ReadyPlanet.com


ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ ต้องถูกยกเลิกไปใช่หรือไม่ อย่างไร


ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ  ต้องถูกยกเลิกไปใช่หรือไม่  อย่างไร

 

เรียน  ถามทุกท่านที่รู้และท่านทนายไสว   ปาระมี 

 

ผมฟ้องคดีหน่วยงานที่ศาลปกครอง ตั่งแต่ ปี  2544 

ฟ้อง  3 ประเด็น  1.ลดโทษ  2.เลื่อนขั้นเงินเดือน  3.เลื่อนระดับ

 

ปลายเดือน มิ.ย. 55  ศาลปกครองสูงสุดตัดสินผมแพ้ ทั้ง  3  ประเด็น  อย่างน่ากังขา

 

ประเด็นต่อสู้ที่สำคัญ  คือ   การละทิ้งหน้าที่ราชการ  หน่วยงานกล่าวหาว่าผมละทิ้งหน้าที่ราชการ 

ซึ่งเมื่อปลายปี  2542  ผมโทรไปถามสำนักนายก   สำนักนายกบอกว่าลักษณะนี้ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ  เพราะคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร   ฑัณฑ์ต้องถูกยกเลิกไป

 

เรื่องเป็นดังนี้

 

ผมขอลาพักผ่อน ศุกร์ 24   กันยายน 2542    จันทร์  27-พฤหัส30 กันยายน 2542   และวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม  2542

ใบลาพักผ่อนก่อนลา

http://uploadingit.com/file/sdzgo5szmb5okqtc/best_Page_1.jpg

(ขออภัยที่ลบข้อมูลบางอย่างในเอกสารออกไป)

 

ใบลาพักผ่อนหลังลา  เพื่อบอกว่ามีการต่อเติมเอกสารใบลา  ตรงช่วงคำสั่ง (วงรีเอาไว้) โดยต่อเติมคำว่า  ในวันที่  24   ก.ย. 42”  (ใบลาพักผ่อนก่อนลา  ไม่มีช่วงคำว่า ในวันที่  24   ก.ย. 42”)

ใบลาพักผ่อนหลังลาไปแล้ว

http://uploadingit.com/file/kgfxthaex0n01ezi/best_Page_2.jpg

 



ผู้ตั้งกระทู้ คดี โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2012-08-08 14:55:49 IP : 202.44.40.3


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3341593)

 ต่อมา  4   ต.ค. 42   หน่วยงานได้บอกให้ผมลาป่วย  ลาป่วยตั้งแต่วันที่  27-30 กันยายน 2542   และวันที่ 1 ตุลาคม  2542   มีกำหนด  5 วัน  เพื่อไม่ให้ผมขาดราชการ  (ประวัติการรับราชการใน 5 วันถูกบันทึกว่าป่วย)   

ใบลาป่วย

http://uploadingit.com/file/dgeswyudhd7b5bsl/best_Page_3.jpg

 

และ  8   ต.ค. 42     หน่วยงานได้ทำ ทัณฑ์บน

ตรงนี้ขอสาบานว่าเป็นความจริง  คือ

ช่วงที่ถูกเรียกทำทัณฑ์บน  ตัวหัวหน้าได้พูดจาทำนองว่า    ถ้าไม่เซ็นต์ยอมรับ  จะส่งเรื่องให้ระดับกรมดำเนินการต่อไป  (ถ้าเซ็นต์ยอมรับ   จะหยุดเรื่องไว้เท่านี้)  ด้วยความกลัวว่า  ถ้าเรื่องถูกส่งให้ระดับกรมดำเนินการต่อ  จะเกิดการตั้งกรรมการสวบสวน  เรื่องราวจะใหญ่โตและใช้เวลานาน  ผมจึงเซ็นต์ลงไป  ถ้าจุดนั้นรู้ว่า  จริงๆ แล้ว  ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่  ก็จะไม่เซ็นต์ลงไป

 

ทัณฑ์บน

http://uploadingit.com/file/c78yfdybykcslies/best_Page_4.jpg

 

หลังจากนั้นปลายปี  42   (หลังจาก  8   ต.ค. 42 ที่หน่วยงานได้ทำ ทัณฑ์บนแล้ว  )   

