ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ลูกจ้างทราบเรื่องโดยตลอดมิ ได้คัดค้าน แต่ลาออกแล้วใช้สิทธิฟ้องเงินตามข้อตกลงภายหลัง ถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีอำนาจฟ้อง

 

คำพิพากษาฎีกา 2546 /2552
เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ลูกจ้างทราบเรื่องโดยตลอดมิได้คัดค้าน แต่ลาออกแล้วใช้สิทธิฟ้องเงินตามข้อตกลงภายหลัง ถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีอำนาจฟ้อง
                               
                      โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2520 จำเลยทั้งสามร่วมกันจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ครั้งสุดท้ายทำหน้าที่ประจำส่วนงานออกแบบ ได้รับค่าจ้างเดือนละ 16,730 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน โจทก์ลาออกจากการทำงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546 ในระหว่างทำงานจำเลยทั้งสามปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องเงินสะสม ค่าครองชีพ และเงินโบนัสประจำปี โดยจำเลยที่ 1 จัดตั้งกองทุนเงินสะสมให้แก่พนักงาน ตกลงหักค่าจ้างของพนักงานในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้างทุกเดือนเป็นเงินสะสมและจำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายเงินสมทบในอัตราที่เท่ากันเงินสะสมและเงินสมทบจะจ่ายคืนให้เมื่อพนักงานออกจากงาน ในระหว่างเดือนธันวาคม 2540 ถึงเดือนธันวาคม 2541 จำเลยที่ 1 มิได้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมและมิได้จ่ายเงินสมทบ เมื่อโจทก์ลาออกจากงาน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายได้รับเงินสมทบน้อยกว่าที่ควร ขาดไปเป็นเงิน 4,422 บาท จำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนเดือนละ 700 บาท ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2540 ถึงเดือนมีนาคม 2543 จำเลยที่ 1 งดจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ทำให้โจทก์ไม่ได้รับค่าครองชีพเป็นเวลา 29 เดือน รวมเป็นเงิน 20,300 บาท นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานตามหลักเกณฑ์ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คำนวณตามอัตราเงินเดือนคูณด้วยอายุการทำงานของพนักงานแต่ละคน แต่ไม่เกิน 3 เท่าของเงินเดือน ตกลงจ่ายให้ในวันตรุษจีนของแต่ละปี ในกรณีของโจทก์ เมื่อคำนวณแล้วมีสิทธิได้รับเงินโบนัสในอัตรา 3 เท่าของเงินเดือน แต่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540จำเลยที่ 1 มีมติงดการจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับเงินโบนัสประจำปี 2540 และปี 2541 เป็นเงิน 44,200 บาท ในปี 2542 ถึงปี 2545 จำเลยจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์เท่ากับเงินเดือน 1 เดือน ไม่เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสส่วนที่ขาดของปี 2542 ถึงปี 2545 เป็นเงิน 29,480 บาท  30,960 บาท 31,420 บาท และ 31,740 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงินโบนัสประจำปีตั้งแต่ปี 2540 ถึงปี 2545 ที่โจทก์ไม่ได้รับ 212,040 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันจ่ายเงินสะสม 4,422 บาท ค่าครองชีพ 20,300 บาท เงินโบนัสประจำปี 212,040 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 
                          จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ประสบปัญหาทางด้านการเงิน เนื่องจากเกิดสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ภาวะเงินตกต่ำ โจทก์ในฐานะประธานสหภาพแรงงานทราบดี โจทก์และกรรมการสหภาพแรงงานได้ร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริหารของจำเลยที่ 1 เพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว ที่ประชุมมีมติไม่หักเงินสะสมในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 ถึงเดือนธันวาคม 2541 ไม่มีบุคคลใดคัดค้านหรือโต้แย้ง จึงไม่ได้มีการจ่ายเงินสมทบในส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่เคยเรียกร้องเงินสมทบดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 ปีแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ขาดอายุความสำหรับค่าครองชีพ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2540 จำเลยที่ 1 และโจทก์ในฐานะผู้แทนพนักงานกรรมการสหภาพแรงงานได้ร่วมประชุมเพื่อกำหนดและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ที่ประชุมมีมติงดจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไปในที่ประชุมไม่มีบุคคลใดคัดค้าน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินในส่วนนี้ ค่าครองชีพถือเป็นค่าจ้าง โจทก์ฟ้องเรียกเกินกำหนด 2 ปีแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและฟ้องโจทก์ขาดอายุความ สำหรับเงินโบนัส เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2540 จำเลยที่ 1 โจทก์ในฐานะผู้แทนพนักงาน และกรรมการสหภาพแรงงานได้ร่วมประชุมและมีมติไม่จ่ายเงินโบนัส ในที่ประชุมไม่มีผู้ใดคัดค้าน ในปี 2541 จำเลยที่ 1 มีผลประกอบการไม่ดีจึงไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2540 โจทก์ไม่ได้ทวงถามหรือคัดค้าน ต่อมาในปี 2542 ถึงปี 2545 จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในอัตราเท่ากับค่าจ้าง 1 เดือน ไม่มีพนักงานคนใดโต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าสภาพการจ้างเกี่ยวกับเงินโบนัสได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปและเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา พนักงานทุกคนได้รับเงินโบนัสเหมือนกันกับโจทก์ โจทก์คำนวณเงินโบนัสตามฟ้องไม่ถูกต้อง ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
 
