ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๗ article

คำพิพากษาฎีกาที่    ๑๘๘๘๒ - ๑๘๘๘๓/๕๗

พี่น้องร่วมบิดา  มารดาเดียวกัน   มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต    ตามพระราชบัญญัติ  ประกันสังคม  มาตรา  ๗๓  และมาตรา  ๗๗

 

                                        โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า  โจทก์เป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวของนางสาวสุภาภรณ์   ส่งทรัพย์เจริญ   ผู้ประกันตนซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทลีน่า  จำกัด  ต่อมาบริษัทดังกล่าวเลิกกิจการ  ผู้ประกันตนจึงเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  มาตรา  ๓๙  ตั้งแต่วันที่  ๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๔๑  โดยผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน   ต่อมาวันที่  ๒๕  มีนาคม  ๒๕๕๐  ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายด้วยโรคไตวายเรื้อรัง  โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายและประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ   สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่  ๔  มีคำสั่งที่  รง.  ๐๖๒๖/ปย.๑๒๐๑๐  ว่าไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพกรณีตายเนื่องจากไม่มีทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา   ๗๗   จัตวา   แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม   พ.ศ.  ๒๕๓๓   และคำสั่งที่   รง.  ๐๖๒๖/ปย.๑๒๐๑๑  ว่าไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตายเนื่องจากไม่มีทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา  ๗๓  แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม   พ.ศ.  ๒๕๓๓  โจทก์อุทธรณ์   คณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยที่  ๖๕๘/๒๕๕๑ และที่  ๑๔๗๗/๒๕๕๑  ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์   โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว   เพราะโจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ประกันตน   เป็นทายาทประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา  ๑๖๒๙   และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล   จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตายและบำเหน็จชราภาพกรณีตาย ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ๔ ที่  รง.  ๐๖๒๖/ปย.๑๒๐๑๐  และที่ รง. ๐๖๒๖/ปย.๑๒๐๑๑  คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่  ๖๕๘/๒๕๕๑  และที่  ๑๔๗๗/๒๕๕๑ 

 

                จำเลยให้การว่า   คำสั่งของจำเลยและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย  ขอให้ยกฟ้อง

 

             ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว  พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ๔  ที่  รง.  ๐๖๒๖/๑๒๐๑๐  ( ที่ถูก  รง.  ๐๖๒๖/ปย.๑๒๐๑๐)   และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่  ๑๔๗๗/๒๕๕๑  คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

 

                 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

 