คือน่าจะเดือนพ.ย. 42  เป็นต้นไปถึงถึงต้นปี 2543  (ขออภัยจำวันที่ไม่ได้)  ได้โทรไปถามสำนักงาน ก.พ.   สำนักงาน ก.พ. บอกว่า  สำนักงาน ก.พไม่ใช่ต้นเรื่องระเบียบการลา  แนะให้โทรไปถามต้นเรื่องระเบียบการลา   คือ  สำนักนายก    สำนักนายกบอกว่าลักษณะนี้ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ  เพราะคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร 

ซึ่งผมก็ได้ตั้งข้อสังเกตทำบันทึกข้อความถึงความไม่ชอบมาพากลในการสอบสวนของประเด็นไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการนี้ต่อหน่วยงาน    ว่าจะต้องถูกยกเลิกไปหรือไม่  อย่างไร      แต่ตอนนั้นยังคิดไม่ออกถึงการทำเรื่องให้ขอยกเลิกทัณฑ์บนต่อหน่วยงานไปเลย    และเอกสารบันทึกข้อความถึงความไม่ชอบมาพากลนี้ถูกส่งให้ศาลปกครองกลาง(ศาลปกครองชั้นต้น  ไม่ใช่ศาลปกครองสูงสุด)  แต่ผมไม่ได้บอกที่มาที่ไปว่า  ที่ผมรู้  เพราะผมไปถามสำนักนายก  อธิบายเพียงสรุปใจความว่าคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร

 

ผมมาเล่าถึงที่มาที่ไปที่ว่า  ที่รู้เพราะโทรไปถามสำนักนายก  และสำนักนายกบอกว่า ประวัติการรับราชการใน 5 วันถูกบันทึกว่าป่วย    คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร  ทัณฑ์บนจะต้องถูกยกเลิก    ในเอกสารส่งให้ศาลปกครองสูงสุด

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้แสดงความคิดเห็น คดี วันที่ตอบ 2012-08-08 14:57:24 IP : 202.44.40.3


ความคิดเห็นที่ 2 (3341594)

ศาลปกครองสูงสุด ตัดสินว่า 

-แบบบันทึกทัณฑ์บนผู้ฟ้องคดีได้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจ  ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดบังคับขู่เข็ญ  ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดียอมรับว่าได้กระทำผิดจึงได้ทำทัณฑ์บนไว้ สำหรับบันทึกลาป่วยนั้นกระทำขึ้นภายหลังซึ่งเป็นคุณแก่ผู้ฟ้องคดีโดยมีผลทำให้ไม่ขาดราชการเท่านั้น  ไม่มีผลทำให้ทัณฑ์บนใช้ไม่ได้หรือต้องเสียไปแต่อย่างใด  อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีในส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น-

(ผมมีความเห็นว่า  การตัดสินของศาล  ศาลยังไม่คิดไม่ถึงที่สุดของคดี  การคิดที่ถึงที่สุดของคดีต้องคิดเหมือนที่สำนักนายกบอก

สำนักนายกต้นเรื่องระเบียบการลาบอกว่า ฑัณฑ์ต้องถูกยกเลิกไป (ประวัติการรับราชการถูกบันทึกว่าป่วย  คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร)

ศาล (ศาลมิได้เป็นต้นเรื่องระเบียบการลา )ตัดสินว่าไม่มีผลทำให้ทัณฑ์บนใช้ไม่ได้หรือต้องเสียไปแต่อย่างใด 

และการที่ศาลบอกว่า   โดยมีผลทำให้ไม่ขาดราชการเท่านั้น    การไม่ขาดราชการ  ก็คือ  ไม่มีการการละทิ้งหน้าที่ราชการ)

 

ที่ศาลบอกว่า

-แบบบันทึกทัณฑ์บนผู้ฟ้องคดีได้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจ  ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดบังคับขู่เข็ญ  ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดียอมรับว่าได้กระทำผิดจึงได้ทำทัณฑ์บนไว้-

ตรงนี้ไม่ได้ถูกกล่าวถึงในเอกสารในช่วงพิจารณาทั้งในศาลปกครองกลาง  และศาลปกครองสูงสุดเลย  แต่กลับมีอยู่ในคำตัดสินเลย  

