ReadyPlanet.com


อยากทราบเรื่องการนับชั่วโมงทำงานต่อวันครับ


ที่บรษัท มีการทำงานแบบเข้ากะ

กะเช้า  07.00 - 19.00

กะดึก 19.00 - 07.00

นับชั่วโมงทำงาน  10 ชั่วโมงต่อวัน อีก 2 ชั่วโมงจ่าย OT ( ไม่มีการระบุชั่วโมงเบรคที่แน่นอน

แต่ใช้การสลับกันเบรคเป็นช่วงแล้วแต่สะดวก)

เพราะเป็นลักษณะงานที่ต้อง ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง (ไม่ใช่เฝ้าตลอดเวลา) (คือสารถพักเบรคได้ตลอดเวลาโดยใช้การสลับกันพัก)

ทำงานแบบ ทำ 5 หยุด 2 ในห้าวันที่ทำงาน มีหนึ่งวันที่ทำ 8 ชั่วโมง (08.00-16.00)

ใช้การสลับกันพักเหมือนกันโดยไม่มีการกำหนดเวลาพักตายตัว

หากมีการมาทำงานในวันหยุด ( OT) ก็จะเข้างานตามเวลากะ...แต่จะจ่ายค่าแรง

เป็น 8+4 

อยากถามว่า

1 การเข้างานในลักษณะนี้ผิดกฏหมายหรือไม่

2 การจ่ายค่าแรง การทำงานในวันหยุด ถูกต้องหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ diaw โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-28 13:47:08 IP : 10.29.50.15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3295916)

 สวัสดีครับ

     จากกระทู้นี้  ดูเหมือนนิดเดียว  แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายข้อมาก  และเป็นคำถามที่น่าสนใจ

และเป็นประโยชน์มากครับ

       ตามกระทู้  ต้องสอบถามว่า   บริษัท มีพนักงานกี่คนครับ    มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่

บริษัททำธุรกิจอะไร    เป็นลักษณะงานประเภทใด  เพราะผลของกฎหมายจะแตกต่างกัน คือ

    หากเป็นงานทั่ว ๆ ไป  กำหนดเวลาทำงานปกติไม่เกิน  ๘  ชั่วโมง หากเป็นงานอันตราย  วันหนึ่งไม่

เกิน  ๗  ชั่วโมง   ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ  มาตรา ๒๓   และ

     การทำงานล่วงเวลา  ปกติต้องได้รับความยินยอมจากลุกจ้างก่อน   นายจ้างสั่งไม่ได้   เว้นแต่เป็นงาน

ที่ต้องทำต่อเนื่องกันไป  หากหยุดจะเสียหายแก่งาน  ตามมาตรา ๒๔

    เบื้องต้น  อธิบายหลักทั่วไปนะครับ   คือ  ปกติหากนายจ้างมีลูกจ้างตั้งแต่  ๑๐ คนขึ้นไป  นายจ้างต้องจัดทำ

ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไว้   ประกาศให้ลูกจ้างทราบ  มีกำหนดวันเวลาทำงานปกติ  เวลาเข้าออกงาน  

ตามมาตรา ๑๐๘   หากไม่มีนายจ้างมีความผิดตามมาตรา ๑๔๖   ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท 

ตอตามหลักการทั่วไป คือ    เป็นงานปกติทั่วไป   ทำงานวันละไม่เกินแปดชั่วโมง  ทำงาน ๕ วัน  หยุด  ๒ วัน

(หยุประจำสัปดาห์ ๒ วัน)   และ

ลักษณะงาน  เป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง  หากหยุดจะเสียหายแก่งาน  ตามมาตรา ๒๔

     การกำหนดเวลาเข้างานเลิกงาน  ต้องกำหนดไว้แน่นอนชัดเจน   วันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง  ตามมาตรา  ๒๓

ในระหว่างวันทำงาน นายจ้างต้องกำหนเวลาพักระหว่างการทำงาน   วันหนึ่งไม่น้อยกว่า  ๑  ชั่วโมง  หลังจาก

ทำงานมาแล้วไม่เกิน  ๕  ชั่วโมง  การพักอาจตกลงกันหลายเบรคได้ แต่ละเบรค น้อยกว่า ๑  ชั่วโมงได้  แต่เมื่อรวมกันแล้ว

วันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่า  ๑  ชั่วโมง  ตามมาตรา ๒๗   นายจ้างฝ่าฝืนไม่กำหนดเวลา  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ตามมาตา  ๑๔๖ 

     นายจ้างไม่กำหนดเวลาทำงานปกติ ตามมาตรา ๒๓  มีความผิด   ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท  ตามมาตรา ๑๔๕

     ๑)  การกำหนดเวลาทำงาน  ๐๗.๐๐ -๑๙.๐๐ น. หรือ เวา ๑๙.๐๐ -๐.๐๐ น.  

