ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



กฎหมายแรงงานเบื้องต้นสำหรับ HR article
กฎหมายแรงงานเบื้องต้นสำหรับงาน HR
 
กฎหมายแรงงาน (Labour Law)    คือ อะไร 
          กฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายที่รัฐตราขึ้นมา เพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง   ที่พึงมีต่อกันอันเกี่ยวเนื่องกับการจ้างแรงงาน   โดยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการคุ้มครองแรงงาน   ให้การจ้างและการประกอบอุตสาหกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสังคม มีระบบมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป   ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฎหมายแรงานนั้น   มีบัญญัติไว้ในกฎหมายหลายฉบับ อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๖ ว่าด้วยการจ้างแรงงาน มาตรา ๕๗๕ ถึงมาตรา ๕๘๖,พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ฉบับแก้ไข พ.ศ.๒๕๕๑ ,พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘   เป็นต้น
           เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกฎหมายแรงงาน บทบาทและหน้าที่ของลูกจ้าง นายจ้าง และข้อกำหนดที่จำเป็นต่อการทำงานที่สำคัญ ๆ และเราต้องใช้อยู่เป็นประจำเสียก่อน ในหัวข้อนี้ ผมขอสรุปเฉพาะประเด็นข้อกฎหมายที่จำเป็นต้องใช้งานและเจอเป็นประจำ โดยขอเริ่มต้นจากหัวข้อดังนี้ครับ
 
ขอบเขตของกฎหมายแรงงาน
      กฎหมายแรงงานมีขอบเขตและบังคับใช้ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นเข้าทำงานระหว่างการทำงานเป็นลูกจ้าง 
รวมถึงหลังจากพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
 
นายจ้าง  (Employer)      คือ
1.        บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้
2.        ผู้ที่รับมอบหมายให้ทำการแทนนายจ้าง
3.        ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
4.        ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ให้มีอำนาจกระทำการแทน
5.      การจ้างเหมาแรงงาน หากมีองค์ประกอบ คือ ผู้ประกอบการได้ว่าจ้างด้วยวิธีการเหมาค่าแรง   การทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผุ้ประกอบการ    ให้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นนายจ้างด้วย
 
มาตรา 5 ฉบับแก้ไข ปี 2551
ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้กระทำการแทนด้วย”
 
และเพิ่มมาตรา 11/1    
“มาตรา 11/1 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตามให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว
                ให้ผู้ประกอบกิจการ ดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ”
 
ลูกจ้าง   (Employee)  
           หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร     ลูกจ้างเป็นบุคคลที่ตกลงทำงานให้แก่นายจ้าง    เพื่อรับค่าจ้าง มีลักษณะเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้าง ไม่ว่าจะรับค่าจ้างเองหรือให้บุคคลอื่นรับแทน  
 
สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง
1.        ทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง
2.        ลูกจ้างต้องทำงานด้วยตนเอง
3.        ต้องทำงานให้ปรากฏฝีมือตามที่ได้แสดงไว้ 
4.        ต้องไม่ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
5.        ลูกจ้างต้องไม่ทำผิดร้ายแรง
6.        ไม่กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
 
สิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง
1.        นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
2.        มอบหมายงานให้ลูกจ้างทำ
3.        นายจ้างจะโอนสิทธิการเป็นนายจ้างให้บุคคลอื่น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
4.        กิจการใดที่มีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง   นายจ้างคนใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่
5.        นายจ้างต้องออกหนังสือสำคัญแสดงการทำงานให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุด
6.        จัดสวัสดิการให้ตามกฎหมาย
 
เวลาทำงานปกติ   (Regular Working Time) และเวลาพัก   (Rest Period)
 
-  ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ
-  กำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงาน
-  ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงาน
        ในกรณีไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดได้
                   -  ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนด
                   -  เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงาน
                   -  เว้นแต่เวลาพักที่เกินสองชั่วโมง 
       ทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง
-  นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่ายี่สิบนาทีก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา
                   -  ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป
 
มาตรา 23 ฉบับแก้ไข ปี 2551
  
“มาตรา 23 ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง
                ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน
ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละ
วันได้เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง”
 