                  ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว    ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวของนางสาวสุภาภรณ์  ส่งทรัพย์เจริญ  ผู้ประกันตนซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทลีน่า  จำกัด  ต่อมาบริษัทดังกล่าวเลิกกิจการ   ผู้ประกันตนจึงเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓   มาตรา  ๓๙   ตั้งแต่วันที่  ๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๔๑  โดยได้จ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน   ต่อมาวันที่  ๑๔   (ที่ถูก  ๒๕)   มีนาคม  ๒๕๕๐  ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายด้วยโรคไตวายเรื้อรัง   ก่อนตายผู้ประกันตนไม่ได้ทำหนังสือระบุให้ผู้ใดเป็นผู้รับเงินสงเคราะห์ โจทก์ยื่นคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตายต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ๔  เมื่อวันที่  ๑  พฤษภาคม  ๒๕๕๐  สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่  ๔  มีคำสั่งประโยชน์ทดแทนที่  รง.  ๐๖๒๖/ปย.๑๒๐๑๐ ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพกรณีตาย  เนื่องจากไม่มีทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา  ๗๗  จัตวา  แห่งประราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  และคำสั่งที่  รง.  ๐๖๒๖/ปย.๑๒๐๑๑  ว่า  โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย   เนื่องจากไม่มีทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา  ๗๓  แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  โจทก์อุทธรณ์คณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยที่   ๖๕๘/๒๕๕๑  ว่า  เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย  เป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตายหรือได้มาภายหลังการตายของผู้ประกันตนจึงไม่เป็นมรดกของผู้ประกันตน เมื่อผู้ประกันตนมิได้ทำหนังสือระบุให้บุคคลใดเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย  ทั้งบิดามารดาของผู้ประกันตนตายก่อนผู้ประกันตน  โจทก์ในฐานะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  ไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสิทธิตามมาตรา  ๗๓  (๒)  แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย   จึงให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์และมีคำวินิจฉัยที่  ๑๔๗๗/๒๕๕๑  ว่า  เงินบำเหน็จชราภาพกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายเป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นหรือได้มาเนื่องจากการตายของผู้ประกันตน   จึงไม่เป็นมรดกของผู้ประกันตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา  ๑๖๐๐  ซึ่งทายาทโดยธรรมตามมาตรา  ๑๖๒๙  จะมีสิทธิได้รับ  ประกอบกับสิทธิในการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ประกันตนโดยแท้  ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายและไม่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพตามมาตรา  ๗๗  จัตวา  วรรคสอง  โจทก์ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ประกันตนมิใช่ทายาทที่กฎหมายกำหนด  จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพกรณีตาย  จึงให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์  แล้ววินิจฉัยว่า  พระราชบัญญัติประกันสังคม   พ.ศ๒๕๓๓  มาตรา  ๗๓   บัญญัติว่า  ในกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ถ้าภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน   ให้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีตาย   ดังนี้  .... ( ๒)   เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย  ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น  แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้   ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีภริยา  บิดามารดา   หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน  ดังนี้  ....ฯลฯ   ดังนั้น   เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้จ่ายแก่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้เท่านั้น   สิทธิในการได้รับเงินดังกล่าวไม่ใช่สิทธิของผู้ตายจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย   แต่เป็นสิทธิของบุคคลที่ระบุไว้เท่านั้น   ผู้ประกันตนไม่มีสามี   ไม่มีบุตร   และบิดามารดาของผู้ประกันตนตายไปก่อนแล้ว    จึงไม่มีผู้มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว  กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยในส่วนนี้   สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพนั้นพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  มาตรา  ๗๗  ทวิ  วรรคสอง  บัญญัติว่า  ในกรณีผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ครบหนึ่งร้อยแปดสิบเดือนและความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา  ๓๘  หรือมาตรา  ๔๑  ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จชราภาพ  นางสาวสุภาภรณ์   เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา  ๓๙  ซึ่งมาตรา  ๔๑  บัญญัติว่า   ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา  ๓๙  สิ้นสุดลงเมื่อผู้ประกันตนนั้น  ( ๑ )    ตาย.... สิทธิในการได้รับบำเหน็จชราภาพจึงเป็นสิทธิของผู้ประกันตนขณะตาย    เพราะมาตรา  ๗๗  ทวิ  วรรคสอง  ไม่ได้บัญญัติยกเว้นกรณีการเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา  ๔๑  ( ๑ )  สิทธิในการรับบำเหน็จชราภาพกรณีความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา  ๓๘  และมาตรา  ๔๑  จึงเป็นมรดกของผู้ประกันตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๖๐๐  ซึ่งตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ประกันตน  โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ประกันตน  เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา  ๑๖๒๙  ( ๔ )   จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินนี้ได้   กรณีมีเหตุสมควรเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยในส่วนนี้

 

