ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



5 ความแตกต่าง ระหว่างสิทธิในที่ดิน 3 ประเภท ( โฉนด นส.3ก และ สปก.4-01) article

 5 ความแตกต่าง ระหว่างสิทธิในที่ดิน 3 ประเภท ( โฉนด นส.3ก และ สปก.4-01) 


ขึ้นชื่อว่า”ผู้มีสิทธิในที่ดินแล้ว” ก็ดูคล้ายจะเป็นเจ้าของเหมือนกันหมด แต่หากพิจารณาในแง่มุมของกฎหมายแล้ว สิทธิในที่ดินแต่ละประเภทนั้น แตกต่างกันไปในหลายประการ 
 
1.รูปแบบของเอกสารสิทธิ
โฉนด –เป็นหนังสือที่กรมที่ดินออกให้ในฐานะหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ มีตราครุฑสีแดง ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีสิทธิ์ ใช้สอย ซื้อขาย ทำประโยชน์ได้เต็มรูปแบบ มีการรังวัด ปักเขตอย่างชัดเจน
 
นส.3 ก – เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกให้กับผู้ครอบครองที่ดิน มีครุฑสีเขียว ไม่มีการรังวัด แต่ใช้ระวางรูปถ่ายทางอากาศ ผู้มีชื่อมีสิทธิครอบครอง ซึ่งหากมีการสอบเขตอย่างแน่นอนแล้ว สามารถเปลี่ยนเป็นโฉนดได้
 
ส.ป.ก. 4-01 - เป็นที่ดินของรัฐ ถือครองโดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่อนุญาตให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ได้ด้วยการอยู่อาศัยและใช้ทำเกษตรกรรม ผู้มีชื่อไม่สามารถใช้ทำนิติกรรมใดๆได้ 
 
2.สิทธิในที่ดิน
โฉนด – ผู้มีชื่อในโฉนดจะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1373 และเมื่อเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้ว ในฐานะเจ้าของที่ดิน ก็ย่อมมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายด้วย แต่อย่างไรก็ดี หากผู้มีชื่อในโฉนดนั้น ไม่ใช่เจ้าของที่แท้จริง ฝ่ายที่เสียหายก็สามารถนำสืบพยานหักล้างเป็นอย่างอื่นได้ 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2538 ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373มีความหมายว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฝ่ายที่อ้างว่ามิได้เป็นเช่นนี้จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
 
นส.3 ก – ผู้มีชื่อในเอกสาร นส.3 ก เป็นผู้มีสิทธิครอบครองและใช้ทำประโยชน์ในที่ดินได้ตามปกติ มีอำนาจใช้สอยทรัพย์และเรียกรับดอกผลจากตัวทรัพย์ เรียกคืนการครอบครองจากบุคคลภายนอกได้ เช่นเดียวกับกรรมสิทธิ์ 
 
ส.ป.ก 4-01 – ผู้มีชื่อในเอกสาร มีสิทธิ์ใช้สอย อาศัย และทำประโยชน์ในด้านเกษตรกรรมได้ในที่ดิน มีสิทธิสร้างยุ้งฉาง ขุดบ่อ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆอันเกี่ยวกับเกษตรกรรม 
 
3.การนำออกจำนอง 
โฉนด – ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน สามารถนำที่ดินออกจำนองได้ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ตามหลักเกณฑ์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
 
นส.3 ก – ผู้มีสิทธิครอบครองสามารถนำ นส.3 ก ออกจำนองได้ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ที่ดิน ณ อำเภอ ที่ นส.3 ก อยู่ในเขตอำเภอนั้น 
 
