ReadyPlanet.com


อาจารย์ไสว ช่วยตอบเพิ่มเติมให้ด้วยครับ


สวัสดีค่ะ คุณอดิสร
 
ผู้รับจ้างเริ่มทำงานในธุรกิจโรงแรมตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2552
 ในตำแหน่งระดับผู้บริหาร มีอายุสัญญา 1 ปี ตั้งแต่ 21 ธ.ค. 2552 - 21 ธ.ค. 2553 โดยระบุว่า มีระยะทดลองงาน119 วัน และ
 หลังจากผ่านทดลองงานแล้ว หากผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างมีความประสงค์ที่จะยุติสัญญาก่อนกำหนด
 สามารถบอกเลิกสัญญาแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน...

วันที่ 25 พฤษภาคม 2553 นายจ้างขอให้ลาออก โดยแจ้งว่า
 ผู้รับจ้างได้ทำผิดสัญญาจ้างอย่างร้ายแรง กล่าวคือ ได้ดื่มสุรา
 กับลูกค้าในวันที่ลูกค้ามาจัดเลี้ยงที่โรงแรมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา...ผู้รับจ้างไม่ตกลงยื่นใบลาออก เพราะ
ในวันนั้น ผู้รับจ้างได้อยู่ต้อนรับลูกค้าในงานเลี้ยงของลูกค้า และ ลูกค้าระดับผู้บริหารได้เชิญผู้รับจ้างร่วมดื่มเป็นเกียรติ
ผู้รับจ้างเห็นว่าเป็นเวลาที่เลิกงานแล้ว ประมาณ 5 ทุ่ม จึงร่วมดื่มด้วย และไม่ได้ดื่มมาก
เป็นการดื่มเพื่อมารยาทเท่านั้น  อีกทั้งตัวเองยังเป็นพนักงานระดับผู้บริหารของโรงแรม
 จึงไม่น่าจะเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้างและผู้บริหารของทางลูกค้ายินดีมาเป็นพยานยืนยันด้วย....นายจ้างจึงส่งจดหมายบอกเลิกสัญญา
 ( ไม่มีการให้ใบเตือนใดๆ ) โดยระบุว่าขอบอกเลิกสัญญาจ้าง
 โดยมีวันสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 26 มิถุนายน 2553 ( เหมือนเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน )
 และจะไม่จ่ายเงินชดเชยใดๆเนื่องจากลูกจ้างผิดสัญญาข้อกระทำการที่เป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายและให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานทันที 
 แต่จ่ายเพียงค่าจ้างจนถึงเดือนมิถุนายนเท่านั้น
จึงขอรบกวนถามว่า

1. ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชยการเลิกจ้างได้อีก 1 เดือน ถูกต้องหรือไม่คะ

2 ในสัญญาจ้างงานผู้ว่าจ้างตกลงจะขึ้นค่าจ้างให้เมื่อผ่านทดลองงาน แต่กลับไม่ได้ขึ้น ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ว่าจ้างจ้างจ่ายค่าจ้างตามสัญญาได้หรือไม่คะ
 
3 การที่นายจ้างจงใจผิดสัญญาจ้าง ถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่
 
4 ผู้รับจ้างสามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้หรือไม่ และมีหลักเกณฑ์อย่างไร เรียกเท่าใดจึงจะเหมาะสมคะ
 เนื่องจากในช่วงนี้ธุรกิจโรงแรมมีรายได้ไม่ค่อยดีนักจึงเป็นการยากที่ผู้รับจ้างจะหางานใหม่ได้เพราะอยู่ในช่วง low season อีกทั้งสถานการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยสงบด้วย
 ผู้รับจ้างสามารถเรียกค่าชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนี้ เป็นเงินค่าจ้าง x 5 เดือนได้หรือไม่คะ เพราะกว่าจะ high season ก้คงเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน
 
ขอรบกวนด้วยนะคะ คำตอบของคุณอดิศร จะเป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ
 
ขอบคุณค่ะ





ผู้ตั้งกระทู้ อดิศร (adisorn_pers-at-hotmail-dot-com) โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-05-31 10:39:05 IP : 180.180.202.142


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3199021)

 

