ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



ชีวิตพลาสติก article

ชีวิตพลาสติก

         เคยลองนั่งนึกกันเล่นๆไหมว่า วันหนึ่ง เราสร้างขยะกี่ชิ้นให้กับโลกใบนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาถุงพลาสติกทั้งหลายที่ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น
เดินเข้าร้านสะดวกซื้อ จ่ายเงินค่าขนมถุง ๑ ห่อ ได้ถุงพลาสติกมา ๑ ใบ  แวะซื้อลูกชิ้นปิ้งสามไม้ ได้ถุงพลาสติกหิ้วแถมมาด้วย อีก ๑ ใบ   ต่อด้วยกาแฟเย็น ๑ แก้ว ที่เดี๋ยวนี้แต่ละร้านก็มีฝาปิดแก้วแสนสวยมาให้ด้วย    แค่อาหารมื้อเช้าก่อนไปทำงาน หรือเรียนหนังสือ เราก็ได้ถุงพลาสติกที่ไม่รู้จะเอาไปอะไรต่อถึง ๓ ใบ พร้อมด้วยพลาสติกกลม ๆ อีกหนึ่งอัน  
ถ้าอย่างนั้น ตลอดชีวิตที่ผ่านมาของเรา ได้สร้างขยะพลาสติกมากเพียงใด

ความจริงเกี่ยวกับพลาสติก
 
           แต่ละวัน ทั่วโลกมีถุงพลาสติกว่า ๑ พันล้านใบได้ถูกแจกจ่ายออกไปราวกับได้เปล่า แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่า โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี  ลองมาดูกันว่า เราต้องแลกอะไรบ้างกับความสะดวกสบายจากการใช้ถุงพลาสติกในชีวิตประจำวัน
          -  ถุงพลาสติก ๑ ใบ ใช้เวลาย่อยสลาย ๔๕๐ ปี
          - ทุกปีผู้คนจับจ่ายซื้อของทั่วโลกใช้ถุงพลาสติก ๑๐,๐๐๐ ล้านใบต่อปี ซึ่งจะต้อง ใช้เวลา ย่อยสลาย นานกว่า ๑,๐๐๐ ปี
          - ถุงพลาสติก ๑.๖ ล้านใบ นำไปเรียงเป็นเส้นรอบวงโลกได้ ๑ รอบ
          - พลังงานที่นำมาผลิตถุงพลาสติก ๘.๗ ใบ เท่ากับพลังงานที่เป็นน้ำมันให้รถวิ่งได้ ๑ กิโลเมตร
         - ทุก ๑ ตารางไมล์ จะพบถุงพลาสติก ๔๖,๐๐๐ ใบลอยในมหาสมุทร ซึ่งส่งผลให้แต่ละปีมีนกทะเลตาย ๑ ล้านตัว และสัตว์ทะเลอื่นๆจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ตัว และปลาอีกนับไม่ถ้วน
         -แต่ละปีมีเต่าทะเล และสัตว์น้ำจำนวนมาก ตายจากการกินพลาสติก เพราะคิดว่าเป็นอาหาร เช่น แมงกะพรุน
 
ลดพลาสติก ใครว่ายาก
             เมื่อเราต้องอยู่ท่ามกลางการบริโภคพลาสติกอย่างมากมายในสังคม จึงเป็นข้อสงสัยในใจของใครต่อใครว่า แล้วจะทำอย่างไรล่ะ สิ่งที่ง่ายที่สุดก็คงหนีไม่พ้น  เริ่มต้นที่ตัวเองเป็นอันดับแรกด้วยวิธีง่าย ๆ แบบนี้     
             เริ่มจาก ลองนับดูว่า แต่ละสัปดาห์เราใช้ถุงพลาสติกกี่ใบ และอาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะลดลงให้ได้ทุกสัปดาห์ 
           ใช้ถุงผ้าเวลาไปช็อปปิ้งแทนถุงพลาสติกที่ร้านค้ามักหยิบยื่นให้  ซึ่งถ้ากลัวลืมนักก็ขอแนะนำให้ติดถุงผ้าไว้ในรถเสียเลย
           เวลาที่ไปซื้อของจำนวนเล็กน้อย สองสามชิ้น คงพอถือได้โดยไม่ต้องใส่ถุงพลาสติก หรือหากไม่มีทางเลือกแล้ว คงต้องตรวจสอบในถุงใบนั้นมีของอยู่ ๘ ชิ้นเป็นอย่างต่ำหรือไม่  เพื่อให้การใช้ถุงพลาสติกแต่ละครั้งของเราคุ้มค่าที่สุด
        ทิ้งขยะลงในถังโดยตรงแทนการใช้ถุงพลาสติกซ้อนในถังขยะ  พอถึงเวลาที่ทำความสะอาด น้ำที่ใช้ล้างถังก็เอามารดน้ำต้นไม้ต่อไปได้อีกทอดด้วย
 