ศาลปกครองสูงสุด  จึงเปิดประเด็นขึ้นมาใหม่  โดยไม่ให้ผมแก้ต่างเลย  เพราะตามที่ผมบอกไปแล้ว 

(ตรงประเด็นเปิดประเด็นขึ้นมาใหม่ นี้  จะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมจะให้ศาลพิจารณาใหม่)

ข้อเท็จจริงคือ

ช่วงที่ถูกเรียกทำทัณฑ์บน  ตัวหัวหน้าได้พูดจาทำนองว่า    ถ้าไม่เซ็นต์ไม่เซ็นต์ยอมรับ  จะส่งเรื่องให้ระดับกรมดำเนินการต่อไป  (ถ้าเซ็นต์ยอมรับ   จะหยุดเรื่องไว้เท่านี้)  ด้วยความกลัวว่า  ถ้าเรื่องถูกส่งให้ระดับกรมดำเนินการต่อ  จะเกิดการตั้งกรรมการสวบสวน  เรื่องราวจะใหญ่โต  และใช้เวลานาน  ผมจึงเซ็นต์ลงไป  ถ้าจุดนั้นรู้ว่าจริงๆ แล้ว  ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่  ก็จะไม่เซ็นต์ลงไป   จะเห็นว่า  ผมไม่ได้สมัครใจทำ

ถ้าศาลให้พิจารณาคดีใหม่ผมไม่แน่ใจว่า  ถ้าให้ตัวหัวหน้ามาให้การที่ศาล  ตัวหัวหน้าจะพูดความจริงตามที่บอกไปหรือเปล่า

 

ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผมชี้แจงในเอกสารให้ศาลปกครองสูงสุด

--ในแบบทัณฑ์บนระบุว่ากระทำผิดหยุดราชการโดยละทิ้งหน้าที่ในการส่งเอกสารงบประมาณในวันที่ 27 กันยายน 2542  หลังจากได้ทำทัณฑ์บน  ต่อมาได้มีการให้ผู้ฟ้องคดีลาป่วยตั้งแต่วันที่  27-30 กันยายน 2542   และวันที่ 1 ตุลาคม  2542   มีกำหนด  5 วัน  ประวัติการรับราชการใน 5 วันถูกบันทึกว่าป่วย    โดยเฉพาะในวันที่  27กันยายน 2542   คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร  ทัณฑ์บนจะต้องถูกยกเลิก    เมื่อทัณฑ์บนเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้  ส่งผลให้การลงโทษภาคทัณฑ์กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการในการทำเอกสารงบประมาณ  ต้องถูกยกเลิกเพิกถอน    และเมื่อทัณฑ์บนเป็นโมฆะส่งผลให้การประเมินไม่เลื่อนขั้นและเลื่อนระดับไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย  เพราะไม่มีการละทิ้งหน้าที่ราชการในการทำเอกสารงบประมาณ  ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น

 

และยังอธิบายในเอกสารให้ศาลปกครองสูงสุดว่าที่ผมรู้   ผมไม่ได้คิดได้ด้วยตนเอง  แต่ช่วงปลายปี 42  ได้โทรไปถามสำนักงาน ก.พ.   สำนักงาน ก.พ. บอกว่า  สำนักงาน ก.พไม่ใช่ต้นเรื่องระเบียบการลา  แนะให้โทรไปถามต้นเรื่องระเบียบการลา   คือ  สำนักนายก    สำนักนายกบอกว่าลักษณะนี้ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ  เพราะคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร   

 

คำถามครับ

 

1. ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ ตาม ม.156  ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์   หรือไม่  อย่างไร

-มาตรา 156 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ
ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัว บุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่ง เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น-

ผู้แสดงความคิดเห็น คดี วันที่ตอบ 2012-08-08 14:59:51 IP : 202.44.40.3


ความคิดเห็นที่ 3 (3341595)

ในกรณีของผม  เป็นความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ  คือ  คิดว่าตัวเองละทิ้งหน้าที่  ซึ่งเมื่อปลายปี  2542  ผมโทรไปถามสำนักนายก   สำนักนายกบอกว่าลักษณะนี้ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการ  เพราะคนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร    ถ้าจุดนั้นรู้ว่าจริงๆ แล้ว  ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่  ก็จะไม่เซ็นต์ลงไป  