เวลาทำงานปติคือ  ๐๗.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ในระหว่างเวลาทำงานปกติต้องมีเวลาพัก  ไม่น้อยกว่า  ๑  ชั่วโมง  ส่วนเวลาที่เกินถือว่า

เป็นชั่วโมงทำงานล่วงเวลา   กรณีหากเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง  หยุดจะเสียหายแก่งาน  นายจ้างสามารถสั่งให้ทำงานล่วงเวลาได้

แต่ต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา  ไม่น้อยกว่า  ๑.๕ เท่าของค่าจ้างต่้อชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ  มาตรา  ๖๑

และต้องให้ลูกจ้างได้มีเวลาพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า  ๒๐  นาที  ตามาตรา ๒๗ วรรค ๔

        ช่วงเวลา ๑๖.๐๐ ถึง ๑๙.๐๐ น. เป็นชั่วโมงทำงานล่วงเวลา    

        ดังนั้นการกำหนดเวลาำทำงานปกติ ๑๐  ชั่วโมง  โอที  ๒  ชั่วโมง  จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย     

   การสลับกันเบรคหรือพัก  สามารถทำได้   แต่รวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด

 

    ๒)  ในวันหยุดประจำสัปดาห์  และวันหยุดตามประเพณี  ทำงาน  ๘  ชั่วโมง  โอที  ๔  ชั่วโมง ถูกต้อง 

แต่เวลาพัก  ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันกับกรณีวันทำงานปกติ

    ส่วนค่าจ้าง  หากเป็นรายเดือน จะได้  เพิ่มอีก  ๑  แรง   หากเป็นพนักงานรายวัน  จะได้ค่าจ้าง  ๒ เท่าของค่าจ้างปกติ

ตามมาตรา  ๖๒   

     ส่วนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด   ต้องได้ค่าจ้างไม่น้อยกว่า  ๓  เท่า  ของค่าจ้างต่อชั่วโมง  ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ  

ตามมาตรา ๖๓

      คิดง่าย ๆ โอที  ๔  ชั่วโมง   ให้เอา    ค่าจ้างปกติต่อวัน หาร  ๘  เท่ากับค่าจ้างต่อชั่วโมง    เอาค่าจ้างต่อชั่วโมงคูณ ๔  

และคูณ  ๓   อีกครั้ง   จะได้ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดของวันนั้น ๆ

      ข้อเท็จจริงเรื่องค่าแรงไม่ชัดเจน   ดังนั้น  ลองคำนวณตามสูตรนี้ดู  แล้ว ไปเปรียบเทียบดูนะครับ  ว่าได้รับถูกต้องหรือไม่

 

     อย่างไรก็ดี   หากมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเปลี่ยนไป  คำตอบอาจเปลี่ยนไปได้ เช่น  มีข้อบังคับกำหนดไว้  

แต่ลูกจ้างไม่ได้อ่านหรือมีการตกลงกันเรื่องเวลาทำงานปกติไว้  หรือ วันทำงานปกติ  ๖  วัน  วันหยุดประจำสัปดาห์

มี  ๑  วัน  แล้วมาตกลงทำงานเพิ่มเติมในวันทำงานปกติแทน     อย่างนี้เป็นต้น  

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องบางส่วน

      มาตรา ๒๓ ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและ

เวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนด
ในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง
นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติ
อื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน
สี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่ง
ต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง
 
    มาตรา ๒๔ ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
ก่อนเป็นคราว ๆ ไป 
     ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน
หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
 
         
   มาตรา ๑๐๘ ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
เป็นภาษาไทย และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้
(๑) วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
(๒) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
(๓) หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
(๔) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
(๕) วันลาและหลักเกณฑ์การลา
(๖) วินัยและโทษทางวินัย
(๗) การร้องทุกข์
(๘) การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ 
      ให้นายจ้างประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้าง
รวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป และให้นายจ้างจัดเก็บสำเนาข้อบังคับนั้นไว้ ณ สถานประกอบกิจการ
หรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา และให้ส่งสำเนาข้อบังคับให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว
      ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งให้นายจ้างแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ขัด
ต่อกฎหมายให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดให้นายจ้างเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการ
ทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้ทราบและดูได้โดยสะดวก
 
    

     

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-05-29 16:22:40 IP : 115.87.166.183


ความคิดเห็นที่ 2 (3295922)

ขอบคุณมากครับอาจารย์กับคำตอบที่ได้...