 
ภัยไฮเทค
      “โทรศัพท์มือถือเสีย ไม่ต้องซ่อมหรอก ซื้อเครื่องใหม่เลยดีกว่า คุ้มกว่าเยอะ” ด้วยความที่เทคโนโลยีต่างๆพัฒนาไปมาก ราคาของอุปกรณ์ไฮเทคทั้งหลายจึงราคาต่ำลงกว่าในอดีตบ้าง จากประโยคข้างต้นเชื่อว่าหลายคนคงเคยประสบกับเหตุการณ์ทำนองนี้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น จอคอมพิวเตอร์ แบตเตอรีโทรศัพท์มือถือ  คอมพิวเตอร์เก่า ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าอายุสั้นที่หมุนตามความเจริญก้าวหน้าไม่ทันด้วยกันทั้งนั้น  ดังนั้น เพื่อความสะดวกสบายและการใช้ตัวเงินเป็นตัวชี้วัด เราจึงเลือกที่จะทิ้งคอมพิวเตอร์เครื่องเก่า โทรศัพท์มือถือที่ตกยุค ฯลฯ ไว้ที่ใดสักแห่งในบ้าน  แล้วซื้อเครื่องใหม่ที่ทันสมัยกว่า และคุ้มค่ากว่าแทน
          ทั้งที่ในความเป็นจริง อาจไม่คุ้มค่าอย่างที่คาด ซ้ำร้ายยังทำร้ายเรา และโลกโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
 
ข่ายใยซ่อนเร้
         โทรศัพท์มือถือที่เราใช้ กับลิงกอริลล่าในแอฟริกา เกี่ยวข้องกันได้ไง      อาจฟังดูไม่น่าเชื่อเท่าไหร่ แต่โทรศัพท์มือถือ หรือส่วนประกอบคอมพิวเตอร์บางอย่างทำจากสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า โคล์แทน(Coltan) ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก แต่มีการลักลอบทำเหมืองแร่ชนิดนี้อย่างผิดกฎหมายในป่าของประเทศคองโก และเป็นการรุกรานที่อยู่ของกอริลล่า นอกจากนี้ คนงานเหมืองแร่ยังฆ่าสัตว์ป่าท้องถิ่น เช่น กอริลล่า ช้าง เพื่อเป็นอาหารอีกด้วย

มีอะไรในเครื่องใช้ไฮเทค
         หากลองถอดเปลือกโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ที่ผู้คนใช้งานเกือบตลอดเวลานั้น สิ่งที่เราพบก็ไม่ต่างจากยาพิษดีๆนั่นเอง เนื่องจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นพิษและตกค้างยาวนาน รวมทั้งโลหะหนักต่างๆ  เช่น ตะกั่ว สารปรอท แคดเมียม สารที่เป็นอันตรายเหล่านี้ทำให้เกิดมลพิษที่ร้ายแรงทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แม้จะมีการสัมผัสในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม     ตัวอย่างเช่น หลอดภาพแบบ CRT ที่ใช้ในจอมอนิเตอร์ซึ่งส่งขายทั่วโลกในปี ๒๕๔๕ กว่า ๑๗.๘ ล้านเครื่อง  ประกอบด้วยตะกั่วประมาณ ๑๐,๐๐๐ตัน  การสัมผัสกับตะกั่วเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียความสามารถด้านสมองของเด็ก และทำลายระบบประสาท ระบบเลือดและระบบสืบพันธุ์ในผู้ใหญ่
 
