ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



เกษียณอายุ จ้างต่อ ตกลงไม่จ่ายค่าชดเชยกัน เป็นโมฆะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article

 

 คำพิพากษาฎีกา 1352/51

เกษียณอายุ จ้างต่อ ตกลงไม่จ่ายค่าชดเชยกัน เป็นโมฆะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
 
                        โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่ผู้ช่วยประธานกรรมการบริษัท และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2546 ต่อมาเมื่อวัน  15 มกราคม 2547 โจทก์เกษียณอายุ จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์แล้ว และทำสัญญาจ้างต่อเนื่องให้โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการ โดยสัญญามีกำหนดระยะยาว 1 ปี นับแต่วันที่ 16 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2548  โดยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 63,000 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน เมื่อเดือนธันวาคม 2547 จำเลยจ่ายเงินโบนัสเพื่อตอบแทนการทำงานให้แก่ลูกจ้างของจำเลยคนละ 2 เดือน สำหรับผู้ที่ทำงานครบ 1 ปี คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547ถึง 31 ธันวาคม 2547 โดยจำเลยจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานพร้อมเงินเดือนของธันวาคม 2547 ซึ่งในกรณีนี้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัส 2 เดือน เพราะตามข้อเท็จจริงโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสสำหรับการทำงานปี 2547 เป็นเงิน 126,000 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2548 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิด โจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน 189,000 บาท โจทก์ได้ทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2547 เป็นเงิน 126,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2547 กับค่าชดเชยเป็นเงิน 189,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 16 มกราคม 2548 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
 
 
                                จำเลยให้การว่า จำเลยมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยกำหนดนโยบายในการจ้างพนักงานไว้ 3 ประเภท คือ พนักงานทดลองงาน พนักงานประจำ และพนักงานสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลา โดยพนักงานสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลา หมายถึงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างโดยกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนการว่าจ้างตามสัญญานี้ย่อมสิ้นสุดลงทันทีเมื่อครบระยะเวลาการจ้างตามที่กำหนดในสัญญาโดยจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และพนักงานไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2545 จำเลยจ้างโจทก์เป็นพนักงานประจำและโจทก์ได้สิ้นสภาพการเป็นพนักงานประจำไปแล้วเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2547 ด้วยเหตุเกษียณอายุการทำงานเนื่องจากโจทก์มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์แล้วจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์สำหรับการทำงานปี 2547 เพราะโจทก์มีอายุงานไม่ครบ 1 ปี คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 31ธันวาคม 2547 หลังจากโจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานประจำแล้ว จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ใหม่เมื่อวันที่ 16 มกราคม  2547 โดยเป็นการจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ตั้งแต่แรกเมื่อเข้าทำสัญญากันว่าตกลงจ้างกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ 16 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2548  และเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 1 ปีแล้วก็จะไม่มีการจ้างกันอีกต่อไป ในเบื้องต้นจำเลยให้โจทก์ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้อำนวยการและมีข้อตกลงว่าจำเลยมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าที่ดังกล่าวได้ตามที่จำเลยเห็นสมควร จึงเป็นงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีการทำข้อตกลงกันขึ้นมาใหม่โดยความสมัครใจของโจทก์เองนอกจากนี้โจทก์ยังยินยอมให้จำเลยใช้สิทธิยกเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2547 จำเลยเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของโจทก์จากตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาซึ่งไม่ใช่งานในสายงานหลักของจำเลย โดยโจทก์รับผิดชอบงานเฉพาะอย่างที่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างอื่นที่จำเลยจ้างไว้ทำตลอดปี ซึ่งโจทก์จะมาทำงานหรือไม่มาก็ได้ ไม่ต้องเขียนใบลา ไม่ต้องบันทึกเวลาทำงาน ไม่เข้าระบบเงินเดือนค่าจ้าง ไม่เข้าระบบประกันสังคม ไม่มีสวัสดิการใด ๆ และค่าจ้างของโจทก์จะต้องถูกหักภาษีร้อยละ 3 ก่อนจ่าย จำเลยจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดในวันที่ 15 มกราคม 2548 เพราะเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และได้เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น แต่หากศาลฟังว่าสัญญาจ้างลักษณะนี้ไม่ใช่สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนก็เป็นสัญญาจ้างแรงงานแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพียง 6 เดือนครึ่งเท่านั้น คือนับแต่วันที่ 16 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2547 ขอให้ยกฟ้อง
 