เพิ่มเติมครับ ลักษณะงานคือ เป็นพนักงานโรงไฟฟ้า ต้องทำงานตลอดหยุดไม่ได้ ทำงานนั่งควบคุมในห้องควบคุม

มีพนักงานเกือบ ร้อยคนครับ ส่วนข้อบังคับจะมีหรือป่าวผมไม่แน่ใจเพราะไม่เห็น ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้คือ

ทางบริษัทจะไม่จ่ายโอทีที่เป็น 2 ชั่วโมงนั่นแล้ว แต่จะจัดให้มีเวลาพักแทน แต่พวกผมก็ต้อง ลงเวลาเข้างาน 07.00-19.00

เหมือนเดิม และเขาจะนับเวลาทำงานของพนักงานเป็น 10 ชั่วโมงต่อวัน 2 ชั่วโมงต่อวันที่ได้โอที ที่จะยกเลิก อาจให้สะสม

ไว้แลกวันหยุด แต่สะสมได้ไม่เกินหนึ่งเดือน

  ทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวกับวันเวลาทำงาน พวกพนักงานไม่ได้ลงลายมือรับทราบเป็นลายลักษ์อักษร แต่เป็นการ

ตกลงยินยอม(และไม่ยินยอม)โดยปากปล่าวครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น diaw วันที่ตอบ 2011-05-29 17:58:59 IP : 10.29.50.15


ความคิดเห็นที่ 3 (3295946)

       ถือว่าเป็นบริษัท ฯ ขนาดปานกลาง   น่าจะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานลองตรวจสอบดูครับ 

แสดงว่าลักษณะงาน   เป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง  หากหยุดจะเสียหายแก่งาน

ดังนั้น  จึงเข้าข้อยกเว้นกฎหมาย  ที่นายจ้างสั่งให้ทำงานล่วงเวลาได้  เท่าที่จำเป็น  ตามมาตรา ๒๔

     และลักษณะงานเข้าข้อยกเว้น มาตรา ๒๗ วรรคท้าย คือ ไม่จำเป็นต้องจัดเวลาพักตามปกติได้  และ

ไม่จำต้องหยุดพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาได้   แต่ต้องกระทำ  โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

      ส่วนการทำงานล่วงเวลา   ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลาตามกฎหมาย  เป็นเงิน

ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา  ๕ กำหนดว่า

"ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน
"ค่าล่วงเวลา" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลา
"ค่าทำงานในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุด
"ค่าล่วงเวลาในวันหยุด"   หมายความว่า   เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
 
        ค่าตอบแทนข้างต้น   กฎหมายกำหนดค่าตอบแทนไว้ว่า  คือ  เงิน

   และเงินที่ว่า  ต้องจ่ายเป็นเงินไทย   ยกเว้นตกลงกันจ่ายเป็นเงินสกุลอื่น ๆ   ตามมาตรา ๕๔

การกำหนดให้ลูกจ้างได้สิทธิการหยุดแทน  การจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาเป็นเงิน  นายจ้างจึงไม่สามารถ

กระทำเองได้โดยลำพัง   แม้อาจจะมองว่าเงื่อนไขดังกล่าวเป็นคุณแก่ลูกจ้าง   แต่หากลูกจ้างไม่ตกลงยินยอมด้วย

ก็ไม่สามารถกระทำได้   เพราะส่วนใหญ่ลูกจ้างมาทำงาน  ก็เพื่อต้องการเงินเป็นการตอบแทนมากกว่า  สิทธิการหยุดงาน    

      ดังนั้น  ลูกจ้างสามารถร้องแรงงานหรือฟ้องศาล  เรียกค่าทำงานล่วงเวลาส่วนที่ขาดไปไ้ด้