                 ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์มีว่า  โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายหรือไม่   โดยโจทก์อุทธรณ์ว่า   เงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายเป็นเงินที่ผู้ประกันตนส่งสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคมจำเลยเป็นรายเดือนมาก่อนถึงแก่ความตาย  จึงเป็นเงินที่ผู้ประกันตนสะสมมาทุกเดือนก่อนตายและเป็นมรดกของผู้ประกันตน เมื่อไม่มีบุคคลผู้มีสิทธิได้รับตามที่มาตรา  ๗๓  ( ๒ )  ระบุไว้   เงินดังกล่าวจึงต้องตกแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา  ๑๖๒๐  ประกอบมาตรา  ๑๖๒๙  พิเคราะห์แล้วเห็นว่า  พระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  มาตรา   ๒๑  บัญญัติว่า  ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานประกันสังคม  เรียกว่า  กองทุนประกันสังคม   เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ  ๓  และเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา  ๒๔  วรรคสอง  มาตรา  ๒๒  บัญญัติว่ากองทุนประกอบด้วย  ( ๑ )  เงินสมทบจากรัฐบาล  นายจ้าง   และผู้ประกันตนตามมาตรา  ๔๐  และมาตรา  ๔๖  ( ๒ )  เงินเพิ่ม....  มาตรา  ๒๓  บัญญัติว่า   เงินกองทุนตามมาตรา  ๒๒  ให้เป็นของสำนักงานและไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน  และมาตรา  ๒๔  วรรคหนึ่งยังบัญญัติต่อไปอีกว่า   เงินกองทุนให้จ่ายเป็นประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัตินี้  จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า    เงินที่ผู้ประกันตนออกสมทบเข้ากองทุนย่อมตกเป็นของสำนักงานประกันสังคมแล้ว   หาใช่ยังเป็นเงินของผู้ประกันตนอันจะตกเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่   บุคคลใดจะได้รับประโยชน์ทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ  ๓  กรณีใดหรือไม่เพียงใด  ย่อมเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓   กำหนดไว้เท่านั้น  โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ประกันตนซึ่งมิใช่บุคคลตามที่มาตรา  ๗๓  ( ๒ )  ระบุไว้   จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย   อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น 

 

           ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยมีว่า  โจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพอันเป็นประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามมาตรา  ๗๗  ( ๒ )  หรือไม่   โดยจำเลยอุทธรณ์ว่า  โจทก์มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามที่มาตรา  ๗๗  จัตวา  วรรคสอง  บัญญัติไว้อันเป็นกฎหมายเฉพาะ  ไม่ใช่กรณีมรดกตกทอดทั่วๆ  ไป   จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ไม่ได้  เห็นว่า  เงินบำเหน็จชราภาพเป็นประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  มาตรา  ๗๗  ( ๒)   ซึ่งมาตรา  ๗๗  จัตวา  วรรคหนึ่ง  บัญญัติว่า  ในกรณีผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามมาตรา  ๗๗  ทวิ   ถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน   หรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายในหกสิบเดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพให้ทายาทของผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ   วรรคสองบัญญัติว่า   ทายาทผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง  ได้แก่   ( ๑ )  บุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้นบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นให้ได้รับสองส่วน   ถ้าผู้ประกันตนที่ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน  ( ๒ )  สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน  และ  ( ๓ )  บิดามารดา  หรือบิดาหรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน   วรรคสามบัญญัติต่อไปอีกว่า   ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด   หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อน  ให้แบ่งเงินตามมาตรา  ๗๗  ( ๒ )  ในระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ  จะเห็นได้ว่า   มาตรา  ๗๗  จัตวา  วรรคสองและวรรคสาม  ได้กำหนดตัวบุคคลผู้เป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพพร้อมกำหนดสัดส่วนที่จะได้รับโดยเฉพาะ  หาใช่นำเอาทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ไม่   ทั้งเงินบำเหน็จชราภาพก็เป็นประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามมาตรา ๗๗ (๒) ซึ่งนำเงินกองทุนประกันสังคมมาจ่ายตามบทบัญญัติของมาตรา  ๒๔  วรรคหนึ่งจึงต้องจ่ายให้แก่บุคคลและตามสัดส่วนที่พระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  มาตรา  ๗๗  จัตวา  บัญญัติไว้โดยเฉพาะเท่านั้น  โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ประกันตน  ซึ่งมิใช่บุคคลตามที่มาตรา  ๗๗  จัตวา  วรรคสอง   บัญญัติไว้ว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ    แม้ผู้ประกันตนจะไม่มีทายาทตามมาตรา  ๗๗  จัตวา  วรรคสอง   บัญญัติไว้เลย   ก็ไม่อาจนำเงินกองทุนประกันสังคมมาจ่ายแก่ทายาทอื่นให้ขัดกับบทบัญญัติมาตรา   ๒๔   และมาตรา   ๗๗  จัตวา  ของพระราชบัญญัติประกันสังคม  พ.ศ.  ๒๕๓๓  ได้  อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น

