ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ใช้สิทธิปิดงาน งดจ้าง หรือการใช้สิทธิหยุดงาน ประท้วง article

 

การใช้สิทธิปิดงาน งดจ้าง หรือการใช้สิทธิหยุดงานประท้วง
 
                   ในปัจจุบัน เราอาจเห็นการชุมนุมประท้วงของพนักงาน หรือเห็นบริษัท หลายแห่งประกาศปิดงานงดจ้างพนักงานบางส่วนหรือทั้งหมดในหลาย ๆ พื้นที่     ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก ปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้ 
                  หลายคนคงสงสัยว่า นายจ้างจะปิดงานงดจ้าง   หรือลูกจ้างจะหยุดงานประท้วง นั้น สามารถทำได้หรือไม่   มีความผิดตามกฎหมายหรือไม่   และหากเกิดความเสียหายขึ้นกับพนักงาน หรือกับนายจ้าง   อันเนื่องมาจากการปิดงานงดจ้าง หรือจากการชุมนุมประท้วงใครต้องรับผิดชอบ
                   เราลองมาหาคำตอบกันดูครับ
                   การใช้สิทธิปิดงานงดจ้าง    นายจ้างสามารถทำได้หรือไม่
                  การใช้สิทธิปิดงานงดจ้าง เป็นคนละกรณีกับการใช้สิทธิหยุดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 75    ทุกคนอย่างเข้าใจผิดนะครับ 
                การใช้สิทธิปิดงานงดจ้าง ถือเป็นมาตรการอย่างหนึ่งของนายจ้างเพื่อป้องกันความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของนายจ้าง และเป็นการตอบโต้ลูกจ้างในเวลาเดียวกัน    อันเนื่องมาจากเกิดข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้ในสถานประกอบการ     ซึ่งข้อพิพาทดังกล่าวต้องเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการยื่นข้อเรียกร้อง   และการเจรจาไกล่เกลี่ย ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518    กล่าวคือ
         นายจ้างหรือลูกจ้าง   สามารถยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างได้ ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง    กรณีลูกจ้างใช้สิทธิยื่นข้อเรียกร้อง    หากบริษัท นั้นไม่มีสหภาพแรงงาน   ลูกจ้างสามารถรวมตัวกันหรือที่เรียกว่าเข้าชื่อยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อนายจ้างได้  หากมีสหภาพแรงงานส่วนใหญ่สหภาพแรงงานจะเป็นตัวแทนในการดำเนินการ    หรือกรณีหากนายจ้างต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง    นายจ้างก็สามารถทำได้เช่นกัน   โดยยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อพนักงานหรือต่อสหภาพแรงงาน แล้วแต่กรณี 
      ในวันนี้ คงไม่อธิบายถึงขั้นตอนและวิธีการยื่นข้อ เราข้ามขั้นตอนการยื่นข้อเรียกร้องไปเลย   เอาเป็นว่าทั้งสองฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมาย   แต่สิ่งที่เราจะพิจารณาต่อไปคือ เป็นกรณีไม่มีการเจรจาภายในกำหนดเวลา 3 วัน นับแต่วันได้รับข้อเรียกร้อง หรือกรณีมีการเจรจาภายในกำหนดเวลา 3 วันนับแต่วันรับข้อเรียกร้อง นัดเจรจากันแล้ว ไม่ว่าจะครั้งเดียวหรือหลายครั้ง    แต่ผลสรุปคือ ไม่สามารถตกลงกันได้    กรณีนี้ถือว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นในสถานประกอบการแล้ว
                ขั้นตอนที่ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติ คือ ฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้องมีหน้าที่ต้องแจ้งข้อพิพาทนั้น เป็นหนังสือแก่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน   (พนักงานตรวจแรงงานพื้นที่ที่ดูแล) ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่วันที่ครบกำหนดเจรจาภายใน 3 วันหรือนับแต่วันที่ไม่สามารถตกลงกันได้ เพื่อให้พนักงานประนอมข้อพิพาทเข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ย ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 21  
                พนักงานประนอมข้อพิพาทต้องนัดเจรจา   และดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยให้ข้อพิพาทยุติ ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ   หากเลยกำหนด 5   วัน นับแต่วันรับหนังสือ   ไม่ว่าพนักงานประนอมข้อพิพาทจะนัดเจรจาหรือมีการกำหนดวันนัดเจรจาครั้งต่อไปอีกก็ตาม   ถือว่าเป็นข้อพิพาทที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 22
                 เมื่อเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย ถือว่าเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้แล้ว   นายจ้างสามารถใช้สิทธิปิดงานงดจ้างได้ โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย คือ แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาท และให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง   ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง   ก่อนการปิดงานงดจ้าง (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34 วรรคท้าย)
( ที่สำคัญคือทำเป็นหนังสือแจ้ง เป็นต้นฉบับไม่ใช่สำเนา)  
   การปิดงานงดจ้างนั้น   ต้องดูด้วยว่าข้อสามารถใช้สิทธิได้ทั้งหมดหรือบางส่วน   เนื่องจากการใช้สิทธิปิดงานงดจ้างสามารถทำได้เฉพาะพนักงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเท่านั้น    พนักงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องหมายถึง พนักงานที่ร่วมเข้าชื่อยื่นข้อเรียกร้อง หรือพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้องเรียกร้องนั้น   
 