     เรื่องเวลาพัก   นายจ้างลูกจ้าง สามารถตกลงเป็นอย่างอื่นได้  ตามมาตรา ๒๗  แต่วันหนึ่งรวมแล้ว

เวลาพักไม่เกิน ๒ ชั่วโมง  หากเกินสองชั่วโมงให้ถือเป็นเวลาทำงานปกติ   

      หลักสำคัญ  คือ ลูกจ้าง  นายจ้าง  ตกลงกัน  และเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างมากกว่า  

หากไม่ได้ตกลง  และไม่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง    ก็ไม่สามารถทำได้ครับ

        

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-05-29 23:27:22 IP : 58.11.17.130


ความคิดเห็นที่ 4 (3295995)

ขอเรียนสอบถามเพิ่มเติมครับ

                 ในแต่ละวันทำงาน 12 ชั่วโมง ถ้าจัดพักรวม 1 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าเราทำงาน 11 ชั่วโมง ดังนั้น  3 ชั่วโมงหลัง บริษัทต้องจ่ายค่าล่วงเวลาเป็น 3*1.5 หรือถ้ามาทำงานวันหยุดก็จะเป็น 3*3 ไม่ทราบคิดแบบนี้ได้หรือไม่ครับ

                 หรือกรณีทำงานวันหยุด ถ้าพนักงานต้องการให้บริษัทจ่ายเป็น 8+(4*3)  ถ้าบริษัทจ่ายตามนี้ บริษัทผิดหรือไม่ครับ (พนักงานอยากได้โอทีมากกว่าได้เวลาพักเพราะพนักงานมีการสลับพักเป็นช่วงๆตลอดเวลาอยู่แล้ว)

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สุวารี วันที่ตอบ 2011-05-30 12:17:51 IP : 10.29.50.114


ความคิดเห็นที่ 5 (3296037)

 ในแต่ละวันทำงาน 12 ชั่วโมง ถ้าจัดพักรวม 1 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าเราทำงาน 11 ชั่วโมง ดังนั้น  3 ชั่วโมงหลัง บริษัทต้องจ่ายค่าล่วงเวลาเป็น 3*1.5 หรือถ้ามาทำงานวันหยุดก็จะเป็น 3*3 ไม่ทราบคิดแบบนี้ได้หรือไม่ครับ

   ตอบ  เวลาพัก ต้องอยู่ในเวลทำงานปกตินะครับ คือ ใน ๙ ชั่วโมงแรก จะมีเวลาพักรวมกัน  ๑  ชั่วโมง  

ส่วนที่เกิน  ถือเป็นการทำงานล่วงเวลา      ส่วนจำนวนชั่วโมงที่คิด ถูกต้องครับ

หรือกรณีทำงานวันหยุด ถ้าพนักงานต้องการให้บริษัทจ่ายเป็น 8+(4*3)  ถ้าบริษัทจ่ายตามนี้ บริษัทผิดหรือไม่ครับ (พนักงานอยากได้โอทีมากกว่าได้เวลาพักเพราะพนักงานมีการสลับพักเป็นช่วงๆตลอดเวลาอยู่แล้ว)

    ตอบ  เลข  ๘ หมายถึง  จำนวนชั่วโมงที่นำมาคำนวณค่าทำงานในวันหยุดที่ได้เพิ่ม  

จากเดิมที่มีสิทธิได้อยู่แล้วใช่หรือไม่ครับ  

    ส่วน  ๔*๓  หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ทำงานเกินวลาทำงานปกติ  คูณด้วย ๓  เท่า  

ให้คูณด้วยอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงอีกที  อย่างนี้ถูกต้องครับ

     ส่วนการพักระหว่างการทำงาน  นายจ้างต้องกำหนดหรือตกลงกับลูกจ้างให้ชัดเจนว่า  หยุดพักกี่ครั้ง  

กี่รอบ  รอบละ ......... นาที  และเมื่อรวมแล้วเป็นกี่ชั่วโมง  กี่นาที    เพราะเวลาคำนวณค่าทำงาน  

หรือค่าทำงานล่วงเวลา   ปกติจะนำเวลาพักหักออกก่อน     แล้วค่อยคำนวณตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริง

แต่หากนายจ้างจะคำนวณเวลาทำงานล่วงเวลา   โดยไม่หักเวลาพักก็สามารถทำได้  เพราะเป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่า

