ReadyPlanet.com


เงินช่วยเหลือพิเศษ


อาจารย์ค่ะ

เมื่อพนักงานทำงานในตำแหน่งหนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้เงินเดือนชนเพดานของตำแหน่งงานนั้น  และเขาก็ไม่มีความสามารถที่จtเลื่อนหรือน้ายไปทำงานในตำแหน่งอื่น ทำให้ไม่สามารถปรับเงินเดือนขึ้นประจำปีได้

หากต้องการให้เงินช่วยเหลือพิเศษแทนจำนวน 1000 บาท/เดือนแทนการปรับเงินเดือนประจำปี ควรเขียนอย่างไรไม่ให้เป็นค่าจ้าง เพื่อนำมาคำนวนเงินค่าชดเชย หากมีการเลิกจ้าง

ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ gho@bandarabroup โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-17 12:46:28 IP : 192.168.0.11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3207145)

สวัสดีครับ

               กรณีนี้ต้องระวัง และพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างครับ  เช่น เจตนาการจ่าย  คุณสมบติของพนักงาน

กระบอกเงินเดือนหรือระเบียบหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการปรับค่าจ้าง  ในแต่ละตำแหน่งหน้าที่ 

              บริษัทคงต้องตรวจสอบและพิจารณาทั้งระบบ   ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะบุคคล   เพราะการพิจารณาเฉพาะคนหนึ่ง

คนใดเป็นการเฉพาะ  อาจเป็นการเสี่ยงต่อคำครหา  แนวปฏิบัติ  มาตรฐานการพิจารณา  และอาจเป็นข้อโต้แย้งทางกฎหมาย

             ก่อนอืนต้องดูก่อนว่า  ค่าจ้าง คืออะไร  หากอ่านในบทความที่ผมเขียนในเว็บ  จะทราบรายละเอียด

สรุปย่อ ๆ "ค่าจ้าง" คือเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้ลูกจ้าง เพื่อตอบแทนการทำงาน สำหรับการทำงานในเวลาทำงานปกติ

อาจเป็นรายวัน  รายเดือน  รายสัปดา  ก็ได้แล้วแต่จะตกลงเรียกกัน

หลักง่าย ๆ คือ ตกลงจ่าย     เพื่อตอบแทนการทำงาน   เวลาทำงานปกติ   ไม่ทำงานในวันนั้น   หรือในเดือนนั้นหรือ

ในสัปดาห์นั้น  ก็จะไม่ได้รับค่าจ้าง     

           แนวทางง่าย ๆ   กำหนดการจ่ายอย่างไม่ให้เป็นค่าจ้าง   คือ  จ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการโดยแท้  หรือเป็นเงินจูงใจ

ไม่อ้างอิงการมาทำงาน 

          เอาตรงประเด็น ตามกระทู้   กรณีนี้ พนักงานที่ทำงานจนกระทั่งตำแหน่งตัน  หรือเงินเดือนสูงสุด   แสดงว่าทำงาน

มานานพอสมควรระยะหนึ่ง      ดังนั้นกรณีนี้ควรกำหนดเป็นเงินสวัสดิการ  อาจะเรียกว่า สวัสดิการเงินรางวัลพิเศษ หรือ

เงินตอบแทนพิเศษ สำหรับพนักงานทำงานนาน หรือสำหรับพนักงานที่อายุงานตั้งแต่........ ปีขึ้นไป   หรือเงินตอบแทนคุณ

ความดี   หรืออาจกำหนดเป็นสวัสดิการอื่น ๆ ก็ได้   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานทำงานกับบริษัท ฯ นาน ๆ ขยัน

และมีประสิทธิภาพในการทำงานดี 

กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายให้ชัดเจน   เช่น  แยกประเภทตำแหน่งหน้าที่  กำหนดอายุงานของแต่ละตำแหน่ง

ที่จะมีสิทธิได้รับ  กำหนดอัตราเงินเดือนตำสุดที่จะมีสิทธิ์ในแต่ละตำแหน่ง เช่น  ตำแหน่ง....................อายุงานตั้งแต่.............ปี

ขึ้นไป    มีอัตราเงินเดือนตั้งแต่...................................  บาท ขึ้นไป       กำหนดอัตราการจ่ายตามอายุงานหรือตำแหน่ง

เงื่อนไขต่อมา ต้องผ่านการประเมินผลการทำงาน   หรือต้องได้รับการประเมินจาก................  ไม่น้อยกว่า..............ของ

คะแนนประเมิน     การประเมินอาจกำหนดทุก..................... เดือน หรือทุก......... ปี  ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บริษัท ฯ กำหนด

เงื่อนไขต่อมา   หากในเดือนใด    ปีใด   ประเมินผลการทำงานตามเงื่อนไขแล้ว  ไม่ได้ตามเกณฑ์  ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิกาดังกล่าว

