เตรียมตัวตายกันได้แล้วทุกคน "ตอนใกล้ตาย” มันมีความรู้สึกอย่างไร? จงอย่าพยายามไม่อยากตาย เพราะยังไง ๆ ก็ต้องตาย ใครรู้ตัวว่าจะต้องตายช่วยกันแชร์ต่อ ใครมั่นใจว่าไม่ตายไม่ต้องแชร์
อาการของการ “ตาย” ที่คนอื่นได้ศึกษามาหรือเคยได้พูดคุย
กับคนมีประสบการณ์ใกล้ตาย (near-death experience) นั้นเป็นเช่นไร คุณหัชชา ณ บางช้าง เคยค้นคว้าเรื่องนี้มาเขียนใน “ภาวะหลังตาย” และเล่าว่า “กระบวนการตาย” ในระยะต่าง ๆ นั้นมี 4 ขั้นตอนอย่างนี้
๑. ระยะแรก เป็นระยะที่ธาตุดินเริ่มสลายตัว
กลายเป็นน้ำ ผู้ตายจะรู้สึกอ่อนระโหย
ไม่มีแรง การมองเห็นต่าง ๆ เริ่มเสื่อม
มองอะไร ๆ ก็ไม่ชัด ทุกอย่างดูมัว ไปหมด
ทุกอย่างที่เห็น เหมือนมองไปกลางถนน
ขณะแดดจัดๆภาพต่างๆจะเต้นระยิบระยับ
เต็มไปหมด
๒. ระยะที่น้ำจะกลายเป็นไฟ ช่วงนั้น
น้ำในร่างกายเริ่มแห้งลง จะรู้สึก ชา ๆ ตื้อ ๆ
เริ่มหมดความรู้สึก ไล่จากปลายเท้าขึ้นมา
ประสาทหูเริ่มไม่รับรู้คือเริ่มไม่ได้ยินเสียง
อะไร มองไปทางไหนก็เห็นแต่ควัน
๓. ระยะนี้ไฟเปลี่ยนเป็นลม
หูจะไม่ได้ยินอะไรอีกเลย รู้สึกหนาว
จับใจ ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ หยุดหมด
ลมหายใจอ่อนลงเรื่อย ๆ
จมูกเริ่มไม่รับความรู้สึกเรื่องกลิ่น
๔. ระยะนี้ ธาตุลมจะเปลี่ยนเป็นอากาศธาตุ
ตอนนี้ เจตสิกทุกอย่าง รวมทั้งการหายใจ
จะหยุดหมดพลังงานทั้งหลายที่เคย
ไหลเวียนอยู่ในร่างกายจะไหลกลับคืนไปสู่
ระบบประสาทส่วนกลางหมด ลิ้นแข็ง
ไม่รับรู้เรื่องรสชาติใดๆความรู้สึกสัมผัส
หมดไป ความรู้สึกอยากโน่น อยากนี่ต่าง ๆ
ที่เคยมีก็หมดไป มีความรู้สึกเหมือน
อยู่กับแสงเทียนที่กำลังลุกโพลงอยู่เท่านั้น
ท่านบอกว่าตอนนี้แหละที่แพทย์จะประกาศว่า
ผู้ป่วยในความดูแล “ถึงแก่กรรม” แล้ว (clinical death)
นั่นก็คือจุดที่ “เวทนา” ทั้งหมดดับไป สมองและระบบไหลเวียนต่าง ๆ ของร่างกายหยุดทำงานหมด แปลว่ารูปและนาม หรือเบญจขันธ์ ตายไปแล้ว
ก็ต้องถกกันต่อไปว่า ถ้าเราเชื่อว่า วิญญาณยังอยู่ต่อเมื่อร่างกายสลายไป จะไปอยู่ที่ไหนอย่างไรต่อไป
อ่านเจออีกแหล่งหนึ่งเรื่อง “ลักษณะการตาย” ตามแนวคิดแบบ “เซน” ที่คุณ “โชติช่วง นาดอน” เคยรวบรวมไว้ในหนังสือ “จิตคือพุทธะ” เมื่อนานมาแล้ว
ท่านบอกว่าคนเราตายได้สองลักษณะ คือ “ตายอย่างปราศจากที่พึ่ง” และ
“ตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่ง”
คนที่ตายย่างแรกนั้นเวลาใกล้จะสิ้นลม มีอารมณ์ผิดไปจากปกติ จิตใจกลัดกลุ้มยุ่งเหยิง เรียกว่า “จิตวิการ” ซึ่งหมายถึงจิตเกิดความปวดร้าวทรมานเพราะ
ยัง “ยึดติด” กับหลายเรื่อง
