ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



เลิกจ้างระหว่างทดลองงานได้หรือไม่ ?

เลิกจ้างระหว่างสัญญาจ้างทดลองงานยังไม่ครบกำหนดได้หรือไม่  เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่

ตอบ

        สัญญาจ้างทดลองงาน   ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม                       พ.ศ.๒๕๕๑มาตรา ๑๗  วรรคสองตอนท้าย  กำหนดไว้ว่า  "ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา" 

        ผลก็คือ   หากจะเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน                                 พ.ศ.๒๕๔๑ และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๑มาตรา ๑๗  วรรคสอง  แม้จะกำหนดระยะเวลาทดลองงานไว้และต้องการเลิกจ้างตามระยะเวลานั้นก็ตาม

      สัญญาจ้าง  ตามกฎหมาย  กำหนดไว้  ๒  ลักษณะเท่านั้น  คือ  สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน   และสัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน  ส่วนนายจ้างหรือลูกจ้าง จะกำหนดหรือเรียกสัญญาแต่ละประเภทไว้อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการจ้าง   ประเภทกิจการ  หรือวัตถุประสงค์ในการจ้างแต่ละประเภท  อาทิเช่น  สัญญาจ้างทดลองงงาน,สัญญาจ้างพนักงานชั่วคราว,สัญญาจ้างฝึกอบรม,สัญญาจ้างพนักงานประจำ,สัญญาจ้างโครงการ  เป็นต้น    ซึ่งสัญญาจ้างแต่ละประเภทจะเป็นสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลาหรือแบบไม่มีกำหนดระยเวลา  ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้าง  ระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือการเลิกจ้าง   และอาจต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ ในสัญญารวมถึงพฤติกรรมในการจ้างประกอบด้วย     โดยสัญญาจ้างแต่ละประเภทอาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหรือมีผลทางกฎหมายที่แตกต่างกันออกไป

      ในที่นี้เรามาพูดถึงเรื่อง  สัญญาจ้างทดลองงาน   

       สัญญาจ้างทดลองงาน  แม้กฎหมายจะกำหนดให้เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาก็ตาม     แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามทำสัญญาจ้างทดลองงาน   ดังนั้นนายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างทดลองงานกับลูกจ้างได้    สัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่มีเงื่อนไขพิเศษ  สำหรับพนักงานเข้าทำงานใหม่    โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อคัดกรอง คัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน  ให้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่  โดยเงื่อนไขหลักของสัญญาจ้างทดลองงานส่วนใหญ่  คือกำหนดระยะเวลาในการทดลองงานไว้   มีเงื่อนไขการประเมินผลการทำงาน   หากประเมินแล้วไม่สามารถทำงานตามความมุ่งหมายของนายจ้าง  หรือนายจ้างพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความรู้ความสามารถหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่  หรือที่เรียกว่า ไม่ผ่านการทดลองงาน   นายจ้างสามารถพิจารณาทบทวนการจ้าง  หรือพิจารณาเลิกจ้างได้

        ดังนั้นโดยหลักการแล้ว   ถือว่านายจ้างสามารถพิจารณาผลการทำงานของลูกจ้างในระหว่างทดลองงานได้  ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งได้   โดยไม่ต้องให้รอให้ครบกำหนดตามราะยะเวลาทดลองงานก็ได้   แต่หลักเกณฑ์สำคัญคือ ต้องมีการประเมินผลการทำงาน  จากการทำงานจริง  ที่ถูกต้องเป็นธรรมแก่ลูกจ้าง   ไม่ใช่เกิดจากการกลั่นแกล้งหรือเหตุผลส่วนตัว     หากนายจ้างสามารถชี้แจงได้ว่าประเมินผลการทำงานแล้ว  ลูกจ้างไม่สามารถทำงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ได้จริงหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ    นายจ้างก็สามารถอ้างเหตุในการเลิกจ้างเนื่องจากไม่ผ่านการทดลองงานได้   เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

        แต่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ลูกจ้างทราบ     ส่วนวิธีการและหลักเกณฑ์การบอกกล่าวล่วงหน้า   อ่านได้ในหัวข้อ  การบอกกล่าวล่วงหน้าและการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าครับ

ไสว ปาระมี         

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com