ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



วันหยุด ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ article

สวัสดีครับ 

            ไม่ได้พบกันหลายวัน   วันนี้กลับมาแล้ว   เรามาต่อกันในหัวข้อกฎหมาย  ที่ HR  หลายคน  อาจมองข้ามไปแต่ก็มีควมสำคัญไม่น้อยครับ   คือ วันหยุด    เกี่ยวกับวันหยุดมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่หลายมาตรา  เรามาลองเรียบเรียงดูทีละเรื่องนะครับ

           วันหยุด

           หมายถึง  วันที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดทำงาน  ไม่ต้องมาทำงานตามปกติ   เช่น  วันหยุดประจำสัปดาห์   วันหยุดตามประเพณี  เป็นต้น

          วันหยุดประจำสัปดาห์   ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๒๘  กำหนดว่า "   ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวันโดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวันนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

        ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานโรงแรมงานขนส่งงานในป่างานในที่ทุรกันดารหรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง      นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน"

        ตามข้อกฎหมาย  วันหยุประจำสัปดาห์  มี  ๒  ประเภท คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ที่สามารถกำหนดได้แน่นอน  เช่น  ทำงานจันทร์ถึงศุกร์  หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ เป็นต้น   ส่วนใหญ่จะเป็นงานทั่ว ๆ ไป  ไม่ใช่ธุรกิจเฉพาะ  ซึ่งสามารถกำหนดวันทำงานปกติ  วันหยุดและเวลาทำงานปกติได้  กรณีนี้วันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน

        วันหยุดประจำสัปดาห์ที่ไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนได้  เช่น  งานบริการ  งานที่ต้องเข้าเป็นกะ  หรืองานที่ต้องเดินทางเป็นประจำ  ลักษณะการหยุดจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนไปตามลักษณะของการทำงานแต่ละประเภท   เช่น  อาจกำหนดว่า ทำงานห้าวัน  หยุดสองวัน  หรือทำงานหกวันหยุดหนึ่งวันเป็นต้น   โดยงานในลักษณะดังกล่าวนี้  ยังสามารถเลื่อนหรือสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์  ไปหยุดรวมกันทีเดียวได้   แต่ต้องไม่เกินสี่สัปดาห์ติดต่อกัน  เช่น งานขายที่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัด  นายจ้างลูจ้างอาจตกลงกัน ให้ทำงานต่อเนื่องไปเลยยี่สิบวัน  เมื่อกลับมาให้หยุดต่อเนื่อง สิบวัน  อย่างนี้เป็นต้น

 

       วันหยุดตามประเพณี

       ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา ๒๙ กำหนดว่า "  ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด  ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปีวันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไปในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีหรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้"

      วันหยุดตามประเพณี  นายจ้างมีอำนาจในการกำหนดเอง   โดยไม่ต้องตกลงหรือได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน   ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด  คือ ให้พิจารณาจากวันหยุดราชการ   วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น   เช่น  วันขึ้นปีใหม่   วันสงกรานต์  วันเข้าพรษา  ออกพรรษา  เป็นต้น   ปีหนึ่งต้องกำหนดไม่น้อยกว่า  ๑๓  วัน  มากกว่าได้   น้อยกว่าไม่ได้

     การกำหนดวันหยุดตามประเพณี   ต้องเป็นวันหยุดตามประเพณีจริง ๆ เช่น  วันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่  ตรงกับวันอังคารและวันพุธ  แต่บริษัท ฯ เห็นว่าวันจันทร์ คั่นกลางอยู่  จึงเปลี่ยน  เป็น วันจันทร์และวันอังคารแทน  อย่างนี้  ถือว่า  วันจันทร์ไม่ใช่วันหยุดตามประเพณี  กำหนดไม่ได้

      หากวันหยุดตามประเพณีวันใด  ตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์  สามารถเลื่อนไปหยุดชดเชยในวันทำงานถัดไปได้  เช่น  วันขึ้นปีใหม่  ตรงกับวันอาทิตย์  ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์  นายจ้างก็สามารถเลื่อนไปหยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่  ในวันจันทร์เพิ่มเติมได้