 
 
                                ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 189,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันที่ 16 มกราคม 2548 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้น คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
 
 
 
                                โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
 
 
                                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 โจทก์ทำหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วยประธานกรรมการบริษัทจำเลย และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการบริษัทจำเลยตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2546 ต่อมาวันที่ 15 มกราคม 2547 โจทก์เกษียณอายุการทำงาน ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 16 มกราคม 2547 จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไปในตำแหน่งเดิมมีกำหนดอายุสัญญา 1 ปี นับแต่วันที่ 16 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2548 โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 63,000 บาท และในสัญญาดังกล่าวข้อที่ 7 มีข้อตกลงว่า ในกรณีที่จำเลยมีความจำเป็นหรือเพื่อความเหมาะสมโจทก์ยินยอมให้จำเลยใช้สิทธิยกเลิกสัญญานี้ได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้นตามเอกสารหมาย ล.7 โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม 2547 จำเลยแต่งตั้งนายยุกต์ พัฒนสมบัติจินดา มารับตำแหน่งแทนโจทก์โดยให้โจทก์ขึ้นไปดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาโดยโจทก์ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม เมื่อโจทก์ทำงานจนครบอายุตามสัญญาว่าจ้างแล้วจำเลยไม่ต่ออายุสัญญาให้โจทก์ แล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานมายังไม่ครบ 1 ปี โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินโบนัสจากจำเลย ส่วนปัญหาว่าหนังสือสัญญาจ้าง เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 3 ข้อ 7 ที่ตกลงให้จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์นั้นขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อที่กฎหมายกำหนดไว้และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับความเสียหาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งการจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการก็เป็นการจ้างเข้าทำงานในตำแหน่งงานปกติของจำเลย จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา  118 วรรคสาม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
 
 
 
                                ที่จำเลยอุทธรณ์ประการแรกว่า หนังสือสัญญาจ้างงาน (แบบมีกำหนดระยะเวลา) เอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 3 ซึ่งตรงกับเอกสารหมาย ล.7 เป็นสัญญาที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงทำสัญญาจ้างกันมีกำหนดเวลาแน่นอนไม่เกิน 2 ปี และนายจ้างกับลูกจ้างทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เริ่มจ้างกันเป็นการจ้างเพื่อทำงานที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดของงาน ซึ่งไม่ใช่งานประจำที่ต้องทำต่อเนื่องเป็นปกติของนายจ้าง จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่นั้น เห็นว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมก่อนโจทก์เกษียณอายุจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยอันเป็นงานที่จะต้องทำต่อเนื่องกันไป  เพียงแต่จำเลยกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ในสัญญาจ้างด้วยเท่านั้น จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
 
 
                                ที่จำเลยอุทธรณ์ประการต่อไปว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายและไม่ทำให้ข้อตกลงที่ว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตกเป็นโมฆะนั้น เห็นว่า ค่าชดเชยเป็นเงินที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 กำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง  มิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อมีการเลิกจ้างตามกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการเลิกจ้างนั้นหรือไม่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงในสัญญาที่ว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแตกต่างไปจากบทบัญญัติดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
 
 
 
                                ที่จำเลยอุทธรณ์ประการสุดท้ายว่า สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
 
 
 
