ReadyPlanet.com


การทำงานเป็นผลัด


บริษัท ของผมได้กำหนดสภาพการจ้างไว้คือ วันทำงานปกติ จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00น.-17.00น. วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุด และ บางแผนก ให้พนักงาน เข้าทำงานเป็นผลัดได้ ในวันปกติ คือจันทร์-ศุกร์ แต่ไม่เกินคนละ 8 ชั่วโมง โดยแบ่งออกเป็น 3ผลัดใน 1 วันคือ ผลัดที่1 00.00-08.00 น. ผลัดที่2คือ 08.00-16.00น. ผลัดที่3คือ 16.00น.-24.00น. ถ้ามีพนักงาน3 คน คือ นาย ก,ข,ค ผมมีคำถามดังนี้ครับ

1 ถ้านาย ก. เข้าทำงานในผลัดที่1 แล้วไปทำงานแทน นาย ค ในผลัดที่3 นายก จะต้องเบิกค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า ใช่หรือไม่ครับ.

2.ถ้าเบิกค่าล่วงเวลาได้ แต่นาย ก. จะช่วยบริษัทโดยการไม่ขอเบิกได้หรือไม่ครับ (นาย ก มีความคิดว่า ถ้าไม่เบิกค่าล่วงเวลา จะมีความดีความชอบ และจะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือน มากกว่าคนอืน)

3.ถ้านาย ค. เข้าทำงานวันทร์ในผลัดที่3 และทำงานต่อเนื่องในผลัดที่1ของวันอังคาร นาย ค. จะเบิกค่าล่วงเวลาได้หรือไม่ครับ (เนื่องจากนาย ค. เขาได้ทำงานต่อเนื่องกัน แม้ว่าจะคนละวันก็ตาม)

ขอบพระคุณมากครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ทรงวุฒิ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-28 16:10:47 IP : 117.47.128.111


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3253055)

สวัสดีครับ

          การกำหนดเวลาทำงานดังกล่าว  ถือว่าชอบด้วยกฎหมายครับ  

การทำงานเป็นผลัดหรือเป็นกะ  ถือเป็นการกำหนดเวลาทำงานปกติในแต่ละวัน

ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ  มาตรา ๒๓ 

       มาตรา ๕  "การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่าการทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกันตามมาตรา ๒๓ ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี"

       กรณีตามปัญหานี้   ถือว่ามีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ ตามาตรา ๒๓   แต่ต้องดูองค์ประกอบข้อกฎหมายอื่น ๆ ด้วยครับ   เช่น  นายจ้างสั่งหรือตกลงให้ทำหรือไม่   มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขอื่นที่เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่าหรือไม่   เป็นต้น


       ตามปัญหาข้อ ๑  ต้องสอบถามว่า  เป็นการทำงานแทน  โดยตกลงกันระหว่างนาย ก.กันาย ค. สองคน  หรือนายจ้างตกลงยินยอมด้วยหรือไม่     และการตกลงทำงานแทน  เป็นลักษณะทำงานแทน คือสลับกะกันหรือไม่   หรือทำงานแทนโดยตกลงให้ค่าจ้างแก่นาย ก.แทนการสลับกะ  

         ในที่นี้  ขอตอบโดยหลักการทั่ว ๆ ไป  นะครับ 

         การทำงานของนาย  ก.  ที่ทำงานแทนนาย ค. ในผลัดหรือกะ ที่สาม  ในลักษณะการทำงานแทน   หากเป็นการตกลงสลับกะกัน เพื่อทำงานแทนในวันอื่นหรือกะอื่น    โดยนายจ้างยินยอมด้วย  ไม่ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลาครับ   กรณีนี้  ถือว่าทำงานในเวลาทำงานปกติ   

          หากตกลงกันเองโดยนายจ้างไม่ได้ยินยอมด้วย   ถือว่านายจ้างไม่ได้สั่งหรือตกลงให้ทำงานแทนหรือทำงานล่วงเวลา  ข้อตกลงระหว่างนายก.กับนาย ค.ย่อมไม่ผูกพันนายจ้าง

โดยมีองค์ประกอบคือ

      -  ไม่ใช่กรณีทำงานต่อเนื่องจากเวลาทำงานปกติของนาย ก.  คือไม่ได้ทำงานต่อเนื่องจากเวลา ๐๑.๐๐ - ๐๘.๐๐ น.เวลาทำงานปกติของนาย ก.  

       -  เป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติของ กะที่สาม  คือกะบ่าย ช่วงเวลา ๑๖.๐๐ - ๒๔.๐๐ น.  

