ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ตกลงจ่ายเงินโบนัสทุกเดือนเป็นประจำแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง article

 

คำพิพากษาฎีกา 5962/2552
ตกลงจ่ายเงินโบนัสทุกเดือนเป็นประจำแน่นอน   ถือเป็นค่าจ้าง
            โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นคนเชื้อชาติสัญชาติอังกฤษ มีถิ่นที่อยู่ประเทศอังกฤษ จำเลยเป็นนิติบุคคลต่างด้าวประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่เมืองฮ่องกง ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีสาขาตั้งอยู่กรุงเทพมหานคร มีนายริชาร์ด รอดนี่ย์ นิโคลาส เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อเดือนมีนาคม 2540 ตำแหน่งพนักงานเครนออพเพอเรเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมเครนบนฐานขุดเจาะสำรวจน้ำมันกลางทะเลบนฐานขุดเจาะชื่อ เทนเดอร์ริก 8”  (T8) บริเวณแหล่งสำรวจน้ำมัน บงกช ของบริษัท ปตท.ผส. จำกัด (มหาชน) (ที่ถูกบริษัท ปตท. สผ. จำกัดมหาชน) ในบริเวณอ่าวไทย โดยปกติโจทก์จะทำงานบนฐานขุดเจาะน้ำมันเป็นเวลา 28 วัน ติดต่อกันสลับกับการขึ้นฝั่งเพื่อพักผ่อนติดต่อกัน 28 วัน ช่วงทำงานบนฐานขุดเจาะน้ำมันโจทก์ได้ค่าจ้าง 28วัน เป็นเงิน 6,061 ดอลลาร์สหรัฐ ช่วงขึ้นฝั่งพักผ่อนได้ค่าจ้าง 28 วัน เป็นเงิน 3,761 ดอลลาร์สหรัฐ โจทก์ได้รับค่าจ้างในเดือนสุดท้ายก่อนจำเลยให้โจทก์ออกจากงานอัตรา 28 วัน เป็นเงิน6,061 ดอลลาร์สหรัฐ โดยจำเลยเป็นผู้ออกภาษีให้โจทก์ เงินเดือนของโจทก์ดังกล่าวจำเลยได้แยกเป็นส่วน ๆ เรียกส่วนต่าง ๆ ว่า ฮิตช์โบนัส โบนัส และเงินเดือนพื้นฐาน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 โจทก์ทำงานที่ฐานขุดเจาะในทะเลเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อกลับขึ้นฝั่งในวันที่ 22 ธันวาคม 2546 โจทก์ได้รับหนังสือจากจำเลยลงวันที่ย้อนหลังไปในวันที่ 30 กันยายน 2546 ว่า สัญญาที่จำเลยรับจ้างบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) กำลังจะสิ้นสุด จำเลยไม่ประสงค์จะว่าจ้างโจทก์อีกต่อไป จึงบอกเลิกจ้างโจทก์ให้มีผลในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ชอบเพราะโจทก์ยังคงทำงานถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2546 หลังกำหนดวันเลิกจ้าง และเป็นการเลิกจ้างโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎมาย จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือน เป็นเงิน 6,493.92 ดอลลาร์สหรัฐ (6,061 ดอลลาร์สหรัฐ หารด้วย 28 คูณด้วย 30) และค่าชดเชยที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยมาเกินกว่า 6 ปี เป็นอัตราเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติของโจทก์ในงวดสุดท้ายจำนวน 240 วัน เป็นเงิน 51,951.42 ดอลลาร์สหรัฐ 6,061 ดอลลาร์สหรัฐ หารด้วย 28 คูณด้วย240) โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย 51,951.42 ดอลลาร์สหรัฐ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 6,493.92 ดอลลาร์สหรัฐ รวมเป็นเงิน 58,445.34 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของยอดเงินจำนวนดังกล่าว นับแต่วันที่ 22 ธันวาคม 
2546  จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 
                        จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลจัดตั้งที่ฮ่องกงจดทะเบียนตั้งสาขาในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ประกอบธุรกิจรับจ้างสำรวจขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบและสารปิโตรเลี่ยมอื่น ๆ จำเลยได้รับจ้างบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) ขุดเจาะน้ำมันยังแหล่งสำรวจน้ำมันที่ฐานขุดเจาะ บงกช จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 ครั้งสุดท้ายโจทก์เป็นพนักงานขับเครนประจำอยู่เรือขุดเจาะน้ำมันเทรนเดอร์ริก 8 (T8) ฐานขุดเจาะน้ำมัน บงกช มีหน้าที่ดูแลการขึ้นลงของเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์บนลานจอดเครื่องบินบนเรือขุดเจาะ รวมทั้งตรวจเช็คความปลอดภัยของผู้โดยสาร ตรวจสัมภาระเครื่องมืออุปกรณ์สิ่งของต้องห้ามที่เป็นอันตรายต่อการนำขึ้นเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 3,061 ดอลลาร์สหรัฐ โดยทำงานปกติ 28 วัน ติดต่อกันและวันหยุดพักติดต่อกัน 28 วัน จำเลยได้ให้สวัสดิการพนักงานที่ทำงานนอกฝั่งบนฐานขุดเจาะเป็นเงินพิเศษ (Bonus) เดือนละ 700 ดอลลาร์สหรัฐ และเบี้ยเลี้ยงทุรกันดารพิเศษ (Hitch Bonus) เดือนละ 2,300 ดอลลาร์สหรัฐ  เงินสวัสดิการดังกล่าวไม่ถือเป็นค่าจ้าง จำเลยได้รับจ้างขุดเจาะน้ำมันจากบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) ยังฐานขุดเจาะ บงกช สัญญาจ้างถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ด้วยเหตุที่สัญญาขุดเจาะจะสิ้นสุดลง ดังนั้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2546 จำเลยจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างพนักงานรวมทั้งโจทก์ ที่ทำงานยังฐานดังกล่าวโดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ต่อมาจำเลยรับจ้างงานขุดเจาะน้ำมันโครงการใหม่ จึงว่าจ้างโจทก์รวมทั้งพนักงานของจำเลยบางส่วนทำงานกับจำเลยต่อไป นับแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 เรื่อยมา จึงถือว่าทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์ถือเอาหนังสือเลิกจ้างเป็นสาระสำคัญและถือเป็นการว่าจ้างทำงานกันต่อไปโดยปริยาย ต่อมาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 โจทก์ทุจริตแอบเอาสีทาผนังเรือยี่ห้อแฮมเพล 1 กระป๋อง ซึ่งผสมทินเนอร์สูตรเฉพาะประเภทแห้งเร็วใส่ไว้ในที่เก็บสัมภาระของเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์เที่ยวบินที่ 031212 ที่มารับผู้โดยสารจากเรือขุดเจาะน้ำมันเทรนเดอร์ริก 8 ไปส่งที่จังหวัดสงขลา สีดังกล่าวถือเป็นวัตถุไวไฟ วัตถุอันตรายและต้องห้ามมิให้นำขึ้นเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบินของบริษัทฯ กฎการบินนานาชาติและพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2493 การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีร้ายแรงหรือกระทำการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 22 ธันวาคม 2547 ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้องแก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง
 
