ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



การโอนสิทธิความเป็นลูกจ้างตาม ป.พ.พ.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 article

 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1605/2551
 
                   การเกษียณอายุตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน    เมื่อการโอนสิทธิความเป็นลูกจ้างตาม ป.พ.พ.มาตรา 577 มิใช่การเปลี่ยนตัวนายจ้างตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 13   เมื่อลูกจ้างยินยอมด้วยความสมัครใจ กรณีการเกษียณอายุ   จึงต้องผูกพันและต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างใหม่ด้วย
 
 
 
              โจทก์ฟ้องว่า  โจทก์เริ่มทำงานครั้งแรกเมื่อปี 2529  สังกัดและรับเงินเดือนในนามกลุ่มบริษัทสุราสัมพันธ์  จำกัด ปี 2535 ย้ายมาสังกัด “ศูนย์การตลาด”  โดยสังกัดบริษัทและรับเงินเดือนจากจำเลยที่ 1  ซึ่งเมื่อเริ่มแรกจำเลยที่ 1 ยังไม่จดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ต่อมาเดือนมิถุนายน 2537 จำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือศูนย์การตลาดได้ทำการจดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ปี 2543   โจทก์ได้โอนย้ายมาสังกัดกลุ่มบริษัทการตลาดแสงโสม   โดยให้สังกัดและได้รับเงินเดือนจากจำเลยที่ 2   มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ    สำนักงานบัญชี เดือนตุลาคม 2546 จำเลยที่ 2 ได้มีคำสั่งย้ายโจทก์ไปสังกัดบริษัทและรับเงินเดือนจากจำเลยที่ 3  โดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามเดิม การโอนย้ายโจทก์ตั้งแต่ปี 2535 จะเปลี่ยนแปลงเฉพาะสังกัดบริษัทและเงินเดือนเท่านั้น   ส่วนตำแหน่งหน้าที่ สถานที่ทำงาน อายุงานและเงินเดือนคงเดิมทุกประการ    ต่อมาเดือนธันวาคม  2547 จำเลยที่ 3 ได้มีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ เพราะเหตุว่าโจทก์มีอายุครบเกษียณอายุ (60 ปี) ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมด 9 ข้อ 9.3 โจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสามเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม   เนื่องจากระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ฉบับ ปี 2537 หมวด 9 ข้อ 9.3 ที่กำหนดให้พนักงานเกษียณอายุเมื่ออายุ ครบ 65 ปี บริบูรณ์นั้นถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้วการที่จำเลยที่  1  โอนย้ายโจทก์ไปสังกัดจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้วทำการแก้ไขหรือจดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขึ้นมาใหม่ เพื่อให้โจทก์เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปี ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำให้สิทธิของโจทก์ต้องเสียไป ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจำเลยที่ 3 จึงนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ไม่ได้ การโอนย้ายสังกัดทุกครั้งต้องให้นับอายุงานโจทก์อย่างต่อเนื่อง     ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ฉบับปี 2537  ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนจะถูกโอนย้ายจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์ต่อไป ทั้งลูกจ้างบางคนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จำเลยทั้งสามยังคงจ้างให้ทำงานต่อไปได้โดยมิได้มีการเลิกจ้างหรือเกษียณอายุแต่อย่างใด การที่จำเลยทั้งสามเลิกจ้างโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขาดรายได้ที่ไม่สามารถทำงานได้ต่อไปอีก 5 ปี เป็นเงิน 7,629,100 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจ่ายค่าเสียหาย 7,629,100 บาท  พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับจากวันที่เลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
 
                จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์ได้โอนการจ้างเข้าทำงานกับกลุ่มบริษัทจำเลยที่กรุงเทพมหานครโดยนับอายุงานต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2529 โดยเป็นพนักงานระดับบริหาร  และได้เริ่มปฏิบัติงานกับบริษัทจำเลยทั้งสามมาตั้งแต่วันที่  1 มกราคม 2536   ตลอดระยะเวลา   จำเลยทั้งสามได้มอบหมายให้โจทก์ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร การโอนย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทต่าง ๆ  ได้มีการออกคำสั่งให้พนักงานลงชื่อรับทราบตามแบบพิมพ์ของบริษัทและถือว่ายินยอมปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยทั้งสามทุกครั้ง    ไม่ว่าโจทก์ระรับเงินเดือนสังกัดบริษัทใด โจทก์ก็ยังคงรับคำสั่งและปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารของกลุ่มตลอดมา และยังคงอยู่ในบังคับของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของกลุ่มบริษัทจำเลยอยู่เพียงแต่ละครั้งที่โอนย้ายจะได้นับอายุงานต่อเนื่องเท่านั้น  กลุ่มบริษัทจำเลยได้ประกาศใช้บังคับเกี่ยวกับการทำงาน คือ ระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2531 เมื่อ วันที่ 22  สิงหาคม 2531  ต่อมามีการประกาศใช้ข้อบังคับกลุ่มบริษัทสุราทิพย์ว่าด้วยการทำงานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2535 และต่อมาได้ประกาศใช้ข้อบังคับกลุ่มบริษัท 43 เมื่อวันที่ 27  ธันวาคม 2542 ซึ่งข้อบังคับทั้งสามฉบับได้กำหนดให้พนักงานที่มีอายุครบ 60ปี ต้องเกษียณอายุ เ มื่อจำเลยที่ 3เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุครบเกษียณอายุตามข้อบังคับซึ่งยังผลใช้บังคับอยู่        ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว ในวันเลิกจ้างจำเลยที่ 3 ได้จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเป็นเงิน 661,300 บาท  และได้จ่ายเงินตอบแทนพิเศษในการเลิกจ้างให้เฉพาะโจทก์อีกเป็นเงิน 330,625 บาท   ด้วยค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไกลเกินกว่าเหตุขอให้ยก
ฟ้อง
 
               ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
 
                โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
 
                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า   โจทก์เริ่มทำงานในกลุ่มบริษัทของจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2529 โดยสังกัดบริษัทสุราสัมพันธ์ จำกัด จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 โอนย้ายไปสังกัดจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542  โอนย้ายไปสังกัดจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2546   และโอนย้ายไปสังกัดจำเลยที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 การโอนย้ายทุกครั้งจะนับอายุงานต่อเนื่อง การโอนย้ายโจทก์จากจำเลยที่ 2 ไปสังกัดจำเลยที่ 3 มีใบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ    ซึ่งโจทก์ลงชื่อรับทราบไว้ได้ระบุตำแหน่ง ระดับ และอัตราเงินเดือนเดิม ส่วนเรื่องกำหนดเกษียณอายุ มิได้มีข้อตกลงเรื่องกำหนดเกษียณอายุแต่อย่างใด โจทก์และจำเลยทั้งสามยังไม่พบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทสุราสัมพันธ์ จำกัด     อันเป็นบริษัทแรกที่โจทก์เข้าทำงานกับกลุ่มบริษัทจำเลย จึงไม่มีข้อเท็จจริงว่ามีกำหนดเกษียณอายุหรือไม่ เพียงใด(คงมีแต่ระเบียบเครือบริษัทที.ซี.ซี. ว่าด้วยการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2531 ลงวันที่ 22 สิงหาคม  2531 ข้อ 37 กำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปี   ข้อบังคับการทำงานและสวัสดิการพนักงานกลุ่มบริษัทสุราทิพย์      ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์  2535 ข้อ 36 กำหนดเกษียณอายุเมื่อครบ  60 ปีบริบูรณ์ ข้อบังคับกลุ่มบริษัท 43 ว่าด้วยการทำงาน  ข้อ 36 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2542 ข้อ 36 กำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์     ซึ่งจำเลยทั้งสามอ้างว่าใช้บังคับแก่บริษัทในเครือทั้งหมด) สำหรับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทกรุงเทพโกสินทร์ จำกัด (จำเลยที่ 1)   ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2537 ข้อ 9.3 กำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ส่วนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทนำทิพย์ จำกัด (จำเลยที่ 2) ลงวันที่ 1 มกราคม 2543 ข้อ 9.3 กำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์  และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทนำยุค จำกัด (จำเลยที่ 3)     ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2546   ข้อ 9.3 กำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60  ปีบริบูรณ์   จำเลยที่ 3  เลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุเกษียณอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2547  ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 3 และได้รับค่าชดเชยจากจำเลยที่ 3 เป็นเงิน 661,300 บาท 
 