 
                         จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
 
 
                          ระหว่างพิจารณา โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ศาลแรงงานกลางอนุญาตและจำหน่ายคดีจำเลยที่ 3 ออกจากสารบบความ
 
 
                          ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
 
 
                          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
                          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ครั้งสุดท้ายทำงานในตำแหน่งพนักงานประจำส่วนงานออกแบบ ได้รับค่าจ้างเดือนละ 16,730 บาท  โจทก์ยังเป็นประธานสหภาพแรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เอทีพีต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพแรงงานผลิตและประกอบยานยนต์แห่งประเทศไทย นายจ้างกับลูกจ้างมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกองทุนเงินสะสม ค่าครองชีพและเงินโบนัสประจำปี ตามเอกสารหมาย จล.1 ถึงจล.11 วันที่ 17 ตุลาคม 2540 นายจ้างจัดให้มีการประชุมระหว่างผู้บริหารกับพนักงานระดับหัวหน้าตัวแทนสหภาพแรงงาน โจทก์ซึ่งเป็นประธานและกรรมการสหภาพแรงงาน เข้าร่วมประชุมด้วย มีการอธิบายถึงภาพรวามของภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปในขณะนั้นซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อปรึกษากันแล้วจะใช้มาตรการไม่ลดพนักงานแต่ไม่ขึ้นหรือลดเงินเดือน ไม่จ่ายเงินโบนัส ส่วนค่าครองชีพพนักงานที่มีเงินเดือนต่ำกว่าเดือนละ 9,300 บาท ถึง 9,999 บาท จะได้รับค่าครองชีพในอัตราที่ลดหลั่นกันไปซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนแล้วไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนพนักงานที่ได้รับเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ให้งดการจ่ายค่าครองชีพ มาตรการดังกล่าวให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไป โดยให้เป็นมาตรการชั่วคราวตามบันทึกการประชุมเอกสารหมาย จล.12 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2540 ถึงเดือน มีนาคม 2543 ไม่มีการจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเกินกว่าเดือนละ 10,000 บาท และไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปี 2540 และปี 2541 แต่มาจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2542 ถึงปี 2545 ให้เท่ากับค่าจ้างคนละ 1 เดือน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 มีการประชุมตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง หัวหน้างานและตัวแทนฝ่ายบริหารโดยโจทก์เข้าร่วมประชุมด้วยแล้วมีมติร่วมกันให้หยุดงานในเดือนธันวาคม 2540 และเดือนมกราคม 2541 โดยจำเลยที่ 1 จะตัดค่าจ้าง 10 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งไม่หักเงินสะสมในระหว่างที่หยุดงาน 2 เดือน ตามเอกสารหมาย จล.13 วันที่ 21 สิงหาคม 2541 มีการประชุมกันอีกเพื่อความอยู่รอดของบริษัท มีการปิดงานบางแผนกเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2541 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 โดยจ่ายค่าจ้าง 50 เปอร์เซ็นต์ สำหรับเงินสะสมก็จะงดเก็บชั่วคราวตามเอกสารหมาย ล.8 จึงมิได้มีการจ่ายเงินสมทบ โจทก์ลาออกตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2546 ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยสรุปได้ว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับค่าครองชีพและเงินโบนัสประจำปีจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง แต่ประมาณปลายปี 2539 ถึงกลางปี 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อความอยู่รอด มีการประชุมผู้บริหาร พนักงานระดับหัวหน้าและตัวแทนสหภาพแรงงาน ตกลงกันไม่จ่ายเงินโบนัสชั่วคราว ส่วนค่าครองชีพมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ไม่มีพนักงานคนใดคัดค้าน ต่อมาให้พนักงานหยุดงาน 2 เดือน โดยตัดค่าจ้าง 10 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นมีการปิดงานบางแผนกเป็นการชั่วคราว ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่ามีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอที่จะขอเปลี่ยนสภาพการจ้างเพื่อความอยู่รอดขององค์กรและเพื่อรักษาสถานภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างไว้ไม่ให้มีการเลิกจ้าง อีกทั้งในการประชุมไม่มีพนักงานคนใดคัดค้าน จึงถือได้ว่านายจ้างกับลูกจ้างได้ตกลงเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องค่าครองชีพและเงินโบนัสประจำปีเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่นายจ้างประสบปัญหาในทางเศรษฐกิจ แม้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นใหม่จะมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือและปฏิบัติตามขั้นตอนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 แต่ข้อตกลงดังกล่าวก็มิได้มีข้อความขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงมีผลใช้บังคับกันได้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพและเงินโบนัสประจำปี สำหรับเงินสะสมนั้นนายจ้างมิได้หักไว้ระหว่างเดือนธันวาคม 2540 ถึงเดือนมกราคม 2541 และเดือนกันยายน 2541 ถึงเดือนธันวาคม 2541 เนื่องจากฝ่ายลูกจ้างร้องขอไม่ให้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมเพราะต้องการได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสะสม  นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ
 
