ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



พนักงานลาออกล่วงหน้า ๓๐ วัน แต่ให้ออกก่อน

คำถาม 

      กรณีพนักงานยื่นหนังสือขอลาออก  โดยให้มีผลเป็นการลาออกในอีก ๓๐  วัน  แต่นายจ้างอนุมัติให้ออกในทันที  ทำได้หรือไม่  มีผลอย่างไร

ตอบ

      กรณีเมื่อพนักงานแจ้งความประสงค์  ขอลาออกจากการเป็นพนักงาน  ให้มีผลในอีก ๓๐ วันข้างหน้า  เช่น  ลาออกวันที่ ๑  ให้มีผลเป็นการลาออกในวันที่ ๓๐ เป็นต้น  

    กรณีอย่างนี้  ถือว่าลูกจ้างแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกสัญญาจ้าง  โดยบอกกล่าวล่วงหน้าแก่นายจ้างเป็นหนังสือ  ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๑๗   ซึ่งถือว่าเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายแล้ว  

    หนังสือบอกกล่าว(ใบลาออก) ดังกล่าวมีผลใช้บังคับในอีกสามสิบวันข้างหน้า   แสดงว่าในระหว่างวันที่ยังไม่ถึงกำหนดวันดังกล่าว    ถือว่าพนักงานยังคงมีสภาพความเป็นลูกจ้างอยู่     ยังไม่สิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง  ดังนั้นสิทธิหน้าที่ต่าง ๆ ตามกฎหมาย  พนักงานยังได้รับความคุ้มครองอยู่เช่นเดิม

     การที่นายจ้างอนุมัติให้ออกในทันที  หรือให้ออกก่อนกำหนดที่ระบุในหนังสือบอกกล่าว (ใบลาออก)  โดยพนักงานไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย   ถือว่าไม่เป็นไปตามเจตนาของลูกจ้าง   สาระสำคัญในใบลาออก(วันสิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง) ถูกปฏิเสธ   คำเสนอคือใบลาออก  ไม่ได้รับการตอบสนอง  ข้อเสนอ(ใบลาออก)  จึงไม่มีมีผลผูกพันธ์นายจ้างลูกจ้าง์

    การอนุมัติดังกล่าวถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของนายจ้างเอง  ว่าให้ออกจากงาน (ให้พ้นสถภาพความเป็นลูกจ้างในทันที  หรือในวันที่...............  ซึ่งไม่ใช่วันที่ระบุในใบลาออก   พฤติกรรมดังกล่าวเข้าข่าย   ไม่ให้ทำงาน   ไม่จ่ายค่าจ้าง  ไม่มอบหมายงานให้ทำ   เป็นพฤติกรรมซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างนั่นเอง  ไม่ใช่เป็นการลาออกของฝ่ายลูกจ้าง

      หรือกรณีนายจ้างเลิกจ้างก่อน ใบลาออกมีผลใช้บังคับก็เช่นเดียวกัน   คือ   พนักงานลาออกมีผลในอีก ๓๐  วันข้างหน้า  แต่ปรากฏว่าในระหว่างนั้น  นายจ้างตรวจสอบพบความผิด และเลิกจ้างพนักงานตามความผิดนั้น ก่อนที่ใบลาออกมีผลใช้บังคับ  จึงถือว่า คำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวมีผลใช้บังคับก่อน   กรณีไม่ใช่การลาออก

   แนวทางแก้ไข   คือ

    หากจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขใบลาออก  โดยให้มีผลทันที  หรือวันที่...............  ตามที่นายจ้างต้องการ   ควรเรียกพนักงาน  เพื่อสอบถามสาเหตุการลาออก   รวมถึงให้พนักงานตกลงยินยอม  และแก้ไขวันที่ในใบลาออกเอง ให้ตรงตามเจตนาของทั้งสองฝ่าย    หรือ

   หากพนักงานยืนยันขอสิ้นสุดความเป็นลูกจ้างตามกำหนดในใบลาออก    แต่นายจ้างไม่ไว้วางใจให้ทำงานต่อ  เพราะเกรงจะเกิดปัญหาในการทำงาน   สิ่งที่ทำได้และถูกต้องตามกฎหมาย  คือ  ให้พนักงานหยุดงานได้ทันที  โดยนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ  จนถึงวันสิ้นสุดความเป็นลูกจ้าง ตามใบลาออก    







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com