ส.ป.ก 4-01 - ที่ดินส.ป.ก.เป็นกรรมสิทธิของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ที่ออกให้ราษฎรเพื่อใช้ทำการเกษตรเท่านั้น เกษตรกรผู้มีชื่อเป็นผู้ถือครองประโยชน์ในที่ดินไม่ใช่เจ้าของ ดังนั้นไม่สามารถนำที่ดินออกจำนองได้ เว้นแต่ในบางโครงการของรัฐจะอนุญาตให้ใช้ “สิทธิทำกินในที่ดิน” เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินได้ ก็สามารถนำเอาสิทธิทำกินในที่ดินเป็นหลักประกันในการกู้ยืมได้เช่นกัน
 
4.การโอนเปลี่ยนมือ
โฉนด – การโอนกรรมสิทธิในที่ดิน เป็นการโอนอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 
 
นส .3 ก - ที่ดินที่มีแต่เพียงสิทธิครอบครองยังไม่อาจมีกรรมสิทธิ์ได้ แต่บุคคลผู้มีชื่อใน นส.3 ซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม นส.3 นั้น ย่อมมีสิทธิจดทะเบียนโอนขายแก่บุคคลอื่นได้ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายที่ดินด้วย 
 
อย่างไรก็ดี แม้การซื้อขายที่ดิน นส.3 ก โดยไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หากผู้ขายยินยอมออกจากที่ดินและส่งมอบการครอบครองให้กับผู้ซื้อแล้ว ก็ย่อมเป็นการสละการครอบครองในที่ดิน หากผู้ซื้อครอบครองที่ดินดังกล่าวครบ 1 ปี ก็ย่อมมีสิทธิครอบครองได้เช่นกัน 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2551 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้นำไปจดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ แต่จำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายแล้วดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา
 
ส.ป.ก. 4-01 – ผู้มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดิน ไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิครอบครองในที่ดิน ไม่อาจแบ่งแยก หรือโอนตัวที่ดินให้กับบุคคลอื่นได้ เว้นแต่จะโอนกลับไปยัง ส.ป.ก. เพื่อให้ ส.ป.ก. นำไปปฏิรูปที่ดินและจัดสรรให้กับบุคคลอื่นต่อไป
 
อนึ่ง แม้จะโอนไม่ได้ แต่สิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าว ก็ยังสามารถตกทอดเป็นมรดกให้แก่ทายาทได้อยู่ แต่ไม่สามารถทำพินัยกรรมให้กับบุคคลภายนอกได้ 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6540/2557 เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นสิทธิเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 ที่ต้องตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมเท่านั้น ไม่อาจตกทอดแก่ทายาทโดยพินัยกรรมได้ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมให้สิทธิเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินตกแก่ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียว การทำพินัยกรรมเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย พินัยกรรมเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
 
การซื้อขาย หรือ โอน ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นนิติกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย ไม่สามารถบังคับได้และมีผลเป็นโมฆะ 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10669/2546 ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินและอยู่ในระหว่างจำเลยยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์จึงต้องห้ามมิให้บุคคลที่ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150
 
5.การแย่งการครอบครอง
โฉนด – สามารถถูกแย่งการครอบครองได้ด้วยการ ครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน กล่าวคือ หากมีบุคคลภายนอกเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี บุคคลดังกล่าวก็ย่อมสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งว่าที่ดินเป็นของตนด้วยการครอบครองปรปักษ์ได้ 
 
นส.3 ก – ที่ดินประเภท นส. 3 ก ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ย่อมไม่สามารถถูกครอบครองปรปักษ์ได้เช่นเดียวกับที่ดินมีโฉนด แต่ สามารถถูกแย่งการครอบครองได้ด้วยการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยผู้ถูกแย่งสิทธิครอบครอง ต้องฟ้องคดีต่อผู้แย่งการครอบครองภายใน 1 ปี 
 