มีแต่เพิ่มไม่มีลด
         มีการสำรวจข้อมูลการบริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก พบว่า อัตราการใช้งานสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ     อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยของคอมพิวเตอร์ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงจาก ๖ ปีในปี ๒๕๔๐ เป็น ๒ ปีในปี ๒๕๔๘  ในประเทศพัฒนาแล้ว โทรศัพท์มือถือมีวงจรชีวิตสั้นกว่า ๒ ปี  ในปี ๒๕๔๗ มีการขายคอมพิวเตอร์ ๑๘๓ ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๑.๖ จากในปี ๒๕๔๖และ มีการขายโทรศัพท์มือถือ ๖๗๔ ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๓๐ จากปี ๒๕๔๖    ภายในปี  ๒๕๕๓ ตลาดซึ่งเติบโตเต็มที่ในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก จะเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ใหม่อีก ๑๕๐ ล้านเครื่อง ขณะที่ตลาดที่กำลังเติบโตขึ้นแห่งอื่นจะเพิ่มอีก ๕๖๖ ล้านเครื่อง
             สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องเก่านั้น ก็ถูกเก็บไว้ให้ฝุ่นเกาะ เพื่อรอการการนำมาใช้ใหม่ ทั้งนี้ ทางกระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ของสหรัฐฯ ประมาณการว่า ๓ ใน ๔ ของคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกขายไปแล้วในสหรัฐฯ จะถูกกองรวมกันอยู่ในโกดังและที่เก็บต่างๆ เมื่อถึงคราวที่ต้องโยนทิ้ง พวกมันจะถูกนำไปฝังกลบหรือไม่ก็เข้าเตาเผาขยะ และเมื่อเร็วๆ นี้ยังมีการส่งออกมาที่เอเชียด้วย
 
เอาไปไหนได้บ้าง
             ส่วนในประเทศไทย หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบโดยตรง คือ กรมควบคุมมลพิษ  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานมาทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเก็บรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ เพื่อส่งไปกำจัดหรือรีไซเคิลอย่างถูกวิธีต่อไป  มาดูกันว่ามีที่ไหนบ้างที่เราสามารถส่งต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วได้

           หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ - เอาไปไว้ได้ตามจุดต่างๆที่ร่วมโครงการเรียกคืนซากหลอดฟลูออเรสเซนต์  กรมควบคุมมลพิษเช่น  ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ทุกแห่ง  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี มหาวิทยาลัยมหิดล ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์  เป็นต้น สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่   ส่วนของเสียอันตราย   สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย  โทรศัพท์ ๐๒ -๒๙๘-๒๔๓๖-๘  http://www.pcd.go.th/info_serv/hazadous.html
 
                ซากแบตเตอรีโทรศัพท์มือถือ – ส่งที่ ผู้ให้บริการ ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าในธุรกิจโทรศัพท์มือถือตามศูนย์ให้บริการต่างๆ  ได้แก่  ฮัทช์ ดีแทค เอไอเอส โนเกีย และโมโตโรล่า ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้ร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษ
                คอมพิวเตอร์-จอมอนิเตอร์-พริ้นเตอร์ แนะนำว่าหากยังใช้งานได้ หรือซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย สามารถนำเอาไปบริจาคให้กับเด็กนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร หรือ องค์กรการกุศลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  เช่น มูลนิธิวิสุทธิคุณ โทร ๐๒- ๙๔๑ -๕๕๘๘-๙๐
www.wsk.or.th
 
                 อย่างไรก็ตาม สำคัญที่สุดคือ พวกเราล้วนแต่มีส่วนที่ต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย การเลือกซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชิ้น ไม่เพียงแต่พิจารณาถึงความคุ้มค่าทางการเงิน หรือ มองเพียงว่า “ ฉันมีปัญญาซื้อได้ ใครจะทำไม”เท่านั้น  แต่น่าจะลองมองถึงผลที่ตามมาในระยะยาวไปพร้อมกัน วิธีการง่ายๆ(อีกแล้ว) ก็คือ ถามตัวเองว่าเราจำเป็นต้องใช้สินค้าใหม่ชิ้นนั้นจริงหรือไม่
 
บริโภคให้น้อย รักษาให้นาน
                มีคนเปรียบเทียบไว้ว่า การซื้อเสื้อสักตัวหนึ่ง ก็ไม่ต่างจากการเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่เราจะต้องดูแลรับผิดชอบมันไปตลอดชีวิตทันทีที่ตัดสินใจนำมันมาอยู่ด้วยแล้ว  บรรดาเสื้อผ้าน่ารักแสนสวยที่อยู่ในตู้เสื้อผ้าก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นก่อนจะซื้อเสื้อผ้าครั้งใด เราน่าจะวางแผนสักนิดว่า จะซื้อแบบไหน สีใด เพราะนอกจากจะช่วยลดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อแล้ว ยังช่วยประหยัดเวลาอีกด้วย  ขณะเดียวกัน  อาจจะตอบคำถามตัวเองว่า ฉันพร้อมจะใช้ประโยชน์เสื้อตัวนี้อย่างคุ้มค่า และรับผิดชอบมันตลอดอายุการงานของมันหรือไม่  
 