 

                                       พิพากษาแก้เป็นว่า  ไม่เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่  ๔  ที่  รง.  ๐๖๒๖/ปย.๑๒๐๑๐  และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ที่  ๑๔๗๗/๒๕๕๑  นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง.

  

 

                                                                        เรียบเรียงโดย บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด




อัพเดท ฎีกาน่าสนใจ

ขึ้นทะเบียนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกิน ๓๐ วัน ยังมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ article
ลักษณะความผิดเดียวกัน แต่ระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน นายจ้างพิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ผู้จัดการสาขา เสนอรายชื่อลูกค้าที่ขาดคุณสมบัติทำประกันชีวิต ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ผิดร้ายแรง article
หยุดกิจการชั่วคราวตาม มาตรา ๗๕ article
สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน นายจ้างออกค่าใช้จ่ายในการเข้าทดสอบเพื่อรับเกียรติบัตร เมื่อทดสอบผ่านต้องทำงานกับนายจ้าง ๕ ปี บังคับใช้ได้ article
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งรับพยานเอกสารได้ แม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายก็ตาม article
ประกอบธุรกิจแข่งขัน / ไปทำงานกับนายจ้างอื่น ในลักษณะผิดต่อสัญญาจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้างตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะบังคับ / ห้ามทำงานตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างอีกต่อไป article
คดีแรงงานเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คดีอาญายกฟ้อง แต่พฤติกรรมการกระทำผิด เป็นเหตุให้นายจ้างไม่อาจไว้วางใจในการทำงานได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
เลิกจ้างเนื่องจากปรับโครงสร้างองค์กร แต่กำหนดรายชื่อไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม article
การหักลบกลบหนี้ หนี้อันเกิดจากสัญญาจ้าง กรณีลูกจ้างกระทำผิดกับสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้าง ถือเป็นมูลหนี้อันเป็นวัตถุอย่างเดียวกันหักลบกลบหนี้กันได้ article
เล่นการพนันฉลากกินรวบ เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีร้ายแรง article
กรณีไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจแข่งขันหรือไม่ถือว่าทำงานกับนายจ้างใหม่ในลักษณะธุรกิจเดียวกับนายจ้าง article
สัญญาฝึกอบรม นายจ้างกำหนดเบี้ยปรับได้ เป็นสัญญาที่เป็นธรรม article
ค้ำประกันการทำงาน หลักประกันการทำงาน การหักลบกลบหนี้ค่าเสียหายจากการทำงาน article
ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์แต่ตนเอง เรียกรับเงินจากลูกค้า ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ article
ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาทำงานสายประจำ ถือว่า กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สหภาพแรงงานทำบันทักข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับนายจ้าง อันส่งผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของสมาชิก ขัดกับข้อตกลงเดิมและมิได้ขอมติที่ประชุมใหญ่ ข้อตกลงดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้ article
ขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามประกาศ ถือเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน มิใช่การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามระเบียบกรณีเกษียณอายุ article
สถาบันวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการมหาวิทยาลัยถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ได้รับยกเว้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๔ (๑) article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จากการเลิกจ้างมีอายุความฟ้องร้องได้ภายใน ๑๐ ปี article
ทะเลาะวิวาทเรื่องส่วนตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับบัญชา ไม่เป็นความผิด กรณีร้ายแรง ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ article
