ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมบริหารงานบุคคล
dot
bulletสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย
bulletชมรมบริหารงานบุคคล
bulletชมรมบริหารงานบุคคล อยุธยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลรังสิต
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคล อมตะนคร
bulletสมาคมการบริหารงานบุคคล (PAAs)
bulletชมรมบริหารงานบุคคลบางพลี
bulletชมรมนักบริหารงานบุคคลพัทยา
bulletชมรมบริหารงานบุคคลยุคใหม่
bulletชมรมผู้บริหารงานบุคคลจังหวัดราชบุรี
bulletงานบริหารงานบุคคล
bulletชมรมงานบริหารงานบุคคลกรุงเทพฯ
bulletชมรมบริหารงานบุคลสุขสวัสดิ์
dot
ติดต่อราชการศาล
dot
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลแรงงานภาค ๒
bulletศาลยุติธรรม
bulletศาลปกครอง
bulletศาลรัฐธรมนูญ
bulletสำนักงานอัยการสูงสุด
bulletกระทรวงยุติธรรม
bulletคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletกรมบังคับคดี
bulletสภาทนายความ
dot
หน่วยงานราชการสำคัญ
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletกรมสรรพากร
bulletกรมบัญชีกลาง
bulletกรมพัฒนาธุรกิจกาค้า
bulletกระทรวงอุตสาหกรรม
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletกรมส่งเสริมอุตสาหรม
bulletการนิคมอุตสาหกรรม
dot
ลิ้งค์เพื่อนบ้าน
dot
bulletสมบัติลีกัล
bulletเอกเซลสำหรับงาน HR โดย อ.สำเริง
bulletบทความดี ๆ จากโกป้อม
dot
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
dot
dot
Newsletter

dot


พยากรณ์อากาศวันนี้
..................................


ราคาน้ำมันวันนี้
..................................



กรรมการลูกจ้าง กับ กรรมการสหภาพแรงงาน article

กรรมการลูกจ้าง  กับ  กรรมการสหภาพแรงงาน   แตกต่างกันหรือไม่   อย่างไร
 

               กรรมการลูกจ้าง  กับกรรมการสหภาพแรงงาน   อาจมีที่มาแตกต่างกัน  แต่มีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย

เหมือนกัน  คือ การเป็นตัวแทนลูกจ้างในการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กร

           ดังนั้น  เรามาดูที่มา   บทบาทและหน้าที่ของทั้งสองกรณีกัน



กรรมการลูกจ้าง


               กรรมการลูกจ้าง  มีที่มาจาก พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘  มาตรา ๔๕  กำหนดไว้ว่า                  

“ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้

               ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็น  สมาชิกของสหภาพแรงงาน

ให้คณะกรรมการลูกจ้างประกอบด้วยลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ นั้นที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่

มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน หนึ่งคน     ถ้าลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็น

สมาชิก ของสหภาพแรงงาน สหภาพแรงงานอาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างทั้งคณะก็ได้

                   ให้นำมาตรา 15 วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง ตามวรรคสองโดยอนุโลม”

องค์ประกอบคือ  


                 ๑)    สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่  ๕๐  คน  ขึ้นไป

             ๒)    หากมีสหภาพแรงงาน  ที่มีสมาชิกเกิน หนึ่งในห้า   ของลูกจ้างทั้งหมด  สหภาพแรงงานแต่งตั้ง

                    กรรมการลูกจ้างได้เกินกึ่ง (ครึ่งหนึ่ง) ของคณะกรรมการลูกจ้างทั้งหมด  ๑  คน

             ๓)   หากสหภาพแรงงานมีสมาชิกเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด   สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการ

                   ลูกจ้างได้ทั้งคณะ

             จำนวนกรรมการลูกจ้าง   มีได้กี่คนในสถานประกอบการ   พิจารณาจาก  จำนวนลูกจ้างที่มีอยู่ ณ.ขณะแต่งตั้ง

