ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างส่วนเงินสมทบ มิใช่เงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตกลงกันได้มีผลบังคับใช้ article

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 5327/2552
เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างส่วนเงินสมทบ มิใช่เงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตกลงกันได้มีผลบังคับใช้
 
 
                                โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด อยู่ในเครือเดียวกัน ร่วมกันจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างโดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 เริ่มจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการเขตในบริษัทจำเลยที่ 1 ค่าจ้างเดือนละ 18,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน มีข้อตกลงว่าเมื่อทำงานครบ 1 ปี โจทก์มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้สมัครเป็นสมาชิกเงินสะสมดังกล่าวซึ่งมีระเบียบว่าจำเลยที่ 1 จะหักเงินเดือนของโจทก์เป็นเงินสะสมไว้ร้อยละ 5 และจำเลยที่ 1 จะจ่ายเงินสมทบให้อีกร้อยละ 5 ของเงินเดือนโจทก์ทุกเดือน แล้วจะจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบให้โจทก์เมื่อโจทก์ออกจากงาน ต่อมาเดือนกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้โอนย้ายโจทก์ไปทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทจำเลยที่ 2 ตำแหน่งผู้จัดการเขตและเดือนตุลาคม 2544 ได้โอนย้ายโจทก์ไปทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทจำเลยที่ 3 ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการขาย ค่าจ้างเดือนละ 42,000 บาท ครั้นปลายเดือนธันวาคม 2544 จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันโอนย้ายโจทก์กลับไปทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทจำเลยที่ 2 ตำแหน่งฝ่ายการตลาดโดยนายวินัย วีระกุชงค์ ผู้บริหารของจำเลยทั้งสามได้เจรจาขอลดเงินเดือนโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ในที่สุดจึงให้โจทก์ทำงานในตำแหน่งฝ่ายการตลาดโดยให้เงินเดือนเท่าเดิมและจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าโจทก์มีอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ทำงานในบริษัทจำเลยที่ 2 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ อัตราเงินเดือน 42,000 บาท เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 จำเลยที่ 2 มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจบริษัท ให้มีผลเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2545 โดยจ่ายค่าชดเชยให้ 10 เท่าของเงินเดือน และคืนเงินสะสมส่วนของโจทก์ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 โดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบท้ายหนังสือดังกล่าวซึ่งมีข้อความว่าโจทก์ยินยอมและจะไม่เรียกร้องค่าสินไหมทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าทั้งคดีแพ่งและอาญาหรือกฎหมายอื่น ขณะนั้นยังไม่มีข้อพิพาทใดๆ เกิดขึ้น ผู้ลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนข้อความดังกล่าวจึงไม่ใช่การประนีประนอมยอมความ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลผูกพันโจทก์ จำเลยทั้งสามเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยทั้งสามต่อไปขอคิดค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้าง 48 เดือน เป็นเงิน 2,000,000 บาท ระหว่างทำงานจำเลยทั้งสามหักเงินเดือนของโจทก์เป็นเงิน สะสมไว้ 244,700 บาท เมื่อจำเลยทั้งสามเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจำเลยทั้งสามจึงต้องจ่ายเงินสะสมสมทบให้โจทก์อีก 244,700 บาท และจำเลยทั้งสามเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์จนถึงวันจ่ายสินจ้างคราวถัดไป คิดเป็นเงิน 42,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 42,000 บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 2,000,000 บาท และเงินสะสมสมทบ 244,700 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แก่โจทก์
 
 
 