ขับรถเร็วเกินกว่าข้อบังคับกำหนด เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนคำสั่งโยกย้าย เลิกจ้างได้ ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ประกาศใช้ระเบียบใหม่ ไม่ปรากฏว่ามีพนักงานโต้แย้งคัดค้าน ถือว่าทุกคนยินยอมปฏิบัติตามระเบียบ article
เงินค่าตอบแทนพิเศษกับเงินโบนัส มีเงื่อนไขต่างกัน หลักเกณฑ์การจ่ายต่างกัน จึงต้องพิจารณาต่างกัน article
ทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินกองทุนเงินทดแทน article
ค่ารถแทนรถยนต์ประจำตำแหน่ง ไม่ถือเป็นค่าจ้าง และ ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้ถือตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่กำหนดไว้ article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างไม่ตกลง ขอเวลาตัดสินใจและหยุดงานไป นายจ้างแจ้งให้กลับเข้าทำงานตามปกติ ถือว่านายจ้างยังไม่มีเจตนาเลิกจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ แอบนอนหลับในเวลาทำงาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม article
ลาออกโดยไม่สุจริต ไม่มีผลใช้บังคับ article
ทำความผิดคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน พิจารณาลงโทษแตกต่างกันได้ article
ประกอบธุรกิจ บริการ ด่าลูกค้าด้วยถ้อยคำหยาบคาย " ควาย " ถือเป็นการกระทำความผิดกรณีร้ายแรง article
ข้อบังคับ ระบุให้ผู้บังคับบัญชาเหนือกว่ามีอำนาจแก้ไข เพิ่มโทษ หรือลดโทษได้ การยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิมและให้ลงโทษใหม่หนักกว่าเดิมจึงสามารถทำได้ article
เลือกปฏิบัติในการลงโทษระเบียบการห้ามใส่ตุ้มหูมาทำงาน บังคับใช้ได้ แต่เลือกปฏิบัติในการลงโทษไม่ได้ article
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน article
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย article
ข้อตกลงรับเงินและยินยอมปลดหนี้ให้แก่กัน ถือเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทแม้จะทำขึ้นก่อนคำสั่งเลิกจ้างมีผลใช้บังคับ article
ศาลแรงงานมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างส่งศาลได้ แม้มิได้ระบุบัญชีพยานไว้ก็ตาม article
สัญญาจ้างห้ามลูกจ้างไปทำงานกับนายจ้างใหม่ที่ประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันมีกำหนดเวลา บังคับใช้ได้ article
เลิกจ้างและรับเงินค่าชดเชย ใบรับเงิน ระบุขอสละสิทธิ์เรียกร้องเงินอื่นใดใช้บังคับได้ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ฟ้องร้องสินจ้างและค่าเสียหายได้อีก article
เกษียณอายุ 60 ปี ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยนับแต่วันครบกำหนดเกษียณอายุ แม้นายจ้างไม่ได้บอกเลิกจ้างก็ตาม article
ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและเพิกเฉยไม่ดูแลผลประโยชน์ของนายจ้าง เป็นเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจในการทำงานได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม article
ละเลยต่อหน้าที่ ไม่รายงานเคพีไอ นายจ้างตักเตือนแล้ว ถือว่าผิดซ้ำคำเตือน เลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ทำสัญญาจ้างต่างด้าวทำงานในอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว สัญญาจ้างถือเป็นโมฆะ article
ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง article
ศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยาน แล้วพิพากษาตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ในขณะที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ยุติ ต้องสืบพยานใหม่และพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี article
แม้สัญญาจ้างไม่ได้ระบุระยะเวลาทดลองงานไว้ แต่นายจ้างก็สามารถประเมินผลการทำงานของลูกจ้างได้ article
การควบรวมกิจการ สิทธิและหน้าที่โอนไปเป็นของบริษัทใหม่ การจ่ายเงินสมทบบริษัทใหม่ที่ควบรวมจึงมีสิทธิจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมตามสิทธิ มิใช่ในอัตราบริษัทตั้งใหม่ article
เลิกจ้างรับเงินค่าชดเชยแล้วตกลงสละสิทธิ์จะไม่เรียกร้องผละประโยชน์ใดๆ ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเป็นอันระงับไป article
รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแทนผู้รับเหมาช่วง หากผู้รับเหมาช่วงไม่นำส่งเงินสมทบตามกฎหมายโดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างที่ระบุตามแบบ ( ภ.ง.ด. 50 ) และบัญชีงบดุล article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกาย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนพนักงาน ทั้งในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่อื่นๆ ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมาย article
ไส้ติ่งอักเสบ แพทย์วินิจฉัยให้ผ่าตัด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน เบิกค่ารักษาได้ มีสิทธิรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ได้ article
ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเดินทางเป็นสวัสดิการไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่ารถยนต์ซึ่งกำหนดเป็นสวัสดิการไว้ชัดเจนแยกจากฐานเงินเดือนปกติ ถือเป็นสวัสดิการไม่ใช่ค่าจ้าง article
ละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้าง ละเมิดสัญญาจ้าง มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี article
พฤติกรรมการจ้างที่ถือว่าเป็นการจ้างแรงงาน ถือเป็นลูกจ้าง / นายจ้างตามกฎหมาย article
พนักงานขายรถยนต์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบูธ ตามที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ขัดต่อข้อบังคับสหภาพหรือขัดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ article
ฝ่าฝืนสัญญาจ้าง กรณีห้ามทำการแข่งขันกับนายจ้างหรือทำธุรกิจคล้ายคลึงกับนายจ้างเป็นเวลา 2 ปี นับจากสิ้นสุดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง article
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุคนล้นงาน ปรับลด ขนาดองค์กรได้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ article
ข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรณีตัดสิทธิ์รับเงินสมทบพร้อมผลประโยชน์หากกระทำผิดถูกปลดออกจากงานบังคับใช้ได้ article
ทะเลาะวิวาทกัน นอกเวลางาน นอกบริเวณบริษัทฯ ไม่ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง article
ฝ่าฝืนไม่ไปตรวจสารเสพติดซ้ำตามคำสั่งและนโยบาย ถือว่าฝ่าฝืน ข้อบังคับ หรือ ระเบียบ กรณีร้ายแรง article
วันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วน article
เป็นลูกจ้างที่มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้างในการจ้างงาน ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด และลักทรัพย์เอาต้นไม้ของนายจ้างไป ถือว่ากระทำผิดอาญาแก่นายจ้าง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ผลการทำงานดีมาโดยตลอดและไม่เคยกระทำผิดมาก่อน แต่ปีสุดท้ายผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถือเป็นเหตุที่จะอ้างในการเลิกจ้าง article
ได้รับบาดเจ็บรายการเดียว เข้ารักษา 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการรักษารายการเดียว นายจ้างสำรองจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 50,000 บาท ไม่ใช่ 200,000 บาท article
ผู้บริหารบริษัท ฯ ถือเป็นลูกจ้างหรือไม่ ดูจาก_________ ? article
ขับรถออกนอกเส้นทาง แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นายจ้างหักเงินประกันการทำงานได้ article
ค่าจ้างระหว่างพักงาน เมื่อข้อเท็จจริง ลูกจ้างกระทำความผิดจริง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน article
“ นายจ้าง ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 5 article
สัญญารักษาความลับ ข้อมูลทางการค้า (ห้ามประกอบหรือรับปฏิบัติงานแข่งขันนายจ้าง) มีกำหนด 2 ปี บังคับใช้ได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการกำหนดค่าเสียหาย ถือเป็นเบี้ยปรับตามกฎหมาย ศาลปรับลดได้ตามสมควร article
เงินรางวัลการขายประจำเดือน จ่ายตามเป้าหมายการขาย ที่กำหนดไว้ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง article
ค่าโทรศัพท์ เหมาจ่าย ถือเป็นค่าจ้าง article
ละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำการ โดยไม่มีเหตุอันสมควร เลิกจ้างเป็นธรรมไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย article