      -   ลักษณะการทำงาน  เป็นการทำงานแทนนาย ค. ในวันและเวลาทำงานปกติของนาย ค.ตามข้อตกลงที่ตกลงกันไว้   จึงไม่ใช่กรณีการทำงานล่วงเวลา

      -  หากเป็นการทำงานล่วงเวลา   นายจ้างต้องตกลงยินยอมด้วย  ว่า ให้นาย ก.ทำงานล่วงเวลาในช่วงเวลาดังกล่าว   และตกลงจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้

     -  ข้อสำคัญ  สัญญาจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน  การทำงานแต่ละตำแหน่งหน้าที่เป็นคุณสมบัติและความสามารถเฉพาะบุคคล  ไม่อาจทดแทนหรือทำแทนกันได้   ยกเว้นนายจ้างตกลงยินยอมด้วย

      ดังนั้น  กรณีการทำงานแทน  ต้องเป็นกรณีที่นายจ้างตกลงและยินยอมด้วย   และต้องเป็นกรณีที่ตกลงชัดเจนว่า   ให้ทำงานล่วงเวลา   หรือกรณีให้ทำงานแทนกัน  เป็นการตกลงสลับกะ  หรือตกลงให้รับค่าจ้างแทน  หรือตกลงให้เป็นค่าทำงานล่วงเวลาแก่นาย ก. 

       หากไม่เข้าองค์ประกอบการทำงานล่วงเวลา ตามที่กล่าวมาข้างต้น  ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลา   หากเข้าองค์ประกอบการทำงานล่วงเวลา  จะได้ค่าทำงานล่วงเวลาในอัตรา  ๑.๕ เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำได้

       ปัญหาข้อ ๒. หากเป็นการทำงานล่วงเวลา  นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามกฎหมาย   ส่วนลูกจ้างจะสละสิทธิ  เพื่อไม่รับเงินค่าทำงานล่วงเวลาดังกล่าว   ถือเป็นสิทธิของลูกจ้างครับ        

       ปัญหาข้อ ๓. หากเป็นการทำงานต่อเนื่องในวันเวลาทำงานปกติ   และนายจ้างสั่งให้ทำหรือตกลงให้ทำ   ถือว่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติครับ   มีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลา

            

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2010-09-28 22:58:39 IP : 115.87.141.131


ความคิดเห็นที่ 2 (3253156)

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับคำตอบครับ

ผมขออนุญาติเรียนถามต่ออีกนิดครับ จากปัญหาในข้อ3

 คำถาม...3.ถ้านาย ค. เข้าทำงานวันทร์ในผลัดที่3 และทำงานต่อเนื่องในผลัดที่1ของวันอังคาร นาย ค. จะเบิกค่าล่วงเวลาได้หรือไม่ครับ (เนื่องจากนาย ค. เขาได้ทำงานต่อเนื่องกัน แม้ว่าจะคนละวันก็ตาม)

คำตอบ..ปัญหาข้อ ๓. หากเป็นการทำงานต่อเนื่องในวันเวลาทำงานปกติ   และนายจ้างสั่งให้ทำหรือตกลงให้ทำ   ถือว่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติครับ   มีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลา

 คำถามครับ..  1. นาย ค. จะไม่สามารถทำงานในผลัดที่1 ของวันอังคารได้เลย ใช่หรือไม่ครับ (แม้ว่าจะเป็นวันอังคารก็ตามซึ่งนายจ้างอ้างว่าเป็นคนละวันกัน)

                          2. นายค. จะต้องหยุดพักกี่ชั่วโมงครับ ถึงจะทำงานต่อได้ โดยไม่ผิดกฎหมายแรงงานครับ

ขอบพระคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงวุฒิ วันที่ตอบ 2010-09-29 17:58:54 IP : 222.123.227.118