                        จำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยทั้งสามเป็นบริษัทที่แยกต่างหากจากกันไม่ได้อยู่ในเครือเดียวกันไม่ได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสามการที่จำเลยที่ 1 รับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 และการที่โจทก์สมัครเป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2534 นั้น ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 1 โอนย้ายโจทก์ไปทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2536 โดยโจทก์และจำเลยที่ 2 ยินยอม จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้เป็นนายจ้างของโจทก์อีกต่อไป และโจทก์สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 แล้วจึงหมดสภาพจากการเป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องจ่ายเงินสะสมสมทบให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์ขาดสมรรถภาพในการทำงานและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานหลายครั้ง จำเลยที่ 2 ให้โอกาสปรับปรุงแก้ไขแล้วโจทก์ก็ไม่ปฏิบัติ จำเลยที่ 2 จึงโอนย้ายโจทก์ไปทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการขาย อัตราเงินเดือน 42,000 บาท เท่าเดิม โจทก์พอใจและตกลงยินยอม โจทก์จึงหมดสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 3 และไม่สามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งยังฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานแม้จำเลยที่ 3 จะให้โอกาสหลายครั้งโจทก์ก็ไม่ปรับปรุงแก้ไข วันที่ 31 ธันวาคม 2544 จำเลยที่ 3 จึงโอนย้ายโจทก์กลับไปทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในตำแหน่งฝ่ายการตลาด อัตราเงินเดือนเดิมเพื่อให้โอกาสโจทก์พัฒนาศักยภาพในการทำงาน โจทก์พอใจและตกลงยินยอมจึงสิ้นสภาพการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 โจทก์กลับมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 2 และยังคงฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานตลอดมา เช่น มาทำงานสาย ไม่ลงเวลาเข้าและออกจากงาน ไม่ตั้งใจทำงาน ไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหาย และละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยที่ 2 อย่างร้ายแรงและจำเลยที่ 2 ได้ตักเตือนแล้วหลายครั้งโจทก์ก็ไม่แก้ไขปรับปรุงจำเลยที่ 2 จึงขอเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชยให้ 10 เท่า ของเงินเดือนและคืนเงินสะสมส่วนของโจทก์จำนวน 244,700 บาท ซึ่งโจทก์ได้รับไปแล้วและตกลงยินยอมว่าจะไม่เรียกร้องค่าสินไหมทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้าทั้งคดีแพ่งและอาญาหรือกฎหมายอื่น โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของจำเลยที่ 2 อย่างร้ายแรง ผิดซ้ำคำเตือนและละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยที่ 2 จึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินสะสมสมทบจากจำเลยที่ 2 เพราะการกระทำของโจทก์เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในระเบียบเงินสะสมของจำเลยที่ 2 ข้อ 10 ทั้งไม่ได้เป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 2 ขณะที่จำเลยที่ 2 เลิกจ้าง โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 3 และไม่ได้เป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เนื่องจากการเป็นสมาชิกเงินสะสมของจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่โจทก์โอนย้ายไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องสูงเกินไป ขอให้ยกฟ้อง
 
 
 
                                ระหว่างการพิจารณา โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 3
 
 
 
