ReadyPlanet.com


กรณีน้ำท่วมโรงงาน บริษัทต้องจ่ายค่าจ้าง 75% หรือป่าว?


บริษัทในนิคมโรจนะ บางโรงไม่จ่ายอะ



ผู้ตั้งกระทู้ อารีย์ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-11-09 07:46:56 IP : 49.229.186.168


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3317049)

ครับ    หากพิจารณาตามข้อกฎหมาย 

ถือว่า  ภัยพิบัติครั้งนี้   เป็นเหตุสุดวิสัยครับ  เป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 75

อ่านเพิ่มเติมในบทความ เรื่องปิดกิจการหรือหยุดกิจการชั่วคราวนะครับ 

กรณีเหตุครั้งนี้  นายจ้างจึงสามารถหยุดกิจการชั่วคราวได้

โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่หยุด    ตามกฎหมาย 

        ที่เห็นออกข่าวกันทั่วไป  ว่ามีการจ่ายค่าจ้าง นั้น 

ถือเป็นความเอื้อเฟื้อ  ความเมตตา  ความมีน้ำใจ  ของนายจ้างครับ 

ที่พิจารณาจ่ายค่าจ้างให้  บางรายจ่ายเต็ม บางราย  จ่าย 75 %  บางรายจ่าย 50 %

บางรายช่วยเหลือมากกว่าเงิน  เช่น  ให้ที่พักอาศัย   เงินช่วยเหลือพิเศษ

ค่าอาหารเพิ่ม   เป็นต้น

     ถือว่าจ่ายได้  ไม่ขัดต่อกฎหมายครับ 

    เหตุครั้งนี้  แม้กฎหมายจะกำหนดไว้   แต่การจ่ายหรือไม่จ่ายค่าจ้างนั้น

คงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายจ้าง  และอาจมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น

ฐานะทางการเงินของนายจ้าง   ทัศนคติ ของนายจ้าง   จิตสำนึก

หรือนโยบาย หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาของนายจ้างแต่ละราย 

ซึ่งต้องยอมรับครับว่า   แนวคิด  ทัศนคติ หรือวิธีการแก้ไขปัญหาของนายจ้างแต่ละราย

ไม่เหมือนกันแน่นอนครับ

        แต่เหตุการณ์นี้  หากร้ายแรง และมีผลกระทบถึงขั้นต้องปิดกิจการ    และเลิกจ้างพนักงาน  นั้น

ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมาย  คือ  มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย  ตามอายุงาน  มาตรา ๑๑๘

หากไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า   ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า มาตรา ๑๗

และสามารถใช้สิทธิประกันว่างงานได้  ตามพรบ.ประกันสังคม ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-11-11 02:12:33 IP : 58.9.67.139


ความคิดเห็นที่ 2 (3317171)

 

หมายความว่า ถ้าโรงงานประสบภัยน้ำท่วมเช่นกัน และโรงงานประกาศว่า "ทางบริษัทได้รับความเสียหายอย่างมากจนไม่สามารถจ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้างในช่วงที่หยุดกิจการ"  ลูกจ้างก็ไม่สามารถฟ้องร้องโรงงาน ใช่หรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกจ้างรายวัน วันที่ตอบ 2011-11-12 17:33:20 IP : 223.24.252.183


ความคิดเห็นที่ 3 (3317178)

กฎหมายกำหนดไว้เช่นนั้นครับ  

เพราะน้ำท่วม  ไม่ได้เกิดจากการกระทำของนาจ้าง  หรือจากลูกจ้าง

แต่เป็นภัยธรรมชาติ   ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

      ลองทำใจให้เป็นกลาง นะครับ

แล้วลองคิดดูว่า   หากนายจ้างระดับกลาง ๆ  ไม่ใช่ธุรกิจพันล้าน

ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนมาจากการกู้ยืม  โอดี  และเงินหมุนเวียนในธุรกิจ

พอมีเหตุน้ำท่วม   นายจ้างได้รับความเสียหาย  ประกอบธุรกิจไม่ได้

ไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบ  นายจ้างก็เดือดร้อนไม่มีเงินมาจ่ายค่าจ้างเช่นกันครับ 

ตรงกันข้าม  ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน  ไม่มีเงิน  ก็เดือดร้อนเช่นกัน 

จึงถือว่าไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก  ดังนั้นกฎหมาย  จึงไม่บังคับให้นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้าง  ในกรณีเช่นนี้

แต่การรักษาสถานะภาพความเป็นนายจ้าง  ลูกจ้างไว้  และเมื่อเข้าสู่ภาวะปกติ 

ก็กลับเข้าทำงานตามปกติ   โดยนายจ้างไม่ได้เลิกจ้าง   กรณีอย่างนี้

กฎหมาย  จึงถือว่าการกระทำดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย   ไม่เป็นความผิดครับ

