ReadyPlanet.com


แก้ไขอายุเกษียณโดยไม่ยื่นข้อเรียกร้อง


แก้ไขอายุเกษียณ


มีปัญหาเกี่ยวกับการที่ฝ่ายบุคคลได้ประกาศเปลี่ยนแปลงอายุเกษียณ

- เดิม จาก 50 เป็น 55 สำหรับ หญิง ซึ่งเดิม กำหนดไว้ว่า พนักงานที่เข้างานก่อน 19 สค 2541 ให้ หญิงเกษียณอายุ 50 ชาย เกษียณอายุ 55

-และในรอบถัดมา บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงอายุเกษียณอีกเป็น หญิงและชาย ให้เกษียณอายุที่ 60 เท่ากันและใช้สำหรับพนักงานที่เข้างานหลัง 19 สค 2541 เป็นต้นมา ประกาศเมื่อ 19 กพ 2544โดยบันทึกไว้ในหนังสือข้อบังคับการทำงานและได้จดทะเบียนที่กรมแรงงานอย่างถูกต้องล่าสุด

-และต่อมาได้มีประกาศออกมาอีกฉบับโดยทำเป็นจดหมาย ว่าให้เปลี่ยนอายุเกษียณหญิงที่เข้างานก่อน19 สค 2541 จาก 50 เป็น 55 เท่า ชาย โดยอ้างกฏหมายเท่าเทียมกันประกาศเมื่อวันที่ 26 สค 2557เป็นเพียงประกาศจดหมายภายในยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนที่กรมแรงงานไว้

และให้ยกเลิกประกาศเดิมที่ประกาศไว้ก่อน ที่จะใช้เล่ม 19 กพ 2544 ที่ให้หญิงและชายเกษียณที่ อายุ 60 เท่ากัน

ก่อนหน้านี้ก็มีพนักงานที่ได้เข้างานก่อนปี 2541 ซึ่้งได้เกษียณอายุ ไปโดยทางฝ่ายบุคคลให้เกษียณที่ 55 ไป หนึ่งคนเป็นผู้หญิง และมาปัจจุบันนี้ เมื่อ 31 ธค 2557 ทางฝ่ายบุคคลก็ได้ให้พนักงานหญิงเกษียณอายุที่ 50 ไปหนึ่งคน ซึ่่งเข้างานก่อน 19 สค 2541 โดยได้รับเงินชดเชยตามกฏหมายแรงงานกำหนดไว้

ทุกๆครั้งที่มีการเกษียณของพนักงานก็ให้เขียนแจ้งล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน เพื่อที่จะได้หาพนักงานมาแทนคนที่เกษียณไป ไม่ได้แจ้งล่วงหน้าเป็น 1 ปี 2 ปี 3 ปี หรือ เป็น 9 ปี 10 ปี เลยเป็นปรกติ

ตอนนี้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างพนักงานที่ต้องการจะเกษียณอายุ ที่ 50 และ 55 เพราะ 55 ได้ออกตามประกาศใหม่ที่เพิ่งประกาศวันที่ 26 สค 2557 นี้ แต่สำหรับพนักงานอีกกลุ่มนึงมีประมาณ 10 กว่าคน ที่อยากออกตามประกาศเดิม คือ 50 ก็เลยร้องไปที่กรมแรงงานให้ดูแลไกล่เกลี่ยให้ว่าทำยังไงให้พนักงานออกเกษียณ 50 ได้และได้รับเงินชดเชยตามกฏหมายแรงงานบ้าง เพราะทางฝ่ายบุคคลได้แจ้งว่า ถ้าอยากออก 50 ให้ไปฟ้องร้องเอาบริษัทจะไม่จ่ายเงินชดเชยให้ฝ่ายบุคคลผู้นี้กล่าวไว้แบบนี้และปัจจุบันได้ลาออกไปแล้ว

