ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



วันลา (ลากิจ ลาเพื่อทำหมัน) article

ลากิจ

           ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ 
                 มาตรา ๓๔ แก้ไขปรับปรุงใหม่  ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ฉบับที่ 7 ปี 2562 กำหนดไว้ว่า
    ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจาเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่าสามวันทางาน”
  การลากิจ   หมายถึงการลาไปเพื่อทำกิจธุระอันจำเป็นที่ลูกจ้างไม่สามารถทำในวันหยุดได้   เช่น ไปทำบัตรประชาชน   ติดต่อหน่วยงานราชการ หรือมีเหตุจำเป็นต้องเดินทางที่ไม่สามารถเลื่อนหรือหลีกเลี่ยงได้ เป็นต้น  
               การลากิจ กฎหมายไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้
               ดังนั้นการลากิจ   จึงต้องพิจารณาไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นายจ้างกำหนดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือบางแห่งอาจมีระเบียบการลากำหนดไว้โดยเฉพาะ ก็ให้บังคับและปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวได้
               ลากิจ   กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิได้ 3 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง   ดังนั้นลากิจ ลูกจ้างทุกประเภทจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลา  หากข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  ไมได้กำหนดไว้  กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าจ้างในวันที่ลา  3  วัน ทำงาน  หากกำหนดไว้หรือมากกว่า  ให้ใช้บังคับส่วนที่ลูกจ้างได้สิทธิมากกว่า เพราะถือว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้าง  ไม่ขัดต่อกฎหมาย
               บางแห่งอาจมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กำหนดไว้เกี่ยวกับเรื่องการลา   ก็สามารถบังคับใช้และปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ๆ ได้ เช่น บางแห่งอาจตกลงไว้ว่า ปีหนึ่งลากิจได้ไม่เกิน 6 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง   นั่นหมายความว่า ลากิจได้รับค่าจ้าง 6 วันทำงาน  เป็นต้น    
  ปัญหามีอยู่ว่า หากพนักงานลาเกิน  3  วันทำงาน หรือเกิน  6  วันตามระเบียบกำหนดล่ะ   มีปัญหาว่าลาได้หรือไม่   หรือว่าลาได้แต่ไม่ได้รับค่าจ้าง  
 กรณีอย่างนี้ ต้องดูดี ๆ ครับ   เพราะการตีความอาจแตกต่างกันได้   ดังนั้นหากมีการกำหนดไว้ในลักษณะเช่นนี้    ควรดูที่ประเพณีปฏิบัติของแต่ละบริษัทครับ ว่าที่ผ่านมาปฏิบัติอย่างไร   มีเจตนาในการกำหนดข้อบังคับดังกล่าวไว้อย่างไร     เพราะบางแห่งอาจหมายถึง ลากิจได้ปีละไม่เกิน 6 วันทำงาน และได้รับค่าจ้างในวันที่ลา   ลาเกินไม่ได้   
แต่บางแห่งอาจหมายถึง ลากิจโดยได้รับค่าจ้าง ุ6 วันทำงาน   ส่วนที่ลาเกิน 6 วัน  ลาได้แต่ไม่ได้รับค่าจ้าง เป็นต้น
เคยมีคนตั้งถามไว้หลายครั้งว่า ไปพบหมอตามที่หมอนัด เป็นลาป่วยหรือลากิจ 
กรณีนี้ต้องพิจาณาถึงเจตนาของกฎหมาย คือ ลาป่วย หมายถึง   ลาอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยไข้จนไม่สามารถมาทำงานตามปกติได้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใครทราบล่วงหน้าว่าตนเองจะเจ็บป่วยเมื่อใด   ส่วนลากิจเป็นเรื่องที่พนักงานทราบล่วงหน้าถึงกิจธุระอันจำเป็นที่ต้องการลานั้น ๆ 
             หมดนัด หากพิจาณาตามหลักเจตนาของกฎหมาย ถือว่าพนักงานทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว   และการไปพบแพทย์ตามนัด อาจไม่เกิดจากอาการเจ็บป่วยเสมอไป  อาการป่วยอาจหายดีหรือ ดีขึ้น  สามารถมาทำงานได้ตามปกติแล้ว แต่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อดูอาการหรือตรวจเพิ่มเติม กรณีอย่างนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการลาเนื่องจากอาการเจ็บป่วย   ไม่ใช่การลาป่วย
             แต่กรณีหากอาการเจ็บป่วยยังไม่หาย ต้องหยุดพักรักษาตัว และต้องไปพบแพทย์ตามกำหนด
 