               นอกจากนี้ แทนที่จะซื้อเสื้อผ้าใหม่ ลองเปลี่ยนมาใช้เสื้อผ้ามือสองดูบ้าง เพื่อเป็นการต่อชีวิตของมันให้นานขึ้น คุ้มค่ากับสิ่งที่เราสูญเสียไปในการผลิต ขณะเดียวกันแทนที่จะเอาเสื้อผ้าที่ไม่ชอบใจ ทิ้งไปเฉยๆ ก็เปลี่ยนเป็นส่งต่อให้คนอื่น อาจจะเป็นผู้ขาดแคลนเครื่องนุ่มห่ม หรือรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ แลกเสื้อผ้าใส่ ก็จะได้เสื้อผ้าแบบใหม่ๆโดยไม่ต้องซื้อเพิ่มแต่อย่างใด
 
              ผลที่ตามมาก็คือ ปริมาณเสื้อผ้าที่ผลิตลดลง สารเคมีที่ออกสู่อากาศและพื้นดินก็ลดลงด้วย เราจะมีพื้นที่สำหรับอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อเลี้ยงดูชาวโลก จากสัดส่วนพื้นที่การผลิตฝ้ายสำหรับเครื่องนุ่งห่มที่ลดลงไปอีกมหาศาลเป็นดั่งกันและกัน
 
             ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของเราที่มีต่อเพื่อนร่วมโลกไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ พื้นดิน อากาศ หรือท้องฟ้า     เพราะทุกชีวิตบนโลกนี้ไม่สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว เราต่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน อาหารที่เรากินก็เป็นส่วนประกอบจากท้องฟ้า พื้นดิน แสงแดด ฝน เมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงความเหน็ดเหนื่อยของเกษตรกร และผู้ปรุงอาหารให้เรารับประทาน  เราต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก การกระทำของชีวิตหนึ่งจึงส่งผลต่อเพื่อนร่วมโลกอีกมากมาย เฉกเช่น ก้อนหินที่ตกลงไปในน้ำที่ก่อให้เกิดคลื่นกระจายออกไปไม่รู้จบ   การใช้ถุงพลาสติกแต่ละวัน การเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือให้ไม่ตกยุค การซื้อเสื้อผ้าให้ทันสมัยอยู่เสมอ จึงไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของคนทั้งโลกต่างหากเล่า  อันหมายถึงการให้ความรัก หรือมีจิตอาสาต่อโลกใบนี้นั่นเอง