                                ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า แม้โจทก์เกษียณอายุในวันที่ 15 มกราคม 2547 แล้ว โจทก์ก็ยังทำงานให้จำเลยในปี 2547 ต่อเนื่องมาจากวันที่ 1 มกราคม 2547 จนครบปี 2547 จึงต้องนับระยะเวลาทำงานรวมเข้าด้วยกัน โจทก์ทำงานครบ 1 ปี และโจทก์เป็นพนักงานประจำของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินโบนัสนั้นเห็นว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเอกสารหมาย ล.3 หมวดที่ 1 ข้อ 1.2 แยกพนักงานของจำเลยออกเป็น 3 ประเภท คือพนักงานทดลองงาน พนักงานประจำ และพนักงานสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลา โดยให้ความหมายของพนักงานประจำไว้ว่า หมายถึงพนักงานซึ่งจำเลยตกลงว่าจ้างและได้ผ่านการทดลองงานตามที่จำเลยกำหนดและจะได้รับค่าจ้างเป็นรายวันหรือรายเดือนตามที่จะตกลงกัน ส่วนพนักงานสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลานั้น หมายถึงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างโดยกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน การว่าจ้างตามสัญญาฯ นี้ย่อมสิ้นสุดลงทันทีเมื่อครบระยะเวลาการจ้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา พนักงานสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลานี้จะได้รับค่าจ้างเป็นรายวันหรือรายเดือนตามที่จะได้ตกลงกัน เมื่อได้พิจารณาหนังสือสัญญาจ้างแรงงาน (แบบมีกำหนดระยะเวลา) เอกสารหมาย ล.7 ซึ่งเป็นหนังสือสัญญาจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้วจะเห็นได้ว่า นอกจากชื่อหนังสือสัญญาจ้างงานจะมีข้อความในวงเล็บกำกับไว้ว่า แบบมีกำหนดระยะเวลา ความในข้อ 3 ของหนังสือสัญญาดังกล่าวยังระบุว่า สัญญาจ้างมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 16 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2548 โจทก์จึงเป็นพนักงานสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลานับแต่วันที่ 16 มกราคม 2547 หาใช่โจทก์ยังเป็นพนักงานประจำแม้จะเกษียณอายุแล้วไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้เฉพาะพนักงานประจำ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 2547 ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ทำงานครบ 1 ปีแล้วหรือไม่เพราะไม่อาจเปลี่ยนผลคดีได้ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
 
 
 
                               พิพากษายืน
 
 
 
 
 

 




ฎีกาบรรทัดฐาน

โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย article
สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาต่อสัญญาใหม่ เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ต้องบอกกล่าว + ค่าชดเชย article
การโอนสิทธิความเป็นลูกจ้างตาม ป.พ.พ.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 article
เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ลูกจ้างทราบเรื่องโดยตลอดมิ ได้คัดค้าน แต่ลาออกแล้วใช้สิทธิฟ้องเงินตามข้อตกลงภายหลัง ถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีอำนาจฟ้อง
ค่าเบี้ยเลี้ยง / ค่าล่วงเวลา คือ ค่าตอบแทนบริษัททัวร์ (เหมาจ่ายสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดชอบด้วยกฎหมาย) article
ตกลงจ่ายเงินโบนัสทุกเดือนเป็นประจำแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง article
อายุความ มูลละเมิดอันมีความผิดทางอาญา หากในคดีอาญาอายุความมากกว่าให้ใช้อายุความตามนั้น article
ทำงานแม่บ้านร้านเสริมสวยถือเป็นลูกจ้าง article
ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ต้องวางเงินศาลตามคำสั่งก่อน จึงจะใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนคำสั่งได้ article
ค่าตำแหน่ง ค่ารถ ถือเป็นค่าจ้าง article
เปลี่ยนแปลง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ไมได้ ! ) article
สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ article
ค่าคอมมิชชั่น article
ค่าคอมมิชชั่นที่คำนวณจากยอดขาย ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าเที่ยว ถือเป็นค่าจ้าง article
เหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าทำงานล่วงเวลา article
เดินโพยหวย ล่อซื้อและเลิกจ้างได้
ลักษณะงานที่ไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้ article
ตกลงเหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการขับรถรับส่งท่องเที่ยวสูงกว่าอัตราที่ควรได้รับถือว่าจ่ายค่าล่วงเวลาโดยชอบแล้ว
โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ไม่ชอบ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com