                                ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน แต่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน ต่างมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและระเบียบเงินสะสมพนักงานของตนเอง โดยจำเลยที่ 2 มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย ล.7 และมีระเบียบเงินสะสมพนักงานตามเอกสารหมาย ล.8 โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งผู้ควบคุมฝ่ายขายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 และสมัครเป็นสมาชิกเงินสะสมพนักงานเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2534 ต่อมาเดือนกรกฎาคม 2536 จำเลยที่ 1 โอนย้ายโจทก์ไปทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในตำแหน่งผู้จัดการเขต และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2544 จำเลยที่ 2 โอนย้ายโจทก์ไปทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 3 ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการขายแผนกเวชสำอาง ฝ่ายการตลาด โดยโจทก์ได้รับเงินเดือนเดือนละ 42,000 บาท ครั้นวันที่ 31 ธันวาคม 2544 โจทก์ถูกโอนย้ายกลับไปทำงานกับจำเลยที่ 2 ในตำแหน่งดีเทลต่างจังหวัด ฝ่ายการตลาดได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 42,000 บาท เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 จำเลยที่ 2 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2545 อ้างว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจของจำเลยที่ 2 โดยจ่ายค่าชดเชยให้ 10 เท่า ของเงินเดือนและคืนเงินสะสมส่วนของโจทก์ให้ โจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้ท้ายหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย ล.12 และได้รับเงินค่าชดเชยและเงินสะสมดังกล่าวไปครบถ้วนแล้ว แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 แล้วโอนย้ายไปทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับจากนั้นจึงถูกโอนย้ายกลับไปทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม 2544 ต่อมาปลายเดือนธันวาคม 2545 โจทก์จึงถูกจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาจ้างในขณะที่โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในตำแหน่งดีเทลต่างจังหวัด ไม่ได้ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 และที่ 3 เฉพาะจำเลยที่ 2 เท่านั้น ที่มีสถานะเป็นนายจ้างโจทก์ในขณะที่มีการบอกเลิกสัญญาจ้าง จำเลยที่ 1 และที่ 3 หาได้มีสถานะเป็นนายจ้างโจทก์ไม่แม้โจทก์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกเงินสะสมพนักงานขณะทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่างมีระเบียบเงินสะสมพนักงานแยกต่างหากจากกัน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามบัญชีเงินสะสมพนักงานเอกสารหมาย จ.13 กับ จ.15 ว่า ระหว่างที่โจทก์โอนย้ายไปทำงานกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วโอนย้ายกลับไปทำงานกับจำเลยที่ 2 อีกนั้นยังมีการหักเงินสะสมจากเงินเดือนของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5  ตลอดมา แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมรับโจทก์เข้าเป็นสมาชิกเงินสะสมพนักงานของตนโดยปริยายแล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันและปฏิบัติตามระเบียบเงินสะสมพนักงานเอกสารหมาย ล.8 พยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบฟังได้ว่า ระหว่างทำงานกับจำเลยที่ 3 โจทก์ขาดความสามารถในการทำงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ไว้เนื้อเชื่อใจไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ จึงถูกโอนย้ายกลับไปทำงานกับจำเลยที่ 2 อีก แต่โจทก์ก็ยังทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายและมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานโดยโจทก์มาทำงานสาย ขาดงานมากและละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควรจึงได้มีการพูดคุยเจรจาเรื่องการเลิกจ้างโดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้าง 10 เดือน เป็นเงิน 420,000 บาท จำเลยที่ 2 ตกลง จากนั้นจำเลยที่ 2 จึงได้ออกหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.12 การบอกเลิกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างตามความตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 และโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง การเลิกจ้างที่เป็นผลมาจากความตกลงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมก่อนเลิกจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้เจรจากันโดยมีข้อตกลงจ่ายเงินเนื่องจากการเลิกจ้างให้แก่โจทก์จำนวน 420,000 บาท โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและลงลายมือชื่อรับทราบไว้ในตอนท้ายของหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างเอกสารหมาย ล.12 ซึ่งมีข้อความระบุว่า ทั้งนี้ข้าฯได้อ่านข้อความข้างต้นแล้วพร้อมทั้งลงลายมือชื่อรับทราบ อีกทั้งยินยอมและจะไม่เรียกร้องค่าสินไหมทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าทั้งคดีแพ่งและอาญา หรือกฎหมายอื่น แม้ข้อความดังกล่าวจะระบุถึงค่าสินไหมที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า แต่ตามสภาพของข้อตกลงสิ้นสุดสัญญาจ้างและพฤติการณ์แห่งการเจรจา เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องสิทธิที่เกิดจากการจ้างงานจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างอีก เงินสะสมสมทบที่โจทก์เรียกร้องเป็นเงินที่เกิดจากข้อตกลงซึ่งไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานบัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะ นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงสละสิทธิเรียกร้องที่มีต่อกันได้และแม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้นายเกษม จิวรัตนวงศ์ ผู้ลงนามฝ่ายจำเลยที่ 2 มีอำนาจเจรจาทำความตกลงกับโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษร แต่หลังจากที่โจทก์เสนอให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 10 เดือน นายเกษมได้นำเรื่องเสนอผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2 และผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมด้วย แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในการกระทำของนายเกษมแล้ว จึงมีผลผูกพัน จำเลยที่ 2 ข้อตกลงสละสิทธิเงินสะสมสมทบมีผลใช้บังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินสะสมสมทบจากจำเลยที่ 2 อีก โจทก์มาทำงานสาย ขาดงานมากและละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วัน ทำงานติดต่อกันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 2 กรณีร้ายแรง และเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583จำเลยที่ 2 จึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พิพากษายกฟ้อง
 
