เบิกเงินสมทบประกันสังคม
“เงินชราภาพ” มาจากเงินสมทบที่จ่ายประกันสังคม คิดเป็น 3% ของฐานเงินเดือนที่นำส่งเงินสมทบ โดยผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ “เงินบำเหน็จชราภาพ” ที่จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว และ “เงินบำนาญชราภาพ” ที่จ่ายให้รายเดือนตลอดชีวิต ซึ่งจะมีการเบิกจ่ายและเงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมที่แตกต่างกันพตามระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ
บำเหน็จชราภาพ
สำนักงานประกันสังคม ระบุว่า ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จกรณีชราภาพได้ ต้องตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ประกอบด้วย 1) อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ 2) สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตัว 3) เป็นผู้ทุพพลภาพ 4) เสียชีวิต ดังนี้
- กรณีจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว โดยจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่าที่ผู้ประกันตนจ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม
- กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตน + เงินสมทบนายจ้าง +ผลประโยชน์ตอบแทน ตามยอดเงินชราภาพ
บำนาญชราภาพ
สำนักงานประกันสังคม ระบุอีกว่า ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญกรณีชราภาพ เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ดังนี้
- กรณีจ่ายเงินสมทบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนคิดเป็นอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่จ่ายประกันสังคม โดยคำนวณจากฐานค่าจ้าง ขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
ยกตัวอย่างเช่น กรณีผู้ประกันตนอายุ 55 ปี จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 15 ปี มีรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 3,000 บาท
- กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไปจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนคิดเป็นอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่จ่ายประกันสังคม + อัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีก 1.5% ต่อปีของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ
ยกตัวอย่างการคำนวณจากเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท เช่น
- ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 20.00-27.50% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 3,000-4,125 บาท/เดือน
- ส่งเงินสมทบ 21-25 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 29.00-35.00% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 4,350-5,250 บาท/เดือน
- ส่งเงินสมทบ 26-30 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 36.50-42.50% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 5,475-6,375 บาท/เดือน
- ส่งเงินสมทบ 31-35 ปี มีค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 44.00-50.00% จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 6,600-7,500 บาท/เดือน
ส่วนในกรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทมีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)
กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย
- สำเนามรณะบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
- สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันคนและของบริดามารดา (ถ้ามี)
- สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร
- หนังสือระบบให้เป็นผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)
กรณีบำนาญชราภาพ
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ ต้องผูกบัญชี "พร้อมเพย์"
สำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรห์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
หลังจากผู้ที่ยื่นขอเงิน "บำนาญชราภาพ" ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการตรวจสอบสิทธิ และ เงินบำนาญที่จะได้ในแต่ละเดือน โดยจะทำการโอนเข้าบัญชีทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน
อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ขอ "บำนาญชราภาพ" หลังจากได้รับอนุมัติ แล้วมีการโอนเงินแล้ว แต่ภายหลังกลับเข้าทำงานและเข้าระบบประกันสังคม หากไม่เกิน 60 วัน สามารถแจ้งใช้สถานพยาบาลเดิมได้ แต่หากเกิน 60 วัน ต้องเลือกสถานพยาบาลใหม่
ชราภาพ.jpeg
สูตรคำนวณ เงินบำนาญ ชราภาพ.png