ความคิดเห็นที่ 3 (3253205)
สวัสดีครับ
 
กรณีตามคำถาม   ข้อ ๑. นาย ค.สามารถทำงานล่วงเวลาในกะที่ ๑  ได้ครับ   เพราะ  หากนายค. เข้างานกะที่ ๓  แล้วมีความจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาต่อเนื่องในกะที่ ๑  กรณีอย่างนี้ถือว่า  เป็นการทำงานต่อเนื่องเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงาน  ตามมาตรา ๕  แล้วครับ  เป็นการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติของวันจันทร์  แม้จะเลยวันเป็นวันทำงานปกติของวันอังคารก็ตาม    เนื่องจากเวลาทำงานปกติในกรณีนี้ คือวันจันทร์ และทำงานต่อเนื่องเกินของวันทำงานปกติวันจันทร์   กรณีจึงถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา  
แต่อย่าลืมนะครับ  ข้อสำคัญของการทำงานล่วงเวลา   คือ  บังคับกันไม่ได้  ต้องตกลงกันทั้งสองฝ่าย  ส่วนวิธีการตกลงจะเป็นอย่างไร  ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงหรือวิธีปฏิบัติของแต่ละที่    นายจ้างบังคับลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้   ลูกจ้างก็บังคับนายจ้างให้อนุมัติทำงานล่วงเวลาไม่ได้เช่นกัน   
ยกเว้นงานเร่งด่วนฉุกเฉินหรือโดยลักษณะงานต้องทำต่อเนื่องหยุดไม่ได้ หยุดแล้วจะเสียหายแก่งาน   อย่างนี้  นายจ้างสั่งให้ทำได้   ตามความจำเป็น
 
คำถามข้อที่ ๒. ให้ดูกฎหมาย มาตรา ๒๗ วรรคสี่นะครับ   สรุปให้ คือ ถ้าต้องทำงานล่วงเวลาตั้งแต่สองชั่วโมงขึ้นไปต่อเนื่องจากเวลาทำงานปกติ   นายจ้างต้องจัดให้มีการพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า ๒๐  นาทีครับ 
แต่ในทางปฏิบัตินายจ้างจะให้ลูกจ้างตกลงทำงานต่อเนื่องไปเลย  เนื่องจากเวลาพัก  ๒๐  ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าทำงานล่วงเวลา   พนักงานส่วนใหญ่จะอยากได้เงินมากกว่าต้องการหยุดพัก ๒๐ นาที  
ข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อกฎหมายนะครับ  บังคับใช้ไม่ได้   แต่ทางปฏิบัติยังมีหลายแห่งหลีกเลี่ยง หรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง  
และหากทำงานล่วงเวลาเกินกว่า ๕ ชั่วโมง   นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพักไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง  เหมือนการทำงานในเวลาปกติเช่นกัน   ดูมาตรา ๒๗ ประกอบนะครับ   ใช้บังคับเช่นเดียวกัน

                         มาตรา ๒๗ ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมงติดต่อกันนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงได้แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง

ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาพักระหว่างการทำงานตามวรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่นถ้าข้อตกลงนั้นเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างให้ข้อตกลงนั้นใช้บังคับได้
เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงานเว้นแต่เวลาพักที่รวมกันแล้วในวันหนึ่งเกินสองชั่วโมงให้นับเวลาที่เกินสองชั่วโมงนั้นเป็นเวลาทำงานปกติ
ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่ายี่สิบนาทีก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงานล่วงเวลา
ความในวรรคหนึ่งและวรรคสี่มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน
ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2010-09-29 23:28:39 IP : 58.9.153.17


ความคิดเห็นที่ 4 (3253212)

ขอบพระคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรงวุฒิ วันที่ตอบ 2010-09-29 23:44:48 IP : 114.128.23.66


ความคิดเห็นที่ 5 (3343984)

สวัดดีครับ...

    ผมอยากจะสอบถามเพื่อเป็นความรู้ ว่าก็จัดพลัดหรือกะ ว่า 1 วัน นายจ้างสามารถจัดพลัดได้กี่พลัดครับ แล้วคนที่อยู่ 3 พลัดแล้วจะได้หยุดกี่วันครับ ขอบพระคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สมคิด วันที่ตอบ 2012-09-04 09:51:03 IP : 61.19.226.253


ความคิดเห็นที่ 6 (3410670)

 อยากทราบว่าถ้าต้องการจัดกะ แบบว่าวันที่1อยู่08.00-16.00 วันที่2 อยู่ 16.00 - 24.00 วันที่3 อยู่กะ 00.00-08.00น.ได้หรือไม่ครับผิดกฏหมายหรือไม่ครับเป็นการอยู่เวรนอนเฝ้าระวังถ้ามีเหตุถึงจะได้ออกทำงานถ้าไม่มีก็นอนเวร มีชุดทำงาน4ชุดวนกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น aof (yutthana_tec-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-02-09 10:04:05 IP : 223.207.248.88


ความคิดเห็นที่ 7 (4069762)

 สอบถามครับผมเข้ากะ 14.00-23.00 แล้วโดนสั่งให้มาเข้างาน05.00-14.00 แบบนี้ผไม่ยินยอมได้ไหมครับ ผมรู้สึกว่าไม่มีเวลาพักผ่อนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น 1234 วันที่ตอบ 2017-08-02 18:01:15 IP : 1.47.227.33



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.