สวัสดีครับ อดิศร ครับ
กรณีนี้นายจ้างต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนครับ ว่าพนักงานที่กินเหล้าอย่างนี้ทำให้นายจ้างเสียหายอย่างไร
และได้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดไว้ชัดเจนหรือไม่ การกำหนดว่าการดื่มสุรามีความผิดร้ายแรงนั้นก็ต้องมาดูอีกครับ ว่าส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อนายจ้างจริงหรือไม่อย่างไรครับ ซึ่งหากฟ้องร้องกันศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงครับ
หากไม่ได้ทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างก็จะมาเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ครับ เป็นเพียงการฝ่าฝืนระเบียบหรือมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งนายจ้างก็ควรใช้วิธีการตักเตือนเป็นหนังสือไปก่อน หรือถ้าจะเลิกจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ
และนายจ้างจะมาบังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกก็ไม่ได้เช่นกันครับ
    ในข้อที่ 1. หากไม่มีหลักฐานยืนยันว่านายจ้างเสียหาย การเลิกจ้างอย่างนี้ นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ครับ ถ้าอายุงานไม่ถึง 1 ปี ค่าชดเชยก็ไม่อัตราไม่น้อยกว่าสามสิบวันครับ
     ในข้อที่ 2. หากสัญญาจ้างระบุว่าเมื่อผ่านทดลองงาน นายจ้างจะปรับอัตราเงินเดือนขึ้นให้ ถ้านายจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญา ลูกจ้างก็มีสิทธิทวงถามและเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาได้ครับ
     ข้อที่ 3. ไม่แน่ใจว่าเป็นความผิดทางอาญาหรือไม่นะครับ แต่ผิดกฎหมายแพ่งครับ เดี๋ยวไงคงมีสมาชิกท่านอื่น ที่ให้ความกระจ่างในประเด็นนี้ได้นะครับ
    ข้อที่ 4. หากลูกจ้างฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจริง ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ตามสมควรครับ ซึ่งก็จะต้องมีการเจรจาต่อรองและไกล่เกลี่ยในชั้นศาลอีกทีครับ ที่ควรจะเรียกร้องได้ก็คงเป็นค่าเสียโอกาส ค่าเสียเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ครับ
ค่าเสียหายส่วนนี้แล้วแต่ลูกจ้างจะเรียกร้องประกอบกับเหตุผลอย่างไรก็ได้ครับ
อดิศร
ผู้แสดงความคิดเห็น อดิศร (adisorn_pers-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-05-31 10:41:13 IP : 180.180.202.142


ความคิดเห็นที่ 2 (3199315)

สวัสดีครับ

    ตามข้อเท็จจริง   ประเด็นในเรื่องนี้  คือ  เป็นการดิ่มสุรา ระหว่างปฏิบัติหน้าที่หรือไม่  

เป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่  และเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่    การเลิกจ้าง

เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่   นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย  สินจ้างแทนการบอกล่าว

ล่วงหน้า  ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่

     ดูตามข้อเท้จจริงแล้ว   มีประเด็นต่อสู้ได้  เนื่องจาก เป็นลูกจ้างระดับบริหาร  กระทำตามหน้าที่

ตามความเหมาะสม   ไม่ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

     หากพิสูจน์ ตามประเด็นดังกล่าวได้   มีสิทธิได้รับค่าชดเชย  ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ส่วนสินจ้าง ต้องดูว่า หนังสือบอกกล่าวถูกต้องหรือไม่ 

    ประเด็นค่าจ้าง   หากข้อตกลงในสัญญาระบุชัดเจน  ไม่มีเงื่อนไขหรือ ยกเว้นอื่น  ถือว่านายจ้างผิดข้อตกลง

ในสัญญาจ้าง   ทวงถามและฟ้องร้องเรียกค่าจ้างส่วนที่ขาดได้

    ไม่ปรับค่าจ้างตามสัญญาจ้าง ถือว่าเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้าง   เป็นความผิดทางแพ่ง   ฟ้องเรียกทางแพ่ง

( คดีแรงงาน ) ได้ครับ   ไม่ใช่้คดีอาญา

แต่หากเป็น      การจงใจไม่จ่ายค่าจ้าง   จงใจไม่จ่ายค่าชดเชย   มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน  ปรับเกินหนึ่งแสน

บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ    พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา ๑๔๔  ( ฉบับแก้ไขปี ๒๕๕๑)   ซึ่งถือว่าเป็นโทษทางอาญา

     การกระทำความผิดดังกล่าว หากทวงถามแล้วไม่ยอมจ่าย  ถือว่าลูกจ้างเป็นผู้เสียหาย   แจ้งความร้องทุกข์

ต่อพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุได้  เป็นคดีอาญา   ( เคยมีคดีลักษณะนี้มาแล้ว ) 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น sw วันที่ตอบ 2010-05-31 13:33:02 IP : 58.9.35.184


ความคิดเห็นที่ 3 (3199612)

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ไสว

ผู้แสดงความคิดเห็น อดิศร (adisorn_pers-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-06-01 10:20:42 IP : 124.157.235.199



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.