ส.ป.ก. 4-01 แย่งการครอบครองไม่ได้ กล่าวคือ สิทธิทำกินในที่ดิน เป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้ไม่ได้ทำกินบนที่ดินแล้ว สิทธิครอบครองก็กลับมาเป็นของรัฐ ซึ่งไม่มีกฎหมายให้บุคคลทั่วไปแย่งการครอบครองได้ 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2534
ในเขตปฏิรูปที่ดินบุคคลที่มิได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่มีสิทธิแย่งการครอบครองผู้ที่ได้รับจัดสรรเพราะเมื่อผู้ได้รับจัดสรรที่ดินละทิ้งการครอบครองไป การครอบครองที่ดินก็กลับตกมาเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกครั้ง ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดสรรให้เกษตรกรที่เหมาะสมได้รับต่อไป และพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 37 ห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นต่อสู้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว...
 
 
ที่มา: สำนักงานที่ดิน
 
 

 




นานา น่ารู้

เตรียมตัวตายกันได้แล้วทุกคน "ตอนใกล้ตาย” article
ระวัง! สารกันบูดในขนมปังร้านดัง article
กินอย่างไร เมื่อโคเลสเตอรอลในเลือดสูง article
นาฬิกาแขวนผนัง article
อ่านให้จบนะ..ดีมากๆ? เลย article
อ่านแล้วชอบ จึงขอแบ่งปัน article
ช้อนยาวหนึ่งเมตร article
ป้องกันและชะลอ “ข้อเข่าเสื่อม” ก่อนวัย article
ทำไมแสงแดดถึงเป็นอันตราย article
อย่าไปเกลียดใคร ให้แผ่เมตตา article
13 คุณประโยชน์จากวาซาบิที่คุณคาดไม่ถึง article
อุจจาระบอกความผิดปกติ article
ตำนานวันไหว้พระจันทร์ article
ผู้ชาย VS วัยทอง article
ท้องป่อง อ้วนลงพุง article
คาถาบูชาพ่อ แม่สวดทุกวัน article
ขึ้นฉ่าย ปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ article
กินอาโวคาโดลดไขมัน ไม่ทำให้อ้วน article
การใช้บุญที่ถูกต้องถึงจะได้ผล article
กระชาย : ชะลอความแก่ article
อ่านแล้วสบายใจ article
เช็คความเสื่อมแต่ละวัย! article
จงใช้ชีวิตให้คุ้มค่า article
ลืมได้ ก็จำได้ article
ยาหมดอายุแล้วสามารถกินได้ไหม? article
จริงหรือไม่ เจ็บคอ บ่อยๆ article
ตอนอยู่ อยากได้เงิน ตอนตาย อยากได้บุญ ตอนอยู่ ทำตามใจกิเลส ตอนตาย เลยกลายเปรต article
คน 8 ประเภท อย่าคบ อย่าช่วย ถอยห่างได้เป็นดี article
เรื่องน่ารู้ของ สีพาสปอร์ตในไทย article
บทเรียนของคนวัย 40 ปีขึ้นไป ที่อยากแก้ไข และเตือนคนรุ่นหลัง article
จริงหรือไม่? กินไก่มาก เป็น “โรคเกาต์” article
ดื่มนมต่างเวลา ได้คุณค่าแตกต่างกัน article
จริงหรือไม่ วางมือถือข้างหมอน เสี่ยง "มะเร็งสมอง" article
คุณสมบัติหลินจือกับสุขภาพร่างกาย article
อ่านเถอะดีมาก เคล็ดลับการดูแลสมอง 10 ประการ จาก "หนูดี วนิษา เรซ" article
จริง หรือ ไม่ ความอ้วน ฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด ? article
ทำไมต้องนั่งสมาธิในเวลา "ก่อนนอน หรือ ตอนเช้า" article