งานที่กำหนดเวลาทำงานกรณีพิเศษ
             -  งานขนส่งทางบก
             -  งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
             -  งานปิโตรเลียม
 
เวลาพัก (Rest Period)
            “เวลาพัก หมายความว่า ระยะเวลาที่กำหนดให้ลูกจ้างพักระหว่างการทำงาน”
“เวลาพัก” จึงน่าจะหมายถึงระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างหยุดพักในระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในวันทำงานปกติ วันหยุด ในหรือนอกเวลาทำงานปกติก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างมีโอกาสพื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและทำงานต่อไปด้วยความปลอดภัย
1)        เวลาพักสำหรับการทำงานทั่วไป
2)        เวลาพักสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ
3)        เวลาพักสำหรับการทำงานของลูกจ้างเด็ก
4)        เวลาพักสำหรับงานขนส่งทางบก
5)        เวลาพักก่อนทำงานล่วงเวลา
 
งานที่ให้ลูกจ้างทำงานในเวลาพัก
1)        งานที่ทำนั้นมีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป หากหยุดจะเสียหาย
2)        งานฉุกเฉิน
 
ค่าตอบแทนการทำงานในเวลาพัก
1)    กรณีไม่มีการทำงานในเวลาพัก    ไม่ถือเป็นเวลาทำงานและไม่มีการจ่ายค่าตอบแทน
2)    กรณีมีการทำงานในเวลาพัก นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ โดยเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
 
 
วันหยุด (Holidays) และวันลา (Leaves)
 หมายถึง วันที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหยุดไม่ต้องมาทำงานให้แก่นายจ้าง ซึ่งอาจ
เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดชดเชยและวันหยุดพักผ่อนประจำปี 
 
วันลา (Leaves of absence)
ลาป่วย   ( Sick leave)
ลาทำหมัน ( Leave for sterilization)
ลาคลอด (Maternity leave)
     ลากิจ (Personal business leave)  
 
มาตรา 67 ฉบับแก้ไข ปี 2551
“มาตรา 67 ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา119 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง
ให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30
                ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือนายจ้างเลิกจ้างไม่ว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นกรณีตามมาตรา 119 หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30”
 
ค่าจ้าง (wages)
ต้องเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่าย
จ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง
จ่ายเพื่อตอบแทนสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ
 
ค่าล่วงเวลา 
           หมายถึง การทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานปกติในวันทำงานหรือวันหยุด เงินที่ตอบแทนการทำงานล่วงเวลาดังกล่าว เรียกว่า “ค่าล่วงเวลา” (Overtime pay) หรือ “ค่าล่วงเวลาในวันหยุด"  แบ่งได้ 2 ประเภท คือ ค่าล่วงเวลา (ในวันทำงานปกติ) และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
 
สิทธิของนายจ้างในการให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา
           กรณีแรก      เมื่อลูกจ้างยินยอม
           กรณีที่สอง    เมื่อมีเหตุจำเป็น
 
อัตราค่าล่วงเวลา
           ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของค่าจ้างปกติ 
           อัตราค่าล่วงเวลาในวันหยุด จ่ายไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้าง
 
ค่าทำงานในวันหยุด” (Holiday work pay) 
              หมายความถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุด ซึ่งอาจเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีหรือวันหยุดพักผ่อนประจำปีก็ได้
 
อัตราค่าทำงานในวันหยุด
            กรณีแรก ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดอยู่แล้ว หากทำงานในวันหยุดจะมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างปกติ 
          กรณีที่สอง ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด หากทำงานในวันหยุดจะมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่าสองเท่าของค่าจ้างปกติ



แรงงานสัมพันธ์

กรรมการลูกจ้าง กับ กรรมการสหภาพแรงงาน article
ใช้สิทธิปิดงาน งดจ้าง หรือการใช้สิทธิหยุดงาน ประท้วง article
ยื่นข้อเรียกร้อง ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรวจสอบอย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อนายจ้างและลูกจ้าง article
พนักงานประท้วง ! ทำอย่างไรดี ? article
การยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจา และวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน article
สหภาพแรงงาน article
การขอใช้สิทธิ์ กรณีว่างงานควรทำอย่างไร ? article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com