ReadyPlanet.com


ขาดงานติดต่อกันไม่ถึง 10 วัน โดนโทษ \


 สวัสดีครับผมมีเรื่องอยากสอบถามครับ ผมเป็นหัวหน้าแผนกบุคคลในหน่วยงานแห่งหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า เจ้าหน้าที่ในแผนกหนึ่งในหน่วยงานขาดงานติดต่อกัน 8 วันทำการ ถ้ารวมวันเสาร์-อาทิตย์ก็เป็น 10 วัน โดยในช่วงแรกไม่มีการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ท่านนั้นเลย จนผ่านไป 5 วันรวมวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เจ้าหน้าที่ท่านนั้นก็ให้พ่อแม่มาติดต่อกับผมไว้ว่าตอนนี้ยังไม่พร้อมที่จะกลับมาทำงานเพราะสภาพจิตใจยังไม่ดีถ้าทำงานไปในสภาวะแบบนี้กลัวจะไม่เป็นผลดีในงานที่ทำ  จึงแจ้งว่าหากสัปดาห์หน้ายังไม่มาทำงานก็ให้ดำเนินการตามระเบียบของหน่วยงานได้เลย จนในวันทำการเจ้าหน้าที่ท่านนั้นก็ได้มาทำงานตามปกติ และผมก็ได้แจ้งโทษและทำโทษตามระเบียบของหน่วยงานโดยการทำโทษทางวินัยมี 4 ข้อดังนี้ 1.ภาคทัณฑ์ 2.ลดขั้นเงินเดือน 3.ให้ออก 4.ไล่ออก ซึ่งการทำโทษผมไ้ด้ทำจนถึงขั้น 1.ภาคทัณฑ์ และการขาดงานในช่วงสุดท้ายก่อนมาทำงานของเจ้าหน้าที่ท่านนั้นก็ได้เสนอโทษคือ ลดขั้นเงินเดือน 2 ขั้น เป็นเวลา 4 เดือน และนำเข้าเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการในหน่วยงานนี้ ผล มี มติ ให้เจ้าหน้าที่ท่านนี้เขียนใบลาออก(ในข้อ 3 ) โดยทางหน่วยงานจ่ายค่าชดเชยให้ตามระเบียบของหน่วยงาน

ผมจึงอยากสอบถามว่าถ้าเป็นแบบนี้ มติ ในที่ประชุมสามารถให้เจ้าหน้าที่ท่านนี้เขียนลาออก(ในข้อ 3 )ได้เลยโดยไม่มีการทำโทษเป็นขั้นเป็นตอนตามระเบียบใช่หรือไม่ 

รบกวนเบื้องต้นแค่นี้ก่อน

ขอบคุณมากครับ

ประทีป  08-6650-1332

 



ผู้ตั้งกระทู้ ประทีป (kapongmusic-at-hotmail-dot-com) โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2012-09-20 14:21:08 IP : 101.51.28.144


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3345593)

 บทลงโทษ  ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน  หรือแม้แต่  ตามกฎหมาย

ไม่มีครับว่า  ลงโทษโดย   ให้ลาออก   จ่ายค่าชดเชย

ผมเชื่อว่า  ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท ฯ ท่าน

ก็ไม่ได้กำหนดบทลงโทษ  ว่า  ให้ลาออกไว้ครับ

เพราะการลาออก  เป็นการแสดงเจตนาของฝ่ายลูกจ้าง

ไม่ใช่บทลงโทษ

         แต่กรณีัปัญหานี้   น่าจะเป็นเรื่องการขาดงานละทิ้งหน้าที่

เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน   โดยไม่มีเหตุอันสมควร  

ซึ่งเป็นเหตุผลในการเลิกจ้างได้  โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ตามมาตรา  ๑๑๙ ( พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ )

          การให้พนักงานลาออกเอง    น่าจะเป็นการพิจารณาช่วยเหลือลูกจ้าง

หรือเกิดจากการเจรจาตกลงกันระหว่างบริษัท ฯ กับลูกจ้าง  

โดยให้พนักงานแสดงความรับผิดชอบ   โดยการลาออก   และบริษัท ฯ 

ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้  เท่ากับค่าชดเชยที่ควรจะได้รับ ในกรณีไม่มีความผิด ตามมาตรา ๑๑๙

          สรุป  การให้เขียนใบลาออก   ไม่ใช่ขั้นตอนการลงโทษตามระเบียบ  

แต่อาจเกิดจากการเจรจา  หรือการพิจารณาช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษจากนายจ้าง   

หากลูกจ้างตกลงยินยอม   ก็สามารถทำได้   แต่หากลูกจ้างไม่ยินยอมลาออก   นายจ้างไม่สามารถบังคับได้

         แต่ผลที่จะตามมาก็คือ   นายจ้างก็สามารถพิจารณาเลิกจ้างลูกจ้างได้  ตามความผิดที่เกิดดังกล่าวข้างต้น

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2012-09-22 00:33:11 IP : 58.9.213.105



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.