          มีปัญหาต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ประการแรกว่า โจทก์มีสิทธิเกษียณอายุเมื่ออายุครบ  65  ปีบริบูรณ์ตามที่กำหนดในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 หรือไม่  โดยโจทก์อุทธรณ์ว่า  หากนำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กำหนดให้ลูกจ้างเกษียณอายุเมื่ออายุครบ  60  ปีบริบูรณ์  มาใช้กับโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 โอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว เป็นการนำช่องว่างของกฎหมายมาใช้กับโจทก์และจะเป็นบรรทัดฐานให้นายจ้างสามารถโอนลูกจ้างไปอยู่กับนายจ้างใหม่ที่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานใหม่ที่ให้สิทธิเรื่องเกษียณอายุไม่เท่าเดิมได้โดยลูกจ้างไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  และตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 13 ให้นายจ้างใหม่รับโอนสิทธิหน้าที่เดิม จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับโอนเรื่องการเกษียณอายุ 65 ปี มาด้วยนั้น      เห็นว่า  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 13  ใช้สำหรับกรณีมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างไม่ว่านายจ้างนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล   จึงจะมีผลให้นายจ้างใหม่ต้องรับสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างที่มีอยู่กับนายจ้างเดิมมาด้วยทุกประการ แต่หากเป็นการโอนสิทธิความเป็นนายจ้างให้แก่นายจ้างใหม่นั้นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 ซึ่งนายจ้างเดิมและนายจ้างใหม่จะทำได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย     และเมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจในการโอนสิทธิดังกล่าวแล้วลูกจ้างนั้นจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  หรือระเบียบ   หรือคำสั่งของนายจ้างใหม่ด้วยเช่นกัน เมื่อปรากฏว่าในระหว่างที่โจทก์ทำงานกับจำเลยที่  1   ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 ถึง  วันที่ 31 ธันวาคม  2542 จำเลยที่ 1 มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 9.3  กำหนดเกษียณอายุเมื่อครบ 65  ปีบริบูรณ์   ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนย้ายโจทก์ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2546    จำเลยที่ 2 มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 9.3 กำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และจำเลยที่ 2  โอนย้ายโจทก์ไปทำงานกับจำเลยที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547   จำเลยที่ 3 มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 9.3 กำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ  60  ปีบริบูรณ์      ซึ่งการโอนย้ายโจทก์จากการทำงานกับจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577  แม้จะเป็นเหตุให้สิทธิในการเกษียณอายุของโจทก์ต้องลดลงก็ตาม แต่เมื่อการโอนย้ายดังกล่าวโจทก์ยินยอมพร้อมใจ โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างใหม่ซึ่งก็คือจำเลยที่ 2 และต่อมาคือจำเลยที่ 3  เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 3 ข้อ 9.3 กำหนดเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์   โจทก์ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 3  ดังกล่าว   โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 65 ปี บริบูรณ์ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 เอากับจำเลยที่ 3 ได้ การที่จำเลยที่ 3  จัดให้โจทก์ทำงานถึงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จึงเป็นการปฏิบัติตามสิทธิของโจทก์และหน้าที่ที่จำเลยที่  3   มีต่อโจทก์โดยชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 3 แล้ว         ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า     การที่จำเลยที่ 3 เลิกจ้างโจทก์มิใช่การเลิกจ้างโดยกลั่นแกล้งแต่เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุผลอันสมควรและเพียงพอ  มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522   มาตรา 49  จึงชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
 
                พิพากษายืน
               
 
 
               
 

 




ฎีกาบรรทัดฐาน

โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย article
สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาต่อสัญญาใหม่ เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ต้องบอกกล่าว + ค่าชดเชย article
เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ลูกจ้างทราบเรื่องโดยตลอดมิ ได้คัดค้าน แต่ลาออกแล้วใช้สิทธิฟ้องเงินตามข้อตกลงภายหลัง ถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีอำนาจฟ้อง
ค่าเบี้ยเลี้ยง / ค่าล่วงเวลา คือ ค่าตอบแทนบริษัททัวร์ (เหมาจ่ายสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดชอบด้วยกฎหมาย) article
ตกลงจ่ายเงินโบนัสทุกเดือนเป็นประจำแน่นอน ถือเป็นค่าจ้าง article
อายุความ มูลละเมิดอันมีความผิดทางอาญา หากในคดีอาญาอายุความมากกว่าให้ใช้อายุความตามนั้น article
ทำงานแม่บ้านร้านเสริมสวยถือเป็นลูกจ้าง article
เกษียณอายุ จ้างต่อ ตกลงไม่จ่ายค่าชดเชยกัน เป็นโมฆะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ต้องวางเงินศาลตามคำสั่งก่อน จึงจะใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนคำสั่งได้ article
ค่าตำแหน่ง ค่ารถ ถือเป็นค่าจ้าง article
เปลี่ยนแปลง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน (ไมได้ ! ) article
สัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ article
ค่าคอมมิชชั่น article
ค่าคอมมิชชั่นที่คำนวณจากยอดขาย ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าเที่ยว ถือเป็นค่าจ้าง article
เหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าทำงานล่วงเวลา article
เดินโพยหวย ล่อซื้อและเลิกจ้างได้
ลักษณะงานที่ไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้ article
ตกลงเหมาจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการขับรถรับส่งท่องเที่ยวสูงกว่าอัตราที่ควรได้รับถือว่าจ่ายค่าล่วงเวลาโดยชอบแล้ว
โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ไม่ชอบ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com