ReadyPlanet.com


ค่าชดเชยในการเลิกจ้าง


บริษัทเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหม่มาเช่าทำแทน   และโอนย้ายลูกจ้างไปให้ผู้ประกอบการรายใหม่ โดยบริษัทเก่าไม่ได้ทำการผลิตสินค้าแล้ว แต่มีลูกจ้างดูแลอยู่ 2 คน     ส่วนลูกจ้างที่โอนถ้าไม่ไปได้ไหม   และจะได้เงินชดเชยเท่าใด ถ้าทำงานมาครบ 10 ปีแล้ว



ผู้ตั้งกระทู้ กานดา (kanchanit-at-ymail-dot-com) โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-13 16:45:52 IP : 124.157.203.19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3231652)

สวัสดีครับ

              กรณีตามกระทู้  ข้อเท็จจริงอาจจะยังไม่ชัดเจนนัก   แต่พอ

ประมาณได้   คือ  เป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้างนั่นเอง

              การเปลี่ยนตัวนายจ้าง กฎหมายกำหนไว้ใน  ๒  มาตรา  คือ 

              ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๕๗๗ 

         " นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้  เมื่อลูกจ้าง

ยินยอมพร้อมใจด้วย.............."

           พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๑๓ "ในกรณีที่กิจการใดมี

การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง    เนื่องจากการโอนรับมรดกหรือด้วยประการ

อื่นใดหรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลและมีการจดทะเบียนเปลี่ยน

แปลงโอนหรือควบกับนิติบุคคลใดสิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้าง

เดิมเช่นใดให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไปและให้นายจ้างใหม่รับไปทั้ง

สิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ"

            การเปลี่ยนตัวนายจ้าง   ไม่ว่าจะเนื่องมาจากการโอน   การขาย

กิจการ  การเทคโอเวอร์  ก็ดี   มีองค์ประกอบสำคัญ ๆ   คือ  นายจ้างเดิม  

นายจ้างใหม่  และลูกจ้าง   ต้องตกลงพร้อมใจกัน    ในการเปลี่ยนตัวนาย

จ้างหรือโอนกิจการทั้งสามฝ่าย   ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปฏิเสธจะไม่สามารถ

กระทำได้  

          กรณีตามกระทู้หากลูกจ้างไม่ตกลงยินยอมโอนไปเป็นลูกจ้างของ

นายจ้างคนใหม่   นายจ้างคนเดิมไม่สามารถบังคับได้   และนายจ้างคน

ใหม่ก็ไม่สามารถรับเข้าทำงานต่อได้เช่นกัน  

ลูกจ้างไม่ยินยอม  สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างได้  กรณีนี้  ถือว่า

เป็นการเลิกจ้าง

อันเนื่องมาจากการโอนกิจการ  ขายกิจการ  หรือด้วยเหตุใด  อันถือว่าเป็น

การเปลี่ยนตัวนายจ้าง

        เมื่อกรณีถือว่าเป็นการเลิกจ้าง    ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตาม

กฎหมาย  และอาจมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม

กฎหมายด้วย  แล้วแต่กรณี

        กรณีตามกระทู้ทำงานมาไม่น้อยกว่า  ๑๐  ปี  มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่

น้อยกว่า ๓๐๐  วันครับ    

          

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2010-08-14 23:58:47 IP : 58.9.25.4


ความคิดเห็นที่ 2 (3399090)

กรณีลูกจ้างถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างโดยระบุว่าจะจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไว้ในหนังสือเลิกจ้างด้วย แต่ลูกจ้างยังมิได้รับเงินดังกล่าว ต่อมานายจ้างเดิมได้ขายกิจการให้แก่นายจ้างใหม่ และนายจ้างเดิมยังถูกศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดด้วย แต่ลุูกจ้างไม่ทราบ เพิ่งทราบหลังจากนั้น 6 เดือน ดังนี้ ลูกจ้างจะฟ้องบังคับหรือจะขอรับเงินดังกล่าวกับนายจ้างใหม่ ตาม พรบ คุ้มครองแรงงาน ม.13 ได้หรือไม่ครับ (ตอนที่โอนกิจการกันลูกจ้างพ้นสภาพลูกจ้างของนายจ้างเดิมไปแล้ว เหลือเพียงสิทธิและหน้าที่ที่นายจ้างเดิมจะต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายและตามหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น จึงมีปัญหาว่าเมื่อมีการซื้อขายกิจการกันแล้ว นายจ้างใหม่จะต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ (หนี้) นั้นไปจากนายจ้างเดิม ตาม ม.13 ด้วยหรือไม่)

       ซึ่งผมเห็นว่าตามเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 13 นั้น นายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ (หนี้ตามกฎหมาย) จากนายจ้างเดิมทุกประการ จะอ้างว่าขณะรับโอนกิจการกัน ลูกหนี้ไม่ได้เป็นลูกจ้างของนายจ้างเดิมแล้วมิได้ เพราะจะทำให้กฎหมายเป็นอันไร้ผล

ผู้แสดงความคิดเห็น สมทัต บุญมี (somthat-dot-250204-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-12-31 12:54:16 IP : 110.168.229.229


ความคิดเห็นที่ 3 (3399091)

กรณีลูกจ้างถูกนายจ้างเดิมเลิกจ้างโดยระบุว่าจะจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไว้ในหนังสือเลิกจ้างด้วย แต่ลูกจ้างยังมิได้รับเงินดังกล่าว ต่อมานายจ้างเดิมได้ขายกิจการให้แก่นายจ้างใหม่ และนายจ้างเดิมยังถูกศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดด้วย แต่ลุูกจ้างไม่ทราบ เพิ่งทราบหลังจากนั้น 6 เดือน ดังนี้ ลูกจ้างจะฟ้องบังคับหรือจะขอรับเงินดังกล่าวกับนายจ้างใหม่ ตาม พรบ คุ้มครองแรงงาน ม.13 ได้หรือไม่ครับ (ตอนที่โอนกิจการกันลูกจ้างพ้นสภาพลูกจ้างของนายจ้างเดิมไปแล้ว เหลือเพียงสิทธิและหน้าที่ที่นายจ้างเดิมจะต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายและตามหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น จึงมีปัญหาว่าเมื่อมีการซื้อขายกิจการกันแล้ว นายจ้างใหม่จะต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ (หนี้) นั้นไปจากนายจ้างเดิม ตาม ม.13 ด้วยหรือไม่)

       ซึ่งผมเห็นว่าตามเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 13 นั้น นายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ (หนี้ตามกฎหมาย) จากนายจ้างเดิมทุกประการ จะอ้างว่าขณะรับโอนกิจการกัน เจ้าหนี้ไม่ได้เป็นลูกจ้างของนายจ้างเดิมแล้วมิได้ เพราะจะทำให้กฎหมายเป็นอันไร้ผล

ผู้แสดงความคิดเห็น สมทัต บุญมี (somthat-dot-250204-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-12-31 12:57:53 IP : 110.168.229.229



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.