        การจ่ายเงินค่าจ้าง   ระหว่างปิดงานเนืองจากน้ำท่วม   จึงเป็นสิทธิของนายจ้ง

แต่ละรายที่จะพิจารณาจ่าย  ตามความจำเป็น  ตามความสามารถของนายจ้างแต่ละราย

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-11-12 23:45:41 IP : 58.9.66.243


ความคิดเห็นที่ 4 (3317474)

หากโรงงานยังสามารถผลิตได้อยู่ แต่พนักงานไม่ยอมมาทำงานด้วยอ้างเหตุน้ำท่วม(หยุดนานเป็นเดือน)  สามารถปลดจากการเป็นพนักงานได้หรือไม่โดยอ้างเหตุขาดงานติดต่อกัน 3วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

รบกวนด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น tharin (tharin-at-toyoink-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2011-11-16 15:47:33 IP : 125.27.138.103


ความคิดเห็นที่ 5 (3317478)

ถ้าบริษัทไม่มีนโยบายให้หยุด  หรือ ไม่อนุญาต  ให้หยุดงาน

และแจ้งความประสงค์ยืนยันให้พนักงานทำงานตามปกติ  

หากพนักงานหยุดงานไปโดยไม่แจ้งลาตามระเบียบ  เช่น  ลาป่วย  ลากิจ  

ลาพักร้อน  ฯลฯ  ตามระเบียบที่มี

กรณีจึงถือว่าพนักงานขาดงานละทิ้งหน้าที่  นายจ้างมีสิทธิพิจารณาลงโทษได้ตามความเหมาะสม

          กรณีนี้แม้ไม่มีนโยบายให้หยุดงานก็ควรพิจารณาด้วยความเป็นธรรมใช้หลักการบริหารควบคู่กับกฎหมาย

พิจารณาเป็นรายบุคคลไป

         ความผิดกรณีขาดงานละทิ้งหน้าที่ตามมาตรา  119  อย่าลืมว่าแม้กำหนดว่าขาดงานละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาทำงาน  3  วัน

ทำงานติดต่อกันก็ตาม  แต่มีองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ   ไม่มีเหตุอันสมควร  

        ฉะนั้นจะเลิกจ้างด้วยเหตุขาดงานละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาทำงาน  3  วัน  ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้น  ต้องพิจารณาด้วยว่า

เหตุน้ำท่วม  เป็นเหตุให้พนักงานไม่สามารถเดินทางมาทำงานได้  และหยุดงานไปมีเหตุสมควรหรือไม่  

        จึงฝากข้อคิดไว้ว่าหากจะเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้ต้องพิจารณาองค์ประักอบอีกหลายประการ  เช่น  ความเป็นธรรม  ความจำเป็น

คำสั่งหรือระเบียบของนายจ้าง  การสื่อสารและการบอกกล่าวในช่วงระหว่างน้ำท่วม  เป็นต้น

        สรุป  มีเหตุเลิกจ้างได้แต่จะจ่่ายค่าชดเชยหรือไม่ต้องพิจารณาเหตุผลประกอบตามที่อธิบายมาข้างต้นด้วย 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-11-16 16:06:37 IP : 115.87.144.162


ความคิดเห็นที่ 6 (3317481)

ขอบคุณ อ.ไสวมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น tharin (tharin-at-toyoink-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2011-11-16 16:12:27 IP : 125.27.138.103


ความคิดเห็นที่ 7 (3317775)

ถ้าบริษัทไม่จ่ายเงินตามกฎหมาย มาตรา 75 และไม่จ้างออก ไม่ปิดกิจการ พนักงานจะทำเช่นไร ไปทำงานที่อื่นก็ต้องยื่นประกันสังคม " ลาออก" อย่างเดียวว่างั้น

อดทนกันอย่างเดียว กลับไปทำไร่ทำนา รับจ้างรายวัน

แต่ค่าบ้าน(ธ.กรุงเทพ) ค่ารถ ค่าน้ำ(บาดาลของหมู่บ้าน) ค่าไฟ เขตอุทัยจ.ยุดยา นโยบาย 3 เดือนยังไม่สั่ง) ต้องจ่ายปกติหรือต้องผ่อนจ่าย

รัฐ มีทางช่วยพวกเราอย่างไรบ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ใหญ่เห็ด วันที่ตอบ 2011-11-21 09:20:44 IP : 182.53.76.158


ความคิดเห็นที่ 8 (3319128)

แล้วในกรณีที่บริษัท ย้ายที่ตั้งจากโรจนะ ไปอยู่ชลบรีแล้วเราไม่สามารถไปได้ นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยหรือไม่หรือ เราต้องลาออกเอง ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สมชาย แดงชาติ วันที่ตอบ 2011-12-03 14:41:24 IP : 125.24.55.40



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.