 

อีกประเด็นที่ผมคิดว่าทัณฑ์บนเป็นโมฆะ  คือ  เนื้อหาในทัณฑ์บนเป็นเท็จ  เพราะบอกว่าผมละทิ้งหน้าที่ราชการ  แต่ผมไม่ได้ละทิ้งเพราะป่วย   กรณีนี้เข้าข่ายทัณฑ์เป็นโมฆะ  ตามม.156    นี้หรือไม่  อย่างไร   หรือเข้าข่ายตามมาตราอื่น ๆ (มาตราไหน)

 

2. ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ ตาม การขมขู่  หรือไม่  อย่างไร

ผมงงตามที่ศาลตัดสินว่า ที่ศาลบอกว่า

-แบบบันทึกทัณฑ์บนผู้ฟ้องคดีได้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจ  ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดบังคับขู่เข็ญ  ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดียอมรับว่าได้กระทำผิดจึงได้ทำทัณฑ์บนไว้-

แสดงว่า  ถ้ามีผู้ข่มขู่   จะเป็นโมฆะใช่หรือไม่   อย่างไร   ตรงนี้ใช้  มาตราไหนของประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์  

 

เพราะการข่มขู่ตามที่ผมศึกษาเอาเอง  ตาม  มาตรา 164 ทำให้เป็นแค่โมฆียะ   และถ้าทำให้เป็นแค่โมฆียะ    แล้วจะทำให้เป็นโมฆะต่อได้อย่างไร

(มาตรา 164 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูก ข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้ กระทำขึ้น)

 

3. การทำทัณฑ์ให้ถูกยกเลิกไป  เพราะ  เนื้อหาในทัณฑ์บนเป็นเท็จ  (กล่าวหาว่าละทิ้งหนาที่   แต่ผมป่วยจะละทิ้งไม่ได้)  โดยไม่ใช่คำว่า  เป็นโมฆะ  ได้หรือไม่  อย่างไร 

 ตอนปลายปี  42   ที่ผมโทรไปถามสำนักนายก  สำนักนายกบอกว่าทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป    แต่สำนักนายกไม่ได้บอกว่า  ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ   ผมเป็นคนใช้คำว่า  ทัณฑ์บนเป็นโมฆะ   ผมเขียนในเอกสารให้ศาลปกครองสูงสุด  โดยผมบอกศาลว่า  ผมไม่ใช่นักกฎหมาย  การทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป  ไม่รู้จะใช่ภาษาทางกฎหมายว่าอย่าง  จึงขอใช้คำว่าโมฆะ

(ประเด็นที่ผมใช้คำว่าทัณฑ์บนโมฆะ  โดยที่สำนักนายก  บอกว่าทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป    แต่สำนักนายกไม่ได้บอกว่าทัณฑ์บนเป็นโมฆะบอกแต่ว่าทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป    ผมไม่แน่ใจว่าเป็นการเชื่อมโยงผิดหรือเปล่า  (ถูกยกเลิกไปเท่ากับโมฆะหรือเปล่า)   อาจทำให้ศาลเกิดความเข้าใจผิดจนผมแพ้คดี    

หรือ  ควรเปลี่ยนเป็นว่า  เนื้อหาในทัณฑ์บนเป็นเท็จ   ดังนั้น ทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป    ตามข้อเท็จจริงในตัวมันเอง  และที่สำคัญ  คือ  เนื้อหาในทัณฑ์บนเป็นเท็จ (เพราะในช่วงนั้นประวัติการรับราชการคือป่วย    คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการไม่ได้)   ดังนั้น ทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไปตามระเบียบการลาของสำนักนายก  ไม่ใช่ถูกยกเลิกไปเพราะโมฆะ)

ข้อนี้มีความเห็นอย่างไรครับ

 

4. หาเอกสารจากศาลฎีกา

การให้ศาลปกครองพิจารณาใหม่  ต้องหาหลักฐานที่เด่นชัด เช่น  คำตัดสินของศาลฎีกา

พอจะมีท่านไหนทราบคำตัดสินของศาลฎีกาในอดีตที่มีลักษณะคล้ายกับกรณีของผมไหมครับ  (ประวัติการรับราชการใน 5 วันถูกบันทึกว่า คนป่วยจะละทิ้งหน้าที่ราชการได้อย่างไร  ทัณฑ์บนต้องถูกยกเลิกไป)