 
                                โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
 
                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามที่ศาลให้รับไว้พิจารณาเฉพาะอุทธรณ์ข้อ 3.1 ข้อ 3.2 และข้อ 3.3 ซึ่งโจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างโจทก์ด้วยเพราะตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานอยู่กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น จำเลยที่ 1 มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ดังจะเห็นได้ว่านายวินัย วีระภุชงค์ กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ออกคำสั่งโอนย้ายโจทก์จากจำเลยที่ 2 ไปทำงานกับจำเลยที่ 3 และออกคำสั่งโอนย้ายโจทก์จากจำเลยที่ 3 กลับไปทำงานกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย ล.9  และ ล.10 ประการหนึ่ง อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เคยเจรจาเรื่องการเลิกจ้างกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้ตกลงให้จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างเอกสารหมาย ล.12 จำเลยที่ 2 เพียงแต่เคยขอให้โจทก์ยื่นใบลาออก  โจทก์แจ้งว่าไม่ประสงค์จะลาออกถ้าจะให้โจทก์ออกจากงานก็ขอให้โจทก์ได้รับสิทธิตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน จำเลยที่ 2 ก็ออกหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.12 โจทก์จำต้องลงลายมือชื่อรับทราบในหนังสือดังกล่าวเพราะมิฉะนั้นจำเลยที่ 2 จะไม่จ่ายค่าชดเชย 10 เท่าของเงินเดือนและคืนเงินสะสมให้โจทก์ การเลิกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงมิได้เป็นผลมาจากความตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ไม่อาจนำมาเป็นเหตุวินิจฉัยว่าไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ ประการหนึ่ง อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้สละสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างเอกสารหมาย ล.12 โดยไม่ทราบว่ามีข้อความระบุว่าโจทก์ยินยอมและจะไม่เรียกร้องค่าสินไหมทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้ารวมอยู่ด้วย ข้อความดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ และสิทธิเรียกร้องเงินสะสมสมทบเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องเงินสะสมสมทบจึงขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับเงินสะสมสมทบ ประการหนึ่ง อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์โดยให้เหตุผลไว้แต่เพียงว่า การปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่พอใจของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับว่าด้วยการทำงานอย่างร้ายแรง โดยมาทำงานสาย ไม่ลงเวลาเข้าและออกจากงาน ไม่ตั้งใจทำงานไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรขึ้นต่อสู้ได้ เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์มาทำงานสาย ขาดงานมากและละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วัน ทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 2 กรณีร้ายแรง และเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำความผิดตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ประการหนึ่ง และอุทธรณ์ว่าเงินสะสมสมทบที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 ตามระเบียบเงินสะสมพนักงานเอกสารหมาย ล.8 เป็นเงินที่เกิดจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 13 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ซึ่งบัญญัติให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจ่ายเงินสะสม เงินสมทบและดอกผลจากเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างที่ออกจากงานโดยไม่มีข้อจำกัดหรือข้อยกเว้น ข้อจำกัดหรือการสงวนสิทธิไม่จ่ายเงินสะสมสมทบของจำเลยที่ 2 ที่กำหนดไว้ในระเบียบเงินสะสมพนักงานเอกสารหมายล.8 จึงขัดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสะสมสมทบอีกประการหนึ่ง
 
 
 
                                ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อ 3.2 ว่าโจทก์จำเป็นต้องลงชื่อในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างเอกสารหมาย ล.12 เพราะหากไม่ยอมลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 2 จะไม่ยอมจ่ายเงินค่าชดเชยและเงินสะสมของโจทก์นั้นตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือดังกล่าวขณะยังไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น ผู้ลงลายมือชื่อฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนข้อความดังกล่าวไม่ใช่การประนีประนอมยอมความ ข้อกล่าวอ้างในอุทธรณ์ไม่ปรากฏอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์โจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลแรงงานกลางว่า จำเลยที่ 2 ออกหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.12 เป็นผลมาจากการเจรจาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 การที่จำเลยออกหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตามความตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ตกลงเลิกสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อ 3.1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย อุทธรณ์ข้อ 3.2 ว่า จำเลยที่ 2 เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ อุทธรณ์ข้อ 3.3 ว่า จำเลยทั้งสองต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะยกเหตุความผิดที่ไม่ได้ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างมากล่าวอ้างภายหลังไม่ได้ เมื่อโจทก์ตกลงเลิกสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากการเลิกจ้างใดๆ ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ทุกข้อดังกล่าวล้วนไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ข้อ 3.3 อีกประการหนึ่งว่า จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมสมทบให้โจทก์เนื่องจากข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องในหนังสือเลิกสัญญาจ้างขัดต่อกฎหมายตกเป็นโมฆะนั้น เงินสะสมสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างส่วนของนายจ้างไม่ใช่เงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์กับจำเลยที่ 2 สามารถตกลงกันได้ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ตกลงไว้ท้ายหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างเอกสารหมาย ล.12 ว่า โจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องค่าสินไหมทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าทั้งคดีแพ่งและอาญาหรือกฎหมายอื่น ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสะสมสมทบตามฟ้องศาลฎีกาเห็นด้วยในผลคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
 
 
 
                                พิพากษายืน
 
                               

 




อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com