   

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-05-30 17:46:58 IP : 115.87.186.229


ความคิดเห็นที่ 6 (3319032)

ถามค่ะ หากพนักงานกะ มีการกำหนดเวลากะที่แน่นอน และมีการทำ OT เพื่อรองานเข้า ซึ่งบริษัทนับ เป็น OT ให้

โดยหากมีการทำงานข้ามคืน เช่น

วันศุกร์ เวลาทำงานปกติ ของ กะ  10.00 - 21.00 และทำ OT stand by 21.00 - 10.00 ของวันเสาร์ ซึ่งถือ้ป็นวันหยุด

ดังนั้น จะนับ OT 1.5 เท่า ถึงเมื่อไหร่ และจะนับ 3 เท่าเมื่อไหร่

รบกวนตอบด่วนค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น SK Patty วันที่ตอบ 2011-12-02 13:10:25 IP : 58.8.39.173


ความคิดเห็นที่ 7 (3325732)

รื่องเวลาพักระหว่างทำงาน

    ตามกฎหมายระบุว่าจะต้องกำหนดให้พนักงานมีเวลาพักระหว่างทำงานวันละไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
อยากถามว่าใน 1 ชั่วโมง หมายรวมถึงเวลาพักอื่นๆ เช่นช่วงเบรค 10-15 นาทีด้วยหรือเปล่าครับ
 ตย. โรงงานกำหนดให้พักเบรคช่วง 10:00 น. 15 นาที, พักกลางวัน 45 นาที และพักเบรคช่วง 15:00 น. อีก 15 นาที ดังนั้นใน 1 ชั่วโมง หมายถึง เวลารวมทั้ง 3 ช่วง เลยหรือเปล่าครับ
 
ขอบคุณครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น สะมะ วันที่ตอบ 2012-02-09 15:20:35 IP : 192.168.0.31


ความคิดเห็นที่ 8 (3327993)

เวลาทำงานปกติ 08.00 - 17.00 น. (8 ชั่วโมง/วัน)

กรณี. พนักงานมาทำงาน 10.00 น. (สาย 2 ชั่วโมง) อยากถามว่า การนับชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา เริ่มเวลา 17.00 น. หรือ 19.00 น.

ผู้แสดงความคิดเห็น pong วันที่ตอบ 2012-03-06 13:05:15 IP : 202.44.4.251


ความคิดเห็นที่ 9 (3330689)

อยากถามว่า ทำงานปกติ 4 วัน  ดังนี้ จ.12.00-20.30น. , อ.7.00-15.30 และ 18.00-6.00 , พ.ให้หยุด 1 วัน แต่หักชั่วโมง O.T. ออก ,พฤ.6.30-15.30 ,ศ.8.30-17.00น.  ดังนั้น อยากทราบว่าตามกฎหมายแรงงาน สามารถนำชั่วทำงานปกติ หักกับชั่วโมงทำงานล่วงเวลาได้ด้วยหรือคะ  ช่วยตอบด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น สงสัย วันที่ตอบ 2012-04-05 10:21:35 IP : 202.28.180.202


ความคิดเห็นที่ 10 (3349883)

การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นกะ 7.00-15.30และ 15.30-24.00มีข้อบังคับของบริษัท มีสหภาพ

ถ้าเปลี่ยนเป็นรอบ 12 ต้องทำอย่างที่ไม่ผิดกฏหมาย

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มดตะนอย วันที่ตอบ 2012-11-06 16:31:05 IP : 203.154.149.228


ความคิดเห็นที่ 11 (3368537)
สวัสดีครับ ผมอยากสอบถามว่า บริษัทที่ผมทำงานอยู่จะเปลื่ยนเวลาการทำงาน บริษัทผมมี 3 กะนะครับ จากเดิม เช้า เข้า 07.00 ออก 16.00 บ่าย เข้า 15.00 ออก 24.00 ดึก เข้า 23.00 ออก 08.00 เปลื่ยนเป็น เช้า เข้า 07.00 ออก 15.30 บ่าย เข้า 15.00 ออก 23.30 ดึก เข้า 23.00 ออก 07.30 แต่ปัญหาคือเขาได้ตัดเวลาพักเบรคจาก 1 ช.ม เป็น ครึ่ง ช.ม แบบนี้ทางบริษัทของผมทำผิดกฎหมายแรงงานหรือป่าวครับ บริษัทมีพนักงานเยอะและงานค่อนข้างหนักมาก แล้วเวลาเบรคแค่ครึ่ง ช.ม มันไวมากเพราะปกติผมกว่าจะซื้อข้าวที่โรงอาหารได้ก็ใช้เวลา เกือบ 20 นาทีแล้ว ( บริษัทผม เป็นคลังสินค้าครับ )
ผู้แสดงความคิดเห็น คนใช้แรง วันที่ตอบ 2013-06-17 16:14:41 IP : 58.137.142.234


