ReadyPlanet.com


การหักเงิน/ค่าจ้าง/ค่าแรง/ค่าตอบแทน กรณีเข้าทำงานสายหรือกลับก่อน ทำได้หรือไม่ได้


 

สวัสดีทุกท่านครับ 

ผมเป็น HR มือใหม่ ขอปรึกษา

พอดีทางบริษัทฯ จะออกประกาศการหักเงิน/ค่าจ้าง/ค่าแรง/ค่าตอบแทน กรณีเข้าทำงานสายหรือกลับก่อน 

ไม่รู้ว่าสามารถทำได้หรือไม่ได้ครับ เพราะว่า 1 บริษัทฯ ได้ยืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ต่อ สสค.จังหวัด ซึ่งในระเบียบเขียนไว้ว่า เข้าทำงานสาย กลับก่อน ถือเป็นความผิดทางวินัย และ 2 ตามมาตรา 76 พรบ.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปรับปรุง 2553 ก็เขียนไว้ชัด ว่าไม่สามารถกระทำได้

ผมได้พยายามชี้แจงในกรณีแล้ว แต่ทว่า ผจก.ฝ่าย และ หน.แผนก และ จนท.บุคคล ตกลงว่าจะหัก ซึ่งมีผมคนเดียวที่ไม่เห็นด้วย ไม่ทราบว่า  

1. ผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ที่ไม่สามารถหักเงินได้

2. ถ้าหักเงินได้ จะต้องทำอย่างไร

ขอความคิดเห็นด้วยครับ  ขอบพระคุณมากครับผม

จาก HR มือใหม่ 



ผู้ตั้งกระทู้ HR มือใหม่ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2014-07-01 18:09:50 IP : 180.180.164.37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3392578)

ขอตอบนะค่ะ ถ้าไม่ถูกยังไง ช่วย แก้ด้วยนะ 

พอดีทางบริษัทฯ จะออกประกาศการหักเงิน/ค่าจ้าง/ค่าแรง/ค่าตอบแทน กรณีเข้าทำงานสายหรือกลับก่อน 

 ตามหลักกฏหมายแล้ว ไม่สามารถทำได้ค่ะ  

ประกาศตัวนี้ ไม่ได้รวมอยู่ไน ข้อบังคับ ของบริษัทฯ ไช่มั้ยคะ เพราะถ้าอยู่ เจ้าหน้าที่ของกรมแรงงานคงไม่ยอมให้ผ่าน

เป็นประกาศออกมาที่หลัง หรือเปล่าค่ะ 

ในกรณี่นี้ ก็ คือ กรมแรงงานยังไม่รู้ พูดง่าย ๆๆ ถ้าไม่มีพนักงานไป แจ้ง ว่าบริษัทฯ ได้มีกฏระเบียบตัวนี้ กรมแรงงานก็ไม่รู้

เพราะ กรณีอย่างนี้ ส่วนใหญ่พนักงานไม่ค่อยทราบเรื่องว่า จริงๆๆ แล้ว บริษัทฯ ไม่มีสิทธิมาหักเงินค่าจ้าง ในกรณีที่มาสาย ได้เลย 

ในฐานะที่เป็น Hr  เมื่อกัน และเคยเจอกรณีนี้เหมือนกัน  เราถือ ว่าเราได้ทำการแจ้งบริษัทฯ แล้ว มาเป็นส่ิงที่ผิดกฏหมาย แต่ทางบริษัทฯ ยังยืนยันที่จะทำ ก็บอก หัวหน้า ไปแล้วกันค่ะ ว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้น เราไม่รับผิดชอบนะ  

กฏนี้ มีทั้ง ข้อดี ข้อเสียค่ะ ข้อดี พนักงาน ลดปริมาณการมาสาย เพราะเสียดายเงิน และ เพื่อไม่ให้เอาเปรียาบเพื่อนร่วมงาน เพราะ วันหนึ่ง ทำงานได้ค่าแรงเท่ากัน คือ 300 บาท แต่ทำไมอีกคนมาสาย กลับก่อน ก็ได้ 300  กลับอีกคน มาทำงานแต่เช้า ตรงต่อเวลา  ก็ได้ 300กัน

ข้อเสีย คือ ผิดกฏหมาย  

จริงๆ เราน่าจะหาวิธีการใหม่ ที่ดีกว่านี้  เพราะ 

เอาอย่างงี้มั้ยค่ะ เป็นว่า ถ้าใคร มาสาย หรือกลับก่อน ให้ถือ เป็นการลากิจ หรือ ขาดงาน เกินกี่นาที ก็ว่าไป

เช่น มาสาย  เกิน 5 นาที ให้ถือเป็นขาดงาน  ครึ่ง วัน  

มาสาย ติดต่อกัน  3 วัน ใบเตือน 1 ใบ 

ลองเสนอดูนะค่ะ 

ที่ตอบไป ไม่รู้ถูกหรือเปล่า ยังไง ก็ขอบคุณ นะค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ็HR (ann-dot-sombat-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-07-18 11:54:05 IP : 203.209.80.2


ความคิดเห็นที่ 2 (3393591)

 ความเข้าใจของคุณ  ถูกต้องตามกฎหมายแล้วครับ

การหักค่าจ้าง   หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา  ๗๖

หักไม่ได้ครับ

       ระเบียบที่ออกมาขัดหรือแย้งกับ พรบ.  ถือว่าบังคับใช้ไม่ได้  

มาทำงานสายถือว่า  ผิดระเบียบ  ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน   

นายจ้างมีสิทธิลงโทษตามระเบียบ   ก็ลงโทษไปตามระเบียบที่กำหนด

เตือนด้วยวาจา  เป็นหนังสือ  พักงาน  หรือเลิกจ้าง   ก็ว่าไปตามที่กำหนด

หากจะหักค่าจ้าง   ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นหนังสือ  

     มาทำงานสาย   กลับก่อน   HR ทุกคน  ทุกบริษัท ฯ  เจอทั้งนั้นครับ

อยู่ที่ความเข้มงวด  หรือการบังคับใช้ข้อบังคับ  หรือวิธีการจัดการของ HR  

แต่ละแห่งว่า   จะวางกลยุทธ์หรือวิธีการอย่างไร   เช่น ให้สายได้ไ่ม่เกิน....นาที

หากเกิน ลงโทษตามระเบียบ  หรือ ใช้วิธีหักคะแนนประเมิน เพื่อจ่ายโบนัส  ปรับค่าจ้าง

หรือ งดจ่ายเบี้ยขยัน  เป็นต้น     

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2014-08-13 10:40:37 IP : 223.25.200.202



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.