ReadyPlanet.com


เงินชดเชยการเปลี่ยนสภาพการจ้างคืออะไรคะ?


เค้าบอกมาว่าเป็๋นการจ่ายชดเชยเพื่อเปลี่ยนสภาพการจ้างให้พนักงานไปทำงานในตำแหน่งที่ต่ำลง หรือมีรายได้น้อยลง มีด้วยเหรอคะ?



ผู้ตั้งกระทู้ โสภิดา โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-10-15 14:12:17 IP : 10.17.4.54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3315215)

ชดเชยเป็นอะไรครับ  ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

แต่คร่าว ๆ ตามที่ถาม  ค่าชดเชย  หรือการตกลงให้เงิน

หรือให้สิ่งหนึ่งสิ่งใด  เพื่อเป็นการชดเชยการปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่

ที่ต่ำลงไปกว่าเดิม   ไม่มีกฎหมายกำหนดครับ

แต่เป็นเรื่องของการเจรจาตกลงกัน  ระหว่างนายจ้าง  ลูกจ้าง

ว่า  การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้่าที่  โดยเปลี่ยนแปลงไปในทางไม่เป็นคุณ

แก่ลูกจ้าง   เช่น ลดตำตำแหน่ง  หรือลดเงินเดือน  ก็ตามที

หากมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด   อันมิใช่การกลั่นแกล้ง  หรือเจตนาเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง

เช่น  เหตุผลทางเศรษฐกิจ  การบริหารจัดการ  หรือจากความรู้ความสามารถของลูกจ้างเอง

และที่สำคัญ  เป็นการตกลงกันระหว่างลูกจ้าง  นายจ้าง  เป็นการตอบแทนกัน

แม้จะไม่เป็นคุณแก่ลุกจ้าง  ก็สามารถบังคับใช้ได้  

แต่หากเป็นเจตนาเพื่อกลั่นแกล้ง  หรือลูกจ้างไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย

กรณีนี้  ใช้บังคับไม่ได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-10-17 10:36:41 IP : 202.183.133.100


ความคิดเห็นที่ 2 (3315222)

เหตุต่อเนื่องมาจากกระทู้เมื่อวันที่ 30/9/54 เรื่องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างค่าจ้างอ่ะค่ะ (สาเหตุจากความรู้ความสามารถของพนักงานเองที่ทำไม่ได้ และเกิดความผิดพลากในงานบ่อยครั้ง โดนตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว) เนื่องจากมองว่ามันเสี่ยง เพราะลดทั้งต่ำแหน่งและเงินเดือน กลัวว่าถึงจะทำหนังสือที่มีข้อความรัดกุมแค่ไหน แต่กลัวว่าลูกจ้างจะสามารถฟ้องในภายหลังได้ว่าจำใจเซ็นต์เพราะกลัวตกงานค่ะ

ต่อมามีคนบอกว่าสามารถจ่ายเงินชดเชยการเปลี่ยนสภาพการจ้างได้ เลยสงสัยว่ามีด้วยเหรอ แล้วถ้าจ่ายไปแล้ว ลูกจ้างยังจะกลับมาฟ้องภายหลังได้หรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น โสภิดา วันที่ตอบ 2011-10-17 11:49:21 IP : 10.17.4.54


ความคิดเห็นที่ 3 (3315355)

เงินชดเชยดังกล่าว 

ไม่เคยเจอในสารบบกฎหมายแรงงานครับ

อาจเป็นความเข้าใจไปเอง  คือ น่าจะเป็นลักษณะการตกลงกันเอง

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนพนักงาน  และป้องกันไม่ให้พนักงานเรียกร้อง

เพราะการเปลี่ยนแปลง เพราะเหตุที่ผลการทำงานของลูกจ้างไม่ดีนั้น

เป็นกรณีที่ต้องพูดคุยและตกลงกัน   เพราะหากไม่ตกลง  นายจ้างก็มีสิทธิพิจารณา

ผลการทำงาน   และทีสุดอาจถึงขั้นเลิกจ้างได้   นั้นก็เป็นเพราะผลการทำงานของลูกจ้างเอง

กรปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่  จึงเป็นเทคนิคและวิธีการของฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่จะใช้

ความรู้ความสามารถและการเจรจาให้ลูกจ้างเห็นด้วย  หรือยอมรับและยินดีในการปรับเปลี่ยน

ตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าว   บางครั้งใช้กฎหมายบังคบเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ผลครับ

ต้องใช้หลักจิตวิทยา  หลักการบริหารจัดการช่วยด้วย

     กรณีนี้  หากมีการเสนอเงินช่วยเหลือ  หรือเสนอเงื่อนไขอื่นที่จูงใจ  หากลูกจ้างเห็นชอบด้วยหรือ

ยอมรับเงื่อนไขได้     อาจเปลี่ยนจากการออกคำสั่งโยกย้ายของฝ่ายนายจ้างเอง   เปลี่ยนเป็นลูกจ้าง

แสดงความจำนงค์เอง  หรือแจ้งความประสงค์ขอโอนย้ายเอง   ข้อกังวลนี้น่าจะหมดไปนะครับ  

   

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2011-10-18 23:29:39 IP : 61.90.73.75


ความคิดเห็นที่ 4 (3315403)

ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น โสภิดา วันที่ตอบ 2011-10-19 10:34:36 IP : 10.17.4.54



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.