     ข้อห้ามสำหรับการใช้สิทธิปิดงานงดจ้าง คือ
     1. เมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 13 หรือได้แจ้งข้อเรียกร้อง แล้ว แต่ข้อพิพาทแรงงานนั้นยังไม่เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตามมาตรา 22 วรรคสาม
      2.  เมื่อฝ่ายหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงตามมาตรา 18 ได้ปฏิบัติตามข้อตกลง

                 3. เมื่อฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงานได้ ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 วรรคสอง ได้ปฏิบัติตามข้อตกลง
                 4. เมื่อฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งตั้งตาม มาตรา 25 หรือมาตรา 26 ได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
                 5. เมื่ออยู่ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือมี คำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ตามมาตรา 23 หรือคำชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา   24
     6. เมื่ออยู่ในระหว่างการชี้ขาดของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งตั้งตามมาตรา  25  หรือมาตรา  26              
                                (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34)
 
    ในกรณีเดียวกัน เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงานที่ไม่สามารถตกลงกันได้    ลูกจ้างก็สามารถใช้สิทธิหยุดงานประท้วงได้เช่นกัน   โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและข้อกำหนดของกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีการใช้สิทธิปิดงานงดจ้างของนายจ้าง
    หากปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้น   เชื่อได้ว่า การใช้สิทธิปิดงานงดจ้าง หรือการหยุดงานประท้วง   ถือว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายครับ   หากเกิดผลกระทบหรือเกิดความเสียหายจากการดำเนินการดังกล่าว   ผู้ใช้สิทธิจึงไม่ต้องรับผิดชอบ    แต่หากดำเนินการผิดขั้นตอนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย   ผู้ใช้สิทธิไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างก็ตามที ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
 
    การใช้สิทธิปิดงานงดจ้าง หรือการหยุดงานประท้วง   ยังมีข้อกฎหมายหรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายประเด็น เช่น การเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การบันทึก การจดทะเบียนข้อตกลง การแต่งตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน  การวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน โดยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ รวมถึงการออกคำสั่งตามมาตรา 24 หรือมาตรา 35 ของรัฐมนตรี ฯ เป็นต้น  
     ไว้ติดตามตอนต่อไปครับ
 
ไสว    ปาระมี



แรงงานสัมพันธ์

กรรมการลูกจ้าง กับ กรรมการสหภาพแรงงาน article
ยื่นข้อเรียกร้อง ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรวจสอบอย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อนายจ้างและลูกจ้าง article
พนักงานประท้วง ! ทำอย่างไรดี ? article
การยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจา และวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน article
สหภาพแรงงาน article
กฎหมายแรงงานเบื้องต้นสำหรับ HR article
การขอใช้สิทธิ์ กรณีว่างงานควรทำอย่างไร ? article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com