 
     คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า การประชุมในวันที่ 17 ตุลาคม 2540 ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานระดับหัวหน้างานตัวแทนสหภาพแรงงานซึ่งโจทก์เป็นประธานและกรรมการสหภาพแรงงาน ตามบันทึกการประชุมเอกสารหมาย จล.12 ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 หรือไม่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 บัญญัติว่า เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า เห็นว่า บทบัญญัติมาตราดังกล่าวบัญญัติต่อเนื่องจากมาตรา 13 ถึง มาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วมีการเจรจาต่อรองจนตกลงกันได้ มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างนำไปจดทะเบียนอันมีผลบังคับทั้งสองฝ่ายแล้วต่อด้วยมาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังนั้นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม มาตรา 20 จึงหมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามเอกสารหมาย จล.1 ถึง จล.11 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างประสงค์จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างและดำเนินการตามขั้นตอนจนมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับใหม่ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 คดีนี้นายจ้างมิได้แจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ แม้มีการประชุมร่วมกัน เมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า ข้อตกลงตามบันทึกการประชุมเอกสารหมาย จล.12 ย่อมขัดต่อมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ข้อเท็จจริงเฉพาะคดีนี้ปรากฏตามที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจึงเรียกประชุมพนักงานระดับหัวหน้าตัวแทนสหภาพรวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นประธานและกรรมการสหภาพแรงงานในวันที่ 17 ตุลาคม 2540 แล้วตกลงร่วมกันให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นการชั่วคราวให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไป วันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 มีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง มีมติร่วมกันให้หยุดงาน 2 เดือน โดยตัดค่าจ้าง 10 เปอร์เซ็นต์ของทุกคนวันที่ 21 สิงหาคม 2541 ประชุมร่วมกันอีก มีมติร่วมกันให้ปิดงานบางแผนกเป็นเวลา 4 เดือน โดยจ่ายค่าจ้าง 50 เปอร์เซ็นต์ โจทก์และพนักงานคนอื่นไม่ได้โต้แย้งคัดค้านยอมรับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมาโดยตลอด เมื่อโจทก์ลาออกตั้งแต่วันที่  6 มีนาคม 2546 แล้วมาฟ้องเป็นคดีนี้ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 โจทก์เป็นตัวแทนฝ่ายลูกจ้างภายหลังเป็นประธานและกรรมการสหภาพแรงงานที่ร่วมยื่นข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างมาโดยตลอด โจทก์ย่อมทราบแล้วว่าถ้าฝ่ายนายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า นายจ้างต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง โจทก์ควรแจ้งการเรียกประชุมเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างมิได้กระทำให้ถูกต้องตามกฎหมายให้ฝ่ายนายจ้างทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง โจทก์ปล่อยเวลาให้ผ่านไปจนโจทก์ลาออกแล้วอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่นายจ้างจะพึงได้รับเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวกับการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
 
 
       พิพากษายืน



ฎีกาบรรทัดฐาน

โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย article
สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาต่อสัญญาใหม่ เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ต้องบอกกล่าว + ค่าชดเชย article
การโอนสิทธิความเป็นลูกจ้างตาม ป.พ.พ.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 article
ค่าเบี้ยเลี้ยง / ค่าล่วงเวลา คือ ค่าตอบแทนบริษัททัวร์ (เหมาจ่ายสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดชอบด้วยกฎหมาย) article
ตกลงจ่ายเงินโบนัสทุกเดือนเป็นประจำแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง article
อายุความ มูลละเมิดอันมีความผิดทางอาญา หากในคดีอาญาอายุความมากกว่าให้ใช้อายุความตามนั้น article
ทำงานแม่บ้านร้านเสริมสวยถือเป็นลูกจ้าง article
เกษียณอายุ จ้างต่อ ตกลงไม่จ่ายค่าชดเชยกัน เป็นโมฆะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ต้องวางเงินศาลตามคำสั่งก่อน จึงจะใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนคำสั่งได้ article
ค่าตำแหน่ง ค่ารถ ถือเป็นค่าจ้าง article
เปลี่ยนแปลง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ไมได้ ! ) article
สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ article
ค่าคอมมิชชั่น article
ค่าคอมมิชชั่นที่คำนวณจากยอดขาย ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าเที่ยว ถือเป็นค่าจ้าง article
เหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าทำงานล่วงเวลา article
เดินโพยหวย ล่อซื้อและเลิกจ้างได้
ลักษณะงานที่ไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้ article
ตกลงเหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการขับรถรับส่งท่องเที่ยวสูงกว่าอัตราที่ควรได้รับถือว่าจ่ายค่าล่วงเวลาโดยชอบแล้ว
โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ไม่ชอบ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com