ลาออกมีผลใช้บังคับแล้ว ออกหนังสือเลิกจ้างภายหลังใช้บังคับไม่ได้ article
ตกลงรับเงิน ไม่ติดใจฟ้องร้องอีกถือเป็นการตกลงประนีประนอมกันบังคับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ข้อตกลงว่า “หากเกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงาน ให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย” ไม่เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อเกิดสิทธิตามกฎหมาย ฟ้องศาลแรงงานได้ โดยไม่ต้องให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย article
เลิกจ้างด้วยเหตุอื่น อันมิใช่ความผิดเดิมที่เคยตักเตือน ไม่ใช่เหตุที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย article
นำรถยนต์ไปใช้ในกิจธุระส่วนตัว มีพฤติกรรมคดโกง ไม่ซื่อตรง พฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต ไม่น่าไว้วางใจ ลงโทษปลดออกจากการทำงานได้ article
การกระทำที่กระทบต่อเกียรติ ชื่อเสียงของนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แม้กระทำนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ก็ถือว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง article
สัญญาค้ำประกันการทำงานไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ ต้องรับผิดชอบตลอดไป article
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมและความผิดที่ลงโทษแล้วจะนำมาลงโทษอีกไม่ได้ article
ผิดสัญญาจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาได้ แต่ค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาลจะกำหนด article
จงใจกระทำผิดโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหาย ถือว่า กระทำละเมิดต่อนายจ้าง ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น article
ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ article
ก้าวร้าวไม่ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง คิดดอกเบี้ยในอัตรา 7. 5 ต่อปี article
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของนายจ้างในเรื่องส่วนตัวเป็นประจำ ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่กาปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต เลิกจ้างเป็นธรรม article
สั่งให้พนักงานขับรถ ขับรถออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้มีส่วนในการขับรถ ถือว่าผิดต่อสัญญาจ้าง แต่ไม่ต้องรับผิดอันมีผลโดยตรงจากมูลละเมิด ( ขับรถโดยประมาท ) article
จ่ายของสมนาคุณให้ลูกค้า โดยไม่ตรวจสอบบิลให้ถูกต้อง มิใช่ความผิดกรณีร้ายแรงไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ แต่ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เสร็จลุล่วงไปโดยถูกต้อง และสุจริต เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า article
ฟ้องประเด็นละเมิด กระทำผิดสัญญาจ้าง ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มีอายุความ 10 ปี article
ตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันเงินกู้ นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามหนังสือยินยอมโดยไม่ต้องฟ้อง article
กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง article
“ งานโครงการตามมาตรา 118 วรรค 4 ” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ว่าจ้างลูกจ้างทำงานตามโครงการที่รับเหมา ถือว่าจ้างงานในปกติธุรกิจของนายจ้าง มิใช่งานโครงการ article
เงินโบนัสต้องมีสภาพการเป็นพนักงานจนถึงวันกำหนดจ่าย ออกก่อนไม่มีสิทธิได้รับ article
ระเบียบกำหนดจ่ายเงินพิเศษ ( gratuity ) เนื่องจากเกษียณอายุ โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าเชย ถือว่านายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเยตามกฎหมาย article
เจรจาให้ลาออก ลูกจ้างขอค่าชดเชย นายจ้างไม่คุยด้วย แต่ยังไม่ได้บอกเลิกจ้างและยังไม่ปรากฎว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างและไม่ให้เข้าทำงานต่อ ยังไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ( อย่าเข้าใจไปเอง ) ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com