ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ค่าคอมมิชชั่นที่คำนวณจากยอดขาย ถือเป็นค่าจ้าง article

 

 คำพิพากษาฎีกา 2863 /2552

 

ค่าคอมมิชชั่นที่คำนวณจากยอดขาย ถือเป็นค่าจ้าง

                              โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2542 จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างทำหน้าที่พนักงานฝ่ายการตลาด ได้รับเงินเดือนอัตราสุดท้ายเดือนละ 8,694 บาท กับค่าคอมมิสชั่นซึ่งคิดคำนวณจากยอดสินค้าที่โจทก์จำหน่ายได้ในแต่ละเดือน กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 28 มิถุนายน 2548 จำเลยสั่งพักงานโจทก์เป็นเวลา 1 เดือน ครั้นถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 โจทก์กลับเข้าไปที่บริษัทจำเลยเพื่อจะทำงานตามปกติ แต่จำเลยไม่ให้โจทก์เข้าทำงานพร้อมทั้งบอกแก่โจทก์ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าและโดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยยังค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ระหว่างวันที่ 1 ถึง 26 กรกฎาคม 2548 กับค่าคอมมิสชั่นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 ถึงเดือนมิถุนายน 2548 จึงขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 9,853 บาท ค่าคอมมิสชั่นจำนวน 125,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าว และค่าจ้างจำนวน 7,535 บาท ค่าชดเชยจำนวน 172,164 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 
                               เลยให้การว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 เมื่อประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์ได้รับเงินค่าสินค้าจำนวน 7,500 บาท แล้วไม่นำส่งให้แก่จำเลย จำเลยตรวจสอบพบจึงได้ออกใบเตือนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ลงวันที่ 21 กันยายน 2547 ต่อมาระหว่างวันที่ 13 ถึง 19 พฤษภาคม 2548 จำเลยได้เชิญนายไพบูลย์ เมืองอุดม เป็นวิทยากรไปเดินสายให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขายตรงของจำเลย และมอบเงินจำนวน 22,000 บาท ให้โจทก์ไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายแทนวิทยากรแล้วนำใบเสร็จค่าใช้จ่ายมาสะสางบัญชีกับจำเลยภายใน 3 วัน นับแต่วันที่โจทก์เสร็จงานกลับมา แต่โจทก์ไม่ออกค่าใช้จ่ายให้นายไพบูลย์ โดยให้นายไพบูลย์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 4,660 บาท เมื่อนายไพบูลย์ทวงถามโจทก์กลับแจ้งว่ายังไม่ได้เบิกจากจำเลย นายไพบูลย์จึงทำหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยทำการตรวจสอบบัญชีพบว่าโจทก์ได้นำใบเสร็จค่าใช้จ่ายมาสะสางบัญชีกับจำเลยเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 แต่จำเลยไม่นำเงินจำนวน 4,660 บาท ไปมอบให้นายไพบูลย์ จำเลยจึงมีหนังสือฉบับลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ค่าคอมมิสชั่นที่โจทก์เรียกร้องสูงเกินจริงและจำเลยได้จ่ายให้โจทก์รับไปพร้อมกับเงินเดือนครบทุกเดือนแล้ว ขอให้ยกฟ้อง
 
 
                          ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 150,596.53 บาท ค่าจ้างค้างจ่ายจำนวน 7,535 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจำนวน 9,853 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 4 สิงหาคม 2548) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
 
 
                                จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
  
 