 

ถ้าทราบช่วยตอบด้วย

(ผมเคยค้นคำตัดสินของศาลฎีกาทางเน็ต  ยังค้นไม่เจอ)

 

5. ประเด็นใหม่อื่น    ที่ทุกท่านเห็นว่าเป็นประเด็น  (อันทำให้ผมชนะคดี) ช่วยเสนอแนะด้วยครับ

 

เรื่องที่เล่ามายาวมากต้องขออภัยด้วยครับ

 

ขอบคุณ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คดี วันที่ตอบ 2012-08-08 15:02:05 IP : 202.44.40.3


ความคิดเห็นที่ 4 (3341597)

ผมลองคลิ๊กลิงค์ในรายละเอียดหัวข้อกระทู้แล้วไม่แสดงผล  จึงขอแสดงใหม่ครับ

--------------------------------------------------

เรื่องเป็นดังนี้

 

ผมขอลาพักผ่อน ศุกร์ 24   กันยายน 2542    จันทร์  27-พฤหัส30 กันยายน 2542   และวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม  2542

ใบลาพักผ่อนก่อนลา

http://uploadingit.com/file/sdzgo5szmb5okqtc/best_Page_1.jpg

(ขออภัยที่ลบข้อมูลบางอย่างในเอกสารออกไป)

 

ใบลาพักผ่อนหลังลา  เพื่อบอกว่ามีการต่อเติมเอกสารใบลา  ตรงช่วงคำสั่ง (วงรีเอาไว้) โดยต่อเติมคำว่า  ในวันที่  24   ก.ย. 42”  (ใบลาพักผ่อนก่อนลา  ไม่มีช่วงคำว่า ในวันที่  24   ก.ย. 42”)

ใบลาพักผ่อนหลังลาไปแล้ว

http://uploadingit.com/file/kgfxthaex0n01ezi/best_Page_2.jpg

---------------------------------------------------------------------------------------

ผู้แสดงความคิดเห็น คดี วันที่ตอบ 2012-08-08 15:13:57 IP : 202.44.40.3


ความคิดเห็นที่ 5 (3341675)

 เล่ามาซะยาว   แต่ประเ็ด็นสำัญดันไม่บอก

ตกลงคุณฟ้องศาลปกครองเรื่ออะไรครับ

ฟ้องขอให้เพิถอนคำสั่ง  หรือเพิกถอนอะไร

ของเพิกถอนคำสั่งทำทัณฑ์บน  หรือฟ้องเพิกถอนการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน

หรือฟ้อง............................

     คดีนี้ที่คุณพูดมาทัั้งหมด   คุณได้แสดงหลักฐานอะไรต่อศาลไว้บ้าง  เช่น

ใบรับรองแพทย์มีหรือไม่   ใบลาป่วยอนุมัติหรือไม่อย่างไร   และในชั้นไต่สวน

ได้ให้ข้อเท็จจริงไว้อย่างไร   

     หลักการของศาล    พูดลอย ๆ  ศาลไม่รับฟังหรอกครับ   ต้องมีพยานหลักฐานมาสนับสนุน

คดีนี้  ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาถึงที่สุดแล้ว   

     เอามาพูดตอนนี้ไม่เกิดประโยชน์อะไร   เพราะหากเป็นข้อเท็จจริงเรื่องเดียวกัน  

นำไปฟ้องใหม่  แม้ตั้งประเด็นใหม่  ก็เป็นฟ้องซ้ำ  ต้องห้ามตามกฎหมาย  

     หรือแม้ไม่ต้องห้าม   แต่เวลาผ่านมาเกิน  10  ปี  แล้ว    คดีขาดอายุความแล้วครับ

ถ้าคุณบอกเมื่อตอนตั้งเรื่องฟ้องใหม่ ๆ  พอช่วยได้   แต่นี่  ศาลปกครองสูงสุดตัดสินแล้ว

ก็เปรีัยบเสมือนศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว   ช่่วยไม่ทันแล้วครับ