 
                        ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ 35,688 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 35,688 ดอลลาร์สหรัฐ นับแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2546 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขอนอกจากนี้ให้ยก
 
 
                        จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
                        ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ ข้อ 2.3 และ ข้อ 2.4 โดยอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าโจทก์เป็นผู้นำกระป๋องสีอันเป็นวัตถุไวไฟขึ้นไปบนเฮลิคอปเตอร์นั้นขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังจากพยานหลักฐานโจทก์จำเลยว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดดังที่จำเลยกล่าวหาอุทธรณ์จำเลยจึงโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิได้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
 
 
                        มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อ 2.2 ว่า หนังสือตามเอกสารหมาย จ.4 หรือ ล.9 เป็นคำสั่งเลิกจ้างหรือไม่ เห็นว่า โจทก์กล่าวอ้างว่าหนังสือตามเอกสารหมาย จ.4 หรือ ล.9 ไม่ใช่คำสั่งเลิกจ้างโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยทั้งนี้เพื่อให้ศาลวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 22 ธันวาคม 2546 หลังจากพบว่ามีคนลักลอบนำสีอันเป็นวัตถุไวไฟขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามฟ้อง แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานจำเลยยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้นำสีดังกล่าวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ โจทก์จึงไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาต่อนายจ้างหรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และข้อเท็จจริงดังกล่าวรับฟังเป็นยุติเนื่องจากต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 หรือ ล.9 หรือเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 22 ธันวาคม 2546 ดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อโจทก์ไม่ได้กระทำผิดใด ๆ และโจทก์ทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ครบสิบปี จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 240 วัน ให้แก่โจทก์ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีการต่อสัญญาจ้างออกไปถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2546 หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาเปลี่ยนแปลง
 
