การที่คุณจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคม นอกจากคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงานหรือเสียชีวีตแล้ว ในกรณีเกษียณอายุ คุณมีโอกาสได้รับเงินคืนในรูปเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเงินบำนาญ (เงินรายเดือน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ส่วนหนึ่งไว้ใช้หลังเกษียณ รายละเอียดการได้รับเงินส่วนนี้จะเป็นอย่างไร เรามาทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมกันก่อน
กองทุนประกันสังคมคืออะไร เกี่ยวข้องกับมนุษย์เงินเดือนอย่างไร
กองทุนที่ผู้ประกันตน (มนุษย์เงินเดือน) ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ที่มีรายได้และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต ตัวอย่างหลักประกันเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร เงินชดเชยกรณีว่างงาน เงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญ เป็นต้น
คุณมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยหักจากเงินเดือนในอัตรา 5% เช่น หากคุณได้รับเงินเดือน 10,000 บาท ก็จะถูกหัก 500 บาทเข้ากองทุน แต่จะหักได้สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน
แล้วเราจะได้รับเงินคืนจากประกันสังคมเมื่อไหร่ อย่างไร
การได้รับเงินคืนจากประกันสังคมขึ้นอยู่กับ จำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ, อายุ, สภานะความเป็นผู้ประกันตน ซึ่งรูปแบบการได้รับเงินคืนจากประกันสังคมมี 3 กรณี ดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1: ผู้ประกันตนจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเกิน 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินรายเดือนใช้ตลอดชีวิต โดยจะได้รับเท่าไร
การคำนวณเงินบำนาญชราภาพจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ และค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท หากจ่ายสมทบมา 180 เดือน หรือ 5 ปี พอดิบพอดี จะได้เงินบำนาญรายเดือนจะเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ไม่เกิน 15,000 บาท) แต่ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน (ถ้ามีเศษเกินจะถูกปัดทิ้ง เช่น ถ้าสะสมมา 16 ปี 2 เดือน ก็คิดแค่ 16 ปี)
อธิบายเรียบร้อยแล้ว ผมสรุปมาให้เป็นตารางเลย เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
ระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบ (ปี) |
เงินบำนาญที่ได้รับ |
ร้อยละของค่าจ้างเดือนสุดท้าย |
จำนวนเงิน (บาท/เดือน) |
15 |
20 |
3,000 |
20 |
27.5 |
4,125 |
25 |
35 |
5,250 |
30 |
42.5 |
6,375 |
35 |
50 |
7,500 |
กรณีที่ 2 จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบในส่วนของนายจ้างและรัฐบาล + ผลประโยชน์ตอบแทน (ผลกำไรจากกองทุนประกันสังคมนำเงินไปลงทุน)
กรณีที่ 3 จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนท่านหนึ่ง จ่ายเงินสมทบของตนเอง 450 บาท/เดือน เป็นเวลารวม 11 เดือน ดังนั้นผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับ 450*11 หรือ 4,590 บาท
กรณี 2 และ 3 สามารถอธิบายด้วยรูปภาพด้านล่าง เพื่อความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเช่น ข้อมูลการส่งเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th