อย่างนี้ยังถือว่ามีอาการเจ็บป่วยอยู่  การลาจึงเป็นการลาป่วยได้ 
             สรุปง่าย ๆ คือ มีอาการป่วย จนไม่สามารถมาทำงานตามปกติได้  และต้องหยุดเนื่อจากอาการเจ็บป่วยนั้น ๆ   เป็นลาป่วย     
หากหมอนัด    แต่ช่วงวันเวลาที่หมอนัดนั้น พนักงานมีอาการป่วยดีขึ้น และมาทำงานตามปกติได้แล้ว   แต่ลาไปเพื่อพบหมอตามนัด   ถือเป็นการลากิจ
 
 
ลาเพื่อทำหมัน  
 
             ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
 มาตรา ๓๓“ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนดและออกใบรับรอง”
 ลาเพื่อทำหมัน   กฎหมายให้สิทธิ์เท่าเทียมกันทั้งชายและหญิง     การลาเพื่อทำหมันกฎหมายกำหนดไว้ ๒ กรณีคือ
๑) ลาไปเพื่อทำหมัน    นั่นหมายถึง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานชายหรือหญิง   เมื่อต้องการทำหมัน และได้กำหนดวัน หรือได้เตรียมตัวพร้อมแล้ว ให้สิทธิลาไปเพื่อทำหมันในวันนั้น ๆ 
๒) ลาเนื่องจากการทำหมัน   หมายถึง เมื่อไปทำหมันแล้ว   อาจมีผลข้างเคียง หรือจำเป็นต้องพักรักษาตัว   แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด จะเป็นคนวินิจฉัยลงความเห็นและออกใบรับรองแพทย์ให้ว่าเห็นควรหยุดพักรักษาตัวกี่วัน   ลูกจ้างก็มีสิทธิ์ลาตามจำนวนวันที่แพทย์รับรองนั้นได้
 
มีปัญหาว่า ลาเพื่อทำหมัน ต้องลาล่วงหน้าหรือไม่   หรือเป็นลักษณะเหมือนการลาป่วยหรือลากิจ
ลาเพื่อทำหมัน กฎหมายไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขไว้ ว่าต้องปฏิบัติเช่นไร
แต่สามารถพิจารณาได้ตามลักษณะแห่งการลา    กล่าวคือ คนที่จะทำหมันได้ ต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง   หรือมีความพร้อมทั้งกายและจิตใจ จึงจะทำหมัน นั่นแสดงว่า การทำหมันไม่ได้เกิดจากการเจ็บป่วยหรือไม่สบาย   ดังนั้น กรณีจึงไม่เข้าข่ายลักษณะของการลาป่วย    
 แต่ในทางตรงกันข้าม   ลูกจ้างสามารถกำหนดวันหรือสามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่า ต้องการทำหมันหรือจะไปทำหมันในวันใด    ซึ่งเข้าลักษณะเหมือนการลากิจนั่นเอง
            ดังนั้น การลาเพื่อทำหมัน   จึงจำต้องยื่นใบลาล่วงหน้า  ให้นายจ้างทราบ 
 
ลาเพื่อทำหมัน   ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ 
มาตรา ๕๗  วรรคสองกำหนดไว้ว่า
“ ในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อทำหมันตามมาตรา ๓๓ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลานั้นด้วย”
ตามกฎหมาย หมายถึง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง  สำหรับวันลาเพื่อทำหมัน และโดยเจตนาของกฎหมาย สิทธิได้รับค่าจ้างนั้นนาจะหมายถึงการลาเพื่อทำหมันตามมาตรา ๓๓ ทั้งสองกรณี    นั่นหมายถึง ทั้งการลาเพื่อทำหมัน และการลาอันเนื่องมาจากการหมันตามที่แพทย์รับรองนั่นเอง 
 
พบกันในหัวข้อต่อไปนะครับ ขอบคุณที่ติดตาม
 
ไสว   ปาระมี
         

 



กฎหมายน่ารู้

เลิกจ้าง อย่างไร ให้ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม article
ปิดกิจการชั่วคราว หรือ หยุดกิจการชั่วคราว article
สิทธิหน้าที่นายจ้าง ลูกจ้าง article
การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
พนักงานรับเหมาค่าแรง ตามมาตรา ๑๑/๑ article
เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เพิ่มเวลาทำงาน เพิ่มวันหยุด ทำงานทดแทน article
ย้ายสถานประกอบการ article
วันหยุดพักผ่อนประจำปี article
การค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง article
วันลา (ลาเพื่อรับราชการ,ลาเพื่อฝึกอบรม) article
วันลา (ลาคลอด) article
วันลา (ลาป่วย) article
วันหยุด ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ article
การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าจ้าง article
ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com