     ถ้าเป็นคดีอาญา  ฎีกาลงโทษประหารชีวิตแล้ว   จะมาพูดใหม่ว่า  ไม่มีเจตนาทำผิด

จะไปร้องขอความเป็นธรรมที่ไหนได้อีก  เมื่อกระบวนการทางศาล  มันถึงจุดสูงสุดไปแล้ว

โทษทางอาญาก็เหลือเพียง  ทูลเกล้าถวายฎีการขออภัยโทษเท่านั้น   ส่วนคดีแพ่งไม่มีครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2012-08-09 09:41:05 IP : 223.25.200.200


ความคิดเห็นที่ 6 (3341722)

 

เรียน  ท่านทนายไสว   ปาระมี

ขอบคุณที่ตอบคำถามให้ครับ

พอดีรายละเอียดในหัวข้อกระทู้   ผมพยายามบรรจุความเห็นที่ 1 ถึง 3  ลงไปแล้ว  แต่กระทู้ไม่รับ  เลยต้องทยอยลงต่อกันเป็นช่วง ๆ
 

ผมได้ตั้งกระทู้ถามที่เว็บนี้ด้วย  (ถามหลายเว็บเพื่อต้องการประเด็นใหม่ ๆ หรือความเห็นอันหลากหลายหรือแนวทางต่อสู้ใหม่ ๆ)

http://www.phuwarinlawyer.com/webboard-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-1-133416-1.html
 

ข้อความบางส่วนจากเว็บ
 

-ตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติให้คู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกกระทบจากผลแห่ง คดีอาจมีคำขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองใหม่ได้ กรณี (1) ศาลปกครองฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดหรือมีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จ จริงที่ฟังเป็นยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ...(3) มีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีมีความไม่ยุติธรรม...

เรื่องยื่นขอ พิจารณาคดีใหม่ต่อศาล ท่านควรจะหาระเบียบคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของสำนักนายกฯเรื่องการลา ที่ท่านอ้างว่า การป่วยไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทัณฑ์บนไม่ถูกต้องอย่างไรประกอบไปด้วย-

 

ท่านทนายไสว   ปาระมี  มีความเห็นเพิ่มเติมประการใดช่วยแนะนำด้วย

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คดี วันที่ตอบ 2012-08-09 18:04:09 IP : 202.44.40.3


ความคิดเห็นที่ 7 (3341723)

เรียน  ท่านทนายไสว   ปาระมี

ขอบคุณที่ตอบคำถามให้ครับ

พอดีรายละเอียดในหัวข้อกระทู้   ผมพยายามบรรจุความเห็นที่ 1 ถึง ลงไปแล้ว  แต่กระทู้ไม่รับ  เลยต้องทยอยลงต่อกันเป็นช่วง ๆ

ผมได้ตั้งกระทู้ถามที่เว็บนี้ด้วย  (ถามหลายเว็บเพื่อต้องการประเด็นใหม่ ๆ หรือความเห็นอันหลากหลายหรือแนวทางต่อสู้ใหม่ ๆ)

http://www.phuwarinlawyer.com/webboard-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%86%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-1-133416-1.html

 

ข้อความบางส่วนจากเว็บ

-ตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติให้คู่กรณีหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียหรืออาจถูกกระทบจากผลแห่ง คดีอาจมีคำขอให้ศาลปกครองพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีปกครองใหม่ได้ กรณี (1) ศาลปกครองฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดหรือมีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จ จริงที่ฟังเป็นยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ...(3) มีข้อบกพร่องสำคัญในกระบวนพิจารณาพิพากษาที่ทำให้ผลของคดีมีความไม่ยุติธรรม...

เรื่องยื่นขอ พิจารณาคดีใหม่ต่อศาล ท่านควรจะหาระเบียบคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของสำนักนายกฯเรื่องการลา ที่ท่านอ้างว่า การป่วยไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทัณฑ์บนไม่ถูกต้องอย่างไรประกอบไปด้วย-

 

ท่านทนายไสว   ปาระมี  มีความเห็นเพิ่มเติมประการใดช่วยแนะนำด้วย

ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คดี วันที่ตอบ 2012-08-09 18:08:34 IP : 202.44.40.3



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.