ReadyPlanet.com


สหกรณ์ ทำสัญญาจ้างผู้จัดการ คราวละ 3 ปี รวม 2 ครั้ง สัญญาต่อเนื่องหรือไม่


 เรียน สัญญาจ้างผู้จัดการสหกรณ์

         ตามที่สหกรณ์ออมทรัพย์ (เอ) ว่าจ้าง ผู้จัดการ อายุ 67 ปี เป็น ผจก.สัญญา ครวละ 3 ปี รวม 2 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง ฉบับที่ 2  สิ้นสุดเมื่อ 31 สค. 56 ผจก.ยื่นขอรับเงินบำเหน็จ ตามข้อบังคับการทำงานของสหกรณ์ ว่าด้วยการจ่ายบำเหน็จ กรณีลาออก แต่กรรมการสหกรณ์ บางส่วนไม่ให้จ่าย อ้างว่าสัญญาจ้างไม่ได้ระบุว่าเมื่อครบสัญญจ้างจะต้องจ่ายบำเหน็จให้ และแย้งว่า การเข้ามาเป็นผจก.อายุเกินแล้ว ตามข้อบังคับระบุว่า จนท.สหกรณ์ เมื่อครบ 60 ปี อ้างจัดจ้างเป็นรายปี ครั้งละ 1 ปี จนครบอายุ 70 ปี กรณีนี้จึงไม่ถูกต้องแต่แรก และมีการแย้งต่ออีกในเมื่อสัญญาจ้างไม่ถูกต้อง มีการท้วงว่าไม่ผ่านคณะกรรมการดำเนินการอนุมัติให้จ้าง ไปทำกันเองข้างนอก ประเด็นที่จะขอหารือ คือ 

1.สัญญา ทั้ง 2 ฉบับ ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ถือว่า ต่อเนื่องหรือไม่

2.หากสัญญาต่อเนื่อง เป็น 6 ปี ผจก.จะมีสิทธิ์รับเงินบำเหน็จ ตามข้อบังคับการทำงานของสหกรณ์หรือไม่

3.สัญญา ทั้ง 2 ฉบับ ถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ ที่ว่าจ้าง ผจก.ตอนอายุ 67 ปี

4.และหากผจก.ได้รับเงินบำเหน็จ กรณี ทำงาน ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป และยังมีสิทธิเรียกร้องเงินชดเชย การลาออก ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 118 เพิ่มด้วยอีกหรือไม่

5.มีคำพิพาษา คำสั่งศาลฎีกา กรณีนี้ ของสหกรณ์อื่น เป็นบรรทัดฐาน ที่จะสืบค้น เป็นหลักฐาน อ้างอิงได้หรือไม่ ขอความกรณาแนะนำด้วยจักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

 



ผู้ตั้งกระทู้ สมชาย ชมสุวรรณ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2014-09-01 10:57:55 IP : 125.24.172.36


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3396685)

1. หาก  2  สัญญา  ทำงานต่อเนืองกัน  ไม่ได้หยุด  ไม่ได้เว้นวรรค   สัญญาจ้าง  ให้นับต่อเนือง   อายุงานต่อเนื่องครับ

2. เงินบำเหน็จ   ต้องศึกษารายละเอียดในข้อบังคับเป็นหลัก   เพราะไม่ใช่ข้อกฎหมาย   เป็นเงื่อนไข  หรือสวัสดิการ

    หรือสภาพการจ้าง    หากท่านเห็นว่าได้   แต่ไม่ได้รับเงินตามสิทธินั้น    ท่านมีสิทธิฟ้องเรียกเงินดังกล่าว  ต่อศาลแรงงานได้

3.  ผมไม่เห็นสัญญา  ตอบไม่ได้ครับ   แต่ตามพฤติกรรม  มีการว้่าจ้าง  มีการทำงาน  มีการจ่ายค่าจ้างตามเงื่อนไขที่ตกลง

     นั้นแสดงว่า  นายจ้างยอมรับ  เงื่อนไขหรือข้อตกลงตามสัญญาจ้างแล้ว   สัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับใช้ได้

4. ลาออก   ไม่ใช่เลิกจ้าง   ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย ตามมาตรา  118  

5. ฎีกา  สืบค้นได้ในเว็บนี้  หรือ เว็บอื่น ๆ ในหมวดของ คำพิพากษาฎีกาได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2014-10-24 02:06:26 IP : 171.96.240.189


ความคิดเห็นที่ 2 (3397510)

 ขอบพระคุณอย่างสูงครับอาจารย์ 

ผู้แสดงความคิดเห็น สมชาย ชมสุวรรณ (che_somchai-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-11-13 15:34:09 IP : 101.108.2.176



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.