ในเดือนหรือในปีถัดมา   จนกว่าจะมีการประเมินใหม่    หากประเมินผ่านตามเกณฑ์   จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินสวัสดิการใหม่

เงื่อนไขต่อมา  อาจกำหนดถึง  ความผิด  หรือการกระทำความผิดของพนักงานได้   ว่าหากเดือนใดหรือในรอบการประเมินใด

พนักงานกระทำความผิดถึงขั้น............................ (ตักเตือนเป็นหนังสือ,พักงาน,หรือ.....)  ในเดือนนั้นจะไม่ได้รับเงินสวัสดิการ

               เงือนไขสุดท้าย   ให้กำหนดสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้  ตามที่บริษัท ฯ เห็นสมควร 

สิ่งที่ต้องดูและพิจารณาเพื่อประกอบการกำหนดเงื่อนไขสวัสดิการ  คือ  กระบอกเงินเดือน  หรือขั้นเงินเดือน  ขั้นตอนวิธีการ

การปรับขึ้นเงินเดือน  เป็นอย่างไร   สูงสุดถึงขั้นไหน อย่างไร    ทั้งนี้เพื่อ  เราจะได้นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมากำหนด

ต่อยอดเป็นสวัสดิการดังกล่าวได้ 

              ข้อสำคัญ คือ  วัตถุประสงค์ในการประกาศใช้สวัสดิการ  ห้ามอ้างอิงประเด็นว่า เงินเดือนตัน/สูงสุด  ตำแหน่งสูงสุดหรือ

ไม่สามารถปรับตำแหน่งได้   จึงพิจารณาเงินพิเศษดังกล่าว   เพราะหากมีคดีขึ้นศาล   อาจตีความได้ว่าเจตนาการจ่ายนั้น  เพื่อเป็น

การทดแทนค่าจ้างที่ควรจะได้รับการปรับ  ซึ่งจะถือว่าเป็นค่าจ้าง

            หากกำหนดสวัสดิการได้ตามนี้  รับรองได้ว่า  ไม่ใช่ค่าจ้างแน่นอน    เพราะถือเป็นเงินสวัสดิการ เป็นเงินจูงใจ  เพื่อให้

พนักงานรักองค์กร   มีความกระตือรือร้นในการทำงาน   รักษาคุณภาพหรือประสิทธิภาพในการทำงานให้อยู่ในเกณฑ์ประเมิน

ตลอดเวลา     ซึ่งหากทำได้  ก็จะเป็นผลทั้งพนักงานและบริษัท ครับ 

           หากไม่มั่นใจ   ก่อนจะดำเนินการ  ส่งให้ช่วยตรวจสอบก่อนก็ได้ครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2010-06-17 14:56:00 IP : 58.9.30.130


ความคิดเห็นที่ 2 (3207468)

เรียน อาจารย์

 

ขอบคุณมากๆค่ะ อ่านแล้วเห็นภาพชัดเจนเลยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Ptip วันที่ตอบ 2010-06-18 10:04:39 IP : 192.168.0.11


ความคิดเห็นที่ 3 (3208423)

สวัสดีค่ะ

อยากทราบว่ามีเกณฑ์ในการคำนวนเงินช่วยเหลือพิเศษเช่น รางวัลอายุงานนานหรือเปล่าค่ะ

รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ อยากจะนำเสนอเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ขอบคุรมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เจเจ วันที่ตอบ 2010-06-21 13:29:36 IP : 58.181.134.142


ความคิดเห็นที่ 4 (3208839)

ขึ้นชื่อว่า เงินช่วยเหลือ  เป็นเงินแรงจูงใจแล้ว

จึงไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวครับ

ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของลักษณะธุรกิจ รายได้ ของนายจ้าง

ขนาดธุรกิจ   เงินเดือนของลูกจ้าง  และที่สำคัญ 

จูงใจลูกจ้าง  แต่ต้องเป็นที่พอใจของนายจ้างด้วยเช่นกัน

ดังนั้น   หลักเกณฑ์การคำนวณ  สามารถสร้างขึ้นมาบนพื้นฐาน

ของแต่ละบริษัทฯ ได้  เช่น เงินรางวัลอายุงานนาน อาจจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนสุดท้ายในอัตรา....................เดือน  หรือคิดเป็นเปอร์เซนต์ได้

หรืออาจกำหนดรางวัลเป็นสิ่งของได้ด้วย  เช่น ทองคำ  (ควรกำหนดเป็นราคาขายไว้  ไม่ควรกำหนดเป็นน้ำหนักบาท )

เพราะราคาขึ้นตลอด   หรือการจ่ายเป็นรายเดือน  ตามที่ตอบกระทู้แรกไปข้างต้น 

ทั้งนี้การจ่ายต้องเป็นไปตามตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่นายจ้างกำหนด  

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ไสว วันที่ตอบ 2010-06-22 10:26:11 IP : 61.90.74.36



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.