 
                        มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อ 2.1 ว่า เงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เดือนละ 700 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นค่าจ้างที่จะนำไปรวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยได้หรือไม่ เห็นว่า ตามหนังสือสภาพการจ้างเอกสารหมาย ล.3 ได้ความว่าเงินโบนัสที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานต่างชาติเดือนละ 700 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นการจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนทั้งในช่วงที่โจทก์ทำงานอยู่บนเรือขุดเจาะหรือในช่วงหยุดพักบนฝั่ง เมื่อเปรียบเทียบกับเงินฮิตช์โบนัส (เบี้ยเลี้ยงพิเศษ) เดือนละ 2,300 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยจะจ่ายให้โจทก์เฉพาะในช่วงทำงานอยู่บนเรือขุดเจาะเท่านั้น ช่วงที่โจทก์หยุดพักอยู่บนฝั่งจำเลยก็ไม่จ่ายฮิตช์โบนัสให้แก่โจทก์ดังนั้นเงินโบนัสกับเงินฮิตช์โบนัสที่จำเลยจ่ายให้โจทก์จึงแตกต่างกัน แม้ตามเอกสารหมาย ล.3 จะแยกเงินโบนัสออกจากฐานเงินเดือนก็ตาม แต่ทางปฏิบัติแล้วจำเลยได้จ่ายเงินโบนัสให้โจทก์ประจำทุกเดือนจำนวนแน่นอนเดือนละ 700 ดอลลาร์สหรัฐไม่ว่าจะเป็นช่วงที่โจทก์ทำงานอยู่บนเรือขุดเจาะหรือหยุดพักอยู่บนฝั่ง เงินโบนัสจึงมีลักษณะเป็นเงินตอบแทนการทำงานปกติที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทุกเดือน จึงถือเป็นค่าจ้างตามความหมายของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินโบนัสในคดีนี้เป็นค่าจ้างนำไปรวมกับเงินเดือนเพื่อเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยจ่ายให้แก่โจทก์ได้นั้น จึงชอบแล้วอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ก็ฟังไม่ขึ้น
 
 
                       มีปัญหาต้องวินิจฉัยข้อสุดท้ายว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพียงใดศาลแรงงานกลางฟังว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 4,461 ดอลลาร์สหรัฐ (เงินเดือน 3,761 ดอลลาร์สหรัฐ บวกกับเงินโบนัส 700 ดอลลาร์สหรัฐ) โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยติดต่อกันเป็นเวลา 6 ปี 8 เดือน จึงกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวันหรือ 8 เดือน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (4) คิดเป็นค่าชดเชยจำนวน 35,688 ดอลลาร์สหรัฐ (4,461 ดอลลาร์สหรัฐ คูณ 8) นั้นเป็นการคิดคำนวณค่าจ้างที่ผิดพลาดเนื่องจากตามสำเนาใบรับเงินเดือนที่โจทก์อ้างส่งศาลตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งตรงกับเอกสารหมาย ล.4 ปรากฏว่าเงินเดือนพื้นฐานของโจทก์เพียงเดือนละ 3,061 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อรวมกับเงินโบนัสอีกเดือนละ 700 ดอลลาร์สหรัฐ แล้วเป็นค่าจ้างโจทก์เดือนละ 3,761 ดอลลาร์สหรัฐ  (ไม่ใช่เดือนละ 4,461 ดอลลาร์สหรัฐ) และเมื่อคิดคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ 8 เดือนแล้ว เป็นค่าชดเชยทั้งสิ้น 30,088 ดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น (3,761 ดอลลาร์สหรัฐ คูณ 8) ไม่ใช่จำนวน 35,688 ดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาแม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขจำนวนเงินค่าชดเชยให้จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เสียใหม่ให้ถูกต้อง
 
 
                         พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์จำนวน 30,088 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2546 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
                       
 


 
 
 

 




ฎีกาบรรทัดฐาน

โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย article
สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาต่อสัญญาใหม่ เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ต้องบอกกล่าว + ค่าชดเชย article
การโอนสิทธิความเป็นลูกจ้างตาม ป.พ.พ.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 article
เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ลูกจ้างทราบเรื่องโดยตลอดมิ ได้คัดค้าน แต่ลาออกแล้วใช้สิทธิฟ้องเงินตามข้อตกลงภายหลัง ถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีอำนาจฟ้อง
ค่าเบี้ยเลี้ยง / ค่าล่วงเวลา คือ ค่าตอบแทนบริษัททัวร์ (เหมาจ่ายสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดชอบด้วยกฎหมาย) article
อายุความ มูลละเมิดอันมีความผิดทางอาญา หากในคดีอาญาอายุความมากกว่าให้ใช้อายุความตามนั้น article
ทำงานแม่บ้านร้านเสริมสวยถือเป็นลูกจ้าง article
เกษียณอายุ จ้างต่อ ตกลงไม่จ่ายค่าชดเชยกัน เป็นโมฆะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ต้องวางเงินศาลตามคำสั่งก่อน จึงจะใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนคำสั่งได้ article
ค่าตำแหน่ง ค่ารถ ถือเป็นค่าจ้าง article
เปลี่ยนแปลง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ไมได้ ! ) article
สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ article
ค่าคอมมิชชั่น article
ค่าคอมมิชชั่นที่คำนวณจากยอดขาย ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าเที่ยว ถือเป็นค่าจ้าง article
เหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าทำงานล่วงเวลา article
เดินโพยหวย ล่อซื้อและเลิกจ้างได้
ลักษณะงานที่ไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้ article
ตกลงเหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการขับรถรับส่งท่องเที่ยวสูงกว่าอัตราที่ควรได้รับถือว่าจ่ายค่าล่วงเวลาโดยชอบแล้ว
โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ไม่ชอบ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com