ความคิดเห็นที่ 12 (3394664)

ตามกฎหมาย 1 สัปดาห์ สามารถทำ OT รวมได้สูงสุดกี่ชั่วโมงคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น วรานันท์ วันที่ตอบ 2014-09-07 19:00:12 IP : 125.24.242.82


ความคิดเห็นที่ 13 (3406241)

 ขอสอบถาม  การนับเวลาการทำงานครับ นายจ้างให้ลูกจ้างมาทำงาน เวลา ๐๗.๐๐  น  -   เวลา ๑๗.๐๐ น นับเวลา ได้ ๑๐ ชม  นายจ้างให้พัก ๔ ชม ขอถามว่า นับเวลาทำงาน ๑๐ ชม  หรือ ๖ ชม 

ผู้แสดงความคิดเห็น คอลิบ ( Yakobbe-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-08-22 13:36:03 IP : 113.53.164.217


ความคิดเห็นที่ 14 (3411825)

 ที่บริบัษทำงาน08.00-20.00น.พักเบคร11.00น.-11.20น.แล้วพักเบรคอีกที16.00-16.20น.ได้โอที4ช.ม.ถือว่าเวลาเบรคไม่ครบ1ช.ม.มั้ยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นำ้ผึ้ง วันที่ตอบ 2016-03-23 06:54:27 IP : 182.232.34.111


ความคิดเห็นที่ 15 (3414791)

 คือมีเรื่องอยากถามดังนี้นะคะคือดิฉันทำงานโรงงานแห่งหนึ่งทำเป็นกะค่ะเข้า20.00ไม่มีโอทีออก05.00มีโอทีได้2.5ชั่วโมงเวลาออกคือ07.30แต่หัวหน้าบังคับให้ออกเวลา07.45ถ้าเราออก07.30บริษัทสามารถหักเงินเราได้ใหมคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นาง วันที่ตอบ 2016-08-11 12:56:44 IP : 49.230.226.34


ความคิดเห็นที่ 16 (3492912)

 บริษัทนี้ทำงาน2กะเข้างาน07:45เลิกงาน17:15นี่คือช่วงเวลาปกติแล้วมีโอทีจะเลิก19:45นี่คือกะเช้าค่ะ,ส่วนกะดึกเข้า19:45-05:15แล้วต่อด้วยโอทีจะเลิก07:45ค่ะสิ่งที่อยากจะถามคือทางโรงงานแผนกที่ทำอยู่ไม่เคยปิดโอทีแล้วซ้ำยังเปิดให้เบิ้นกะอีกกรณีถ้าเบิ้นกะก้อจะเปิดโอทีวันเสารและอาทิตย์ทำงานยาวต่อเนื่องทั้งหมด14วันกันเรยค่ะเช่นกะเช้าทำงานจัน-ศุกร์07:45-19:45เปิดโอทีวันหยุด2วันไม่ปิดโอ2.5เบิ้นกะทำยาวต่อเนื่องไปอีก1สัปดาห์จนถึงวันอาทิตย์ของสัปดาห์ต่อไปส่วนค่ะดึกก้อเช่นกันทำงานต่อเนื่อง19:45-07:45นี่รวมโอทีแล้วจะได้หยุดคือวันอาทิตย์ที่2เปลี่ยนกะเข้าเช้าอยากทราบว่าชั่วโมงทำงานเกินมั่ย(หักชั่วเบรก1ชั่วโมงกับ30นาที

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องน้อย วันที่ตอบ 2016-10-31 09:11:18 IP : 49.230.29.137


ความคิดเห็นที่ 17 (4074086)

 สอบถามน่อยค่ะเเล้วถ้าเริ่มงาน 13.00 จะลงเวลายังัยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สารานา วันที่ตอบ 2017-08-25 15:04:51 IP : 171.6.18.230



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.