      ในลักษณะงานใด  อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สามารถหยุดตามประเพณีได้ เช่น  งานโรงแรม  งานสถานพยาบาล  งานบริการท่องเที่ยว  เป็นต้น  เพราะหยุดแล้วจะเสียหายแก่งาน  นายจ้างสามารถตกลงกับลูกจ้าง  ว่าจะกำหนดให้หยุดชดเชยในวันใดทดแทนก็ได้ หรือจะจ่ายเป็นค่าจ้างแทนก็ได้เช่นกัน 

 

     วันหยุดพักผ่อนประจำปี 

 

       พนักงานที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี   มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้  ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า  ๖  วันทำงาน

       ดูดี ๆ นะครับ  กฎหมายกำหนดว่า   ๖  วันทำงาน  ไม่ใช่ ๖  วัน  เพราะบางบริษัท ไปกำหนดว่า การใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหากหยุดคล่อมกับวันหยุดประจำสัปดาห์  ให้นับวันหยุดรวมไปด้วย  อย่างนี้ ไม่ถูกต้อง  เพราะถือว่าลูกจ้างเสียสิทธิ

        วันหยุดพักผ่อนประจำปี    กฎหมายกำหนดให้สิทธิแก่ลูกจ้าง  แต่หน้าที่กำหนดวันหยุด  เป็นของนายจ้างนะครับ  

        ดังนั้น  นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างทราบว่า  มีสิทธิหยุดในวันใด  หรือช่วงเวลาใด  เพราะหากไม่กำหนด  และลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิ  ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดตามประเพณีที่ไม่ได้ใช้สิทธินั้นนะครับ

      การกำหนดเงื่อนไขในระเบียบว่า  ลาพักร้อนหรือหยุดพักผ่อนประจำปี   ให้ลูกจ้างยื่นใบลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  ๗  วัน  และต้องได้รับอนุมัติก่อน   อย่างนี้  ไม่ถือว่าเป็นการกำหนให้ลูกจ้างหยุด   เป็นเพียงการกำหนดเงื่อนไขและวิธีการลาเท่านั้น  การกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี   ต้องเป็นลักษณะกำหนดวันให้ลูกจ้างหยุด หรือกำหนดช่วงวันเวลาให้ลูกจ้างใช้สิทธิหยุด  เมื่อนายจ้างกำหนดแล้ว   หากลูกจ้างไม่ใช้สิทธิหยุดตามวันหรือช่วงเวลาที่นายจ้างกำหนด  ก็ถือว่าลูกจ้างสละสิทธิ  ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้สิทธินั้น  

     จำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปี  สามารถกำหนดมากกว่า  ๖  วันได้ และนายจ้างลูกจ้างสามารถตกลงให้สะสมวันหยุดใปใช้ในปีถัดไปได้  

      กรณีพนักงานทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี  นายจ้างจะกำหนดให้ได้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ล่วงหน้าตามส่วนก็ได้  และเมื่อเริ่มต้นปีใหม่  ก็ให้ได้สิทธิพักผ่อนประจำปีในปีนั้น ๆ ก็สามารถทำได้  ไม่ขัดต่อกฎหมาย

    ตามพระราชบัญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๑  มาตรา ๖๗  กรณีเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกเอง   ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม  ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับด้วย

     ในครั้งต่อไปเราดูกันในเรื่องของการ  ลาประเภทต่าง ๆ  วันนี้ขอจบเพียงเท่านี้  ไว้พบกันในบทความต่อไปครับ

 

 

   ไสว   ปาระมี
 



 

 

 

 

 

         ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ  มาตรา ๓๐ กำหนดว่า " ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงานโดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน    ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่าหกวันทำงานก็ได้    นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆไปได้สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบหนึ่งปีนายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้"




กฎหมายน่ารู้

เลิกจ้าง อย่างไร ให้ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม article
ปิดกิจการชั่วคราว หรือ หยุดกิจการชั่วคราว article
สิทธิหน้าที่นายจ้าง ลูกจ้าง article
การจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
พนักงานรับเหมาค่าแรง ตามมาตรา ๑๑/๑ article
เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เพิ่มเวลาทำงาน เพิ่มวันหยุด ทำงานทดแทน article
ย้ายสถานประกอบการ article
วันหยุดพักผ่อนประจำปี article
การค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง article
วันลา (ลาเพื่อรับราชการ,ลาเพื่อฝึกอบรม) article
วันลา (ลาคลอด) article
วันลา (ลากิจ ลาเพื่อทำหมัน) article
วันลา (ลาป่วย) article
การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าจ้าง article
ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com