หรือเลือกตั้งแล้วแต่กรณี  ตามมาตรา ๔๖   สรุปได้ คือ

                ลูกจ้าง     ๕๐ ถึง  ๑๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๕  คน

                ลูกจ้าง  ๑๐๑  ถึง ๒๐๐        มีกรรมการลูกจ้างได้  ๗  คน

                ลูกจ้าง  ๒๐๑  ถึง ๔๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๙  คน

                ลูกจ้าง  ๔๐๑ ถึง  ๘๐๐       มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๑  คน

                ลูกจ้าง  ๘๐๑ ถึง ๑,๕๐๐     มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๓  คน

                ลูกจ้าง  ๑,๕๐๑ ถึง ๒,๕๐๐   มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๕  คน

                ลูกจ้างเกิน ๒,๕๐๐ คนขึ้นไป  มีกรรมการลูกจ้างได้  ๑๗ ถึง ๒๑  คน

 

กรรมการลูกจ้าง  มีบทบาท  หน้าที่อย่างไร  

เป็นไปตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา ๕๐  สรุปได้ คือ

ประชุมหารือกับนายจ้างอย่างน้อย สามเดือนต่อหนึ่งครั้ง  เพื่อ

               (1)  จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง

               (2)  ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดข้อบังคับในการทำงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและ ลูกจ้าง

               (3)  พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง

               (4)  หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการ

               (5)  ร้องขอต่อศาลแรงงานให้วินิจฉัย  กรณี เห็นว่านายจ้างการกระทำการใด ๆ อันทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับ

                    ความเป็นธรรมหรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร

 

 

กรรมการลูกจ้างกระทำความผิด    ลงโทษได้หรือไม่

 


                กรรมการลูกจ้างได้รับความคุ้มครอง ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์  มาตรา ๕๒   “ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง

ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถ

ทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน”

             ดังนั้น   หากจะลงโทษกรรมการลูกจ้าง  ไม่ว่าจะตักเตือนเป็นหนังสือ  พักงาน  หรือเลิกจ้าง ต้องรับอนุญาต

จากศาลก่อน    ในทางปฏิบัติต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแรงงาน   ขอให้ศาลอนุญาตเสียก่อนจึงจะสามารถลงโทษได้   

 

กรรมการสหภาพแรงงาน

              กรรมการสหภาพแรงงาน  มีที่มาจากการก่อตั้งสหภาพแรงงาน  ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ มาตรา  ๘๙  คือ

ลูกจ้างรวมกัน ตั้งแต่  ๑๐  คน  ขึ้นไป  ร่วมกันจัดตั้งสหภาพแรงงาน ขึ้นในสานประกอบการ    

          เมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้ว  ผู้ก่อตั้งต้องจัดให้มี การประชุมใหญ่สามัญครั้ง แรกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

นับแต่วันที่จดทะเบียน เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการและมอบหมาย การทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการ    และอนุมัติ

ร่างข้อบังคับที่ได้ยื่นแก่นายทะเบียน   ในระหว่างนี้จะมีการรับสมัครสมาชิกด้วย

          เมื่อได้คณะกรรมการสหภาพแรงงานแล้ว   ให้กรรมการสหภาพแรงงาน   มีสิทธิหน้าที่ดำเนินงานในนาม

สหภาพแรงงาน ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน  ฯ   ซึ่งวัตถุประสงค์นั้น  ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายตามมาตรา ๘๖ 

คือ สหภาพแรงงานต้องมีวัตถุที่ประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับ     สภาพการจ้างและ

ส่งเสริมความสัมพันธ์ อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้าง ด้วยกัน

 

สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่  คือ

 

            (1) เรียกร้อง เจรจา ทำความตกลง และรับทราบคำชี้ขาดหรือทำข้อตกลงกับ นายจ้างหรือสมาคมนายจ้าง

                 ในกิจการของสมาชิกได้

            (2) จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ ภายใต้บังคับของ วัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงาน

            (3) จัดให้มีการบริการสนเทศเพื่อให้สมาชิกมาติดต่อเกี่ยวกับการจัดหางาน

            (4) จัดให้มีการบริการการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาหรือขจัดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการ บริหารงานและการทำงาน

            (5) จัดให้มีการบริการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินหรือทรัพย์สิน เพื่อสวัสดิการของ สมาชิก หรือเพื่อสาธารณประโยชน์

                       ทั้งนี้  ตามที่ที่ประชุมใหญ่เห็นสมควร

            (6) เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกและเงินค่าบำรุงตามอัตราที่กำหนดในข้อ บังคับของสหภาพแรงงาน

           

            หากดู รายละเอียด  จะเห็นว่า   วิธีการและแนวทางดำเนินงาน  ของกรรมการลูกจ้าง  กับกรรมการสหภาพแรงงาน 

จะแตกต่างกัน  โดยสิ้นเชิง   แต่หากพิจารณา  จุดประสงค์  หรือเจตนารมณ์ แล้ว   จะเห็นว่า  ที่สุดแล้ว

            ทั้งคณะกรรมการลูกจ้าง   และคณะกรรมการสหภาพแรงงาน   มีไว้ก็เพื่อ  การตรวจสอบ  ดูแล  สิทธิประโยชน์ หรือ

สวัสดิการต่าง ๆ   ของลูกจ้าง   พร้อม  ๆ  กับการรักษาไว้ซึ่งแรงงานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง

 

กรรมการสหภาพแรงงาน  ลงโทษได้หรือไม่   


              กรรมการสหภาพแรงงาน  ไม่ได้รับการยกเว้นหรือได้รับความคุ้มครอง เหมือนกรรมการลูกจ้าง   

              ดังนั้น   หากกรรมการสหภาพแรงงาน ฯ  กระทำความผิด  นายจ้างสามารถพิจารณาและลงโทษ 

ได้ตามระเบียบบริษัท ฯ  

             แต่ในทางปฏิบัติ   ต้องระวัง  เพราะส่วนใหญ่  คณะกรรมการสหภาพแรงงาน  มักจะได้รับการแต่งตั้ง

ให้เป็นคณะกรรมการลูกจ้างทั้งคณะ

             ทั้งนี้  ก็สืบเนื่องจาก  การกระทำหรือดำเนินการด้านแรงงานสัมพันธ์ ของกรรมการสหภาพในบางกรณี 

อาจไม่เป็นที่พอใจของนายจ้างนัก  

             ดังนั้น  สหภาพแรงงาน จึงมักแต่งตั้งให้  กรรมการสหภาพแรงงาน   เป็นคณะกรรมการลูกจ้างด้วย  

เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกลงโทษ   หากจะลงโทษใด ๆ  ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน

 
             ครั้งต่อไป เรามาดู ถึงคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการกันครับ      


ไสว    ปาระมี


      




แรงงานสัมพันธ์

ใช้สิทธิปิดงาน งดจ้าง หรือการใช้สิทธิหยุดงาน ประท้วง article
ยื่นข้อเรียกร้อง ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรวจสอบอย่างไร ส่งผลอย่างไรต่อนายจ้างและลูกจ้าง article
พนักงานประท้วง ! ทำอย่างไรดี ? article
การยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจา และวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน article
สหภาพแรงงาน article
กฎหมายแรงงานเบื้องต้นสำหรับ HR article
การขอใช้สิทธิ์ กรณีว่างงานควรทำอย่างไร ? article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท กฎหมายปาระมี จำกัด

เลขที่ 511/4 ถนนประชาอุทิศ 117/1 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร (10140)

โทร/Tel : 02 - 8159522, แฟกซ์/Fax : 02 - 8159523, มือถือ/Mobile : 081 - 7936156

อีเมล/E-mail : sawai.prm@gmail.com, เว็บไซต์/Web : www.parameelaw.com