เครียดไม่รู้ตัว ภัยเงียบที่อาจอยู่ข้างๆคุณ article
คนเราตายแล้วไปไหนบ้าง ? article
กรรมที่เกิดมาเป็นสัตว์ article
แค่กำมือก็ช่วยความดันได้ article
วันนี้... คือ “ วันที่ดีที่สุด ” article
คำกลอน วันพุธ article
คำกลอน วันอังคาร article
คำกลอน วันจันทร์ article
คำกลอน วันอาทิตย์ article
คำกลอน วันเสาร์
คำกลอน วันศุกร์ article
คำกลอน วันพฤหัสบดี article
ไข่ไก่ แทบจะเป็นเมนูหลักเมนูหนึ่งของคนไทยเลยทีเดียว article
คีโม คือธุรกิจเลือดเย็นของโรงพยาบาลแบบเจ้ามือหวย คนเล่นเสีย เจ้ามือรวย article
วิธีใช้ปุ่มบนเครื่องคิดเลข article
มนุษย์ที่หมดบุญ มี 2 อย่างด้วยกัน article
แผลในปาก เกิดจากอะไร กันแน่!! article
10 อาหารช่วยลดกลิ่นตัว กลิ่นตัวหอมธรรมชาติไม่ต้องพึ่งโรลออน article
10 ข้อคิดยุคใหม่ article
5 อาการนิ้วล๊อคเป็นอย่างไร? article
จำกันได้ไหม เด็กน้อย
จำกันได้ไหม แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟัน
จำกันได้ไหม กาดำ article
ระลึก นึกถึง พระคุณ พ่อ แม่
จำกันได้ไหม ยี่สิบม้วนไม้ม้วน
ทบทวนความจำ พยัญชนะไทย article
ท่อง จำ ติดหู ติดใจ กันได้บ้างไหม article
อาหารเสริม กับ การกินเจ article
เทศกาลกินเจ 2564 ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม - 14 ตุลาคม 2564 article
วิตามินและอาหารเสริมควรทานเวลาไหนดี? article
อาการแบบใดเรียก ว่า กำลังอยู่ในภาวะช็อค ! article
ปรัชญาแห่ง “ความเรียบง่าย” ของชีวิต article
รวมบทธรรมะ article
ความดันโลหิตสูง article
ระวัง !!!! Favipiravir มีขายเกลื่อนเนท article
ระวัง! ฟ้าทะลายโจรปลอม เช็กให้ดีก่อนซื้อ
ความเข้าใจผิด ท่านพุทธทาสภิกขุ article
เงินกับเวลา article
10 พฤติกรรมทำลายกระดูกและส่วนสูง ถ้าไม่อยาก เตี้ยลง ควรหยุดทำสิ่งเหล่านี้ article
ไม่น่าเชื่อว่าน้ำตาลในกล้วยตากมากกว่าทุเรียนเกือบเท่าตัว ในขณะที่ article
วิตามิน กินอย่างไรให้ถูกวิธี? article
มนุษย์เราเอ๋ย article
อารมณ์ไม่ดี article
เคยสงสัยไหม? ทำไมรางรถไฟต้องถูกรองด้วยก้อนหิน article
...คนดีเดินไปไหน... ใครก็ทัก article
อวัยวะ กลัวอะไร article
สุดท้าย article
วิธีแก้เครียดก่อนเข้านอน article
ประโยชน์ของใบย่านาง ไอเดียการกินการใช้ใบย่านางเพื่อสุขภาพ ข้อควรระวัง article
สิ่งที่คุณต้อง ขอบคุณ article
มีเมียสวยไม่สู้มีเมียใจซื่อ article
#ไม่ขอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ # article
การตื่นเช้า article
รู้จัก 5 แซ่จีน ลูกหลานมังกรในไทย เปิดที่มาต้นกำเนิดนามสกุลจีน article
บริจาคเลือดตามวันเกิด article
ยาที่ดีที่สุด article
อยากลดน้ำหนัก article
รักษาไขมันพอกตับ article
หลงลืมตามวัยหรือสมองเสื่อม article
8 ต้นเหตุ พร้อม 7 วิธีแก้ บอกลา ตะคริว แบบถาวร article
กระตุ้น สมอง article
ทำไมเราถึงตด? article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com