                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ในตำแหน่งพนักงานฝ่ายการตลาด ได้รับเงินเดือนอัตราสุดท้ายเดือนละ 8,694 บาท และได้ค่าคอมมิสชั่นซึ่งคิดคำนวณจากยอดสินค้าที่โจทก์จำหน่ายได้ในแต่ละเดือนกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน เมื่อประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์ได้รับเงินค่าสินค้าจำนวน 7,500 บาท แล้วไม่นำส่งให้จำเลย จำเลยตรวจสอบพบจึงได้ออกใบเตือนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ลงวันที่ 21 กันยายน 2547 ตามเอกสารหมาย ล.9 แล้วสั่งพักงานโจทก์เป็นเวลา 14 วัน รวมทั้งออกหนังสือชี้แจงความรับผิดชอบเรื่องเงินของบริษัทแจ้งให้โจทก์ทราบตามเอกสารหมาย ล.10 ต่อมาระหว่างวันที่ 13 ถึง 16 พฤษภาคม 2548 จำเลยได้เชิญนายไพบูลย์ เมืองอุดม และนายทวีรัตน์ ธิติพัทร์ เป็นวิทยากรไปเดินสายให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขายตรงของจำเลยในแปดจังหวัดภาคใต้ และมอบเงินจำนวน 22,000 บาทให้แก่โจทก์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์และวิทยากร วันที่ 20 พฤษภาคม 2548 โจทก์ได้ยื่นแบบฟอร์มสะสางค่าใช้จ่ายพร้อมแนบเอกสารประกอบต่อฝ่ายบัญชีของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.5 ต่อมาวันที่ 27กรกฎาคม 2548 จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.11 โดยไม่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และยังค้างจ่ายเงินเดือนของโจทก์ระหว่างวันที่ 1 ถึง 21 กรกฎาคม 2548 จำนวน 7,535 บาท ส่วนค่าคอมมิสชั่นจำเลยได้จ่ายให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วและฟังว่า หนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย ล.11 ระบุสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า ในการเดินสายไปประชุมระหว่างวันที่ 13 ถึง 19 พฤษภาคม 2548 นายไพบูลย์มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในระหว่างที่เป็นวิทยากรของจำเลยจำนวน 4,660 บาท นายไพบูลย์ได้ส่งมอบใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดแก่โจทก์ โจทก์ได้รับเงินสำรองจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายของวิทยากรจากจำเลยไปแล้วมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้แก่นายไพบูลย์ในทันที แต่โจทก์ไม่จ่ายเงินคืนแก่นายไพบูลย์โดยมีเจตนาทุจริต แล้วินิจฉัยว่า นายไพบูลย์พยานจำเลยเบิกความกลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่องกับรอยขาดความน่าเชื่อถือ และที่นายไพบูลย์เบิกความว่า ได้มอบหลักฐานให้พนักงานคนอื่นของจำเลยไปเบิกค่าใช้จ่ายนั้นก็ขัดแย้งกับระเบียบปฏิบัติของจำเลยเอง  และไม่ตรงกับข้ออ้างในหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย ล.11 พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมารับฟังได้ว่านายไพบูลย์ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเป็นวิทยากรที่ภาคใต้ ในระหว่างวันที่ 9 ถึง 16 พฤษภาคม 2548 เฉพาะค่าที่พักและค่าน้ำมันรถตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 15 ถึง 17 นายไพบูลย์ได้นำใบเสร็จรับเงินตามเอกสารดังกล่าวมามอบให้โจทก์ที่สำนักงานของจำเลยในวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 และโจทก์ได้มอบเงินตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวแก่นายไพบูลย์ไปครบถ้วนแล้วในวันนั้น โจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดตามที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดกรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า  คำเบิกความของนายไพบูลย์ เมืองอุดม พยานจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่าคำเบิกความของโจทก์ทั้งคำเบิกความของโจทก์ก็มีข้อพิรุธ พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะกระทำผิดและการกระทำนี้เป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้กระทำความผิด อุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

 
 

       มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า ค่าคอมมิสชั่นเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 บัญญัติความหมายของคำว่า “ค่าจ้างไว้ว่า หมายถึงเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เมื่อเงินค่าคอมมิสชั่นเป็นเงินที่โจทก์ได้รับจากการจำหน่ายสินค้าของจำเลยซึ่งคิดคำนวณจากยอดสินค้าที่โจทก์จำหน่ายได้ในแต่ละเดือน ดังนั้น

  
 

       นอกจากโจทก์จะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างประจำอยู่แล้ว หากโจทก์เป็นผู้ขายสินค้า โจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายหรือค่าคอมมิสชั่น ซึ่งค่าคอมมิสชั่นนี้โจทก์จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่โจทก์สามารถขายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเห็นได้ว่า ค่าคอมมิสชั่นเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคิดตามผลงานที่โจทก์ทำได้ ดังนั้นค่าคอมมิสชั่นจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จำเลยจึงต้องนำไปรวมกับเงินเดือนของโจทก์อัตราสุดท้ายเดือนละ 8,694 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย  ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

 
 

        พิพากษายืน




ฎีกาบรรทัดฐาน

โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย article
สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาต่อสัญญาใหม่ เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ต้องบอกกล่าว + ค่าชดเชย article
การโอนสิทธิความเป็นลูกจ้างตาม ป.พ.พ.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 article
เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ลูกจ้างทราบเรื่องโดยตลอดมิ ได้คัดค้าน แต่ลาออกแล้วใช้สิทธิฟ้องเงินตามข้อตกลงภายหลัง ถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีอำนาจฟ้อง
ค่าเบี้ยเลี้ยง / ค่าล่วงเวลา คือ ค่าตอบแทนบริษัททัวร์ (เหมาจ่ายสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดชอบด้วยกฎหมาย) article
ตกลงจ่ายเงินโบนัสทุกเดือนเป็นประจำแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง article
อายุความ มูลละเมิดอันมีความผิดทางอาญา หากในคดีอาญาอายุความมากกว่าให้ใช้อายุความตามนั้น article
ทำงานแม่บ้านร้านเสริมสวยถือเป็นลูกจ้าง article
เกษียณอายุ จ้างต่อ ตกลงไม่จ่ายค่าชดเชยกัน เป็นโมฆะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ต้องวางเงินศาลตามคำสั่งก่อน จึงจะใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนคำสั่งได้ article
ค่าตำแหน่ง ค่ารถ ถือเป็นค่าจ้าง article
เปลี่ยนแปลง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ไมได้ ! ) article
สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ article
ค่าคอมมิชชั่น article
ค่าเที่ยว ถือเป็นค่าจ้าง article
เหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าทำงานล่วงเวลา article
เดินโพยหวย ล่อซื้อและเลิกจ้างได้
ลักษณะงานที่ไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้ article
ตกลงเหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการขับรถรับส่งท่องเที่ยวสูงกว่าอัตราที่ควรได้รับถือว่าจ่ายค่าล่วงเวลาโดยชอบแล้ว
โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ไม่ชอบ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com