นานา น่ารู้

เตรียมตัวตายกันได้แล้วทุกคน "ตอนใกล้ตาย” article
ระวัง! สารกันบูดในขนมปังร้านดัง article
กินอย่างไร เมื่อโคเลสเตอรอลในเลือดสูง article
นาฬิกาแขวนผนัง article
อ่านให้จบนะ..ดีมากๆ? เลย article
อ่านแล้วชอบ จึงขอแบ่งปัน article
ช้อนยาวหนึ่งเมตร article
ป้องกันและชะลอ “ข้อเข่าเสื่อม” ก่อนวัย article
ทำไมแสงแดดถึงเป็นอันตราย article
อย่าไปเกลียดใคร ให้แผ่เมตตา article
13 คุณประโยชน์จากวาซาบิที่คุณคาดไม่ถึง article
อุจจาระบอกความผิดปกติ article
ตำนานวันไหว้พระจันทร์ article
ผู้ชาย VS วัยทอง article
ท้องป่อง อ้วนลงพุง article
คาถาบูชาพ่อ แม่สวดทุกวัน article
ขึ้นฉ่าย ปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ article
กินอาโวคาโดลดไขมัน ไม่ทำให้อ้วน article
การใช้บุญที่ถูกต้องถึงจะได้ผล article
กระชาย : ชะลอความแก่ article
อ่านแล้วสบายใจ article
เช็คความเสื่อมแต่ละวัย! article
จงใช้ชีวิตให้คุ้มค่า article
ลืมได้ ก็จำได้ article
ยาหมดอายุแล้วสามารถกินได้ไหม? article
จริงหรือไม่ เจ็บคอ บ่อยๆ article
ตอนอยู่ อยากได้เงิน ตอนตาย อยากได้บุญ ตอนอยู่ ทำตามใจกิเลส ตอนตาย เลยกลายเปรต article
คน 8 ประเภท อย่าคบ อย่าช่วย ถอยห่างได้เป็นดี article
เรื่องน่ารู้ของ สีพาสปอร์ตในไทย article
บทเรียนของคนวัย 40 ปีขึ้นไป ที่อยากแก้ไข และเตือนคนรุ่นหลัง article
จริงหรือไม่? กินไก่มาก เป็น “โรคเกาต์” article
ดื่มนมต่างเวลา ได้คุณค่าแตกต่างกัน article
จริงหรือไม่ วางมือถือข้างหมอน เสี่ยง "มะเร็งสมอง" article
คุณสมบัติหลินจือกับสุขภาพร่างกาย article
อ่านเถอะดีมาก เคล็ดลับการดูแลสมอง 10 ประการ จาก "หนูดี วนิษา เรซ" article
จริง หรือ ไม่ ความอ้วน ฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด ? article
ทำไมต้องนั่งสมาธิในเวลา "ก่อนนอน หรือ ตอนเช้า" article
เครียดไม่รู้ตัว ภัยเงียบที่อาจอยู่ข้างๆคุณ article
คนเราตายแล้วไปไหนบ้าง ? article
กรรมที่เกิดมาเป็นสัตว์ article
แค่กำมือก็ช่วยความดันได้ article
วันนี้... คือ “ วันที่ดีที่สุด ” article
คำกลอน วันพุธ article
คำกลอน วันอังคาร article
คำกลอน วันจันทร์ article
คำกลอน วันอาทิตย์ article
คำกลอน วันเสาร์
คำกลอน วันศุกร์ article
คำกลอน วันพฤหัสบดี article
ไข่ไก่ แทบจะเป็นเมนูหลักเมนูหนึ่งของคนไทยเลยทีเดียว article
คีโม คือธุรกิจเลือดเย็นของโรงพยาบาลแบบเจ้ามือหวย คนเล่นเสีย เจ้ามือรวย article
วิธีใช้ปุ่มบนเครื่องคิดเลข article
มนุษย์ที่หมดบุญ มี 2 อย่างด้วยกัน article
แผลในปาก เกิดจากอะไร กันแน่!! article
10 อาหารช่วยลดกลิ่นตัว กลิ่นตัวหอมธรรมชาติไม่ต้องพึ่งโรลออน article
10 ข้อคิดยุคใหม่ article
5 อาการนิ้วล๊อคเป็นอย่างไร? article
จำกันได้ไหม เด็กน้อย
จำกันได้ไหม แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟัน
จำกันได้ไหม กาดำ article
ระลึก นึกถึง พระคุณ พ่อ แม่
จำกันได้ไหม ยี่สิบม้วนไม้ม้วน
ทบทวนความจำ พยัญชนะไทย article
ท่อง จำ ติดหู ติดใจ กันได้บ้างไหม article
อาหารเสริม กับ การกินเจ article
เทศกาลกินเจ 2564 ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม - 14 ตุลาคม 2564 article
วิตามินและอาหารเสริมควรทานเวลาไหนดี? article
อาการแบบใดเรียก ว่า กำลังอยู่ในภาวะช็อค ! article
ปรัชญาแห่ง “ความเรียบง่าย” ของชีวิต article
รวมบทธรรมะ article
ความดันโลหิตสูง article
ระวัง !!!! Favipiravir มีขายเกลื่อนเนท article
ระวัง! ฟ้าทะลายโจรปลอม เช็กให้ดีก่อนซื้อ
ความเข้าใจผิด ท่านพุทธทาสภิกขุ article
เงินกับเวลา article
10 พฤติกรรมทำลายกระดูกและส่วนสูง ถ้าไม่อยาก เตี้ยลง ควรหยุดทำสิ่งเหล่านี้ article
ไม่น่าเชื่อว่าน้ำตาลในกล้วยตากมากกว่าทุเรียนเกือบเท่าตัว ในขณะที่ article
วิตามิน กินอย่างไรให้ถูกวิธี? article
มนุษย์เราเอ๋ย article
อารมณ์ไม่ดี article
เคยสงสัยไหม? ทำไมรางรถไฟต้องถูกรองด้วยก้อนหิน article
...คนดีเดินไปไหน... ใครก็ทัก article
อวัยวะ กลัวอะไร article
สุดท้าย article
วิธีแก้เครียดก่อนเข้านอน article
ประโยชน์ของใบย่านาง ไอเดียการกินการใช้ใบย่านางเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง article
สิ่งที่คุณต้อง ขอบคุณ article
มีเมียสวยไม่สู้มีเมียใจซื่อ article
#ไม่ขอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ # article
การตื่นเช้า article
รู้จัก 5 แซ่จีน ลูกหลานมังกรในไทย เปิดที่มาต้นกำเนิดนามสกุลจีน article
บริจาคเลือดตามวันเกิด article
ยาที่ดีที่สุด article
อยากลดน้ำหนัก article
รักษาไขมันพอกตับ article
หลงลืมตามวัยหรือสมองเสื่อม article
8 ต้นเหตุ พร้อม 7 วิธีแก้ บอกลา ตะคริว แบบถาวร article
กระตุ้น สมอง article
ทำไมเราถึงตด? article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com