ลืมบอกไปว่าทางกรมแรงงานแจ้งให้ฝ่ายบุคคลรับทราบข้อร้องเรียนจากพนักงานที่ต้องการเกษียณตามประกาศเดิมที่เคยประกาศไว้ฉบับก่อน และให้ทำการหาช่องทางให้พนักงานที่เข้างานก่อนปี 2541 สามารถเกษียณได้ตามสภาพการจ้างงานเดิมที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ที่กรมแรงงานก่อนหน้านี้แล้ว แต่ทางฝ่ายบุคคลได้ทำเป็นหนังสือออกมาให้พนักงานดังกล่าวเซ็นชื่อ สองส่วน คือส่วนแรก ให้พนักงานรีบเซ็นชื่อก่อนภายในวันที่ 31 มค 2558 ที่ผ่านมา และไม่มีใครเซ็นเลยเนื่องจากพนักงานแย้งว่า ควรเปิดให้แต่ไม่มีการหมดอายุการเซ็นที่วันที่ 31 มค 2558 เพราะ พนักงานหลายท่านเหลือเวลาอีก 2 ปี 3 ปี  และถึง 12 ปี กว่าจะครบอายุ 50 ปี มันนานเกินไปที่ต้องแจ้งว่าจะออกหรือเกษียณตั้งแต่ตอนนี้ ซึ่งในระเบียบปฏิบัติจริงก็ไม่เคยมีว่าต้องแจ้งล่วงหน้าขนาดนี้ เพราะมันอีกยาวนานและในอนาคตก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อาจมีโอกาสที่ดีและเวลาที่เหมาะสมกว่านี้ก็เป็นได้หรือถ้าบริษัทอาจประสบภาวะขาดทุน หรือ ต้องการลดจำนวนพนักงาน หรือ น้ำท่วมใหญ่อีก บริษัทอาจประกาศรับสมัครใจให้ออกโดยจ่ายค่าชดเชยมากกว่านี้ซึ่งเคยมีมาแล้วครั้งหนึ่งที่หลังน้ำท่วม บริษัทได้เปิดรับสมัครพนักงานที่ต้องการออก เพราะต้องการลดจำนวนพนักงาน แล้วจ่าย 13 เดือน ให้มากกว่าตามกฏหมายแรงงานให้เสียอีกเป็นต้น ก็เลยไม่มีใครเซ็น คงมีเพียงพนักงานที่ตั้งใจจะออกเพราะครบ 50 ปี พอดี 1 คนครบวันที่ 31 ธค 2557 ได้ออก และได้เซ็นต์หนังให้บริษัทไว้ว่าจะไม่เรียกร้องสิทธิ์ใดๆ จากบริษัทอีกด้วยความสมัครใจไม่ได้โดนบีบบังคับและบริษัทก็ได้จ่ายเงินชดเชยให้ตามกหมายแรงงานกำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 1 คน

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ก็อยากเรียนปรึกษาและช่วยแนะนำให้ด้วยว่าต่อไปพนักงานที่ไม่ได้เซ็นชื่อไว้เพราะหมดเขตแล้วจะได้เงินค่าชดเชยตามกฏหมายแรงงานหรือไม่ เพราะฝ่ายบุคคลที่ได้ลาออกไปแล้วบอกว่าให้ไปฟ้องร้องเอา และขอคำแนะนำหน่อยค่ะ ถ้าฟ้องไม่แน่ใจว่าจะชนะไหมเพราะเห็นมีกรณีเทียบเคียงว่า บริษัทสามารถทำได้กรณีที่เป็นคุณกับพนักงานแล้วพนักงานที่ต้องการออก ไม่อยากจะฟ้องร้องบริษัท แต่อยากออกได้ตอน 50 และได้รับเงินชดเชยตามกฏหมายแรงงาน จะดำเนินเรื่องต่ออย่างไรได้บ้างช่วยแนะนำหน่อยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้อยากเกษียณ50ตามระเบียบเดิม โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2015-03-09 10:15:30 IP : 203.155.30.158


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3403445)

 การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเรื่องการเกษียณ  ให้ชายหญิงเท่าเทียมกันนั้น

ถือว่าทำได้   เพระเป็นการแก้ไขข้อบังคับ  ให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย

แต่สำคัญที่วิธีการดำเนินการ  อย่างไร  ไม่ให้มีผลกระทบต่อพนักงานที่จะใช้สิทธิ

เพราะเรื่องนี้  มองได้สองมุม  คือ คนเกษียณ  ที่ต้องการเงิน   การขยายออกไป

ถือว่าไม่เป็นคุณ  เพราะต้องการได้เงิน  ส่วนคนอยากทำงานต่อ  ถือว่าเป็นคุณเพราะ

ได้ทำงานต่อ  ไม่ตกลงงานเร็ว   

        ดังนั้น  ระเบียบนี้  หากเห็นว่าไม่ชอบ   แนะนำให้ฟ้องขอเพิกถอนการออกระเบียบ

เกษียณอายุดังกล่าว   ซ่งศาลจะพิจารณาได้ว่า  สามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่

      หากไม่ต้องการฟ้อง  แนะนำให้นำเสนอ  ให้นายจ้างพิจารณาทบทวนหรือ

ผ่อนผันหรือยกเว้น  หรือเปิดโครงการเษียณก่อนกำหนด   น่าจะคุยกันได้นะครับ

ทุกปัญหาย่อมมีทางออก  แต่จะดีหรือสมความต้องการของใครหรือไม่  ไม่อาจคาดเดาได้

แต่วิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งที่ดีที่สุด  คือการเจรจาไกล่เกลี่ยหรือพูดคุยทำความเข้าใจกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2015-05-19 11:56:32 IP : 171.99.1.149



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.