หรือที่ผมเรียกว่า “ไม่ยอมตายทั้ง ๆ ที่ต้องตาย” นั่นคือจิตใจยังติดข้องกับอุปาทาน ๔ ประการคือ
๑. ติดอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
๒. ห่วงใยอาลัยในสิ่งที่เป็นรูป และอรูป
โดยเห็นว่าเป็นของเที่ยง
๓. มีนิวรณ์ความวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน
มาห้ามจิตมิให้บรรลุความดี
๔. มีความดูแคลนเมินเฉยในคุณพระรัตนตรัย
เขาบอกว่าคนส่วนใหญ่ตายลักษณะอาการ
อย่างนี้ เรียกว่าตายอย่างอนาถา
ส่วนการตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่งนั้น
แปลว่าคนใกล้ตายมีสติอารมณ์ผ่องใส
ไม่หวั่นไหว และซาบซึ้งในวิธีของมรณกรรม และยึดหลัก ๔ ประการคือ
๑. มีอารมณ์เฉย ๆ
ซาบซึ้งถึงกฎธรรมดาแห่งความตาย
๒. ซาบซึ้งถึงสภาพการณ์สิ่งในโลกของ
ความไม่เที่ยง ไม่เป็นแก่นสาร
๓. รำลึกถึงกุศลกรรมที่ได้ผ่านมาในชีวิต
และเกิดปิติปลาบปลื้ม
๔. ยึดมั่นเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
อยู่ตลอดเวลาจนสิ้นลมหายใจ
ด้วยเหตุนี้แหละ, ผมจึงเห็นว่าการ
“ฝึกตายก่อนตาย”ดั่งที่ท่านพุทธทาส หรือ.. หลวงพ่อ หลวงปู่ ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะ..
หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ท่านเคยสอนเรานั้น
เป็นเรื่องที่ประเสริฐสุดแล้ว
แต่คนส่วนใหญ่กลัวตาย แม้จะเอ่ยถึงคำว่าตายก็รับไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการ “แช่ง” ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครหนีความตายได้แม้แต่คนเดียว
การเรียนรู้ “มรณาอุปายะ” หรือ “ฝึกตายก่อนตาย” นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ทำให้มันสนุกเสีย ให้มันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นน่ายินดี ก็จะทำให้ความทุกข์ระหว่างมีชีวิตอยู่นั้น
ลดน้อยถอยลง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากโลกนี้ไปก็ไม่ตกใจ
ไมตื่นเต้น ไม่รันทดและทรมานเพราะ..
ความกลัวและความไม่ต้องการที่จะจากไป
ชาวพุทธที่ฝึกปฏิบัติธรรมในสาระจริง ๆ (ไม่ใช่แค่ทำบุญแล้วนึกว่าจะต้องไปสวรรค์
โดยไม่ต้องปฏิบัติธรรม) ก็จะเข้าใจว่า.. “ขันธ์ทั้งห้า” ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงและทรุดโทรม และท้ายสุดก็แตกดับไป และระหว่างที่มรณกาลมาถึงนั้น ขันธ์ห้าก็ย่อมจะแปรปรวน จึงควรจะเตรียมตัวและเตรียมใจไว้
เมื่อความตายมาถึง, เราก็จะได้ไม่ทุรนทุราย และตายอย่างมีสติ และ “รู้เท่าทันความตาย” ซึ่งเป็นสุดยอดของการมีชีวิตอยู่นั่นเอง..
...หมั่นเจริญสติ ภาวนา ให้มาก ๆ ถึงเวลาตายสบายนักแล !!!
