าคอมมิสชันให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนในการขายบ้านและที่ดินจากจำเลยทั้งสอง สำหรับปัญหาว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เหตุสำคัญที่จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์หยุดงานในวันที่ 5 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 ประกอบกับจำเลยเห็นว่าโจทก์ได้เคยหยุดงานมาดังที่จำเลยได้มีหนังสือเตือนในเรื่องหยุดงานไว้แล้วตามเอกสารหมาย ล.14 และ ล.15 ด้วย ในการหยุดงานของโจทก์ โจทก์อ้างเหตุไว้ในใบลาหยุดงานเอกสารหมาย ล.4 และ จ.15 ว่า “จะเอารถเข้าอู่ทำสีที่เคลมไว้จะหมดอายุเดือน กค. นี้ตามใบแนบท้าย ขอหยุดเพราะสงกรานต์ 5 วัน ยังไม่ได้หยุด” ซึ่งข้ออ้างตามคำเบิกความของโจทก์และที่ปรากฏอยู่ในเอกสารดังกล่าวข้างต้น  แม้จะมีเหตุผลที่จะอ้างเพื่อลาหยุดอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่มีความจำเป็นถึงขนาดที่จะต้องหยุดในวันดังกล่าวเท่านั้น ไม่อาจหยุดในวันอื่นได้ โจทก์หยุดงานไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานถึง 3 วัน เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยมีมูลเหตุจูงใจอย่างอื่นที่จะกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ การเลิกจ้างด้วยเหตุที่โจทก์หยุดงานในวันที่ 5 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 โดยโจทก์เคยถูกตักเตือนในเรื่องหยุดงานมาแล้ว ย่อมเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลสมควรและเพียงพอ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จำเลยทั้งสองไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างโจทก์หรือไม่และต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่นั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 แต่จำเลยที่ 2 กระทำไปในขอบอำนาจหน้าที่ของตนแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
 
 
                                ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อ 2.1.1 ว่า ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 จำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าคอมมิสชันให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 1 จากราคาขายบ้านและที่ดิน โดยจ่ายร้อยละ 50 ในวันทำสัญญาและอีกร้อยละ 50 จะจ่ายในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และโจทก์อุทธรณ์ข้อ 2.1.2 ว่า เอกสารหมาย จ.22 และ ล.19 ถึง ล.46 ที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลสามารถแสดงรายละเอียดค่าคอมมิสชันที่โจทก์ได้รับมาจากจำเลยทั้งสองจำนวนร้อยละ 30 ของยอดคงค้างทั้งหมด ปัญหาข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วนั้น ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าคอมมิสชันในอัตราร้อยละ 1 จากราคาขายบ้านและที่ดิน พนักงานขายจะได้ร้อยละ 60 ฝ่ายสนับสนุนจะได้ร้อยละ 40 โดยจ่ายเมื่อรับเงินทำสัญญาร้อยละ 50 และเมื่อโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินร้อยละ 50 ตามเอกสารหมาย ล.18 พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งว่าได้มีการโอนขายบ้านและที่ดินกันแล้วในขณะที่โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เมื่อใด และโจทก์ได้ค่าคอมมิสชันในส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 30 เป็นเงินเท่าใด อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
 
 
                                มีปัญหาวินิจฉัยประการเดียวตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อ 3 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสองกำหนดให้โจทก์มาทำงานในวันหยุดตามประเพณีเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเอกสารหมาย ล.5 จึงไม่มีระเบียบการใช้สิทธิหยุดชดเชยจากการทำงานในวันหยุดไว้ การที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบการลาหยุดของจำเลยทั้งสองในการใช้สิทธิหยุดชดเชยจากการทำงานในวันหยุดตามประเพณีจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 เกินขอบอำนาจหน้าที่ของตนจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าโจทก์ไม่มีสิทธิหยุดงานในวันหยุดตามประเพณีและโจทก์ใช้สิทธิหยุดชดเชยการทำงานในวันหยุดตามประเพณีโดยแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแล้ว หนังสือตักเตือนโจทก์ในเรื่องโจทก์เคยหยุดงานมาก่อนจึงออกมาโดยไม่ถูกต้อง ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เคยถูกตักเตือนในเรื่องหยุดงานมาแล้วย่อมเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลสมควรและเพียงพอ มิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องนั้น เห็นว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย ล.5 หมวดที่ 4 ได้ระบุหลักเกณฑ์การลาไว้ว่า “การลาหยุดงานทุกประเภทจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาก่อน หากพนักงานหยุดงานไปโดยไม่ได้รับอนุมัติให้ถูกต้องและไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว บริษัทฯ จะถือว่าพนักงานผู้นั้นขาดงานซึ่งนอกจากจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ขาดงานแล้วยังจะต้องได้รับโทษตามควรแก่กรณีด้วย” โจทก์ยื่นใบลาหยุดงานระบุว่า ขอหยุดชดเชยวันหยุดสงกรานต์ 3 วัน ที่ยังไม่ได้หยุด ขอลาหยุดวันที่ 5 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 แล้วหยุดงานไปโดยผู้บังคับบัญชายังมิได้อนุมัติให้หยุดได้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การลาในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 อันเป็นการละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ทำงานติดต่อกัน แม้โจทก์จะระบุเหตุผลไว้ในใบลาหยุดงานว่า “จะเอารถเข้าอู่ทำสีที่เคลมไว้จะหมดอายุเดือน ก.ค. นี้ตามใบที่แนบท้าย” แต่ก็ยังเหลือเวลาอีกหลายวันกว่าจะถึงสิ้นเดือน จึงยังไม่เป็นข้ออ้างที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะหยุดงานไปโดยมิได้อนุมัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีมูลเหตุจูงใจอย่างอื่นที่จะกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา การที่จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์ละทิ้งหน้าที่การงาน 3 วันทำงานติดต่อกันโดยโจทก์เคยถูกตักเตือนในเรื่องหยุดงานมาก่อนแล้ว ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ และมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
 
 
                                พิพากษายืน
 

 




อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com