ท่านคมสรณ์ ข่าวสารงานพระธรรมทูตอินเดีย
นำมาฝากเตือนสติกันรวมทั้งตนเองด้วย
หมายเหตุ: ถ้าใครมั่นใจว่าไม่ตายไม่ต้องแชร์
โดย .. นพ.สรศักดิ์ ศุภผล
รพ.รามาผู้ส่งบทความดีๆนี้
“จิตหลังความตาย 20 นาทีแรก”
ก็มีความสำคัญในการเปลี่ยนภพด้วย
“การศึกษาทางประสาทสรีรวิทยา
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
พบว่าหนูที่ตายใหม่ๆ หัวใจหยุดทำงาน
เลือดหยุดไปเลี้ยงสมอง
แต่คลื่นสมองยังคงอยู่ในภาวะ
“ตื่นตัวขั้นสูง”
บ่งบอกถึงการมีสติสัมปชัญญะ
ของคนเมื่อหัวใจหยุดเต้น
ดังนั้น .. ทางการแพทย์บอกว่า
“ตาย” .. แต่สมองยังทำงานอยู่
เป็น “การสร้างภาพจากสังขารจิต 20 นาที”
ว่าจะไปภพภูมิใด
ดังนั้น .. จึงควร “เหนี่ยวนำ
ไม่ให้นิมิตมาหลอกหลอน 20 นาที
หลังหัวใจหยุดเต้น
(กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต)
การเข้าสู่ความมืด(ภวังคจิต)
บังสุกุล คำศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละศาสนา
จะปลุกจิตให้ตื่นหรือถอนออกมาเอง
แปลว่า .. ต่อให้ก่อนตาย
ญาติและคนไข้ได้เตรียมตัว
เหนี่ยวนำจิตเป็นอย่างดี จนตายไปแล้ว
(ก็คือหัวใจหยุดทำงาน)
สมองก็ยังเหนี่ยวนำสิ่งที่ทำก่อนตายอยู่
เช่น .. ถ้ากำลังสวดมนต์ภาวนา
ตายไปแล้วจิตและสมองก็ยังหมกมุ่น
อยู่กับการสวดมนต์ภาวนา
ดวงจิตก็ย่อมเปลี่ยนภพภูมิไปที่ดี
แต่หากสมมติว่า .. ก่อนตายเตรียมตัวดีมาก
แต่เมื่อตายไปแล้ว
ญาติๆ ร้องไห้ระงมเสียงดังลั่น
หรือ ลูกหลานทะเลาะแย่งสมบัติ
ด้วยเสียงแซ่งแซ่ บรรยากาศเหล่านั้น
ก็จะเหนี่ยวนำให้สมองครุ่นคิดตรงนั้น
และก็นำพาดวงจิตไปสู่ภพภูมิไม่ดีได้นั่นเอง
ดังนั้น .. สิ่งที่ควรทำหลังความตาย 20 นาทีแรก คือ .. "สวดมนต์"
เมื่อรู้ว่ามีคนตาย ก็หยิบขวดน้ำมนต์เย็นๆ
ในตู้เย็นติดมือไป และ หยดน้ำมนต์ที่ตาที่สาม (จักระ 6) ตรงหน้าผากหว่างคิ้ว
เพื่อให้ความเย็นของน้ำไปส่งสัญญาณ
ให้สมองที่ตรงกลางข้างในซึ่งยังทำงานอยู่
ได้ตื่นตัวฟังเสียงสวดมนต์หรือบังสุกุล
แต่ถ้าใครไม่มีน้ำมนต์ ก็ให้ใช้น้ำเย็นธรรมดาก็ได้
สรุป
บรรยากาศในการเตรียมตัวก่อนตาย
และหลังความตาย 20 นาที
จะต้องปราศจากเสียงร้องไห้เศร้าโศก
การทะเลาะเบาะแว้ง
หรือ .. การพูดเรื่องไม่สบายใจ
เพื่อให้คนตายได้เปลี่ยนภพภูมิที่ดีขึ้น
แต่ทั้งนี้ .. ตอนที่มีชีวิตอยู่
ก็ต้องทำความดี ละความชั่ว
ขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใสด้วย
จะได้พร้อมเปลี่ยนภพภูมิได้ ทุกที่ ทุกเวลา
จิตใครเศร้าหมองก็สั่งจิตให้คลาย
ความเศร้าหมอง ให้อภัยปล่อยวาง
คิดซะว่า .. กฎหมายเอาผิดไม่ได้
แต่ก็หนีกฏแห่งกรรมไม่พ้น
ปล่อยให้เป็นหน้าที่กฏแห่งกรรม
เราไม่ต้องไปเอาคืนแก้แค้น
เอาเวลามาทำจิตให้ผ่องใสเข้าสู่ความว่างดีกว่า
ผู้ใด เผยแผ่ ผู้นั้น ได้สะสมบุญ บารมี